วันนี้เราขอนำเสนอเมนูอร่อยๆ เต้าหู้ทรงเครื่อง ครบเครื่องเรื่องสุขภาพ ไม่น่าเชื่อว่าเมนูง่ายๆที่เรียกได้ว่า ใครได้ชิมเป็นอันต้องติดใจ กลับให้สารอาหารอย่างครบถ้วน ถือเป็นเมนู เต้าหูทรงเครื่อง ทรงคุณค่า ยกให้เป็นเมนูประจำบ้านเมนูสุขภาพน่าหม่ำ วันนี้พามาไขความลับ สุขภาพที่ดี ประโยชน์มากล้น จากวัตถุดิบหลักๆ ที่เรายกมาอย่าง เต้าหู้ ถั่วลันเตา ข้าวโพดอ่อน และเห็ดฟาง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักๆ ในเมนูเหล่านี้ และวัตถุดิบเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้ในช่วงเทศกาลกินเจประจำปีได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสุขภาพดีสร้างได้ด้วยเมนูเต้าหู้ทรงเครื่อง ที่มีสารอาหารที่เราคัดสรรมาให้แม่ๆทั้งหลายได้นำเมนูนี้ ไปเสริฟน้องหนูๆหรือคนในบ้านกันค่ะ ด้านท้ายบทความยังมีสูตรเมนู ที่สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้เลย ขั้นแรกเราไปทราบประโยชน์ของเมนูนี้กันก่อนค้า
เต้าหู้ทรงเครื่อง
เต้าหู้
สิ่งแรกที่ขาดไม่ได้เลยจากการทานเมนู เต้าหู้ทรงเครื่อง วัตถุดิบหลักคือ “เต้าหู้ ” เรามาทำความรู้จักเต้าหู้กันสักเล็กน้อย เพื่อให้ทุกคำที่ตักเมนู เต้าหู้ทรงเครื่อง เข้าปากนั้นเราได้รับคุณค่าและประโยชน์อย่างครบถ้วนกัน
เชื่อหรือไม่ว่าชาวจีนเรียกเต้าหู้ว่า “เนื้อไร้กระดูก” ซึ่งสุขภาพดีสร้างได้เต้าหู้นั้น มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนนานกว่า 2,000 ปีแล้วเต้าหู้ เกิดจากการแปรรูปของถั่วเหลือง “เต้าหู้” เพราะเต้าหู้เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ถ้าเทียบกับเนื้อสัตว์ โปรตีนในเต้าหู้ก็ยังมีมากกว่า ทำให้เต้าหู้กลายเป็นอาหารเพื่อสุขภาพไปโดยปริยาย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ เช่นเมนู เต้าหู้ทรงเครื่องที่ทางเราแนะนำ กินง่าย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
เต้าหู้ถือว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้คุณค่าทางโภชนาการครบครัน สุขภาพที่ดีแถมยังต้านโรคมะเร็ง และส่งเสริมเรื่องความจำอีกด้วย สำหรับใครที่คิดว่าเต้าหู้ไม่อร่อย แนะนำให้เริ่มกินเต้าหู้หลอด เพราะมันกินง่ายและอร่อยสุด ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก ชนิดเต้าหู้กันค่ะ
- เต้าหู้หลอด เต้าหู้ขวัญใจเด็กๆ มีลักษณะยาวกลม ปัจจุบันมีทั้งทำจากถั่วเหลือง ไข่แดง ไข่ขาว
- เต้าหู้ขาว ถูกแยกเป็นสองชนิดก็คือ เต้าหู้ขาวแบบแข็ง และเต้าหู้ขาวแบบนิ่ม มีรสชาติค่อนข้างจืด
- เต้าหู้เหลือง เต้าหู้ชนิดนี้อยู่ทนกว่าเต้าหู้ชนิดอื่น และมีเค็มกว่าเต้าหู้ขาว
- เต้าหู้ญี่ปุ่น มีหน้าตาคล้ายกับเต้าหู้ขาวชนิดอ่อน แยกเป็น 2 ชนิด คือ เต้าหู้คินุ และเต้าหู้โมเมน แตกต่างกับเต้าหู้ขาวที่เนื้อสัมผัส
- ฟองเต้าหู้ เกิดจากน้ำเต้าหู้ที่ปล่อยให้ผิวด้านบนเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ
- เต้าหู้ทอด หรือเต้าหู้พวง ลักษณะเป็นเต้าหู้ที่หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า นิยมใช้ใส่ในก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ
- ต้าหู้ออร์แกนิค มีทั้งเต้าหู้เห็ดหอม เต้าหู้งาดำ เนื้อสัมผัสนั้นออกลูกชิ้น เพราะมีส่วนผสมของแป้งมันฝรั่ง บุก เห็ดหอมหรืองา
เต้าหู้ขาว
เมื่อเราทราบชนิดของเต้าหู้แล้ว มาทราบประโยชน์ของเต้าหู้กัน
-
เต้าหู้มีความโดดเด่นในเรื่องโปรตีนมาก มีกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 8 ชนิด
-
เต้าหู้มีโปรตีนที่ให้ไฟเบอร์ หรือกากใยอาหารที่ช่วยในระบบย่อยอาหาร ช่วยสุขภาพที่ดี
-
เต้าหู้มีประสิทธิภาพในการลดคอเลสเตอรอล และลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด
-
เต้าหู้ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท ที่เกี่ยวกับความทรงจำ
-
เต้าหู้มีผลในการป้องกันมะเร็ง
-
เต้าหู้ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในหญิงวัยหมดประจำเดือน
-
เต้าหู้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
ที่มา : 1
บทความประกอบ : แครอทพืชผักสีส้ม 10 ประโยชน์มหัศจรรย์ ไม่รู้ถือว่าพลาด
ถั่วลันเตา
นอกจากเต้าหู้ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเมนูเต้าหู้ทรงเครื่องแล้ว จะเห็นว่าในเมนูเต้าหู้ทรงเครื่อง มีส่วนผสมของ “ถั่วลันเตา” บอกได้เลยว่า สุขภาพดีสร้างได้”ถั่วลันเตา”มีประโยชน์มากมายไม่แพ้เต้าหู้เลยทีเดียว
ถั่วลันเตา
ประวัติย่อๆของถั่วลันเตา เป็นไม้เลื้อยมีลำต้นมีขนาดเล็ก ใบของถั่วลันเตาจะเป็นใบประกอบแบบขนนก โดยมีใบย่อย ซึ่งใบย่อยของถั่วลันเตานั้น จะมีลักษณะเป็นรูปกึ่งวงกลม หรืออาจจะเป็นรูปวงรี โดยที่โคนใบจะมีลักษณะกลม ส่วนปลายใบจะแหลม มีสีเขียวอ่อนจนกระทั่งถึงสีเขียวเข้ม ในหนึ่งฝักจะประกอบไปด้วยเมล็ด 4 – 10 เมล็ด ซึ่งเราสามารถรับประทานได้ตั้งแต่ฝักยังอ่อน และนับได้ว่าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม เพราะให้คุณค่าทางอาหารสูง
ประโยชน์ของ ถั่วลันเตา
- มีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ภายในร่างกายนั้นถูกทำลาย และยังคงมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ยังช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี
- ช่วยบำรุงกระดูกเพราะถั่วลันเตาประกอบไปด้วยวิตามินเคสูง จึงเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง อีกทั้งทำให้กระดูกสามารถสะสมแคลเซียมได้เพิ่มมากขึ้น และยังคงมีวิตามินบี ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
- ช่วยบำรุงหัวใจ นอกจากจะสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้แล้ว ยังคงสามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจด้วย
- อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ถั่วลันเตาเพียงแค่ครึ่งถ้วย ประกอบไปด้วยธาตุเหล็กมากกว่า 1.2 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และไม่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย
- ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้เป็นอย่างดี ภายในถั่วลันเตา มีไนอะซิน ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกาย และไตรกลีเซอไรด์ลดลง แต่สำหรับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีต่อร่างกาย จะมีอัตราเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันได้
- แก้อาการท้องผูก ถั่วลันเตาประกอบไปด้วยไฟเบอร์สูงช่วยให้ระบบขับถ่ายของเราสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยบำรุงสายตา มีวิตามินเอ เป็นวิตามินที่ช่วยในการบำรุงสายตาได้ อีกทั้งยังมีลูทีน ที่ช่วยปกป้องสายตาจากการเกิดโรคต้อกระจกได้
- นอกจากเต้าหู้และถั่วลันเตา ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเมนูเต้าหู้ทรงเครื่องแล้ว ยังมีส่วนผสมของ ข้าวโพดอ่อน ยิ่งเด็กที่ไม่ค่อยทานผักให้เมนูนี้เป็นเมนูเปิดใจได้ไม่ยาก เพราะข้าวโพดอ่อนเป็นวัตถุดิบที่ คุณหนูๆชอบรับประทาน ทานง่าย อร่อย มาทราบประโยชน์ ข้าวโพดอ่อนกันค่ะ
บทความประกอบ : ถั่วพิสตาชิโอช่วยหลับง่าย พิสตาชิโออุดมไปด้วยเมลาโทนิน? ประโยชน์ดีแถมอร่อย
ข้าวโพดอ่อน
พืชผักทานง่าย “ข้าวโพดอ่อน” เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เราคุ้นเคยกับรสชาติและหน้าตา และอยู่ในเมนู เต้าหู้ทรงเครื่อง เพราะเราสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง สุขภาพที่ดีเป็นวัตถุดิบประกอบในหลายๆเมนู และในอาหารชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผัดผัก แกงเลียง แกงป่า ซึ่งรสชาติของข้าวโพดอ่อน หรือข้าวโพดฝักอ่อนนี้ก็จะหวาน กรุบกรอบ ถูกปากหลายๆ คนและถูกใจหนูน้อยในบ้านด้วยค่ะ
ข้าวโพดอ่อน
ประโยชน์หลัก ๆ ถ้ากินข้าวโพดอ่อนเป็นประจำ จะช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด นอกจากจะทำอาหารได้อร่อยแล้ว ข้าวโพดอ่อนก็ยังมีคุณค่าทางอาหารอยู่มาก ไม่ใช่แค่ลดคลอเรสเตอรอล อีกทั้งในข้าวโพดอ่อน ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี แคลเซียม เส้นใยอาหาร ฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปตามปกติ ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อสุขภาพที่ดี
รวมกับธาตุอื่นรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย สุขภาพดีสร้างได้ข้าวโพดอ่อน เพราะสามารถป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว อีกทั้งยังช่วยย่อยอาหาร ลดอาการบวมน้ำ รักษาโรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และจมูกอักเสบเรื้อรัง ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เจริญอาหาร สามารถกระตุ้นให้กระเพาะและลำไส้ทำงานได้ดีอีกด้วย
เห็ดฟาง
มาถึงวัตถุดิบหลักอีกอย่างหนึ่งที่แม่ๆที่เข้าครัวมักจะใส่ไปในเมนู เต้าหู้ทรงเครื่องคือ “เห็ดฟาง” เรามาทำความรู้จักเจ้าเห็ดฟางกัน “เห็ดฟาง” เรียกได้ว่าเป็นยอดวัตถุดิบสำหรับปรุง อาหารสุขภาพ เลยทีเดียวล่ะ มักจะพบเห็นได้ในหลากหลายเมนูนะคะ โดยเฉพาะเมนูสุขภาพทั้งหลาย เพราะวิธีการเพาะเห็ดชนิดนี้นั้น ไม่ต้องพึ่งพาสารพิษหรือยาฆ่าแมลงใดๆทั้งสิ้น
ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าปลอดสารเคมีแน่นอน อีกทั้งยังมีประโยชน์ดีๆมากมาย สุขภาพดีสร้างได้เห็ดฟาง ซึ่งเห็ดฟางมีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน หาซื้อได้ง่าย ปลูกก็ขึ้นง่าย ออกดอกทุกฤดูกาล เห็ดฟางมีลักษณะคล้ายร่ม บริเวณหมวกเห็ดจะมีสีเทาอ่อนๆ ผิวเนียนเรียบ มีขนอยู่บางๆ คล้ายผ้ากำมะหยี่ มีก้านดอกสีขาว สารอาหารในเห็ดฟางนั้นมีมากมาย ประกอบไปด้วยแร่ธาตุอย่าง โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม และยังมีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ที่ช่วยต้านโรคเหน็บชา และช่วยบำรุงสายตา อีกทั้งยังไม่มีไขมัน จึงไม่ทำให้อ้วน เหมาะที่จะนำมาทำเป็นเมนูควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วนได้ดีเลยค่ะ
เห็ดฟาง
บทความประกอบ :เห็ดมีประโยชน์ อย่างไร? เด็กทารกกินได้ไหม? สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้
สรรพคุณของเห็ดฟาง
มาดูประโยชน์และสรรพคุณของเห็ดฟางกันค่ะ
- เห็ดฟางช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
- เห็ดฟางมีสารที่ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัส
- เห็ดฟางไม่มีไขมัน จึงไม่ทำให้อ้วน
- เห็ดฟางมีสรรพคุณช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
- ประโยชน์ของเห็ดฟางช่วยป้องกันโรคหัวใจ
- เห็ดฟางช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง
- สรรพคุณเห็ดฟางเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
- เห็ดฟางมีวิตามินซีสูง จึงช่วยแก้ไข้หวัด และทำให้ผิวพรรณสดใส
- เห็ดฟางมีสรรพคุณช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
- เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่
- ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้
เมื่อเราทราบวัตถุดิบหลักๆในเมนูเต้าหู้ทรงเครื่องกันไปแล้ว ถึงกับต้องร้องว้าวให้กับวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางสารอาหารมากมายขนาดนี้ สุขภาพที่ดีด้วยเห็ดฟาง และแล้วก็มาถึงเวลาเข้าครัวจัดเตรียมอาหารสำหรับคนในครอบครัวหรือให้คนที่คุณรักกันแล้วค่ะ วันนี้เราเลยนำสูตรเมนูมาฝากกัน ไปเข้าครัวพร้อมกันเลย
เต้าหู้ทรงเครื่องเมนูยอดฮิต
|
เต้าหู้ขาวชนิดหลอด
|
2 หลอด
|
กุ้งสดขนาดกลาง (แกะเปลือกผ่าหลัง)
|
8-10 ตัว
|
ข้าวโพดอ่อน หั่นตามขวาง
|
¼ ถ้วย
|
เห็ดฟาง หั่นชิ้น
|
½ ถ้วย
|
แครอต หั่นสี่เหลี่ยมเล็ก
|
¼ ถ้วย
|
เมล็ดถั่วลันเตา
|
¼ ถ้วย
|
กระเทียมสับ
|
2 ช้อนโต๊ะ
|
น้ำมันพืช
|
3 ช้อนโต๊ะ
|
ซีอิ๊วขาว
|
2 ช้อนโต๊ะ
|
เกลือป่น
|
½ ช้อนชา
|
น้ำตาลทราย
|
2 ช้อนชา
|
พริกไทยป่น
|
½ ช้อนชา
|
น้ำซุป
|
¾ ถ้วย
|
แป้งข้าวโพด
|
4 ช้อนโต๊ะ
|
น้ำเปล่า สำหรับละลายแป้งมัน
|
¼ ถ้วย
|
แป้งสาลี สำหรับคลุก
|
½ ถ้วย
|
น้ำมันสำหรับทอด
|
|
วิธีทำเมนูเต้าหู้ทรงเครื่อง
-
ขั้นแรกละลายแป้งข้าวโพดกับน้ำสะอาดเข้าด้วยกันและพักไว้สักครุ่
-
ตรงนี้เราจะใช้เต้าหู้ชนิดใดก็ได้นะคะ แต่ในสูตรนี้คือหั่นเต้าหู้ขาวเป็นชิ้นตามขวาง ซับน้ำให้แห้ง นำมาคลุกกับแป้งสาลีให้ทั่ว แล้วทอดในน้ำมันร้อน (ไฟกลาง) จนกระทั่งแป้งด้านนอกสุก พักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
-
หลังจากนั้น ผัดกระเทียมกับน้ำมันให้หอม ใส่กุ้ง หรือเนื้อสัตว์อื่นๆลงผัดเข้าด้วยกัน ตามด้วยผักต่างๆ เติมน้ำซุป ผัดจนกระทั่งส่วนผสมสุก
-
ขั้นตอนการปรุงรส ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว เกลือ น้ำตาลทราย และพริกไทยป่น ตั้งไฟจนส่วนผสมเดือด ใส่แป้งข้าวโพดละลายน้ำลงคนให้ส่วนผสมข้น แล้วตักราดลงบนเต้าหู้ที่ทอดไว้
ข้อแนะนำ
เท่านี้เราก็ได้หนึ่งเมนูที่อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการ สุขภาพดีสร้างได้กับเหล่าวัตถุดิบประโยชน์มากล้น ทำให้ดื่มด่ำกับรสชาติแสนอร่อยอีกทั้งสุขภาพดีอีกด้วย ยังไงอย่างลืมนำเมนูเต้าหูทรงเครื่องเก็บไว้ในลิสต์เมนูเพื่อสุขภาพอีกเมนูนึงนะคะ และในช่วงเทศกาลกินเจ ก็สามารถนำเมนูเหล่านี้ไปปรับใช้ได้เช่นกัน
ที่มา : Goodlifeupdate Goodlifeupdate Mgronline
สูตรอาหารเพื่อสุขภาพอื่น ๆ
สูตรอาหารเมนูกุ้งอาหารเพื่อสุขภาพ เมนูกุ้ง ถูกใจคนทั้งบ้าน!
วิธีทำสลัดแตงกวา ทานง่าย และยังดีต่อสุขภาพ
เทศกาลกินเจ ไม่อยากเจแตกฟังทางนี้ อาหารกินได้และอาหารต้องห้ามในช่วงกินเจ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!