X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคติดต่อ RSV เด็กไทยป่วยเพิ่มขึ้น ป่วยซ้ำเกือบทุกปี ควรป้องกันอย่างไร ?

บทความ 5 นาที
โรคติดต่อ RSV เด็กไทยป่วยเพิ่มขึ้น ป่วยซ้ำเกือบทุกปี ควรป้องกันอย่างไร ?

เรียกได้ว่า โรคติดต่อ RSV เป็นอีกหนึ่งโรคในเด็กเล็กที่น่าห่วงเลยค่ะ เพราะเป็นอีกหนึ่งอาการที่ยังคงมีการติดเชื้อทุกปี แถมเด็กที่เคยป่วยไปแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกในทุกปี แถมในปัจจุบันการใช้วัคซีนกับโรคนี้ยังไม่ใช่เรื่องง่ายอีกด้วย

 

เรื่องนี้เป็นการพูดถึงโดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” โดยได้พูดถึงประเด็น RSV ในเด็กเล็กที่มีการติดเชื้อสูงขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการภูมิต้านทานที่ได้รับจากมารดาจะมีการลดลงอย่างรวดเร็วใน 6 เดือน โดยได้ระบุข้อความว่า

 

“RSV ในเด็กไทยมีอุบัติการณ์การติดเชื้อที่สูงเป็นแล้วเป็นซ้ำได้

งานวิจัย RSV ของศูนย์ ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร International Journal of Infectious Disease จะเห็นได้ว่า ภูมิต้านทานส่งต่อจากมารดาและจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 6 เดือน หลังจากนั้นก็จะมีการติดเชื้อขึ้นเป็นจำนวนมากในปีแรก และปีต่อ ๆ มา หรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อโตถึงอายุ 4 ขวบ เกือบทุกคนเคยติดเชื้อ RSV และมีบางคนมีการติดเชื้อซ้ำ หรือซ้ำแล้วซ้ำอีกเกือบทุกปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็กอาการไวรัส RSV โรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว

 

การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะยาว ในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4 ขวบ มีการตรวจหาภูมิต่อเชื้อ RSV โดยเห็นว่าภูมิจากมารดาจะส่งมาปกป้องลูกน้อยได้ในระยะเวลาค่อนข้างสั้น และเมื่อภูมิลดลง หรือหมดไป เด็กก็จะเริ่มมีการติดเชื้อจึงไม่แปลก การติดเชื้อเห็นได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก และจะสูงขึ้นหลัง 6 เดือนขึ้นไป การติดเชื้อปีนี้แล้ว ปีหน้าก็อาจจะมีการติดเชื้อได้อีก และโดยทั่วไปการติดเชื้อในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากกว่าเด็กโต 

 

และเมื่ออายุเกิน 3 ขวบไปแล้ว การติดเชื้อ RSV ส่วนใหญ่อาการจะไม่มากแล้ว และเมื่อเกิน 5 ขวบ ก็ยังมีการติดเชื้อได้ แม้กระทั่งในผู้ใหญ่ จะไปสร้างปัญหาอีกครั้งหนึ่งในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ และก็เช่นเดียวกับโควิด-19

ขณะเดียวกัน การศึกษาระยะยาวในกลุ่มประชากรเด็ก ใช้เวลาทำการศึกษามากกว่า 5 ปี ได้เห็นข้อมูลของเด็กไทยชัดเจน โดยเฉพาะระดับการตรวจพบภูมิต้านทาน และการตรวจ พบว่ามีการเป็นซ้ำ ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในอนาคตในกรณีที่มีวัคซีนในการป้องกัน ก็ควรจะให้ก่อน 6 เดือนแรก

 

การศึกษาที่กำลังทำอยู่ ดูสายพันธุ์ของไวรัสที่มีการติดเชื้อซ้ำ พบว่าถึงแม้จะเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกัน RSV-A หรือ RSV-B ก็ยังสามารถเป็นซ้ำได้ แม้กระทั่งสายพันธุ์ย่อยเดียวกันเช่น ON1 ติดแล้วก็ยังเป็นซ้ำได้อีก รายละเอียดการศึกษาโครงจะมีการเผยแพร่ในวารสารนานาชาติต่อไป ซึ่งข้อมูลที่ทำมีความสำคัญมากเป็นองค์ความรู้ใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องของการที่จะนำวัคซีนมาใช้ จึงไม่เป็นเรื่องง่ายในการป้องกันการติดเชื้อ RSV”

 

 

กลุ่มเสี่ยงต่อ RSV มากที่สุด

  • อายุน้อย มีอายุ ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ลงไป
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่อายุตอนคลอดต่ำกว่าเกณฑ์
  • มีอาการผิดปกติในปอดตั้งแต่เกิด
  • เด็กที่เกิดมาพร้อมโรคหัวใจ บางประเภท
  • เด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • เด็กที่มีอาการแพ้อาหารชนิดต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผื่นคัน ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่มองข้าม แต่เป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้พัฒนาการลูกสะดุด!

 

เช็กอาการไวรัส RSV

  • ในช่วง 2-4 วันแรก มักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล
  • เมื่อการดำเนินโรคมีมากขึ้น ส่งผลให้ทางเดินหายใจส่วนล่างมีการอักเสบตามมา ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ
  • ในบางรายเกิดอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสมหะในลำคอมาก ๆ

 

โรคติดต่อ RSV

 

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

จำเป็นต้องโทรหาแพทย์ทันทีหรือขอรับการรักษาฉุกเฉินหากทารกมีอาการหายใจลำบาก เช่น

  • ความเหนื่อยล้า
  • หายใจเร็ว
  • ผนังหน้าอกดึงเข้าเมื่อหายใจออก
  • สีฟ้ารอบริมฝีปากหรือเล็บ

เหตุผลอื่น ๆ ที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่ หากทารก

  • กินหรือดื่มไม่เพียงพอ
  • กำลังอ่อนแรงหรือไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเดิม
  • มีอาการหวัดรุนแรงหรือแย่ลงแทนที่จะดีขึ้น
  • มีอาการไอไม่หาย
  • การป้องกัน
  • RSV เป็นโรคติดต่อได้สูง หมายความว่ามันแพร่กระจายระหว่างผู้คนได้ง่ายมาก

มาตรการที่ตรงไปตรงมาบางอย่างสามารถช่วยให้ผู้คนหลีกเลี่ยงการติดโรคหรือแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ บางส่วนของมาตรการเหล่านี้รวมถึง

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่อาจจะป่วย การติดต่อรวมถึงการจูบ การกอด และการจับมือ
  • หลีกเลี่ยงการแบ่งปันสิ่งของที่ปนเปื้อนกับผู้อื่น ถ้วย ขวด และของเล่นล้วนเป็นพาหะของไวรัส ซึ่งสามารถอยู่รอดได้หลายชั่วโมง
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา ปาก หรือจมูก

 

โรคติดต่อ RSV

 

การป้องกัน โรคติดต่อ RSV

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค RSV หรือยาที่สามารถป้องกัน RSV ได้อย่าง 100% เราจึงควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

  • ทุกคนในบ้านควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งมือตนเองและลูกน้อย เพราะการล้างมือนอกจากจะลดเชื้อ RSV แล้ว ยังสามารถลดเชื้ออื่น ๆ ที่ติดมากับมือ ของลูกและทุกคนในบ้านได้ทุกชนิด ทั้งเชื้อไวรัส และ แบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 70
  • ควรใช้แอลกอฮอล์เจลในการล้างมือจะช่วยป้องกันโรคได้
  • หลีกเลี่ยงให้เด็กไม่ว่าจะสบายดี หรือ ป่วย ไปในชุมชนที่อึดอัด
  • ควรรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา
  • สำหรับคุณพ่อ และ คุณแม่ หากมีลูกที่ป่วยควรจะคัดแยกเด็กป่วยกับเด็กปกติออกจากกัน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ

 

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

เพราะโรค RSV ยังเป็นโรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส และในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันได้อย่าง 100% โดยวิธีที่จะช่วยป้องกันได้ดีที่สุดคือการใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกัน และนอกจากการป้องกันเด็กแล้วนั้น ก็อยากให้ระวังในผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน เพราะโรค RSV ก็สามารถติดต่อได้ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเช่นกัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรค RSV และ โรคมือเท้าปากในเด็ก โรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว

RSV ในเด็กเล็ก พร้อมการเยียวยาด้วยวิธีธรรมชาติขั้นพื้นฐาน ทำได้ที่บ้าน

เช็คRSV อาการ เป็นอย่างไร ต่างกับหวัดอย่างไร? มาดูไปพร้อมกันนะคะ

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคติดต่อ RSV เด็กไทยป่วยเพิ่มขึ้น ป่วยซ้ำเกือบทุกปี ควรป้องกันอย่างไร ?
แชร์ :
  • ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
    บทความจากพันธมิตร

    ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
    บทความจากพันธมิตร

    รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
    บทความจากพันธมิตร

    ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
    บทความจากพันธมิตร

    รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ