X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้ ?

บทความ 8 นาที
คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้ ?

อาการคนท้องระยะแรก เกิดอะไรขึ้นบ้าง อาการแพ้ท้องเดือนแรกเป็นอย่างไร คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เป็นคำถามที่คุณแม่มือใหม่หลายคนสงสัยกัน ในช่วงของการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ หรือจิตใจ วันนี้ theAsianparent Thailand จะมาเล่าให้ฟัง ว่าในช่วงท้องแรก ๆ หรือในไตรมาสแรก คุณแม่ต้องพบเจอกับอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากอะไร เราต้องเตรียมรับมือแบบไหน และต้องดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อให้ลูกในท้องร่างกายแข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดี

 

คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ?

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ หรือช่วงที่ท้องระยะแรก เป็นช่วงเวลาที่ทรมานที่สุดช่วงหนึ่งของคนท้อง เนื่องจากในช่วงนี้ คุณแม่มือใหม่จะต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและอารมณ์สูงมาก อีกทั้งยังเป็นช่วงที่ตัวอ่อนในครรภ์มีการเจริญเติบโต และสร้างอวัยวะต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วง 1-3 สัปดาห์แรก คุณแม่อาจจะยังไม่แสดงอาการออกมาชัดเจนนัก แต่ก็จะเริ่มมีอาการให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์

 

วิธีสังเกตคนท้อง ระยะแรก หรือ อาการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม อาการแรก ๆ ที่เราสามารถสังเกตได้เลยคืออาการขาดประจำเดือน หรือ ประจำเดือนไม่มา ซึ่งสาเหตุที่ประจำเดือนขาดในช่วงท้องนั้น เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Hormone Progesterone) เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นฮอร์โมนนี้ มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนขาด บางครั้งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน หรือเกิดจากความผิดปกติของมดลูก ไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ดังนั้น หากว่าคุณผู้หญิงคนไหนประจำเดือนมาไม่ปกติ ควรเข้ารับการตรวจกับคุณหมอก่อนเป็นอันดับแรกนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก 1-3 เดือน ที่ส่วนใหญ่ต้องเจอ!

 

 

Advertisement

คนท้องไตรมาสแรก มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายอย่างไร

ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก คนท้องหลาย ๆ คน มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

 

  • หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น หลังจากที่คุณแม่เริ่มตั้งท้อง จะสังเกตเห็นว่าตัวเองเริ่มเจ็บหน้าอกคล้ายกับช่วงที่เป็นประจำเดือน แต่หลังจากนั้นอีกประมาณ 3 สัปดาห์ อาการเหล่านี้ก็จะเริ่มทุเลาลง ซึ่งการที่คุณแม่เจ็บหน้าอกนั้น เกิดจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงนั่นเองค่ะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้ เปรียบเสมือนสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่กำลังตั้งท้อง บางคนคลื่นไส้อาเจียนบ่อยมาก แต่บางคนก็ไม่มีอาการใด ๆ เลย สำหรับวิธีแก้อาการแพ้ท้อง คือ พยายามอย่าปล่อยให้ท้องว่าง กินอาหารช้า ๆ โดยอาจจะกินทุก ๆ 1-2 ชั่วโมงก็ได้ หรือจะเลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และดื่มน้ำให้มาก ๆ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น คนท้องจะรู้สึกว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยมากขึ้น เนื่องจากว่าในร่างกายมีปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อผลิตของเหลวและขับถ่ายออกมาค่ะ
  • เหนื่อยล้า เนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์ในระยะแรก ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนของคุณแม่จะพุ่งสูงขึ้น แถมร่างกายยังต้องการพลังงานมากขึ้น เพื่อใช้ในการสร้างตัวอ่อน ทำให้คุณแม่รู้สึกอยากพักผ่อน หรืออยากนอนบ่อย ๆ วิธีแก้ คือ ต้องพักผ่อนมาก ๆ และควรทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมทั้งหมั่นออกกำลังกายนะคะ
  • ไวต่อกลิ่น คุณแม่บางท่าน จะมีประสาทสัมผัสไวต่อกลิ่น และได้กลิ่นง่ายยิ่งขึ้น จึงอาจทำให้รู้สึกเหม็นอาหารบางชนิด หรือแพ้ต่อกลิ่นบางประเภท ทั้งนี้ รสนิยมการกินอาหารของคุณแม่ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย บางคน อาจจะอยากทานอาหารแปลก ๆ อาหารรสเปรี้ยวจัด หรืออาหารที่ไม่เคยทานมาก่อน
  • กรดไหลย้อน คนท้องส่วนใหญ่ มักจะเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ทานอาหารเสร็จและนอนเลย เนื่องจากว่ากรดในกระเพาะอาหาร จะไหลเข้าสู่หลอดอาหาร จนทำให้เกิดอาการแน่น จุกเสียดท้อง วิธีป้องกัน คือ คุณแม่ต้องแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ และต้องหลีกเลี่ยงอาหารทอด ผลไม้รสเปรี้ยว ๆ ช็อกโกแลต และอาหารที่มีรสเผ็ดค่ะ
  • ท้องผูก อาการนี้ มักเกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ไปชะลอการเคลื่อนไหวของอาหารในระบบย่อยอาหาร ทำให้คุณแม่เกิดท้องผูกได้ง่าย สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหานี้อยู่ แนะนำให้เลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ดื่มน้ำให้มาก ๆ หรือจะดื่มน้ำผลไม้โดยเฉพาะน้ำลูกพรุนก็ได้ค่ะ

 

คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง 1

 

การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของคนท้องระยะแรก

เมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังจะมีลูก เชื่อว่าคุณแม่หลายท่าน ก็คงดีใจกันอย่างมาก แต่ว่าก็เป็นช่วงที่เรารู้สึกเหนื่อยได้ง่ายเช่นกัน เพราะว่าร่างกายของคุณแม่กำลังค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย ซึ่งในบางครั้ง คุณแม่อาจจะรู้สึกเครียดกับการตั้งครรภ์เอามาก ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ท้องแรก เพราะยังไม่เคยเลี้ยงลูก และยังไม่เคยท้องมาก่อน จึงไม่รู้ว่าจะปรับตัว หรือต้องดูแลตัวเองอย่างไร ส่งผลให้เกิดอาการเครียดและอาการกังวลตามมา นอกจากนี้ ก็ยังต้องปรับตัวให้เข้ากับบ้านของสามี (สำหรับคนที่ต้องอยู่บ้านสามี) ต้องเตรียมเงินไว้เลี้ยงลูก และวางแผนเก็บเงินให้ลูกในอนาคต ซึ่งความกังวลเหล่านี้ อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายใจได้ค่ะ

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นเรื่องยาก ที่จะห้ามไม่ให้ตัวเองคิดถึงเรื่องเหล่านี้ แต่คุณแม่ก็ต้องพยายามเข้าใจตัวเอง และมองหาคนรอบข้าง พยายามพูดคุยเพื่อหากำลังใจจากพวกเขา และถ้าเมื่อไหร่เริ่มรู้สึกว่าอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น รับไม่ไหว และรู้สึกแย่มาก ๆ ก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์นะคะ อย่าปล่อยให้ตัวเองเครียดมากเกินไป เพราะอาจจะมีผลต่อลูกในท้องได้ค่ะ

 

การดูแลตัวเองของคนท้องไตรมาสแรก

สิ่งแรก ๆ ที่ควรทำหลังจากที่รู้ว่าตัวเองท้อง คือ การเตรียมตัวเข้ารับการฝากครรภ์กับแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้ ๆ บ้านหรือที่ทำงาน เพื่อให้คุณหมอทำการตรวจประเมินสุขภาพของตัวเรา รวมทั้งหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นโรคร้าย หรือเสียชีวิตในครรภ์ค่ะ

 

นอกจากนี้แล้ว คุณแม่ควรหมั่นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เสมอ ไม่ควรรับประทานแบบตามใจตัวเองจนเกินไป เพราะอาจทำให้มีโรคแทรกซ้อน หรือเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ รวมทั้งในช่วงนี้ คุณแม่ควรดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำเป็นประจำ ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศ หากใส่เสื้อผ้าที่ก่อให้เกิดความอับชื้น ก็อาจทำให้เป็นเชื้อราในร่มผ้าได้ค่ะ และที่สำคัญ คุณแม่ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนตอนกลางคืนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างในช่วง 14 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : สูตรอาหารคนท้องไตรมาส 3 แจกฟรี ! สูตรอาหารสำหรับแม่ท้อง

 

คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง 2

 

สารอาหารที่คุณแม่ควรทานเพื่อบำรุงครรภ์ในเดือนแรก

สารอาหารที่จำเป็นสำหรับคนท้อง มีมากมาย ซึ่งแม้ว่าคุณแม่จะท้องอยู่ แต่ก็ยังสามารถทานอาหารได้หลากหลายดังต่อไปนี้

 

1. โปรตีน

โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อเนื้อเยื่อ ระบบสมอง และต่อตัวอ่อนในครรภ์ รวมทั้งยังช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม และโพรงมดลูกของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์อีกด้วย ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนมีหลายประเภท ได้แก่ เนื้อปลาแซลมอน ไก่ ไข่ ถั่ว ถั่วเปลือกแข็ง และเนยถั่ว

 

2. แคลเซียม

แคลเซียม เป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ดีในช่วงตั้งครรภ์ คนท้องควรทานแคลเซียมวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งแคลเซียมนั้น สามารถหาทานได้จากนมจืด ธัญพืช นมถั่วเหลือง คะน้า ผักโขม แครอท แคนตาลูป ไข่ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์

 

3. สังกะสี

สังกะสี เป็นสารอาหารอีกชนิด ที่ดีต่อแม่ท้อง เพราะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของตัวอ่อนได้ดี โดยสังกะสีนั้น สามารถหาทานได้จากเนื้อไก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วแดง อัลมอนด์ เชดดาร์ชีส

 

4. ธาตุเหล็ก

การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก จะช่วยให้ร่างกายคุณแม่มีออกซิเจนไหลเวียนเพียงพอสำหรับลูกน้อย นอกจากนี้ ธาตุเหล็กยังเป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่ช่วยสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งมีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ช่วยต้านความเครียด ลดความกังวล ความเหนื่อย อารมณ์หงุดหงิด และความเศร้าให้น้อยลงได้

 

5. สารโฟลิก

กรดโฟลิก หรือ โฟเลต เป็นสารอาหารสำคัญอันดับแรก ที่คุณแม่ขาดไม่ได้ เพราะโฟเลต เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอของเซลล์ เพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์

 

คนท้องไตรมาสแรก 20

 

อาหารที่คนท้องไม่ควรกินในเดือนแรกของการตั้งครรภ์

ในช่วงท้อง จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ต้องเลี่ยงการรับประทานอาหารบางอย่าง เพราะอาหารเหล่านั้น อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ หรือทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายได้ ซึ่งอาหารที่คุณแม่ไม่ควรทานในช่วงนี้ ได้แก่

 

1. แอลกอฮอล์

ในช่วงตั้งครรภ์นี้ คุณแม่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด เพราะเครื่องดื่มชนิดนี้ อาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยอาจจะทำให้ระบบสมอง และอวัยวะต่าง ๆ ของเด็กในครรภ์ไม่ทำงาน หรือหยุดเจริญเติบโต ส่งผลให้เด็กสมาธิสั้น เรียนรู้ช้า มีพัฒนาการช้า หรืออาจส่งผลให้รูปร่างของเด็กผิดปกติตั้งแต่กำเนิดได้ค่ะ

 

2. น้ำอัดลม

น้ำอัดลมนั้น ประกอบไปด้วยน้ำ น้ำตาล และแก๊ส ที่ช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย แต่ว่าแม้เครื่องดื่มชนิดนี้ จะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น แต่ก็ไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย มิหนำซ้ำ ยังอาจทำให้คุณแม่เป็นเบาหวานได้ด้วย

 

3. อาหารรสชาติจัด

แม่ท้องควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เพราะระหว่างการตั้งครรภ์ ระบบการย่อยอาหารของแม่จะผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งการกินอาหารรสเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด หรือใส่เครื่องปรุงรสที่ทำให้รสจัดต่าง ๆ จะทำให้คุณแม่ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีอาการอาหารเป็นพิษได้ง่ายขึ้น

 

4. ไข่ดิบ

ไข่ดิบเป็นอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่าซาโมเนลลา หากคุณแม่รับประทานเชื้อโรคเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย อาจทำให้ติดเชื้อ และเป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้องอย่างรุนแรง ทั้งนี้ คุณแม่อาจมีอาการปวดเกร็งที่มดลูกจนเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย หรือไม่ทารกก็อาจจะเสียชีวิตในครรภ์เลยก็เป็นได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของไข่ดิบนะคะ

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการคนท้องเดือนที่ 1 – 9 เป็นอย่างไร อาการท้องแต่ละเดือนต้องเจออะไรบ้าง

คนท้องไตรมาสที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้

แพ้ท้องมาก อันตรายไหม วิจัยเผย แม่แพ้ท้องมีโอกาสที่จะไม่แท้ง!

ที่มา : self, nakornthon

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 1
  • /
  • คนท้องไตรมาสแรกมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงนี้ ?
แชร์ :
  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว