TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

6 เคล็ดลับลดความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด เพื่อลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์

บทความ 5 นาที
6 เคล็ดลับลดความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด เพื่อลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์

ความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด เป็นเรื่องที่ต้องป้องกันค่ะ เพราะโรคและความพิการที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลต่อลูกน้อยไปทั้งชีวิต มาดูเคล็ดลับลดความเสี่ยงเหล่านี้กัน

รู้ไหมคะว่า ความพิการแต่กำเนิดของทารกในไทยนั้นสามารถพบได้ถึง 3 ใน 100 คน หรือราว 30,000 คนต่อปี ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจนำไปสู่ความพิการแต่กำเนิดของลูกน้อยได้ บทความนี้จะมาแนะนำ 6 เคล็ดลับลดความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการคลอดลูกน้อยออกมาให้แข็งแรงสมบูรณ์ค่ะ

 

▲▼สารบัญ

  • ทารกพิการแต่กำเนิด คืออะไร?
  • กลุ่มโรคความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด มีอะไรบ้าง
  • โรคหลอดประสาทไม่ปิด
  • ปากแหว่งเพดานโหว่
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • แขน ขาพิการ
  • กลุ่มอาการดาวน์ หรือดาวน์ซินโดรม
  • กลุ่มโรคกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์ (Duchenne muscular dystrophy)
  • สาเหตุความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด
  • สาเหตุ ทารกพิการแต่กำเนิด
  • 6 เคล็ดลับลดความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด
  • วางแผนการตั้งครรภ์และปรึกษาแพทย์
  • ได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอ
  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงสารอันตราย
  • ตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์
  • สุขภาพคุณพ่อก็สำคัญ

ทารกพิการแต่กำเนิด คืออะไร?

ก่อนจะไปดูเคล็ดลับลดความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด มาทำความเข้าใจกันสักนิดค่ะว่าความพิการแต่กำเนิดคืออะไร? ซึ่งความพิการแต่กำเนิดนั้นเป็น ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทารกตั้งแต่แรกเกิด โดยเกิดจากการเจริญผิดปกติของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทำให้เด็กที่คลอดออกมามีความผิดปกติทางรูปร่าง หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง และอาจเป็นได้ทั้งความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ หรือพัฒนาการ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของลูกน้อยในระยะยาวได้

ความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด

กลุ่มโรคความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด มีอะไรบ้าง

จริงๆ แล้วโรคที่จัดว่าเป็นความพิการแต่กำเนิดนั้นมีอยู่มากกว่า 7,000 โรคค่ะ ซึ่งมีหลายภาวะ แต่ส่วนใหญ่จะมี 6 กลุ่มโรคที่มีโอกาสพบ ได้แก่

  1. โรคหลอดประสาทไม่ปิด

  • พบได้ 1 ต่อ 800 ของทารกแรกเกิด
  • เกิดจากหลอดประสาทเชื่อมปิดไม่สมบูรณ์ระหว่างตัวอ่อนมีอายุได้ 23-28 วันหลังปฏิสนธิ
  • เป็นผลจากทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น การขาดโฟลิกในช่วงตั้งครรภ์ หรือได้รับสารเคมีระหว่างตั้งครรภ์ บางครั้งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • 90% ของทารกที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขจะมีชีวิตเกิน 1 ปี และ 75% ของทารกพิการแต่กำเนิด ด้วยโรคนี้สามารถมีชีวิตจนเป็นผู้ใหญ่ได้ แต่จะพิการขาทั้งสองข้าง ระบบทางเดินปัสสาวะ-อุจจาระทำงานบกพร่อง และยังอาจมีอาการพิการทางสมองร่วมด้วย

 

  1. ปากแหว่งเพดานโหว่

  • เป็นความพิการของส่วนศีรษะและใบหน้า ทารกจะมีปัญหาการดูดกลืนอาหาร เจริญเติบโตช้า ระบบทางเดินหายใจไม่ปกติ และมีปัญหาด้านการสื่อสาร
  • พบ 1 ต่อ 1,000 ราย
  • เกิดจากพันธุกรรมและภาวะขาดสารของแม่ในขณะที่ตั้งครรภ์ ฯลฯ
  • ปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
  • ทารกพิการแต่กำเนิดด้วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่นี้อาจได้รับผลกระทบกับจิตใจด้วย เนื่องจากจะมีปมด้อยในการเข้าสังคมเพราะหน้าตาและการพูดไม่ปกติ แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดแล้วก็ตาม

ปากแหว่งเพดานโหว่

  1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

  • คือภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นทำให้มีเลือดดำปนอยู่ในเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย
  • เป็นโรคที่มีความแตกต่างกันตามอาการที่แสดง การรักษาและการดูแลผู้ป่วยจึงแตกต่างกันตามแต่กรณี

 

  1. แขน ขาพิการ

  • พบในทารก 2 ต่อ 1,000 ราย
  • เกิดจากความผิดปกติในการสร้างอวัยวะระหว่างอยู่ในครรภ์ 3 เดือนแรก ซึ่งสามารถตรวจทราบได้ตั้งแต่ยังไม่คลอด
  • สาเหตุความผิดปกติมักเป็นเพราะการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ การได้รับสารพิษ หรือติดเชื้อ แม่ไม่ได้วิตามินโฟลิก หรือกินอาหารที่มีโฟเลต จึงเกิดความผิดพลาดขึ้นตอนที่มีการปฏิสนธิ ทำให้เกิดความพิการ
  • ความพิการจากโรคนี้เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง ทั้งแขน ขา มือ เท้า ตลอดจนกระดูกเชิงกราน
  • ทารกจะแสดงอาการตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์

 

  1. กลุ่มอาการดาวน์ หรือดาวน์ซินโดรม

  • เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ในคนปกติจะมี 46 โครโมโซม แต่คนที่เป็นโรคดังกล่าวมี 47 โครโมโซม
  • เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดจากแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก
  • พบในทารก 1 ต่อ 1,000 ราย
  • ทารกจะมีลักษณะของตาที่เฉียงขึ้นบน ดั้งจมูกแบน ตาห่าง มือเท้าสั้น กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง และมักจะมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย และมีพัฒนาการทางสมองล่าช้า

ดาวน์ซินโดรม

  1. กลุ่มโรคกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรมดูเชนน์ (Duchenne muscular dystrophy)

  • พบได้ไม่บ่อยนัก มักเกิดกับเด็กผู้ชายราว 1 ใน 5,000 คนจากทั่วโลก
  • เป็นหนึ่งในโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทางพันธุกรรม
  • เกิดจากพันธุกรรมของยีน โดยเฉพาะในเด็กผู้ชายเมื่ออายุ 3-4 ขวบ ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เพราะกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อยๆ
  • ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติในช่วงเวลาหนึ่ง
  • ป้องกันได้โดยการตรวจยีนของคุณแม่ก่อนมีบุตร

 

สาเหตุความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด

อย่าชะล่าคิดว่าความพิการแต่กำเนิดเป็นเรื่องไกลตัวนะคะ โดยเฉพาะกรณีที่ในครอบครัวไม่เคยมีประวัติพิการมาก่อน เพราะความจริงแล้วการที่ทารกพิการแต่กำเนิด เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ใช่เฉพาะจากพันธุกรรมเท่านั้น แต่ปัจจัยที่เกิดจากการกินยาของคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือการขาดสารอาหารบางชนิดก็ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะพิการตั้งแต่กำเนิดได้เช่นกันค่ะ

สาเหตุ ทารกพิการแต่กำเนิด

โครโมโซมผิดปกติ อาจมีสาเหตุจากทั้งจากพ่อและแม่ โดยส่วนมากจะเกิดในเด็กที่คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี
ความผิดปกติจากการได้รับยาหรือขาดสารอาหาร คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ขาดกรดโฟลิก เหล็ก และไอโอดีน หรือมีการรับยาบางชนิด เช่น กลุ่มยารักษาสิว ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทารกในครรภ์มีโอกาสที่จะพิการแต่กำเนิดได้
การติดเชื้อ ในกรณีคุณแม่ติดเชื้อบางชนิดที่มีผลต่อทารกในครรภ์ จะนำมาสู่การพิการแต่กำเนิด เช่น ถ้าแม่ติดเชื้อหัดเยอรมัน อาจทำให้ทารกในครรภ์มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด

สาเหตุ ทารกพิการแต่กำเนิด

6 เคล็ดลับลดความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด

ความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิดไม่ได้สามารถป้องกันได้ทั้งหมดนะคะ แต่ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูกที่มีพัฒนาการปกติได้ มาดูกันว่า 6 เคล็ดลับลดความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด ที่จะช่วยให้คุณแม่มีการตั้งครรภ์ที่แข็งแรงมีอะไรบ้าง

 

  1. วางแผนการตั้งครรภ์และปรึกษาแพทย์

มีสถิติที่พบว่า 50% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ในปัจจุบันไม่ได้เตรียมพร้อมมาก่อนค่ะ ขณะที่ภาวะความพิการแต่กำเนิดนั้นควรจะมีการป้องกันตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งค่ะที่คุณแม่จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ เพื่อตรวจเช็กโรคประจำตัว ประวัติทางการแพทย์ ยาที่กิน ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว ไปจนถึงแผนการรักษาเพื่อให้คุณแม่และลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดก่อนตั้งครรภ์ เช่น วัคซีนหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน (MMR) ที่ต้องได้รับอย่างน้อย 1 เดือนหรือมากกว่านั้นก่อนจะตั้งครรภ์

 

  1. ได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอ

กรดโฟลิกเป็นวิตามินที่สำคัญในการพัฒนาสมองและกระดูกสันหลังของทารกค่ะ คุณแม่ที่กินอาหารที่มีโฟเลต เช่น ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แครอท แคนตาลูป ฟักทอง อะโวคาโด ถั่ว รวมถึงโฟลิกในรูปแบบเม็ด มีส่วนสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงพิการแต่กำเนิดได้ถึง 50% โดยคุณแม่ควรกินกรดโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน ในช่วงก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน และต่อเนื่องจนถึง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ควบคู่กับการกินธาตุเหล็กและไอโอดีนตามคำแนะนำของแพทย์

กรดโฟลิก สำคัญมากการการตั้งครรภ์

  1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

ไม่เพียงอาหารในกลุ่มที่มีกรมโฟลิกเท่านั้น แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอาหารที่มีประโยชน์และกินให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ พักผ่อนให้เพียงพอและเรียนรู้วิธีที่จะจัดการไม่ให้เกิดความเครียด ที่สำคัญคือควบคุมน้ำหนักตัวให้พอดี เพราะน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าเกณฑ์ หรือน้ำหนักเกิน ไปจนถึงการมีภาวะโรคอ้วน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด และภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ได้มากยิ่งขึ้นค่ะ

 

  1. หลีกเลี่ยงสารอันตราย

เมื่อวางแผนการตั้งครรภ์คุณแม่ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ (รวมถึงการรับควันบุหรี่) และงดการใช้สารเสพติด หรือสัมผัสสารเคมีอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว และรังสี โดยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความปลอดภัยของยาที่กิน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวการสำคัญที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะพิการแต่กำเนิด

 

  1. ตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ตวนได้รับการตรวจคัดกรองตามคำแนะนำของแพทย์ก่อน เช่น การตรวจอัลตราซาวนด์ การเจาะน้ำคร่ำ และการตรวจเลือด เบาหวาน ซึ่งการตรวจคัดกรองจะสามารถช่วยให้พบความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และวางแผนการดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสมค่ะ

ปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์

  1. สุขภาพคุณพ่อก็สำคัญ

คุณแม่เป็นคนอุ้มท้องลูกน้อยก็จริงค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์จะไม่เกี่ยวข้องกับคุณพ่อเลย เพราะโรคในกลุ่มความพิการแต่กำเนิดบางอย่างอาจเกิดจากฝ่ายชายได้เช่นกัน ทั้งพันธุกรรม อายุ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งค่ะที่คุณพ่อจะต้องตรวจสุขภาพและวางแผนการดูแลสุขภาพก่อนการมีบุตรด้วยเช่นกัน

 

การตระหนักรู้ถึงวิธีป้องกัน การลดความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดมาพิการแต่กำเนิดนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มต้นทำได้ได้ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์นะคะ โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพตัวเอง และการขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยให้ทารกน้อยมีโอกาสเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย ปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

 

ที่มา : www.healthychildren.org , hdmall.co.th , www.thaihealth.or.th , multimedia.anamai.moph.go.th , www.rama.mahidol.ac.th

 

บทความจากพันธมิตร
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วัคซีนคนท้อง สำคัญอย่างไร? วัคซีนที่คนท้อง ต้องฉีด vs ต้องห้าม

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน รู้สึกอย่างไร? สัมผัสแรกแห่งรักจากลูกน้อยในครรภ์

ตั้งครรภ์ ท้องนิ่มหรือแข็ง ? คุณแม่มือใหม่กดท้องเองได้มั้ย? เช็กขนาดท้องแม่แต่ละเดือน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 6 เคล็ดลับลดความเสี่ยง ทารกพิการแต่กำเนิด เพื่อลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์
แชร์ :
  • คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

    คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

powered by
  • คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

    คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

  • เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

    เซต คอลเกต บัตเตอร์แบร์ [ฟรี! กระเป๋าน้องเนยลายลิมิเต็ด]

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว