ตรวจโรคหัวใจทารก แต่เนิ่น ๆ ช่วยรักษาชีวิตได้-01
หัวใจของเด็กทารก เป็นอวัยวะชุดแรก ที่เริ่มพัฒนาตั้งแต่ 4 สัปดาห์แรกของทารกในครรภ์ค่ะ โดยจะพัฒนาต่อเนื่องมาก ๆ อย่างรวดเร็วไปตลอด 2 สัปดาห์ ซึ่งช่วง 6 สัปดาห์นี้เองที่ คุณพ่อ คุณแม่ จะได้ชื่นชมหัวใจของลูกน้อยผ่านการอัลตร้าซาวด์แล้ว ซึ่งช่วงนี้เป็นระยะที่ตัวอ่อนสามารถได้รับเชื้อโรคได้ง่ายมาก ๆ เลยค่ะ เช่น เบาหวาน และ หัดเยอรมัน ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่ คุณพ่อ คุณแม่ ควรให้ความใส่ใจดูแลเรื่องความสะอาด อาหาร รวมถึงควันบุหรี่ และ การได้รับยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อ ความพิการของหัวใจได้
เด็กทารก ที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดนั้น ซึ่งจะมีชนิดผนังกั้นระหว่างห้องหัวใจด้านบน หรือ ด้านล่างรั่ว หรือ ชนิดที่มีอาการเขียว ปากม่วงคล้ำมาก ๆ หายใจหอบ โดยรวมแล้ว เด็กกลุ่มนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดด่วน เกือบหนึ่งในสามหากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดย แพทย์ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจเด็ก และ ได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจเสียชีวิตขึ้นมาได้
อาการที่อาจสงสัยว่าเด็กเป็นโรคหัวใจ
ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮมกล่าวว่า การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse oximetry) ของทารกแรกเกิด โดยการใช้เซ็นเซอร์ที่ผิวหนังบริเวณมือ หรือเท้า เป็นการตรวจเช็คที่ง่ายดาย ไม่มีความเจ็บปวด และ ไม่เป็นอันตราย ซึ่งควรทำภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
ตรวจโรคหัวใจทารก การทดสอบนี้จะตรวจดูว่าทารกเป็น โรคหัวใจแต่กำเนิดซึ่งเป็นสาเหตุ การตายของทารกจำนวนมาก หรือไม่ หากไม่ได้รับการทดสอบนี้ คุณหมออาจตรวจไม่พบ หรือตรวจพบเมื่อสายไปแล้ว หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยให้หมอรักษาได้อย่างทันท่วงที และ วิธีนี้เป็นเพียงวิธีเดียวมีความถูกต้องถึง 75% ขณะที่การอัลตร้าซาวด์ และ การตรวจร่างกายเป็นประจำหลังคลอดมีโอกาสตรวจพบโรคในทารกได้แค่ 50 % เท่านั้น
ตรวจโรคหัวใจทารกแต่เนิ่น ๆ ช่วยรักษาชีวิตได้-02
ขั้นตอนการตรวจขั้นพื้นฐาน
การตรวจร่างกาย เพื่อดูน้ำหนัง ส่วนสูง ของทารก การจับชีพจร อตราและความสม่ำเสมอ ของชการเต้นของหัวใจของทารก ความดัน โลหิต ฟังเสียง หัวใจว่ามีเสียงผิดปกติ หรือไม่ เช่น เสียงสาม เสียงสี่ เสีงฟู่ นอกจากนี้เเล้วทีมเเพทย์ควรจะตรวจร่างกายทุก ระบบด้วยนะคะ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกจังหวะของการเต้นหัวใจได้ บอกขนาดห้องของหัวใจ บอกโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ บางชนิดได้ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลายคนอาจจะคิดว่าการตรวจคลื่นหัวใจนั้นเป็นการ เช็ค หัวใจคล้ายเช็คของเครื่อง แต่จริง ๆ นั้น ไม่ใช้เเบบนั้นเลย
เอกซเรย์ทรวงอก หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอกซเรย์ปอด และ ซึ่งจะเห็นทั้งปอด หลอดเลือดใหญ่ การกระจายของเลือดในปอดค่ะ ภาวะน้ำท่วมปอด หรืออาจจะ หัวใจล้มเหลว เงาของหัวใจซึ่งบอกขนาดของหัวใจได้พอดีเลยค่ะ
นักวิจัยทิ้งท้ายว่า ควรจะมีการนำการวัดความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในเลือดมาใช้ในคลินิค หรือโรงพยาบาลทุกแห่ง
ถ้าเมืองไทยนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลทุกแห่งก็คงดีไม่น้อยเลยค่ะ
ตรวจโรคหัวใจทารกแต่เนิ่น ๆ ช่วยรักษาชีวิตได้-03
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ ข้อมูลคุณภาพ และ สังคม คุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ คุณแม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้ คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพ คุณแม่ และ เด็ก โภชนาการ คุณแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัว อย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ คุณพ่อ คุณแม่ เข้มแข็ง ครอบครัว แข็งแรง”
ที่มาอ้างอิง https://www.synphaet.co.th
กระทู้อื่นที่เเนะนำ
ความจริงของคนท้องที่ไม่มีใครบอก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!