X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สปาทารก ช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายจริงหรือ สปาทารกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?

บทความ 5 นาที
สปาทารก ช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายจริงหรือ สปาทารกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?สปาทารก ช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายจริงหรือ สปาทารกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?

คุณแม่ทุกคนชอบที่จะเอาอกเอาใจลูกน้อยของตัวเอง แล้วอะไรจะดีไปกว่าการทำ สปาทารก ในประเทศสิงคโปร์การทำสปาสำหรับทารกกำลังเป็นที่นิยม และร้านสปาเด็กเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วสิงคโปร์ มีตั้งแต่การลอยตัวในอ่างน้ำอุ่น ไปจนถึงการนวดเบา ๆ สปาเหล่านี้พร้อมตอบสนองความต้องการของทารกตัวน้อย ๆ แต่ว่าการทำสปาทารกนั้นมีประโยชน์จริงหรือไม่ เรามาหาคำตอบกันค่ะ

 

ข้อดีและข้อเสียของการทำ สปาทารก

มีคนสองกลุ่มที่คิดต่างกันเรื่องการทำสปาทารก กลุ่มที่สนับสนุน มองว่าการทำสปาสำหรับทารกนั้นมีประโยชน์มากมาย ในเว็บไซต์ของ Baby Spa Perth อ้างว่า การทำสปาทารกสามารถพัฒนาระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกของทารกได้ ในขณะที่การนวดทารกจะกระตุ้นระบบย่อยอาหาร เพื่อลดอาการท้องผูก

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า การทำวารีบำบัดจริง ๆ แล้วอาจสร้างความเครียดทางอารมณ์และร่างกายสำหรับทารก หากยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะให้ทารกทำสปาดีหรือไม่ เราได้รวบรวมข้อดีและข้อเสียที่ได้รับความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญมาไว้ให้คุณแม่แล้วค่ะ

 

สปาทารก

 

วารีบำบัด หรือ ธาราบำบัด คือการว่ายน้ำที่ช่วยให้เด็กทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกเหมือนขณะยังอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ การเตะเท้าไป ๆ มา ๆ ในน้ำก็เปรียบเสมือนความรู้สึกของเด็กที่ได้เตะเท้าในท้องแม่เช่นกัน ช่วยให้ทารกนอนหลับได้สบายขึ้น ช่วยเรื่องระบบทางเดินหายใจ ระบบขับถ่าย และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงด้วย

เปรียบเสมือนการออกกำลังกายของทารกในรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้วารีบำบัด เป็นการว่ายน้ำแบบในร่ม ในอุณหภูมิห้องที่ปรับให้เท่ากับอุณหภูมิในครรภ์มารดา นอกจากนี้ยังใช้น้ำกรอง 100% เป็นน้ำที่สามารถดื่มได้ และใช้ห่วงยางคอที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ นั่นเองค่ะ

 

ข้อดีของการทำ สปาทารก

การนวดผ่อนคลายด้วยน้ำมันอุ่น ๆ หรือนวดด้วยมอยส์เจอไรเซอร์เพลิน ๆ สามารถช่วยให้ทารกร้องไห้ หรืองอแงน้อยลง และนอนหลับได้ดีขึ้น หากลูกน้อยของคุณทำให้คุณพ่อคุณแม่นอนไม่หลับในตอนกลางคืน ด้วยการร้องไห้ไม่หยุด การนวดสปาทารกช่วยคุณได้ !

  • นวดบรรเทาอาการจุกเสียด

ผลการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การนวดบำบัดช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดได้ อาการจุกเสียดเป็นผลมาจากก๊าซในกระเพาะอาหาร และการนวดสามารถกระตุ้นระบบย่อยอาหารเพื่อลดความเจ็บปวดให้กับลูกน้อยของคุณได้

  • การว่ายน้ำช่วยเพิ่มพัฒนาการทางปัญญา

การศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับการว่ายน้ำในทารกแรกเกิดหรือการบำบัดด้วยน้ำ พบว่าการว่ายน้ำช่วยเร่งพัฒนาการของทารกระยะแรกเกิดได้ การเล่นน้ำของเจ้าตัวเล็กไม่ได้เป็นเพียงเรื่องสนุก แต่ลูกน้อยของคุณอาจได้รับการส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโตอีกด้วย

  • เด็กทารกที่ได้ว่ายน้ำมีการประสานงานที่ดีขึ้น

นักว่ายน้ำตัวน้อยไม่เพียงแต่มีความสมดุลที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังจับสิ่งของได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย จากการวิจัยพบว่า แม้การอาบน้ำวารีบำบัดในสปาทารกจะไม่เกี่ยวข้องกับการว่ายน้ำโดยตรง แต่การได้ทำวารีบำบัดในน้ำนั้นเหมาะสมกับทารกที่อายุน้อยมาก ๆ เพราะสามารถช่วยเตรียมพร้อมลูกน้อยของคุณให้พร้อมสำหรับการออกแรง หรือออกกำลังกายในอนาคต

  • การนวดสปาอาจลดอาการตัวเหลือง

การวิจัยระบุถึงความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างการนวดทารกกับการลดอาการดีซ่าน อย่างไรก็ตาม การส่องไฟในตู้อบยังคงมีความจำเป็นต้องทำอยู่ แต่การนวดจะช่วยให้ทารกฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลักษณะของ ทารกระยะแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด มีอะไรบ้างที่พ่อแม่ต้องรู้

 

ข้อเสียของการทำ สปาทารก

  • ทารกมีความผูกพันกับพ่อแม่น้อยลง

การทำสปาทารก ลูกน้อยของคุณจะได้รับการสัมผัสอย่างใกล้ชิดจากคนแปลกหน้า คุณ Sylvie Hetu ผู้ฝึกสอนที่มีประสบการณ์กับ International Association of Infant Massage กล่าวว่า นี่อาจเป็นสิ่งที่ "อันตรายอย่างยิ่ง" สำหรับลูก “เมื่อเราพาทารกไปนวดโดยคนแปลกหน้า (ช่างทำสปา) นั่นแปลว่าเรากำลังสอนทารกว่า ใครก็สามารถสัมผัสเขาได้ ใครก็ตามที่เขาไม่รู้จัก และนั่นเป็นเรื่องที่ไม่ดี” เรื่องนี้สามารถส่งผลกระทบต่อทารกไปตลอดชีวิต เธอบอกอีกว่า พ่อแม่ควรเรียนรู้ที่จะนวดตัวเด็ก ๆ ที่บ้านแทน ลูกน้อยของคุณอาจรู้สึกผ่อนคลายที่บ้านมากกว่าในสภาพแวดล้อมที่แปลกประหลาดนี้ค่ะ

  • รู้สึกโดดเดี่ยว

รายงานสำคัญที่เผยแพร่โดย หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านการว่ายน้ำ STA และ Birthlight โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบที่เป็นอันตรายของการทำสปาทารก จากรายงานที่ได้มาชี้ให้เห็นว่า ห่วงยางคอที่ช่วยให้เด็ก ๆ ลอยอยู่ในอ่างน้ำนั้น "สร้างความโดดเดี่ยว" ให้กับทารกอยู่ไม่น้อย สิ่งที่ทารกต้องมากกว่าการว่ายน้ำในห่วงยางคอ คือการได้สัมผัสและการสนับสนุนจากพ่อและแม่นั่นเองค่ะ

 

สปาทารก

 

  • ห่วงยางคอส่งผลต่อการควบคุมศีรษะและคอ

ในรายงานฉบับเดียวกันนี้ นักวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาการพยุงคอของทารกขณะอยู่ในอ่างน้ำ หรือสระน้ำ การพัฒนาการควบคุมศีรษะและคออาจล่าช้าสำหรับทารกที่ได้รับวารีบำบัดบ่อย ๆ เนื่องจากห่วงยางคออาจทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อเกิดการตึงได้

  • ส่งผลกระดูกสันหลัง

รายงานระบุว่าการใช้ห่วงยางเด็กบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อกระดูกสันหลังของเด็กได้ เมื่อทารกคลอดออกมา กระดูกสันหลังของเขาจะอยู่ในรูปตัว C โดยไม่มีส่วนโค้งของส่วนเอวหรือปากมดลูก ความโค้งของกระดูกสันหลังจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นโดยการเคลื่อนไหวของร่างกายเมื่อโตขึ้น และยังช่วยให้เด็ก ๆ นั่ง ยืน และเดินได้ ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ชี้ให้เห็น ผู้ปกครองควรใช้น้ำเพื่อผูกสัมพันธ์กับลูกโดยไม่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว (หรือปราศจากห่วงยางคอนั่นเอง)

สรุปแล้วทางที่ดีที่สุดคือการทำสปาแต่พอดีนั่นเองค่ะ อาจจะพาเด็ก ๆ ไปสปาบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เจ้าตัวเล็กได้รู้สึกผ่อนคลาย เพราะหากไปบ่อยเกินก็จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีค่ะ หรือคุณพ่อคุณแม่อาจจะลองไปเรียนทำสปาให้ลูกน้อยเองก็ได้นะคะ ปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุดค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พัฒนาการสื่อสารเด็กทารก สังเกตสัญญาณต่าง ๆ ของลูกน้อย พัฒนาการสมวัย

การถดถอยของ การนอนหลับ อาการของทารก ที่คุณแม่ แทบอยากร้องกรี๊ด

เคล็ดไม่ลับ พัฒนาการเรียนรู้ทารก วัย 6 เดือนขึ้นไป มีอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ต้องรู้

ที่มา : 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Patteenan

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • สปาทารก ช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายจริงหรือ สปาทารกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ?
แชร์ :
  • 7 โรงเรียนสอนดนตรีสำหรับเด็ก ที่ตอบโจทย์ เด็ก ๆ หลายคนต้องมาเรียน

    7 โรงเรียนสอนดนตรีสำหรับเด็ก ที่ตอบโจทย์ เด็ก ๆ หลายคนต้องมาเรียน

  • 6 สถานที่ พาลูกปั้นเซรามิก ตอบโจทย์ช่วงเวลาว่างให้กับเด็ก ๆ

    6 สถานที่ พาลูกปั้นเซรามิก ตอบโจทย์ช่วงเวลาว่างให้กับเด็ก ๆ

  • แม่แชร์อุทธาหรณ์ หยิบของเข้าปากไม่ระวัง ลูกชักเกร็ง ลำไส้อักเสบติดเชื้อ

    แม่แชร์อุทธาหรณ์ หยิบของเข้าปากไม่ระวัง ลูกชักเกร็ง ลำไส้อักเสบติดเชื้อ

app info
get app banner
  • 7 โรงเรียนสอนดนตรีสำหรับเด็ก ที่ตอบโจทย์ เด็ก ๆ หลายคนต้องมาเรียน

    7 โรงเรียนสอนดนตรีสำหรับเด็ก ที่ตอบโจทย์ เด็ก ๆ หลายคนต้องมาเรียน

  • 6 สถานที่ พาลูกปั้นเซรามิก ตอบโจทย์ช่วงเวลาว่างให้กับเด็ก ๆ

    6 สถานที่ พาลูกปั้นเซรามิก ตอบโจทย์ช่วงเวลาว่างให้กับเด็ก ๆ

  • แม่แชร์อุทธาหรณ์ หยิบของเข้าปากไม่ระวัง ลูกชักเกร็ง ลำไส้อักเสบติดเชื้อ

    แม่แชร์อุทธาหรณ์ หยิบของเข้าปากไม่ระวัง ลูกชักเกร็ง ลำไส้อักเสบติดเชื้อ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ