X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฝึกลูกนอนยาว 6 วิธีฝึกลูกนอนยาว หมดปัญหา ลูกร้องตอนดึก

บทความ 5 นาที
ฝึกลูกนอนยาว 6 วิธีฝึกลูกนอนยาว หมดปัญหา ลูกร้องตอนดึก

ฝึกลูกนอนยาว 6 วิธีฝึกลูกนอนยาว หมดปัญหา ลูกร้องตอนดึก

 

ฝึกลูกนอนยาว ทำยังไงให้ลูกนอนหลับสนิทตลอดคืนวันนี้ TheAsainparent Thailand ขอนำบทความดี ๆ มาช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับให้กับคุณแม่กัน การได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่มของเจ้าตัวเล็กในตอนกลางคืนนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นมาก เนื่องจาก Growth Hormone หรือฮอร์โมนเจริญเติบโตที่จำเป็นต่อการพัฒนาเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อจะหลั่งออกมาขณะที่ลูกหลับได้ดี ดังนั้นการทำให้ลูกนอนนาน ได้หลับสนิทในช่วงนี้จึงสำคัญมาก นอกจากดีสำหรับลูกแล้วมันยังเป็นความปรารถนาของบรรดาพ่อแม่ทุกคนที่จะได้พักผ่อนตลอดทั้งคืนได้อย่างสบายอีกด้วย

 

 

วิธีฝึกลูกนอนยาว

1. ต้องแน่ใจว่าลูกกินนมอิ่ม

ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรก หรือเดือนแรก ๆ นั้น ลูกน้อยจะตื่นขึ้นมาในตอนกลางดึกด้วยเหตุผลหลักเพื่อต้องการที่จะดื่มนม แต่หลังอายุ 4 – 6 เดือน เจ้าตัวน้อยก็จะเริ่มนอนได้ตลอดทั้งคืนบ้างบางครั้งโดยที่ไม่ต้องดื่มนมเพิ่มกลางดึก แต่กับทารกบางคนก็อาจจะยังคงตื่นขึ้นมาเพื่อกินนมจนถึง 6 เดือนเลยทีเดียว การตื่นขึ้นมาเพื่อขอดื่มนมนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นความเคยชินมากกว่าเป็นความต้องการเสียมากกว่า ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าลูกจะได้หลับยาวไปในตอนกลางคืน การทำให้เวลากินนมนั้นเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรก่อนการเข้านอนของลูกอาจจะส่งผลให้ลูกหลับได้ยาวขึ้น

 

2. ฝึกให้การนอนนั้นกลายเป็นกิจวัตรประจำ

พาลูกเข้านอนเป็นเวลา ลดทุกสิ่งที่จะไปกระตุ้นลูก เช่น เสียงรบกวนต่าง ๆ การเล่น ซึ่งการลดสิ่งเร้าเหล่านี้จะทำให้เจ้าตัวน้อยได้เรียนรู้และเริ่มพัฒนาการนอนตลอดทั้งคืนให้กลายเป็นกิจวัตรประจำได้

 

3. ทำให้ลูกน้อยผ่อนคลายเพื่อที่นอนหลับได้

สร้างความผ่อนคลายเพื่อให้ลูกนอนหลับได้ตลอดทั้งคืน เช่น การได้อาบน้ำอุ่น ๆ การกอด การให้นม ทำทุกอย่างนี้ก่อนเข้านอน และทุกสิ่งจะเรียบร้อยสบายแม่ไปจนถึงวันรุ่งขึ้น

 

ฝึกลูกนอนยาว

ฝึก ลูก นอนยาว

 

4. พาลูกน้อยนอนเปลแค่ตอนก่อนที่จะนอนเท่านั้น

การวางลูกนอนในเปลไกวนั้นจะช่วยให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกงัวเงียใกล้ง่วงแต่ยังไม่ถึงกับนอนหลับสนิท แต่ก็เป็นตัวช่วยได้ดีก่อนจะอุ้มลูกน้อยมาไกวและพาเขาเข้านอนอย่างจริงจังอีกครั้ง

 

5. ทำให้ลูกน้อยเหนื่อยในระหว่างวัน

ทารกน้อยจำเป็นที่จะต้องนอนหลับในระหว่างวัน แต่ต้องไม่ปล่อยให้ลูกนอนหลับเกินกว่า 1 หรือ 2 ชั่วโมง และต้องไม่เกินช่วงบ่าย 2 หรือ บ่าย 3 โมงเย็น ระหว่างวันคุณแม่จะปล่อยให้ลูกได้เล่น หรือถูกกระตุ้นด้วยการพูดคุย การร้องเพลง การอ่านหนังสือ การให้เจ้าตัวน้อยได้เล่นระหว่างวันจะทำให้ลูกนอนหลับได้ดีในตอนกลางคืน

 

ฝึกลูกนอนยาว

ฝึก ลูก นอน ยาว

 

6. ให้เวลาและความอดทนกับหนู ๆ นะ

บทความจากพันธมิตร
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก

ทันที่ลูกตื่นนอนขึ้นมากลางดึก คุณจะได้ยินเสียงร้องไห้ แต่ถ้านั่นไม่ใช่เสียงร้องที่บอกว่าลูกเจ็บปวดหรือมีปัญหาใด ๆ ลองปล่อยลูกในร้องไปซักพัก ก่อนที่จะเข้าไปอุ้ม กอด ปลอบโยน และทำซ้ำไปเช่นนี้จนกระทั่งทุกคนจะได้เจอกับการนอนหลับยาว ๆ ตลอดทั้งคืนอย่างสุขสงบ

 

เมื่อถึงจุดนี้ทารกน้อยนั้นก็สามารถนอนหลับได้ตลอดทั้งคืน ถ้าคุณหนูได้รับการฝึกให้ทำเช่นนี้เป็นกิจวัตรทุกวัน แต่การฝึกนี้ต้องมาจากพ่อแม่ที่มีความอดทน มีความใจเย็น และมีไหวพริบที่ดีต่อการเลี้ยงลูกน้อยในวัยแรกเกิดนี้

ปล่อยให้ลูกร้องจนหลับ ช่วยให้ ลูกไม่ตื่นกลางดึก ได้จริงหรือ? ปัญหาการนอนของลูก เป็นสิ่งที่รบกวนใจพ่อแม่อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ลูกไม่ยอมนอน ลูกชอบตื่นกลางดึก และลูกชอบร้องตอนกลางคืน ปัญหาเหล่านี้พ่อแม่ทุกคนต้องต้องเผชิญอยู่ทุกวัน แต่มีงานวิจัยชี้ว่า การปล่อยให้ลูกร้องจนหลับกลับทำให้ ลูกไม่ตื่นกลางดึก

 

จากงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Flinders ประเทศออสเตรเลีย ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics ได้ทำการทดสอบกับเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนจนถึง 16 เดือน รวมทั้งสิ้น 43 ครอบครัว โดยได้แบ่งออกป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

 

ฝึกลูกนอนยาว

ฝึกลูก นอน ยาว

 

  • กลุ่มแรก: ใช้วิธี “graduated extinction” คือ การให้ปล่อยลูกร้องจนหลับไปเอง วิธีนี้จะให้พ่อแม่คอยดูลูกน้อยเป็นระยะ ๆ และจะค่อย ๆ ทิ้งช่วงเวลาที่ห่างขึ้นเรื่อย ๆ จนลูกเคลิ้มหลับไปเอง
  • กลุ่มที่สอง: ใช้วิธี “bedtime fading” เป็นการให้พ่อแม่ปล่อยลูกน้อยให้นอนดึกขึ้นกว่าปกติ เพื่อทำให้เด็กนอนเร็วขึ้นเมื่อถึงเวลานอน โดยที่พ่อแม่อยู่ภายในห้องกับลูกจนกว่าเขาจะนอน
  • กลุ่มที่สาม: ใช้วิธี “ควบคุม” คือ จะทำอะไรก็ได้แล้วแต่ ไม่มีการกำหนด

 

ผลการวิจัย พบว่า ลูกน้อยที่ปล่อยให้ร้องไห้จนหลับไปเองนั้น ลูกจะไม่ไม่ตื่นกลางดึก และหลับเร็วกว่าเด็กกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉลี่ยประมาณ 15 นาที และเด็กที่ปล่อยให้ลูกนอนดึกจะนอนเร็วกว่ากลุ่มที่สาม เฉลี่ย 12 นาที

 

ฝึกลูกนอนยาว

ฝึกลูก นอนยาว

 

ปล่อยลูกร้องมากเกินไป จะทำให้ลูกเครียดไหม? นักวิจัยกลุ่มนี้ ได้ทำการติดตามกลุ่มเด็กที่ร่วมทดสอบเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้น เพื่อศึกษาว่าการปล่อยให้ลูกร้องจนหลับขะเป็นการเพิ่มระดับความเครียดจากฮอร์โมน cortisol หรือไม่ โดยตรวจหาจากน้ำลายของเบบี๋ ร่วมกับใช้กำไลข้อเท้าเพื่อนับจำนวนการตื่นนอนกลางดึกของเด็ก ๆ ผลปรากฎว่า เด็กที่ถูกปล่อยให้ร้องจนหลับไปเอง กับกลุ่มที่ให้ลูกนอนดึก ๆ เด็กจะไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ จากงานวิจัยข้างต้น ไม่ได้บอกระยะเวลาที่ใช้ในทดสอบเด็ก และไม่รู้ว่าพ่อแม่ของเด็กแต่ล่ะกลุ่มใช้วิธีการเดียวนี้ตลอด 1 ปีหรือไม่

 

Source : 1 , 2

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกไม่ยอมพูด ทำไงดี ลูกพูดช้า ผิดปกติหรือไม่ ทำยังไงให้ลูกพูด

ลูกเดินช้า เมื่อไหร่ต้องกังวล?

พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ฝึกลูกนอนยาว 6 วิธีฝึกลูกนอนยาว หมดปัญหา ลูกร้องตอนดึก
แชร์ :
  • อยากให้ลูกนอนยาว ทำได้ไม่ยาก ลูกหลับสนิทให้แม่ได้พักเหมือนได้ขึ้นสวรรค์

    อยากให้ลูกนอนยาว ทำได้ไม่ยาก ลูกหลับสนิทให้แม่ได้พักเหมือนได้ขึ้นสวรรค์

  • ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

    ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • อยากให้ลูกนอนยาว ทำได้ไม่ยาก ลูกหลับสนิทให้แม่ได้พักเหมือนได้ขึ้นสวรรค์

    อยากให้ลูกนอนยาว ทำได้ไม่ยาก ลูกหลับสนิทให้แม่ได้พักเหมือนได้ขึ้นสวรรค์

  • ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

    ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ