X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน รู้สึกอย่างไร? สัมผัสแรกแห่งรักจากลูกน้อยในครรภ์

บทความ 5 นาที
ลูกดิ้นตอนกี่เดือน รู้สึกอย่างไร? สัมผัสแรกแห่งรักจากลูกน้อยในครรภ์

คุณแม่ที่นับเวลารอวันลูกดิ้น อยากรู้ว่าลูกดิ้นตอนกี่เดือน คนท้องจะรู้สึกยังไงตอนลูกดิ้น บทความนี้มีคำตอบ

หนึ่งในสัญญาณที่น่าตื่นเต้นที่สุดของคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ ได้สัมผัสถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อย หรือที่เรียกว่า “ลูกดิ้น” นั่นเอง ซึ่งการดิ้นของทารกในครรภ์ ไม่เพียงเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการมีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงสุขภาพของทารกด้วย แม่ท้องทุกคนจึงมักตื่นเต้นและรอคอยการดิ้นครั้งแรก ลูกดิ้นตอนกี่เดือน แม่จะรู้สึกอย่างไรถ้าลูกดิ้น มาเฝ้าติดตามและสังเกตการดิ้นของลูก นับหรือจดบันทึกจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นในแต่ละวันจนกระทั่งถึงวันกำหนดคลอดไปพร้อมกันค่ะ

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน

▲▼สารบัญ

  • ทำไมลูกน้อยถึงดิ้น? ลูกดิ้นตอนกี่เดือน
  • รู้ไหม? ลูกดิ้นตอนกี่เดือน
  • ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ความรู้สึกของแม่ตอนลูกดิ้น
  • แม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นช่วงไหนบ้าง?
  • ลูกดิ้นมาก vs ลูกดิ้นน้อย เป็นยังไง? แบบไหนต้องกังวล
  • วิธีนับลูกดิ้น

ทำไมลูกน้อยถึงดิ้น? ลูกดิ้นตอนกี่เดือน

Advertisement

ทารกน้อยในครรภ์ของคุณแม่นั้นมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องค่ะ การดิ้น การยืดแขนขา การเตะ การต่อย กลิ้งตัว เคลื่อนไหวร่างกายอยู่ภายในท้อง ก็เป็นพฤติกรรมตอบสนองของลูกน้อยอย่างหนึ่ง โดยลูกอาจเริ่มดิ้นเมื่อได้ยินเสียง หรือสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของแม่ ไปจนถึงเมื่อรู้สึกว่ากิริยาท่าทางการนั่ง เดิน นอน ของแม่อยู่ในอิริยาบถที่ไม่สบาย นอกจากนี้ การกินของคุณแม่ก็ส่งผลต่อการดิ้นของลูกได้ เช่น กินอาหารบางชนิดที่ทำให้ลูกรู้สึกกระฉับกระเฉง หรือการดิ้นอาจเป็นการตอบสนองเพื่อให้คุณแม่รู้ว่าลูกกำลังนอนหลับหรือตื่นอยู่ด้วย

 

รู้ไหม? ลูกดิ้นตอนกี่เดือน

คุณแม่ที่อยากรู้ว่า ลูกดิ้นตอนกี่เดือน นั่งนับวันรอได้เลยค่ะ เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งจริงๆ แล้วทารกในครรภ์จะเริ่มขยับตัวเล็กน้อยแต่ไม่บ่อยนักตั้งแต่ทายุครรภ์ 1-3 เดือน กระทั่งขยับตัวมากขึ้นจนคุณแม่รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจนและบ่อยมากขึ้นในช่วงเดือนที่ 4-6 หรือสัปดาห์ที่ 16-20 นั่นเอง และในช่วงไตรมาสสุดท้าย อายุครรภ์ 7-9 เดือน ลูกน้อยในครรภ์อาจมีการขยับตัวถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมงค่ะ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่แน่นอนว่า ลูกดิ้นตอนกี่เดือน อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนี้

  • ครรภ์แรกหรือครรภ์หลัง คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ท้องแรกมักจะรู้สึกถึงลูกดิ้น ช้ากว่า คุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว เนื่องจากอาจยังไม่คุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวของลูกน้อยนั่นเอง
  • รูปร่างและน้ำหนัก คุณแม่ที่มีรูปร่างผอมบางอาจรู้สึกถึงลูกดิ้นได้เร็วกว่าคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมาก
  • ตำแหน่งของรก หากรกเกาะอยู่ด้านหน้าของมดลูก (รกเกาะด้านหน้า) อาจทำให้คุณแม่รู้สึกถึงลูกดิ้นได้ช้าลง เนื่องจากรกทำหน้าที่เป็นเหมือนเบาะรองรับการเคลื่อนไหวของลูกน้อย
  • ความใส่ใจ ความไวต่อสัมผัส คุณแม่ที่ใส่ใจและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวเองอย่างใกล้ชิดอาจรู้สึกถึงลูกดิ้นได้เร็วกว่า

 ทั้งนี้ ในช่วงแรกการดิ้นของลูกอาจรู้สึกเหมือนกับการเคลื่อนไหวเล็กๆ หรือคล้ายกับการเคลื่อนไหวของฟองน้ำในท้อง แต่เมื่อทารกโตขึ้น การดิ้นจะชัดเจนมากขึ้น และคุณแม่สามารถรู้สึกได้ว่าเป็นการขยับตัวของลูกได้อย่างชัดเจนค่ะ

ลูกดิ้นช่วงไหนบ้าง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ความรู้สึกของแม่ตอนลูกดิ้น

16-19 สัปดาห์
  • คุณแม่อาจรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในครรภ์เล็กน้อย
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรกอาจต้องนั่งในที่เงียบๆ หรือนอนราบ เพื่อสัมผัสถึงการเคลื่อนไหวของลูก
  • คุณแม่อาจรู้สึกเหมือนมีผีเสื้อกระพือปีก หรือปลาตอดเบาๆ ในท้อง
20-23 สัปดาห์
  • รู้สึกถึงการเตะและต่อยของลูกชัดเจนขึ้นและบ่อยขึ้น
  • รู้สึกว่าลูกดิ้นมากขึ้นในช่วงเย็นของวัน หรือหลังจากกินอาหาร
24-28 สัปดาห์
  • เป็นช่วงที่ถุงน้ำคร่ำอาจมีของเหลวมากถึง 26 ออนซ์ (ประมาณ 768 มิลลิลิตร) ช่วยให้ลูกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากขึ้น เช่น ตีลังกา เตะ ต่อย กระโดด
29-31 สัปดาห์
  • ลูกอาจเคลื่อนไหวน้อยลง แต่รุนแรงและชัดเจนขึ้น เช่น การเตะอย่างแรง
32-35 สัปดาห์
  • ลูกตัวใหญ่ขึ้นจึงอาจมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวน้อยลง ส่งผลให้ลูกเคลื่อนที่ช้าลง แต่ยังคงสามารถสัมผัสได้ถึงอาการขยับตัวอยู่เสมอ
36-40 สัปดาห์
  • เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด ลูกจะเคลื่อนไหวช้าลง แต่ยังสามารถนับจำนวนครั้งที่ดิ้นได้
  • ลูกจะคว่ำหน้าเพื่อย้ายไปตำแหน่งคลอด อาจทำให้คุณแม่รู้สึกถึงการเตะหรือต่อยของลูกที่ตำแหน่งใต้ซี่โครง อาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดได้

 

แม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นช่วงไหนบ้าง?

ไม่ใช่แค่อายุครรภ์เท่านั้นค่ะที่สัมพันธ์กับการดิ้นของลูก แต่ช่วงเวลาต่างๆ ในแต่ละวันก็เกี่ยวพันกับการดิ้นของลูกน้อยเช่นกัน ซึ่งช่วงที่คุณแม่มักสัมผัสได้ว่าลูกดิ้น ได้แก่

  • ช่วงที่คุณแม่นอน หลายครั้งที่แม่ท้องจะรู้สึกว่าลูกดิ้นมากขึ้นตอนที่กำลังนอน เนื่องจาก ช่วงที่แม่เดิน หรือทำกิจกรรม มักทำให้น้ำคร่ำเคลื่อนไหวคล้ายการไกวเปล ส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์มักจะนอนหลับ หรือเป็นไปได้เช่นกันว่าแม่อาจยุ่งจนไม่ได้สังเกตว่าลูกดิ้น จนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่จะนอน บรรยากาศที่เงียบ สงบ จะทำให้ลูกตื่นและดิ้นมากขึ้น ซึ่งคุณแม่เองก็จะสัมผัสการดิ้นของลูกได้มากขึ้นเช่นกัน
  • หลังกินอาหาร หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์จะสูงขึ้น ส่งผลให้ลูกน้อยมีความกระตือรือร้นและเคลื่อนไหวมากขึ้นจากน้ำตาลที่ได้รับเช่นกัน
  • ตอนที่คุณแม่ตื่นเต้น ในกรณีที่คุณแม่มีสถานการณ์ที่สร้างความตื่นเต้น มีการหลั่งของอะดรีนาลีน (Adrenaline) ก็จะมีผลให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวมากขึ้นเช่นกันค่ะ

ลูกดิ้นมาก หรือ ลูกดิ้นน้อยลง

ลูกดิ้นมาก vs ลูกดิ้นน้อย เป็นยังไง? แบบไหนต้องกังวล

โดยทั่วไปหากลูกดิ้นมากจะไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ เพราะลูกจะมีช่วงตื่น ช่วงหลับ เมื่อลูกตื่นคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าลูกดิ้นมาก ซึ่งไม่เป็นอันตราย ยกเว้นบางกรณีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ถือว่าผิดปกติ ซึ่งการดิ้นที่ผิดปกตินี้จะมีลักษณะต่างไปจากการดิ้นธรรมดา คือ ลูกดิ้นแรงมากอยู่ระยะหนึ่ง แล้วหยุดดิ้นไปเลย และไม่มีอาการดิ้นอีกต่อไป แบบนี้ควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ ส่วนในกรณีที่ลูกดิ้นน้อยลง ให้คุณแม่ลองนับจำนวนการดิ้นของทารกที่รู้สึกได้ คือ ไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้งต่อ 2 ชั่วโมง หากน้อยกว่านี้ควรลองนับใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันเดียวกัน ถ้ายังไม่ถึง 10 ครั้ง ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

 

วิธีนับลูกดิ้น

การนับลูกดิ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีการติดตามการเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์ ทั้งการเตะ การถีบ หรือการกลิ้งตัว เพื่อสังเกตว่าลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ ซึ่งการนับลูกดิ้นที่มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความสะดวกในการนำไปใช้ โดยขอแนะนำวิธีต่อไปนี้ค่ะ

  1. Count to ten คือ การนับการดิ้นของลูกในครรภ์ให้ครบ 10 ครั้ง ในช่วงเวลา 2 ชั่วโมงต่อกัน ในท่านอนตะแคง โดยอาจเลือกเวลาที่ลูกดิ้นเยอะ เช่น ช่วงเย็น ถ้านับลูกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง ถือว่าผิดปกติค่ะ
  2. Modified Cardiff count to ten คือ นับการดิ้นของลูกในครรภ์จนครบ 10 ครั้ง ในเวลา 4 ชั่วโมง มักให้นับในช่วงเช้าประมาณ 08.00-12.00 น. หากพบความผิดปกติ คุณแม่ควรไปพบคุณหมอทันทีในช่วงบ่าย เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงทีหากมีภาวะผิดปกติ
  3. นับลูกดิ้น 3 เวลาหลังอาหาร โดยนับครั้งละ 1 ชั่วโมง ถ้าลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง ถือว่าผิดปกติ
  4. Daily fetal movement record (DFMR) เป็นการนับรวมจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นใน 12 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าน้อยกว่า 10 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ

ลูกดิ้นแบบไหนต้องไปพบแพทย์ 

แม้การดิ้นของลูกจะเป็นสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของลูก แต่คุณแม่ก็ห้ามละเลยการดูแลตัวเองให้ดีในช่วงนี้นะคะ โดยต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ จิตใจให้ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงความเครียด และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม พบแพทย์ตามกำหนด จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และลูกมีสุขภาพที่ดีค่ะ

 

 

ที่มา : www.bpksamutprakan.com , hellokhunmor.com , www.drnoithefamily.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพ้ท้องกี่เดือนหาย อาการจะดีขึ้นเมื่อไหร่? รับมือยังไง แพ้ท้องแบบไหนต้องระวัง?

7 โรคหน้าร้อนที่แม่ท้องต้องระวัง ! ดูแลยังไง? ให้ครรภ์ปลอดภัยในฤดูร้อน

คนท้องไอกินอะไรถึงหาย คนท้องไอบ่อย อันตรายมั้ย แก้ไขยังไงดี?

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ลูกดิ้นตอนกี่เดือน รู้สึกอย่างไร? สัมผัสแรกแห่งรักจากลูกน้อยในครรภ์
แชร์ :
  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว