โรคติดเชื้อในเด็กที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีหลากหลายโรค ซึ่งแต่ละโรคก็มีความรุนแรงและผลกระทบที่แตกต่างกันไป การให้วัคซีนแก่ลูกน้อยจึงเป็นการป้องกันที่สำคัญมากค่ะ เราจึงอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาอัพเดทวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก วัคซีนเด็ก 2568 ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ มีวัคซีนอะไรบ้าง
โรคติดเชื้อในเด็กที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ปัจจุบันเด็กไทยทุกคนสามารถเข้าถึงวัคซีนพื้นฐานฟรี เพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายแรงกว่าสิบชนิด ได้แก่
- โรควัณโรค โดยทั่วไปจะติดเชื้อที่ปอด แต่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น กระดูก ข้อต่อ และสมอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โรควัณโรคอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- โรคหัด, หัดเยอรมัน, คางทูม มักจะแพร่ระบาดได้ง่าย และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม สมองอักเสบ หรือหูหนวก
- โรคโปลิโอ: โรคโปลิโอทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและอาจทำให้เป็นอัมพาตได้
- โรคคอตีบ, ไอกรน, บาดทะยัก มักจะพบในเด็กเล็ก และอาจทำให้หายใจลำบาก เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง หรือเสียชีวิตได้
- โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถทำลายตับ และอาจนำไปสู่โรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้
- โรคไข้สมองอักเสบ มักจะพบในเด็กเล็ก และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น อัมพาต หรือเสียชีวิตได้
- โรคฮิบ Haemophilus influenzae type b (Hib) โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่หลากหลายอวัยวะ เช่น ปอด สมอง หรือข้อต่อ
วัคซีนเด็ก 2568 วัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก ตามช่วงอายุ
เปิดสมุดวัคซีนเช็กเลย! กำหนดการฉีดวัคซีนให้เด็กตามอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี แม่พาลูกน้อยไปฉีดครบหรือยัง?
|
ช่วงอายุที่ควรรับวัคซีน |
ชนิดวัคซีน |
วัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด |
HB1 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังค |
BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค (ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล) |
วัคซีนเด็ก อายุ 1 เดือน |
HB2 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (เฉพาะรายที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี) |
วัคซีนเด็ก อายุ 2 เดือน |
DTP-HB-Hib1 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ |
OPV1 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน |
Rota1 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งที่ 1 ในเด็กอายุมากกว่า 15 สัปดาห์) |
วัคซีนเด็ก อายุ 4 เดือน |
DTP-HB-Hib2 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ |
OPV2 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน |
IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้ง)
|
Rota2 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์) |
วัคซีนเด็ก อายุ 6 เดือน |
DTP-HB-Hib3 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ |
OPV3 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน |
Rota3 วัคซีนโรต้า |
วัคซีนเด็ก อายุ 9 เดือน |
MMR1 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดโดยเร็วที่สุด)
|
วัคซีนสำหรับเด็กอายุ 1 ปี |
LAJE1 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ |
วัคซีนเด็ก อายุ 1 ปี 6 เดือน |
DTP4 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน |
OPV4 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน |
MMR2 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน |
วัคซีนเด็ก อายุ 2 ปี 6 เดือน |
LAJE2 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ |
วัคซีนเด็ก อายุ 4 ปี |
DTP5 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน |
OPV5 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน |
วัคซีนเด็ก ประถมศึกษาปีที่ 1
(ตรวจสอบประวัติและเก็บตกวัคซีน) |
MMR วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน |
HB วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี |
LAJE วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ |
IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด |
dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก |
OPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน |
BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค |
วัคซีนเด็ก ประถมศึกษาปีที่ 5
(เฉพาะผู้หญิง) |
HPV1 และ HPV2 วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี (ระยะห่างระหว่างเข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน)
|
วัคซีนเด็ก ประถมศึกษาปีที่ 6 |
dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก |
6 วัคซีนเสริมสำหรับเด็กเล็ก วัคซีนเด็ก 2568
1. วัคซีนไอพีดี
โรคติดเชื้อไอพีดีสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบรุนแรง ไปจนถึงทำให้พิการและเสียชีวิตได้ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อชนิดนี้
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป
- วัคซีนไอพีดีมี 3 ชนิดได้แก่ ชนิด 10, 13 และ 15 สายพันธุ์
- หากเริ่มฉีดตั้งแต่อายุ 2 เดือน ไม่ว่าจะเป็น ชนิด 10, 13 หรือ15 สายพันธุ์ ให้ 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน และฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้งที่อายุ 12 – 15 เดือน หรือห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน (รวมฉีดทั้งหมด 4 ครั้ง)
2. วัคซีนไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะแพร่กระจายผ่านละอองน้ำลายเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูดคุย ทำให้คนรอบข้างได้รับเชื้อไปได้ง่าย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นโรคนี้ได้
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
- เด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นครั้งแรก ควรได้รับ 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน
- เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่ระบาดเกือบทุกปี จึงควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ในช่วงก่อนที่มีการระบาด เช่น ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
3. วัคซีนอีวี71 (มือเท้าปาก)
โรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากเชื้ออีวี 71 อาจทำให้เด็กป่วยหนัก มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปากเปื่อย ผื่นขึ้นที่มือ เท้า และก้น รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ส่งผลต่อระบบประสาทและหัวใจได้
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
- ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างในการฉีดแต่ละเข็มประมาณ 1 เดือน
- ช่วยลดโอกาสที่เด็กจะติดเชื้ออีวี 71 ได้ถึง 89.7%
- ลดโอกาสที่เด็กจะป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 88%
4. วัคซีนอีสุกอีใส
โรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน อาการเด่นชัดคือ มีไข้ ปวดเมื่อย มีตุ่มใสๆ ขึ้นทั่วตัว มักมีอาการคันร่วมด้วย ต่อมาผื่นจะตกสะเก็ดและหลุดหมดภายในระยะเวลาประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์
แม้ว่าโดยทั่วไปโรคอีสุกอีใสจะไม่รุนแรงมาก แต่ในบางกลุ่มบุคคล เช่น ทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น ปอดอักเสบ หรือสมองอักเสบ
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป เด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี ฉีดวัคซีน 2 ครั้ง
- ครั้งที่ 2 ขณะอายุ 4-6 ปี หรือห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
5. วัคซีนตับอักเสบเอ
เด็กที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก ผื่นคัน ตาเหลือง ตัวเหลือง อุจจาระสีจาง ปัสสาวะสีเข้ม หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ตับอักเสบเอในเด็กอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นตับวาย และเสียชีวิต
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป
- ฉีด 2 ครั้ง ห่างจากเข็มแรก 6-12 เดือน
6. วัคซีนไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกในเด็ก บางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน สิ่งที่ต้องระวังคือ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะวิกฤติของโรค ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากไข้สูงต่อเนื่องนาน 3-7 วัน หากไม่รีบนำส่งโรงพยาบาล อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 ปีขึ้นไป
- ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือนโดยไม่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด
- ฉีดได้ทั้งคนที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน
- ป้องกันไข้เลือดออกจากทุกสายพันธุ์ ได้สูงถึง 80.2%
- ป้องกันไข้เลือดออกแบบรุนแรง 85.9%
- ป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้สูงถึง 90.4%
คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปรับ วัคซีนเด็ก 2568 ตามวัยที่กำหนด ทั้งวัคซีนพื้นฐานและวัคซีนเสริม เพื่อให้ลูกน้อยได้รับวัคซีนครบถ้วนและเสริมสร้างภูมิต้านทานในการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดค่ะ
ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , โรงพยาบาลนครธน , โรงพยาบาลเปาโล , โรงพยาบาลแพทย์รังสิต , โรงพยาบาลพญาไท , โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ประกันสุขภาพเด็กแรกเกิด สำคัญยังไง? เลือกแบบไหนให้เหมาะกับลูกน้อย
สรุป 10 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับ “ไอกรน” สัญญาณเตือน ไอกรนในเด็ก และ วัคซีน
13 วิตามินเด็ก กินง่ายเด็กชอบ อร่อย สุขภาพดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!