X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน หย่านมแม่ตอนไหนดีที่สุด

บทความ 5 นาที
ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน หย่านมแม่ตอนไหนดีที่สุด

ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน หย่านมแม่ตอนไหนดีที่สุด มีวิธีการอันละมุนละม่อมมาบอก

นอกจาก “นมแม่” จะเป็นอาหารที่ดีที่สุด มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดสำหรับลูกน้อยแล้ว การให้นมแม่ยังเป็นช่วงเวลาอันล้ำค่าที่สร้างความผูกพันใกล้ชิดระหว่างแม่ลูกด้วย แต่เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งคุณแม่หลายคนก็ต้องเผชิญกับคำถามว่า ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน ควรหย่านมแม่เมื่อไรถึงจะเหมาะสมที่สุด

ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน

ปัจจัยที่บอกว่า ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า หรือยัง? 

การจะให้ลูกน้อยเลิกเต้าไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวค่ะ แต่คุณแม่ควรดูปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม และดู “ความพร้อม” ของตัวเองและลูกน้อยค่ะ

  • ความพร้อมของลูก : ลูกน้อยพร้อมที่จะกินอาหารเสริมอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอหรือยัง
  • ความพร้อมของแม่ : คุณแม่พร้อมที่จะลดปริมาณน้ำนมและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  • ร่างกายของแม่ : หากคุณแม่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคบางชนิด อาจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจหยุดให้นมแม่

 

ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน

แม้ “องค์การอนามัยโลก” จะแนะนำว่า เด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 เดือนแรก ควรกินนมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องกินน้ำหรืออาหารเสริมอื่น ๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารจากนมแม่ได้อย่างเต็มที่ และเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกเกิดการแพ้อาหารในอนาคตด้วย

หากหลัง 6 เดือนแล้ว คุณแม่ยังสามารถผลิตน้ำนมได้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถให้นมลูกเองได้ และต้องการให้ลูกกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ลูกมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสมองอย่างเต็มที่ ก็สามารถให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้จนถึงอายุ 1-2 ปี หรือมากกว่านั้น (ได้ถึงอายุ 6-7 ปี) ตามความสะดวกของคุณแม่เลยค่ะ โดยตั้งแต่ 7 เดือนเป็นต้นไป สามารถให้ลูกกินอาหารอื่นควบคู่ไปกับนมแม่ได้ค่ะ

Advertisement

อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนอาจให้ลูกดูดเต้าได้ถึงเพียง 3 เดือน เนื่องจากคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็แนะนำว่าให้ลูกดูดเต้าสลับดูดจุกขวดนมก็ได้ค่ะ แต่ยังคงต้องเป็นการดูดนมขวดที่เป็นนมสต๊อกจากนมแม่นะคะ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีที่สุดอย่างต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดค่ะ

ทำไมนมแม่ดีที่สุด

ทำไม? นมแม่ ถึงดีที่สุด 

การให้นมแม่นั้นจะช่วยขับน้ำคาวปลา และลดโอกาสที่คุณแม่จะเป็นมะเร็งเต้านมลงด้วยนะคะ อีกทั้งช่วยดึงไขมันที่สะสมไว้ตอนท้องค่อย ๆ นำมาสร้างเป็นน้ำนมสำหรับลูกทำให้คุณแม่ไม่อ้วน ที่สำคัญคือ นมแม่สะดวก ประหยัดเงินและเวลาที่สุดแล้วค่ะ ซึ่งตามธรรมชาติแล้ว คุณแม่จะสามารถผลิตน้ำนมเลี้ยงลูกได้จนระบบต่าง ๆ ของร่างกายน้อย ๆ นั้นพัฒนาเต็มที่ และน้ำนมแม่ก็มีประโยชน์มากมายต่อร่างกายลูก

  • น้ำนมแม่มีสารภูมิคุ้มกันสำคัญ

ได้แก่ secretary IgA, เม็ดเลือดขาว, ไลโซไซม์ (lysozyme เอนไซม์ที่มี ฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย), แลตโตเฟอริน (lactoferrin โปรตีนที่ ช่วยต่อต้านเชื้อโรค) และ bifidus growth factor (สารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของแล็กโตบาซิลัส ช่วยให้แบคทีเรียไม่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้) ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคได้ ซึ่งลูกน้อยจะได้รับภูมิคุ้มกันนั้นทันทีตั้งแต่กลืนนมแม่มื้อแรกและมื้อต่อ ๆ ไป

  • นมแม่มี DHA

ช่วยสร้างและเชื่อมต่อเส้นใยประสาท รวมถึงปลอกหุ้มเส้นใยประสาท กระตุ้นการเติบโตของสมอง และสารอาหารสำคัญที่ดีต่อการสร้างอวัยวะและระบบอื่น ๆ ของลูก ซึ่งไม่มีอยู่ในนมชนิดอื่น ทารกที่ทานนมแม่จึงเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ทั้งทางร่างกาย และสมอง

  • นมแม่ย่อยง่ายที่สุด

เพราะประกอบด้วยโปรตีนและสารอาหารที่ย่อยง่ายตามธรรมชาติ เหมาะกับระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยที่ยังไม่แข็งแรง และพัฒนาไม่เต็มที่ กระเพาะอาหารยังมีขนาดเล็ก ยืดหยุ่นได้ไม่มาก การกินนมแม่จึงดีและปลอดภัยที่สุด

  • นมแม่ดีต่อใจ

เพราะระหว่างการให้นม คุณแม่และลูกน้อยจะได้สัมผัส โอบกอด เป็นการแสดงความรักอันลึกซึ้ง ก่อให้เกิดเป็นสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างแม่ลูกค่ะ

ลูกกินอาหารเสริมได้ดี

สัญญาณบอก ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า และพร้อมที่จะหยุดนมแม่

เมื่อไรก็ตามที่มีความคิดว่า ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน คุณแม่สามารถเช็กสัญญาณความพร้อมที่จะให้หยุดนมแม่ได้เบื้องต้น ดังนี้ค่ะ

  • ลูกน้อยกินอาหารเสริมได้ดี กินได้หลากหลายชนิด และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • น้ำหนักตัวของลูกเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ มีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมตามวัย
  • ลูกนอนหลับได้อย่างต่อเนื่องยาวนานขึ้น
  • ลูกมีความสนใจอาหารอื่น ๆ หรืออาหารของผู้ใหญ่มากขึ้น

ลูกน้อยนอนหลับได้นานขึ้น

วิธี “ลดนมแม่” ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า แบบค่อยเป็นค่อยไป

การเลิกเต้านั้นทำแบบฉับพลันทันทีไม่ได้นะคะ เพราะสามารถส่งผลกระทบกระเทือนจิตใจต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยเลย จากโอบกอด โอบอุ้มกันมาตลอดระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จู่ ๆ ความอบอุ่นและสายสัมพันธ์ของช่วงเวลานั้นจะหายไปทันที ไม่ดีแน่ค่ะ การให้ลูกเลิกดูดเต้าจึงควรเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปค่ะ โดยคุณแม่สามารถนำวิธีต่อไปนี้ไปใช้ได้

  • ลดจำนวนครั้งในการให้นมแม่ลงทีละน้อย แล้วค่อย ๆ ลดระยะเวลาในการให้นมแต่ละครั้งลงด้วย
  • ขณะเดียวกันก็เพิ่มปริมาณอาหารเสริมให้ลูกน้อยมากขึ้น
  • ลองเปลี่ยนเวลาให้นมแม่ มาเป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยไม่ค่อยหิว
  • หาสิ่งอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อลูกน้อยต้องการดูดนมจากเต้าคุณแม่ ให้หาสิ่งอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ชวนเล่นของเล่น หรืออ่านหนังสือให้ฟัง

เลิกเต้าแบบค่อยเป็นค่อยไป

สิ่งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อให้ลูก เลิกดูดเต้า

ในช่วงแรกของการเลิกเต้านั้นลูกน้อยอาจร้องไห้เพราะคิดถึงการดูดนมแม่ อาจมีอารมณ์แปรปรวนและงอแงมากขึ้น รวมถึงมีอาจมีปัญหาในการนอนหลับ และน้ำหนักตัวลดลงชั่วคราว ซึ่งคุณแม่อย่าเพิ่งร้อนใจค่ะ ลองแก้ไขสถานการณ์ด้วยการให้กำลังใจลูกผ่านการอุ้ม การกอด และพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ

หรือหากลูกน้อยมีปัญหาในการปรับตัวจริง ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมค่ะ เนื่องจากการเลิกให้นมแม่ควรเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้ปรับตัวอย่างราบรื่น

 

ที่มา : vichaivej-omnoi.com , bangkokpattayahospital.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกกินนมน้อย ผิดปกติไหม ต้องแก้ไขอย่างไร

แม่ให้นม เต้าไม่คัด ทำไงดี ?

“นมแม่” สำหรับ ทารก 1 สัปดาห์ กินกี่ออนซ์

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน หย่านมแม่ตอนไหนดีที่สุด
แชร์ :
  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว