X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความเป็นส่วนตัว ของเด็ก สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

บทความ 5 นาที
ความเป็นส่วนตัว ของเด็ก สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามความเป็นส่วนตัว ของเด็ก สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

ความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนไม่ใช่เพียงแค่วัยใดวัยหนึ่งเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าเราไม่สามารถห้ามให้เขาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือขวางกั้นโลกส่วนตัวของเขาได้ ดังนั้นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ คือ สอนให้เด็กเข้าใจในความเป็นส่วนตัวของตนเอง

 

ความเป็นส่วนตัวของเด็ก คืออะไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจเข้าใจว่า ความเป็นส่วนตัว มักเกิดขึ้นในช่วงที่เด็กเป็นวัยรุ่น นั่นไม่ใช่ความจริง เนื่องจากสำหรับเด็กทุกคนตั้งแต่เล็กจะต้องมีความเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว เช่น การถ่ายภาพลงสื่อออนไลน์ของคนในครอบครัวที่ในปัจจุบันหลายคนยังคงถกเถียงกัน หรือการที่เด็กมีพื้นที่ของตนเอง ไปจนถึงการบันทึกประจำวันต่าง ๆ ที่ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว เป็นต้น เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องศึกษาเพื่อให้ตนเองเข้าใจ และสามารถสอนให้เด็กเข้าใจในเรื่องดังกล่าวได้อย่างถูก

 

ความเป็นส่วนตัว 3

 

พ่อแม่ไม่ให้ความเป็นส่วนตัวส่งผลอย่างไรกับเด็ก

ตามที่กล่าวไปเรื่องความเป็นส่วนตัว เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากกับทุกคนแม้กระทั่งเด็ก หากเด็กได้รับความเป็นส่วนตัวที่น้อยจนเกินไป หรือมากเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียตามมาหลายประการ ได้แก่

 

  • สภาวะการต่อต้านจากเด็ก : เมื่อเด็กเริ่มรู้สึกว่าตนเองไม่มีพื้นที่ส่วนตัวทั้งร่างกาย และจิตใจจะส่งผลให้เด็กเกิดความกดดัน รู้สึกไม่สบายใจ และเริ่มแสดงกิริยาการต่อต้านทั้งทางตรง และทางอ้อมได้ หากปล่อยไว้แน่นอนว่า จะทำให้ลูกไม่เชื่อฟังคำแนะนำของพ่อแม่ และอาจกลายเป็นปัญหาหลักของครอบครัวได้
  • ขาดโอกาสในการเรียนรู้ : การให้เด็กได้เรียนรู้จากการชักนำของผู้ใหญ่นั้นเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมีความปลอดภัย เพราะมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การให้พื้นที่ความเป็นส่วนตัวกับลูกนั้นก็สำคัญเช่นกัน เนื่องจากจะมีส่วนช่วยให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ภายใต้คำแนะนำของคุณพ่อคุณแม่ที่คอยดูอย่างระมัดระวัง
  • เด็กขาดความมั่นใจ และมีปัญหาการตัดสินใจ : หากเด็กยอมรับได้กับการถูกจำกัดกิจกรรมในแต่ละวันของการดำเนินชีวิต จะยิ่งส่งผลเสียกับเด็ก เนื่องจากการคอยตามจัดการดูแลให้เด็กทุกครั้งที่มีปัญหา หากเกิดเหตุการณ์ที่เด็กต้องตัดสินใจด้วยตนเองอย่างเด็ดขาด จะทำให้เด็กไม่สามารถตัดสินใจได้ หรือตัดสินใจผิดพลาด

 

สอนลูกให้รู้จักความเป็นส่วนตัวอย่างไร

ให้เด็กเข้าใจความสำคัญของความเป็นส่วนตัวในตนเองให้ได้มากที่สุด เนื่องจากเด็กควรมีอิสระในทุกด้านทั้งความคิด และการกระทำ แต่ไม่ได้หมายความว่าควรปล่อยเด็กให้ทำสิ่งที่ตนเองต้องการเสมอ ผู้ปกครองควรคอยสังเกต และให้คำแนะนำตามความเหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง : คุณควร เพิ่มลูกเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊ค หรือไม่? ทำไมลูกไม่รับแอด ?

 

ความเป็นส่วนตัว 1

 

ความเป็นส่วนตัว ไม่ใช่เพียงแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น

เมื่อกล่าวถึงพื้นที่ส่วนตัวของเด็ก ในความหมายนี้ไม่ได้หมายถึงแค่พื้นที่ภายในห้องของลูกเท่านั้น แต่ยังหมายถึงพื้นที่ในส่วนอื่น ๆ เช่น สื่อออนไลน์บางช่องทาง ไปจนถึงสิ่งของที่เด็กมีความต้องการว่าจะใช้เพียงผู้เดียว ไม่ต้องการใช้ร่วมกับใคร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานความเป็นส่วนตัวที่เด็กพึงมี ซึ่งอาจมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นเช่นกัน

 

พื้นฐานทางด้านความคิด และการกระทำของตนเอง

นอกจากจะเป็นห้องส่วนตัว หรือข้าวของเครื่องใช้แล้ว ยังต้องสอนให้เด็กเข้าใจถึงพื้นฐานความคิดของตนเองว่ามีอิสระที่จะคิด หรือทำสิ่งใด ๆ ก็ตามที่ไม่ผิด หรือส่งผลเสียต่อผู้อื่น ยิ่งถ้าหากเด็กคิดลงมือทำในสิ่งที่ดี และถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่ควรให้คำชม หรือให้รางวัลเพื่อให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ดี ในขณะที่ถ้าหากลูกคิดหรือทำในสิ่งที่ผิด คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องทำการว่ากล่าวตักเตือน และให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมเช่นกัน 

 

สอนให้เด็กไว้วางใจที่จะปรึกษา

เนื่องจากเมื่อเด็กเริ่มโตจะยิ่งมีโอกาสได้พบเจอโลกภายนอกมากขึ้น แน่นอนว่าอาจมีบางอย่างที่ทำให้เด็กรู้สึกสับสน หรือเป็นกังวล แต่ไม่กล้าที่จะบอกเล่าเรื่องนั้น ๆ ให้คนในครอบครัวฟัง คุณพ่อคุณแม่จึงควรสร้างความเชื่อใจ โดยพยายามถามไถ่ถึงปัญหาที่สามารถสังเกตเห็นได้จากความผิดปกติด้านการแสดงออกของเด็ก โดยไม่ใช้การบังคับให้ตอบ แต่ให้ใช้การพูดคุยอย่างเป็นกันเองให้เกิดความเชื่อใจ เพื่อให้ลูกมีความกล้าที่จะปรึกษาปัญหาที่เขากำลังพบเจอ

 

เด็กควรรู้ว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว

ไม่แปลกที่เด็กเมื่อโตขึ้นไปเรื่อย ๆ อาจมีปัญหาเรื่องการพบเจอเพื่อน ติดเพื่อน หรือการทำตามเพื่อนที่คนในบ้านไม่รู้ และเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตาม เด็กจะเก็บปัญหานั้นไว้จนอาจแก้ไขผิดวิธี ดังนั้นในฐานะคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกอยู่ห่าง ๆ และอาจเป็นฝ่ายเข้าช่วยเหลือแม้ลูกไม่บอกก็ตาม อย่างไรก็ตามหากลูกยืนยันว่าจะจัดการปัญหาส่วนตัวด้วยตนเอง พ่อแม่ควรยอมรับและให้คำปรึกษาแทน เพื่อที่จะให้ลูกยังรู้สึกอบอุ่น และสัมผัสได้ถึงสายใยของครอบครัว

บทความที่เกี่ยวข้อง : 9 วิธีเลี้ยงลูกให้ สนิทกับลูก อยากสนิทกับลูกทำยังไงดี? วิธีเลี้ยงลูกให้สนิทกับแม่

 

ความเป็นส่วนตัว 2

 

ความเป็นส่วนตัวของเด็กที่ผู้ปกครองต้องระวัง

 

เมื่อเด็กเรียนรู้ถึงสิทธิในพื้นที่ส่วนตัวด้านต่าง ๆ ของตนเองไปแล้ว ก็ถึงคราวคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเป็นฝ่ายเรียนรู้ เพื่อไม่ให้รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของลูกด้วยเช่นกัน

บทความจากพันธมิตร
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!

 

  • เคารพในความเป็นส่วนตัวของเด็ก : เมื่อเด็กมีพื้นที่ของตนเองแล้ว เราก็ควรเคารพในพื้นที่นั้น เช่น ไม่ไปเปิดอ่านสมุดจดบันทึกประจำวันของลูก ไม่ทำการค้นหาของในกล่องเก็บของส่วนตัวของลูก หากมีความสงสัยควรพูดคุยกันตรง ๆ อย่างสุภาพเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด กรณีมีเหตุจำเป็นที่ต้องค้นหาเครื่องใช้ของเด็กควรบอกเด็กก่อน
  • ให้เด็กได้มีพื้นที่แต่ต้องคอยระวัง : เด็กอาจมีอิสระในพื้นที่ หรือสิ่งของตนเองก็จริง แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยมากเกินไป จนไม่รู้ความเคลื่อนไหวใด ๆ ของลูกเลย ควรคุยหรือถามไถ่ลูกเมื่อมีความสงสัยโดยไม่ใช่อารมณ์ หรือจู่โจมจนลูกรู้สึกไม่สบายใจ
  • เด็กมีปัญหาต้องแนะนำไม่ใช่บังคับ : เมื่อเด็กมีปัญหาใด ๆ แล้วมาขอคำปรึกษาจากคุณพ่อคุณแม่ สิ่งที่ควรทำกับเด็กคือการให้คำแนะนำในการปรึกษาปัญหานั้น ๆ และคอยสนับสนุนในสิ่งที่ลูกเลือกหากเป็นสิ่งที่ถูกต้องไม่ได้เป็นผลเสียต่อใคร แต่นอนว่าต้องท่องจำไว้เสนอว่าเราควรแนะนำ ไม่ใช่การบังคับ
  • ไม่ละเลยเมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือ : บางกรณีเด็กอาจพบเจอปัญหาที่เขาคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่สำหรับผู้ปกครองอาจคิดว่าเป็นปัญหาเล็กจึงเข้าใจไปก่อนว่าลูกจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง จนอาจกลายเป็นการละเลย คุณพ่อคุณแม่ควรระวังไม่ให้เกิดปัญหานี้เช่นกัน
  • ระวังกฎข้อห้ามรัดตัวเด็ก : เป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับเด็ก แต่ต้องระวังเรื่องข้อห้ามต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เด็กไม่ได้โอกาสทำอะไรด้วยตนเอง หรือปิดโอกาสเรียนรู้เหมือนกับเด็กทั่วไป

 

สำหรับความเป็นส่วนตัวของเด็กที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญอาจต้องใช้เวลาในการปรับตัว และทำความเข้าใจ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการให้เวลาเรียนรู้ เพื่อหลีกเลี่ยงความกดดันของเด็ก และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

 

บทความที่น่าสนใจ

ลูกเป็น Introvert เลี้ยงยังไงดี ให้ได้ใกล้ชิดและเข้าใจลูกมากยิ่งขึ้น

ลูกขี้อาย เข้าสังคมไม่ได้ ขาดทักษะการเข้าสังคม แม่ต้องปรับวิธีเลี้ยง

อยากสนิทกับลูกต้องทำไง? 6 วิธีตีซี้กับลูกได้ง่าย เคล็ดลับที่คุณต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • ความเป็นส่วนตัว ของเด็ก สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม
แชร์ :
  • ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

    ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

  • ห่วงยางลอยคอเด็ก ควรใช้งานอย่างระวัง แม้จะน่ารัก หลังมีรายงานเสียชีวิต

    ห่วงยางลอยคอเด็ก ควรใช้งานอย่างระวัง แม้จะน่ารัก หลังมีรายงานเสียชีวิต

  • ปัญหาชีวิตคู่ คืออะไร? รู้ให้ทันก่อนสายเกินแก้และต้องแยกทาง

    ปัญหาชีวิตคู่ คืออะไร? รู้ให้ทันก่อนสายเกินแก้และต้องแยกทาง

app info
get app banner
  • ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

    ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

  • ห่วงยางลอยคอเด็ก ควรใช้งานอย่างระวัง แม้จะน่ารัก หลังมีรายงานเสียชีวิต

    ห่วงยางลอยคอเด็ก ควรใช้งานอย่างระวัง แม้จะน่ารัก หลังมีรายงานเสียชีวิต

  • ปัญหาชีวิตคู่ คืออะไร? รู้ให้ทันก่อนสายเกินแก้และต้องแยกทาง

    ปัญหาชีวิตคู่ คืออะไร? รู้ให้ทันก่อนสายเกินแก้และต้องแยกทาง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ