UTI ในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน ที่บางครั้งลูกของคุณก็อาจกำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ก็ได้ มาดูกันดีกว่า UTI ในเด็ก นั้นคืออะไร และจะต้องรักษาอย่างไรบ้าง นอกจากนี้เรายังได้นำวิธีสังเกตอาการของลูกน้อยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมาไว้ให้สังเกตกันอีกด้วย เพื่อที่จะได้ทำการรักษาทัน ไปดูกันเลย
บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน)
UTI คือ ?
Urinary Tract Infections หรือ UTI เป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ โดยบริเวณที่มักจะติดเชื้อบ่อยที่สุดคือ กระเพาะปัสสาวะ แต่ทั้งนี้การติดเชื้อนั้นยังสามารถเกิดขึ้นในท่อปัสสาวะ ท่อไต หรือไตได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่พบเป็นอันดับ 2 ในเด็ก รองจากการติดเชื้อในหู สามารถพบได้ในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย และสำหรับเด็กผู้ชายที่ไม่ได้ทำการขลิบปลายแล้วจะมีความเสี่ยงสูงกว่าเด็กผู้ชายที่ได้รับการขลิบปลาย หรือเด็กที่โตกว่าเล็กน้อย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?
ทางเดินปัสสาวะ มีอะไรบ้าง และการทำงานเป็นอย่างไร?
ระบบทางเดินปัสสาวะเป็นระบบระบายน้ำของร่างกายของมนุษย์ เพื่อที่จะจำกัดปัสสาวะ หรือของเสียที่เป็นของเหลวออกจากร่างกาย โดยประกอบไปด้วย
- ไต 2 ข้าง
- กระเพาะปัสสาวะ
- ท่อไต 2 ข้าง
- ท่อปัสสาวะ 1 ท่อ
ซึ่งกระบวนการของการจำกัดของเสียนั้นจะเริ่มจากเลือดในร่างกายที่มีของเสียอยู่ ไหลผ่านไต ไตกรองของเสียที่เป็นของเหลวออกจากเลือดในรูปแบบของปัสสาวะ ปัสสาวะจะถูกส่งผ่านท่อไตลงไปยังกระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการระบายออกจากร่างกาย
UTI ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร?
การเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือ UTI มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีแบคทีเรีย หรืออุจจาระของเด็ก ๆ เข้าไปในทางเดินปัสสาวะ และเพิ่มจำนวนเชื้อเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเด็กผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อ UTI มากกว่าเด็กผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะสั้นกว่า แบคทีเรียจากทวารหนักสามารถเข้าไปในช่องคลอดและท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่า ทั้งนี้การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอาจมาจากอีกสาเหตุหนึ่งคือ เด็กบางคนมีปัญหากับกระเพาะปัสสาวะ หรือไตอยู่แล้ว ซึ่งมีโอกาสทำให้พวกเขามีโอกาสติดเชื้อ UTI ได้เช่นกัน ซึ่งการติดเชื้อทำให้เกิดการตีบตันในทางเดินปัสสาวะที่ขัดขวางการไหลของปัสสาวะและทำให้เชื้อโรคขยายตัวอย่างรวดเร็วนั่นเอง
วิธีสังเกตของลูกน้อยที่เป็น UTI สังเกตได้อย่างไรบ้าง?
UTI ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในส่วนล่างของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือบริเวณท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ โดยเราอาจจะเคยได้ยินในชื่อว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั่นเอง โดยจะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ ดังต่อไปนี้
- เด็กมีอาการปวด แสบร้อน และแสบเวลาปัสสาวะ
- มีความต้องการในการปัสสาวะบ่อยขึ้น หลังจากที่เพิ่งปัสสาวะไปครั้งล่าสุด
- มีอาการไข้
- ตื่นกลางดึก อยากเข้าห้องน้ำตลอดเวลา
- ปวดท้องบริเวณกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณใต้สะดือ
- ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น หรือในบางคนอาจมีสีที่ขุ่น หรือปนเลือด
การติดเชื้อ UTI นี้ที่มีการติดเชื้อบริเวณท่อไต และไต จะถูกเรียกว่า pyelonephritis ซึ่งมักจะมีอาการรุนแรงกว่าการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะ โดยอาการเบื้องต้นจะมีเหมือนกัน แต่เด็กที่เป็นมักจะมีอาการหนาวสั่น มีไข้ ปวดที่บริเวณด้านล่างของท้อง เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง หรืออาเจียน
การวินิจฉัย UTI มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
ในการวินิจฉัย UTI เมื่อคุณพาลูกน้อยของคุณไปพบแพทย์ แพทย์จะเริ่มถามถึงอาการต่าง ๆ จากคุณเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกน้อยของคุณได้ทำ และทำการตรวจร่างกายของพวกเขาเบื้องต้น ก่อนที่จะนำตัวอย่างปัสสาวะของทารกไปทำการทดสอบเพื่อยืนยันว่าติดเชื้อ UTI จริง โดยวิธีการเก็บตัวอย่างจะขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก โดยแยกได้ดังต่อไปนี้
- เด็กเล็กที่ใช้ผ้าอ้อม แพทย์อาจมีการใช้สายสวนปัสสาวะ เพื่อเก็บปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะของเด็ก ๆ
- เด็กโตที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แพทย์จะใช้วิธีการเก็บปัสสาวะด้วยการให้เด็กปัสสาวะใส่ถ้วยปลอดเชื้อ และนำไปตรวจ
หลังจากได้ปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว ปัสสาวะจะถูกส่งไปทำการทดสอบเพื่อหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือการเพาะเลี้ยงปัสสาวะเชื้อในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการวินิจฉัยนี้จะทำให้แพทย์ทราบว่าแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อนั้นเป็นชนิดใด เพื่อที่จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ รักษาได้อย่างไร
UTI หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ โดยหลังจากการที่แพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะแล้ว แพทย์อาจจะขอตรวจสอบตัวอย่างปัสสาวะอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อที่บริเวณระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องแน่ใจว่าอาการดังกล่าวเป็นการติดเชื้อ UTI จริงๆ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อและสามารถติดเชื้อได้อีกครั้ง แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณมีอาการปวดอย่างรุนแรงขณะปัสสาวะ แพทย์อาจสั่งยาที่ทำให้เยื่อบุทางเดินปัสสาวะชาได้ ซึ่งยานี้จะทำให้ปัสสาวะกลายเป็นสีส้มชั่วคราว โดยการทานยาจะเป็นไปตามที่แพทย์กำหนด และลูกน้อยของคุณจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังได้รับยา ทั้งนี้หากลูกของคุณมีการติดเชื้อรุนแรง อาจจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้
- เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนจะมีไข้สูง ป่วยหนัก หรือไตติดเชื้อ
- แบคทีเรียจากทางเดินปัสสาวะจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด
- เด็กขาดน้ำ หรือมีของเหลวในร่างกายต่ำ
- อาเจียน และไม่สามารถรับประทานของเหลวหรือยาทางปากได้
บทความที่น่าสนใจ : มาตราการที่ไม่ยืดหยุ่นเรื่องนมแม่ อาจทำให้เด็กๆ มีภาวะขาดน้ำได้
สามารถป้องกันการเกิด UTI ได้หรือไม่?
ในทารกและเด็กเล็ก การเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ เมื่อเด็ก ๆ ได้รับการฝึกนั่งกระโถน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลเรื่องสุขอนามัยที่ดี โดยแต่ควรมีการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
- เด็กผู้หญิงควรรู้ว่าการเช็ดอวัยวะเพศนั้นจะต้องเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายจากทหารหนักไปยังท่อปัสสาวะ
- เมื่ออาบน้ำให้ลูก ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศของลูกน้อยด้วยน้ำเปล่า ไม่ควรใช้สบู่ หรือแชมพู
- เด็กในวัยเรียน ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำฟอกฟองสบู่ หรือถูสบู่แรง ๆ บริเวณอวัยวะแพทย์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง
- เด็ก ๆ ไม่ควรที่จะอั้นปัสสาวะ เพราะว่าเมื่อปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะนั้นอยู่นานจนเกินไป อาจทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้
- เด็ก ๆ ควรดื่มน้ำมาก ๆ และหลีกเลี่ยงคาเฟอีน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะระคายเคืองได้
ทั้งนี้นอกจากที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของสุขอนามัยที่ดีแล้ว พวกเขาควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อไม่ก่อให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ดังต่อไปนี้
- กระตุ้นให้ลูกน้อยของคุณปัสสาวะหลังจากอาบน้ำเสร็จทุกครั้ง
- กระตุ้นให้ลูกของคุณปัสสาวะอย่างน้อยทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน หรือจิบน้ำระหว่างวัน เพื่อให้รู้สึกปวดปัสสาวะระหว่างวันมากยิ่งขึ้น
- กางเกงในของทารกควรใช้เป็นผ้าฝ้ายแทนผ้าไนลอน ไม่มีการรัดแน่นจนเกินไป เพราะอาจมีโอกาสที่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และไม่จำเป็นต้องให้ลูกน้อยของคุณสวมชุดชั้นในตอนกลางคืน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับเรื่องของ UTI ในเด็ก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน และใกล้ตัวมาก ๆ เลย ดังนั้นเรื่องการดูแลสุขอนามัย และการสอนเรื่องพื้นฐานของการรักษาสุขอนามัยให้เด็ก ๆ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญนะคะ พวกเขาควรได้รับการสอนที่ถูกต้อง ก่อนที่พวกเขาจะเจ็บป่วย หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ นะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี
เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค
เด็กทารกควรถ่ายวันละกี่ครั้ง สีอุจจาระของทารกบ่งบอกอะไร
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับUTI ได้ที่นี่!
UTI คืออะไรคะ เกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีป้องกันไหมคะ
ที่มา : kidshealth, aboutkidshealth, webmd, nationwidechildrens, cincinnatichildrens
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!