การที่เด็ก ๆ มีอาการจามเกิดขึ้นมาบ่อย ๆ ต้องบอกคุณแม่ก่อนนะคะว่าสิ่งที่เราเห็นอยู่ในตอนนี้อาจจะไม่ได้มาเพียงแค่ลูกเป็นหวัดเพียงเท่านั้น แต่สิ่งนี้อาจจะบ่งบอกอาการต่าง ๆ ที่ลูกของเราเป็นอยู่ในตอนนี้ก็เป็นได้ และเมื่อไหร่ที่ลูกของเรากำลังจะจาม เราควร สอนลูกให้ปิดปากตอนจาม กันยังไงบ้าง มาดูกันเลยนะคะ
ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดอาการจามมีอะไรบ้าง?
เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนก็คงอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่า มีสาเหตุหรือปัจจัยอะไรบ้างที่ชอบทำให้เด็ก ๆ มีอาการจามเกิดขึ้นมาบ่อย ๆ ต้องบอกเลยนะคะว่าสิ่งที่จะทำให้เด็ก ๆ จามขึ้นมา ล้วนเกิดขึ้นได้หลายอย่างมาก ๆ เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ
1. เกิดจากโรคหวัด
โดยส่วนใหญ่หากใครที่เป็นโรคหวัดก็มักจะชอบมีอาการจามร่วมด้วย ซึ่งโรคนี้จะเกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เรากลายเป็นไข้ได้ด้วย เพราะฉะนั้นหากลูกของเราชอบจามอยู่บ่อย ๆ สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกได้ว่าเขาน่าจะกำลังเป็นไข้หวัดนั่นเอง ยังไงอย่าลืมสังเกตอาการลูกน้อยกันด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ
2. มีการบาดเจ็บที่จมูก
เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเรามีการบาดเจ็บบริเวณจมูก สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้เด็ก ๆ มีอาการจามเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ได้เหมือนกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยสังเกตและคอยระมัดระวังกันด้วยนะคะ หากปล่อยทิ้งไว้นาน สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ กลายเป็นโรคอื่น ๆ ได้เหมือนกัน
3. เกิดจากอาการภูมิแพ้
สิ่งที่จะทำให้เด็ก ๆ มีอาการเกิดขึ้นมาได้อีกอย่าง อาจจะเกิดจากอาการภูมิแพ้ ยิ่งหากเด็ก ๆ มีโรคภูมิแพ้กันอยู่แล้ว สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขาชอบจามอยู่บ่อย ๆ ได้เลยเช่นเดียวกัน
หากมีอาการจามเกิดขึ้น ควรสอนลูกยังไงดี!
เมื่อไหร่ก็ตามที่เด็ก ๆ เริ่มมีอาการคันจมูก หรือกำลังรู้สึกว่าอยากที่จะจามออกมา แต่เราก็ไม่รู้จะสอนลูกยังไงดี บอกเลยนะคะว่าการที่เราจะสอนให้ลูกรู้จักรับมือกับอาการจามนั้น เป็นอะไรที่ทำตามได้ไม่ยากเลยนะคะ ส่วนจะทำยังไงบ้างนั้น มาดูได้เลย
1. สอนให้ลูกปิดปากทุกครั้งที่จะจาม
อย่างที่รู้กันดีว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราจามและไม่ได้ปิดปาก สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนอื่น ๆ ได้ง่าย เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้องสอนเด็ก ๆ ด้วยว่าทุกครั้งที่เขากำลังรู้สึกอยากจาม เขาจะต้องทำการปิดปากทุกครั้งที่เขาอยากจาม เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคด้วยนะคะ
2. ให้เด็ก ๆ มีผ้าเช็ดหน้าติดตัว
สิ่งที่เด็ก ๆ จะต้องมีติดตัวเลยคือผ้าเช็ดหน้า ซึ่งหากลูกของเราอยู่ในวัยเริ่มเข้าโรงเรียน หรือเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มที่จะปล่อยลูกบ้างแล้ว เราก็อาจจะต้องคอยพกผ้าเช็ดหน้าติดตัวลูกไว้บ้าง เพราะเมื่อไหร่ที่เขาจามในบางครั้ง หากมีอาการจามรุนแรงสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้มีน้ำมูกออกมาด้วยได้
3. ไม่กลั้นจามหรือปิดจมูก
สิ่งสำคัญต่อมาที่เราอาจจะต้องคอยบอกลูกอยู่เสมอนั่นก็คือ เราอาจจะต้องบอกลูกด้วยว่าทุกครั้งที่เขารู้สึกอยากจามขึ้นมานั้น เขาจะต้องจามออกมาเลยไม่ควรที่จะกลั้นหรือปิดจมูกตัวเอง เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกทำแบบนี้แต่สุดท้ายเขาก็จามออกมาอยู่ดี สิ่งนี้ก็อาจจะเกิดผลที่ไม่ดีตามมาได้เหมือนกัน
4. ให้ลูกล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ
สิ่งที่จำเป็นต่อมาเลยอาจจะเป็นเรื่องของความสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือส่วนที่เป็นมือ แน่นอนว่าเราจะต้องคอยฝึกให้ลูกล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะเมื่อไหร่ที่เขาทำการปิดปากในขณะที่จามจะได้รู้สึกว่ามือสะอาดตามไปด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 ขั้นตอนการล้างมือ อย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี ปราศจากเชื้อโรค
5. ใช้กระดาษทิชชู่ได้เลย
สำหรับใครที่ไม่อยากพกเป็นผ้าเช็ดหน้าให้ลูก เราก็อาจจะต้องใช้กระดาษทิชชู่ในการเช็ดน้ำมูกได้เลย หรือบางครั้งเราก็อาจจะบอกลูกได้ว่า หากเมื่อไหร่ที่เขาเริ่มรู้สึกอยากจามขึ้นมา เขาก็อาจจะใช้ทิชชู่มาทำการปิดปากหรือปิดจมูกได้เลยเหมือนกัน
เคล็ดลับ! การรับสอนลูกให้รับมือกับอาการจาม
ทุกครั้งที่ลูกของเราเริ่มมีอาการจามขึ้นมา หรือเขาเริ่มที่จะป่วยไม่สบาย แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องดูแลเอาใจใส่ลูกกันให้มากขึ้น เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้กลับมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้นด้วย ส่วนจะต้องดูแลลูกยังไงบ้าง มาดูกันเลยนะคะ
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกเริ่มรู้สึกไม่สบาย การพักผ่อนให้เพียงพอถือว่าเป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ เพราะหากเด็ก ๆ พักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ร่างกายของเขาก็จะฟื้นตัวเร็วอีกทั้งยังรู้สึกสดชื่นอีกด้วย เอาเป็นว่าหากลูกของเรากำลังไม่สบายอยู่ในตอนนี้ เราก็อาจจะรีบให้ลูกเข้านอนและพักผ่อนให้เพียงพอได้เลยค่ะ
2. พาลูกออกกำลังกายบ้าง
ในช่วงเวลาว่างหากจะให้ดีไปกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาเด็ก ๆ หาทำกิจกรรมอะไรที่ค่อนข้างสนุก หรือบางคนก็อาจจะพาลูกเล่นกีฬา รวมถึงออกกำลังกายบ้างเพื่อที่เขาจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง อีกทั้งยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีมากขึ้นด้วย ที่สำคัญไปกว่านั้นยังช่วยให้ลูกของเราไม่ป่วยง่ายอีกด้วยนะคะ
3. เลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์
ส่วนที่เป็นอาหารการกิน สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่เช่นเดียวกัน ซึ่งเราอาจจะต้องให้ลูกเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อที่เขาจะได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ อีกทั้งยังช่วยทำให้เราห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารเย็นสำหรับเด็ก ให้ลูกกินแบบไหน? ส่งผลดีต่อสุขภาพ
เราควรมีวิธีการล้างจมูกให้ลูกยังไงดี?
ทุกครั้งที่เด็ก ๆ มีอาการจามหรือเริ่มรู้สึกเหมือนจะเป็นหวัด นอกเหนือจากวิธีการรักษา หรือวิธีการป้องกันในเรื่องอื่น ๆ แล้วนั้น การล้างจมูกก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่มาก ๆ หลายคนคงอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าเราควรล้างจมูกให้ลูกยังไงดี เพราะฉะนั้นมาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ ขอบอกเลยว่าไม่ยาก
1. ล้างอุปกรณ์ให้สะอาด
อย่างแรกที่เราจะต้องทำเลย นั่นคือให้เรานำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราจะนำมาล้างจมูกให้ลูกนั้น มาล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยได้เลย
2. เทน้ำเกลือ
จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนเทน้ำเกลือ ซึ่งขั้นตอนการเทน้ำเกลือนั้นให้เราเทน้ำเกลือที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในภาชนะให้เรียบร้อย ซึ่งปริมาณการเทน้ำเกลือเราอาจจะต้องเทในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรเทมากหรือน้อยจนเกินไป
3. ใช้กระบอกฉีดพลาสติก
สิ่งที่เราจะต้องทำต่อมาคือขั้นตอนการใช้กระบอกที่เป็นพลาสติก โดยให้เรานำกระบอกฉีดยาพลาสติกมาทำการดูดน้ำเกลือที่เตรียมไว้ให้เรียบร้อย ซึ่งเราอาจจะดูดน้ำเกลือในปริมาณ 5 – 10 มิลลิลิตร ได้เลยนะคะ ที่สำคัญในขั้นตอนการดูดเราอาจจะต้องคอยระวังเรื่องนี้กันด้วยนะคะ หากใครที่อยากจะดูดน้ำเกลือได้ง่ายมากขึ้น เราก็อาจจะทำการเอียงกระบอกฉีดยาพลาสติกได้เลยค่ะ
4. กระบอกฉีดจะต้องแนบติดจมูก
เมื่อเราทำการดูดน้ำเกลือเรียบร้อยแล้วนั้น ต่อมาให้เรานำกระบอกฉีดยามาแนบสนิทกับรูจมูกของลูกน้อย ซึ่งเราจะค่อย ๆ ทำไปทีละข้าง พร้อมกับบอกลูกให้กลั้นหายใจและอ้าปากตามไปด้วย และที่สำคัญอาจจะต้องบอกลูกให้ก้มหน้าตามไปด้วยนะคะ
5. ค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไป
เมื่อเราบอกลูกเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ต่อมาให้เราทำการค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือที่เตรียมไว้เข้าไปในรูจมูกของลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องระวังขั้นตอนนี้กันด้วยนะคะ เพราะหากเมื่อไหร่ที่เราฉีดเข้าไปแรงจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกแสบจมูกจนเกิดอาการสำลักขึ้นมาได้
6. ทำการสั่งจมูกออกมาเบา ๆ
หากเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเรารู้สึกว่า ยังมีน้ำเกลือที่ฉีดเข้าไปค้างที่บริเวณจมูก เราก็อาจจะให้ลูกทำการสั่งออกมาเบา ๆ ได้เลย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นะคะ เพราะเดี๋ยวจะรู้สึกไม่สบายจมูกขึ้นมาได้เหมือนกัน
จากที่เราได้พาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุอาการจามและวิธีการป้องกันนั้น ต้องบอกว่าสิ่งนี้เป็นอะไรที่ทำตามกันได้ไม่ยากเลย ยิ่งหากใครที่ลูกชอบมีอาการเกิดขึ้นมาบ่อย ๆ และเราก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นยังไงบ้าง ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปเลยนะคะ เพราะเราได้รวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมกับวิธีการรับมือมาฝากคุณพ่อคุณแม่แล้ว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
10 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูก ลูกไม่สบายบ่อย ช่วยได้ ลูกจะไม่ป่วยบ่อยอีกต่อไปเเล้ว
ลูกไม่สบายทำไงดี? เป็นไข้ น้ำมูกไหล ทำยังไงดี ลูกร้องไห้ไม่หยุด
ลูกไม่สบายหรือเปล่า ? ปรึกษาหมอ เฉพาะทางได้ ฟรี 24 ชั่วโมง
ที่มา : phyathai, pobpad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!