หยุดพฤติกรรมยอดแย่ ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก
หยุดพฤติกรรมยอดแย่ ของพ่อแม่ที่ชอบทำร้ายลูกอย่างไม่รู้ตัว เพราะอารมณ์ของตัวเอง ความคาดหวังของตัวเองที่เอาไปลงที่ลูก แต่นั่นกลับกลายเป็นการทำร้ายลูกอย่างร้ายแรงเกินกว่าเหตุหรือเปล่า ถ้าไม่อยากให้ลูกห่างเหินจากคุณหรือเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมรุนแรงก้เลิกทำซะเถอะ
1. ซ้ำเติมเมื่อลูกทำผิด เกลียดพ่อ
พ่อแม่บางคนคาดหวังกับลูกมากเกินไป พอลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจก็จะด่าทอ ใช้คำที่รุนแรง โดยเฉพาะเวลาที่ลูกทำอะไรผิด เช่น ลูกทำน้ำหก แม่ก็จะบ่นว่า “ทำหกอีกแล้วนะ ซุ่มซ่ามตลอดเลย บอกว่าให้ระวัง” คำพูดที่ซ้ำเติมลูกเหล่านี้ เมื่อพูดบ่อยๆ จะทำให้ลูกคิดว่าตนเองทำไม่ได้ ทำไม่เก่งและไม่อยากทำสิ่งนั้นสิ่งนี้อีกเลย เพราะกลัวจะโดนดุอีก
หยุด พฤติกรรม ยอดแย่
วิธีที่ดีที่สุด คือ เวลาที่ลูกทำไม่ได้ พ่อแม่ควรให้กำลังใจและคอยส่งเสริมพร้อมให้คำแนะนำลูกที่ถูกต้องด้วย เช่น หากพบว่าลูกๆ ทำน้ำหก ผู้ใหญ่ควรพูดในลักษณะที่ให้เด็กได้คิดแก้ไขปัญหา ด้วยการตั้งคำถามชวนคิดว่า “ถ้าน้ำหกแบบนี้ เราจะทำอย่างไรกันดี”
หากเด็กยังเล็กเกินไป ไม่สามารถคิดและตอบเราได้ในขณะนั้น เราอาจพูดกับเด็กว่า “หยิบผ้าขี้ริ้วที่อยู่ในครัว มาเช็ดน้ำที่หกด้วยกันนะคะ เดี๋ยวแม่จะช่วยเอง” จากนั้นก็ตั้งคำถามกับเด็กเพื่อให้เขาคิดแก้ไขปัญหา โดยถามเด็กว่า “ครั้งหน้า ถ้าเราไม่อยากให้น้ำหกอีก เราจะทำอย่างไรดีคะ”
การแนะนำแบบไม่ซ้ำเติมในข้อผิดพลาดของเด็กเป็นการปลูกฝังให้เด็กแก้ไขปัญหาด้วยการใช้เหตุและผลไม่ใช่ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
พฤติกรรมยอดแย่
2. ลงโทษลูกด้วยอารมณ์ จน เกลียดพ่อ
ความรุนแรงที่เป็นต้นเหตุให้เด็กมีปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นโมโห โกรธ ไม่พอใจ ก็จะเริ่มด่าก่อน แล้วก็ตีลูก แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มันทำให้เกิดการทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้เด็กจดจำและนำความรุนแรงเหล่านั้นไประบายออกสู่คนอื่นที่เขาไม่พอใจ
พ่อแม่หลายคนเลือกการลงโทษเพื่อเอาไว้ควบคุมพฤติกรรมของลูก แต่พ่อแม่บางคนเอาไว้ระบายอารมณ์ของตนเอง เมื่อลูกทำอะไรให้พ่อแม่ไม่พอใจ การลงโทษเด็กนั้นจำเป็นต้องมีขอบเขต เพราะเด็กมีความเข้มแข็งต่างกัน และนี่ก็เป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคซึมเศร้าในเด็กได้ ดังนั้น ผู้ปกครองควรอธิบายด้วยเหตุผลว่าลูกทำผิดอะไร และให้เด็กได้คิดและทบทวนว่า ตัวเขาจะสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร
หยุด พฤติกรรม ยอดแย่
ในกรณีที่เด็กทำผิดหรือมีปัญหาพฤติกรรม การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นพ่อแม่ควรทำความเข้าใจกับลูกน้อยก่อนว่าเขาทำสิ่งนั้นไปเพราะอะไร และต้องคอยสอบถามลูกและการสังเกตพฤติกรรมลูก พร้อมช่วยกันหาทางออกที่จะแก้ไขปัญหาด้วยกัน หากต้องการที่จะปรับพฤติกรรมโดยการลงโทษ ผู้ใหญ่อาจตั้งข้อตกลงหรือทำกติกากับเด็กก่อน
เช่น “แม่เข้าใจว่าลูกชอบเล่นคอมพิวเตอร์ แต่เล่นแล้วต้องมาช่วยแม่ล้างจานนะจ้ะ จะเล่นกี่นาทีแล้วมาช่วยแม่ดีจ้ะ” หรือ “แม่ให้ลูกเล่นคอม 1 ชั่วโมงนะจ้ะ แล้วมาช่วยแม่ล้างจาน ถ้าครบ 1 ชั่วโมงแล้วไม่มาช่วยแม่ ครั้งหน้าแม่จะลดเวลาให้ลูกเล่นคอมเหลือแค่ 30 นาทีนะจ้ะ”
3. ทะเลาะกันต่อหน้าลูก
เพราะเด็กอาจจะกลายเป็นเด็กเก็บความรู้สึก ก้าวร้าว ไม่เชื่อใจผู้อื่น ไม่ร่าเริงแจ่มใส เหมือนปกติ และอาจจะแสดงพฤติกรรม ที่ก้าวร้าวต่อคนในครอบครัว คนรอบข้าง รวมถึงคุณครูและเพื่อนๆ ที่โรงเรียน หรือหันไปพึ่งยาเสพติดเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ก็เป็นได้ ควรแก้ปัญหาด้วยเหตุผล ระงับอารมณ์ และช่วยกันหาทาง แก้ไขปัญหาไม่ขัดแย้งกันต่อหน้าลูก
หยุดพฤติ กรรม ยอดแย่
4. ทอดทิ้งลูกอยู่ตามลำพัง
อย่าคิดว่าเด็กอยู่กับของเล่น ทีวี โน๊คบุ๊ค หรือหนังสือก็อยู่ได้ แล้วปล่อยให้เขาอยู่บ้านคนเดียวตามลำพัง ถ้าคุณทำแบบนี้อยู่ให้เลิกทำซะ เพราะนอกจากเด็กจะไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขอนามัย อาหารการกินอย่างเต็มที่แล้ว ลูกน้อยอาจได้รับอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า บ่อน้ำ สารเคมีและอันตรายจากบุคคลแปลกหน้ามาทำร้ายด้วย และยิ่งปัจจุบันการลักพาตัวเด็กหรือการล่วงเกินทางเพศก็เป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้สูงวัย
อีกสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ควรรู้ การทำแบบนี้จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ไม่เป็นที่ต้องการของใครก็เลยถูกทอดทิ้งไว้ตามลำพัง หากพ่อแม่คนไหนมีความจำเป็นต้องไปธุระนานจริงๆ แนะนำให้ฝากเด็กไว้กับญาติพี่น้อง หรือสถานรับเลี้ยงเด็กที่ไว้ใจได้จะดีกว่า
พฤติกรรมของเจ้าตัวเล็ก
5. ให้ลูกดูสื่อที่ไม่เหมาะสม
เด็กสมัยนี้ชอบเล่นโซเชียลและดูวิดีโอยูทูป รวมถึงเล่นเกมส์ออนไลน์ด้วย และการเข้าถึงสื่อลามกอนาจาร ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับเด็กเล็กทำไร แต่ถ้าเห็นว่าลูกดูห้ามไม่ทันแล้ว พ่อแม่ก็ควรให้คำแนะนำที่ถูกต้องด้วย
การปล่อยให้ลูกน้อยอยู่กับโซเชียลมากๆ นั้นจะส่งผลเสียต่อเด็กอย่างมาก ไม่ว่าเป็นร่างกายไม่พัฒนาการตามวัย ไม่มีสมาธิ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้หงุดหงิดง่าย ขาดทักษะในการจัดการแก้ปัญหา ขาดความสัมพันธ์กับผู้อื่น อีกทั้งหากจะให้เด็กเล่น ควรมีการทำข้อตกลงกำหนดเวลากติกาการเล่นที่ชัดเจน และมีกิจกรรมเสริมให้เด็กได้ทำ เช่น การออกกำลังกาย เล่นดนตรี ศิลปะ ฯลฯ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา: thaichildrights
บทความที่น่าสนใจ:
สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF
นิสัยของลูกคนโต คนกลาง คนเล็ก และลูกคนเดียว พี่น้อง นิสัย เหมือนหรือต่างกัน
อยากเลิกกับสามีมาก 5 เรื่องจริงเมื่อเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวแล้วต้องรับมือให้ไหว
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!