X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฝึกลูกให้ "รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น" ทำได้ไม่ยากแค่ 2 ขั้นตอน

บทความ 5 นาที
ฝึกลูกให้ "รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น" ทำได้ไม่ยากแค่ 2 ขั้นตอนฝึกลูกให้ "รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น" ทำได้ไม่ยากแค่ 2 ขั้นตอน

เมื่อเด็กต้องเติบโต และมีโอกาสในการใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่น ความคิดเห็นต่าง ๆ จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนเดียวอีกต่อไป แต่จะขึ้นอยู่กับผู้อื่นด้วย ดังนั้นการ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงเข้ามาเป็นบรรทัดบานที่สำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างขัดแย้งน้อยที่สุด และสิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่เราต้องสอนให้ลูกรู้จัก และสามารถทำได้ไม่ยาก

 

การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นสำคัญอย่างไรกับเด็ก

ความคิดของเด็กคนเดียวนั้นมีความสำคัญ แต่เมื่ออยู่ในสังคมการฟังความเห็นของคนอื่นจะสำคัญกว่า เนื่องด้วยการใช้ชีวิตในสังคมมาจากการคนหลายคน ไม่ได้มาจากคนเพียงคนเดียว การที่จะ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ และควรต้องทำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่จะเป็นความสำคัญทางสังคมเท่านั้น ยังสามารถส่งผลดีได้หลายเรื่องต่อตัวของเด็กเอง ได้แก่

 

  • เป็นพื้นฐานของสังคม : การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นมารยาททางสังคมที่ถือเป็นบรรทัดฐานที่ดีในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่จะทำให้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ หากฝึกให้ลูกสามารถทำสิ่งนี้ได้ จะทำให้เขาโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ลดโอกาสเกิดการขัดแย้งกับบุคคลรอบตัวได้เป็นอย่างดี

 

  • เพื่อให้เข้าใจตนเอง : การที่สามารถยอมรับความแตกต่างด้านความคิดได้นั้น ไม่ใช่แค่เพียงจะส่งผลดีต่อบุคคลรอบตัว แต่ยังสามารถส่งผลที่ดีต่อตัวของเด็กเอง หากเด็กเข้าใจพื้นฐานความคิดที่มีความหลากหลาย จะยิ่งทำให้เขามองสิ่งต่าง ๆ ได้หลายด้านตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ และการเข้าใจตัวตนของเด็กเอง เป็นการค้นหาตัวตน ความชอบ และแนวคิดของตนเองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 

  • ทำให้รู้จักใช้เหตุผล : การสนทนากับผู้อื่นนั้นอาจต้องเจอกับแนวคิดที่แตกต่าง การสนทนาที่มีความหลากหลาย อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสนทนาในบางหัวข้อได้ การได้รับฟังความคิดของผู้อื่นในระหว่างสนทนา ยิ่งกลุ่มสนทนามีอยู่หลายคน เด็กจะได้พูดคุยด้วยการใช้เหตุ และผล เนื่องจากไม่สามารถใช้อารมณ์ในการพูดคุยที่จะเอาชนะได้ การรับฟังผู้อื่นเพื่อให้มุมมองเปิดกว้าง และเกิดการถกเถียงกันเป็นหนทางที่ดีที่ฝึกให้ลูกเป็นเด็กที่มองถึงเหตุผลเป็นหลัก

 

  • เป็นการหาทางออกที่ดีที่สุด : เมื่อเด็กต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจในการกระทำสิ่งหนึ่ง ๆ ตั้งแต่เรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่ หากต้องคิดคนเดียวอาจทำให้เกิดการผิดพลาดจากการตัดสินใจ เพราะเกิดขึ้นจากมุมมองของเด็กเพียงคนเดียว แต่หากรับฟังความเห็นของคนอื่น จะทำให้ได้รับมุมมองที่แตกต่าง ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดมาก่อน ทำให้การตัดสินใจสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำอย่างไรดี ? เมื่อลูกมี “โลกส่วนตัวสูง” แก้ได้แต่ต้องใช้เวลา

 

วิดีโอจาก : Momster

 

ทำอย่างไรให้ลูกรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 

ขั้นตอนที่ 1 ทุกอย่างเริ่มที่คุณพ่อคุณแม่

การที่จะสอนเด็กในเรื่องนี้สามารถทำได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าถ้าจะให้ได้ผลดี ต้องเริ่มจากการปฏิบัติของตัวเราก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในความคิดของเด็กว่าทำไมเขาต้องทำ ในเมื่อพ่อแม่ของเขายังไม่ทำเลย การแสดงออกให้ลูกเห็นว่าผู้ปกครองเป็นคนที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถทำได้ไม่ยาก โดยให้ยึดหลัก 3 ข้อ ดังนี้

 

  • อย่าใจร้อนตัดสินไปก่อน และรอฟังลูก : เมื่อมีเรื่องที่ต้องพูดคุยทั้งเรื่องที่มีความจริงจัง และเรื่องที่ไม่ได้จริงจัง หรืออาจเรียกได้ว่าทุกเวลาที่อยู่กับลูก เมื่อเริ่มสนทนาไม่ควรพูดแทรกเด็ก เมื่อเห็นต่าง ควรให้เด็กพูดจบก่อน เพื่อให้ได้รับฟังว่าแท้จริงแล้วลูกต้องการจะสื่ออะไร เพราะการพูดแทรก จะแสดงถึงการไม่ยอมรับความคิดของเด็กในทางอ้อม ทำให้เด็กที่ยังเล็กอาจจดจำ และนำไปทำตามได้ นอกจากนี้การฟังลูกพูดให้จบจะทำให้รู้จักตัวตนของลูก และรู้ได้ว่าลูกกำลังต้องการอะไร มีมุมมองอย่างไรต่อเรื่องที่สนทนา

 

  • แสดงความตั้งใจเมื่อสนทนา : ถึงแม้จะไม่พูดแทรกลูก ไม่ด่วนตัดสินใจเมื่อได้สนทนากับลูกก็จริง นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่จะแค่เงียบเฉย ๆ เท่านั้น เพราะถ้าหากแสดงกิริยาท่าทางในเชิงไม่ใส่ใจ หรือไม่สนใจ เช่น ขณะลูกกำลังพูดอยู่คุณพ่อคุณแม่ทำการดูโทรทัศน์, เลื่อนโทรศัพท์ ไปจนถึงการแสดงออกทางสีหน้าว่าเบื่อหน่ายที่จะฟัง ก็ไม่แตกต่างกับการปฏิเสธความคิดของเด็กเลย เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกดี และสัมผัสได้ถึงการรับฟังของเรา ควรจะต้องตั้งใจฟังเขาเหมือนกับที่เราอยากให้คนอื่นตั้งใจฟังเราเวลาสนทนานั่นเอง

 

  • เราเป็นตัวอย่างของลูกเสมอ : เด็กเล็ก หรือเด็กวัยกำลังโต ไปจนถึงเด็กวัยรุ่น ตราบใดที่ยังใช้เวลาอยู่กับครอบครัวในชีวิตประจำวัน เขาจะสามารถซึมซับสิ่งที่เขาเห็นไปโดยไม่รู้ตัว หากเราเป็นแบบไหน ก็จะเป็นภาพสะท้อนของเด็กไปด้วย เขาจะนำไปทำตามได้ ดังนั้นในการใช้ชีวิตประจำวันเรายิ่งต้องแสดงให้ลูกเห็นว่าการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่ต้องทำ

 

รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2

 

ขั้นตอนที่ 2 ฝึกลูกให้เข้าใจ

รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คำนี้คงไม่ยากแล้วเมื่อเราแสดงให้ลูกเห็นเป็นแบบอย่าง และสร้างความคุ้นชินให้กับลูกในขั้นตอนที่ 1 ที่เราได้กล่าวไปแล้ว สิ่งสุดท้ายคือ การให้ลูกได้มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช่ความคิดเห็นกับผู้อื่น และมีโอกาสได้รับฟัง ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

 

  • ไม่รีบจบบทสนทนา : เมื่อได้คุยกับลูกในทุก ๆ เรื่อง ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการพูดคุย พยายามหลีกเลี่ยงการสนทนาที่จบลงด้วยการออกคำสั่ง เราไม่ควรทำให้ทุกหัวข้อพูดคุยจบที่ความคิดเห็นของคุณพ่อคุณแม่ แต่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น หรือที่เราเรียกว่า “การตั้งคำถามแบบปลายเปิด” เพื่อให้ลูกมีความกล้าที่จะพูด เข้าใจความแตกต่างด้านความคิดของตนเอง และของคนรอบตัว เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในทุกวัน และกับทุกเรื่อง

 

  • พูดคุยต่อด้วยเหตุผล : หลังจากที่ลูกแสดงความคิดเห็นจากคำถามปลายเปิดแล้ว เราควรตอบโต้ด้วยเหตุ และผล หากความเห็นของลูกไม่ถูกต้อง ยิ่งต้องอธิบายให้เขาฟังว่าสิ่งที่เขาคิดผิดอย่างไร ส่งผลเสียอย่างไร และควรทำแบบไหนแทน นอกจากจะเป็นการสอนลูกในเรื่องต่าง ๆ ในทางอ้อมแล้ว ยังทำให้เด็กเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะในตอนที่เขาพูด คุณพ่อคุณแม่ก็ฟังเขาเป็นอย่างดีเช่นกัน

 

  • เตือนทุกครั้งที่ผิดพลาด : เด็ก ๆ นั้น อาจแสดงการปฏิบัติตัวที่ไม่ค่อยน่านักในบางครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ คงไม่มีใครทำสิ่งที่ถูกตลอดชีวิต เมื่อเด็กไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น เพื่อน หรือคนในครอบครัว แน่นอนว่าต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะเข้าไปตักเตือนว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ถูกต้อง อย่าปล่อยไว้โดยเด็ดขาด เพราะลูกจะเข้าใจว่าเขาสามารถทำได้ และสิ่งที่เขาทำไม่ได้ถูกตักเตือนก็อาจหมายถึงไม่ได้ผิดนั่นเอง

 

สิ่งพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างการ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ควรฝึกเด็กตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อปลูกฝังให้เด็กนำไปใช้ในทุกช่วงอายุของพวกเขา เนื่องจากในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่สอนได้ง่ายกว่า และมีการต่อต้านน้อยกว่าวัยรุ่น ถือเป็นโอกาสที่ไม่ควรมองข้าม

 

บทความจากพันธมิตร
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
ระบบประสาท ของคนเป็นอย่างไร ช่วยทำอะไรได้บ้าง และมีโรคอะไรที่ต้องระวัง
ระบบประสาท ของคนเป็นอย่างไร ช่วยทำอะไรได้บ้าง และมีโรคอะไรที่ต้องระวัง

บทความที่น่าสนใจ

ความเป็นส่วนตัว ของเด็ก สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

“ความเคารพ” สำคัญสำหรับเด็ก ฝึกอย่างไรให้ลูกเข้าใจตั้งแต่ยังเล็ก

ลูกไร้ความ “มั่นใจในตัวเอง” เกิดจากอะไร ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

 

ที่มาข้อมูล : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ฝึกลูกให้ "รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น" ทำได้ไม่ยากแค่ 2 ขั้นตอน
แชร์ :
  • สปาทารก ช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายจริงหรือ สปาทารกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?

    สปาทารก ช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายจริงหรือ สปาทารกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?

  • แม่กับยายสามีป้อนกล้วยให้ลูก 1 เดือน จะเตือนยังไงดี

    แม่กับยายสามีป้อนกล้วยให้ลูก 1 เดือน จะเตือนยังไงดี

  • จัมเปอร์สำหรับเด็ก ช่วยในการพัฒนาของเด็ก หรือทำลาย? ควรซื้อหรือไม่?

    จัมเปอร์สำหรับเด็ก ช่วยในการพัฒนาของเด็ก หรือทำลาย? ควรซื้อหรือไม่?

app info
get app banner
  • สปาทารก ช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายจริงหรือ สปาทารกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?

    สปาทารก ช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายจริงหรือ สปาทารกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?

  • แม่กับยายสามีป้อนกล้วยให้ลูก 1 เดือน จะเตือนยังไงดี

    แม่กับยายสามีป้อนกล้วยให้ลูก 1 เดือน จะเตือนยังไงดี

  • จัมเปอร์สำหรับเด็ก ช่วยในการพัฒนาของเด็ก หรือทำลาย? ควรซื้อหรือไม่?

    จัมเปอร์สำหรับเด็ก ช่วยในการพัฒนาของเด็ก หรือทำลาย? ควรซื้อหรือไม่?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ