พัฒนาการสื่อสารเด็กทารก พาสังเกตสัญญาณต่าง ๆ ของลูกน้อย ทำแบบนี้ลูกต้องการจะสื่อถึงอะไร ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เติบโตอย่างสมวัย
ทารกแรกเกิดและความเข้าใจทางสังคม
เมื่อทารกแรกเกิดอาจดูเหมือนในแต่ละวันจะหมดไปกับการนอนหลับและกินอาหาร แต่แท้จริงแล้วพวกเขากำลังเริ่มพัฒนาทักษะการเข้าสังคมอยู่นะคะ ทารกจะแสดงสัญญาณว่าพวกเขามีแนวโน้มตามธรรมชาติของการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทารกจะสังเกตเห็นแล้วว่าผู้คนกำลังมองดูพวกเขาอยู่หรือไม่ แม้ว่าในเด็กเล็กอาจจะยังไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดเพื่อสื่อความหมายได้มากเท่าผู้ใหญ่ แต่พวกเขาก็มีท่าทาง วิธีการแสดงออกต่าง ๆ เพื่อพยายามสื่อให้คุณพ่อคุณแม่ และผู้คนรอบข้างทราบถึงความต้องการและทำตามความต้องการของตนเอง
เป็นเรื่องน่าทึ่งที่ได้เห็นลูก ๆ ของคุณพ่อคุณแม่เรียนรู้ทักษะการเข้าสังคม ยิ้มและโต้ตอบ ศาสตราจารย์แองเจลิกา โรนัลด์ กล่าวถึงขั้นตอนของการพัฒนาสังคมและวิธีที่ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมลูกน้อยของตนในแต่ละย่างก้าว
บทความที่น่าสนใจ : การสื่อสารพื้นฐาน : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
โดยสัญญาณทางการสื่อสาร พัฒนาการสื่อสารเด็กทารก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สีหน้าและท่าทาง ภาษากาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเด็กทารกยังเป็นวัยที่สื่อสารทางคำพูดไม่ได้มากนัก หากคุณพ่อคุณมีความเข้าใจในการกระบวนของพวกเขาจะช่วยให้ตอบสนอง และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันได้อย่างราบรื่นดียิ่งขึ้นค่ะ
บทความที่น่าสนใจ : แม่สงสัยจัง ท่าทางทารก บอกอะไร ภาษาทารก เมื่อทำท่าแบบนี้ต้องการสิ่งไหน
พัฒนาการสื่อสาร แสดงออกทางสีหน้า
- การยิ้ม เมื่อทารกอายุตั้งแต่ 1 เดือนครึ่ง – 3 เดือน จะเริ่มยิ้มให้คุณพ่อคุณแม่แบบเต็ม ๆ และการยิ้มหวานของทารกเป็นการบ่งบอกถึงความพึงพอใจ ความรู้สึกสบายตัว เมื่อลูกน้อยยิ้มให้คุณพ่อคุณแม่ควรยิ้มตอบกลับ หรือกล่าวคำชมสั้น ๆ ว่า “เก่งมาก”
พัฒนาการสื่อสารผ่านท่าทาง
- หันหน้าหนีไม่ยอมสบตา เป็นการปฏิเสธสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เช่น ไม่ยอมให้อุ้ม เบี่ยงหน้าหนีไม่ยอมรับประทานอาหาร
- พูดอ้อแอ้ เมื่อทารกมีอายุ 2 เดือน ทารกจะเริ่มพูดอ้อแอ้ ๆ สื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่
- จับหู จับตา เป็นการที่ทารกน้อยสำรวจร่างกาย สำหรับเด็กเล็กแล้วร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับพวกเขา แต่หากลูกจับหู จับตาแล้วประกอบกับมีอาการงอแง อาจเป็นเพราะรู้สึกไม่สบายตัว กำลังเหนื่อย ง่วงนอนมาก ๆ หรือทำเพื่อช่วยระบายหงุดหงิดของช่วงที่ฟันเริ่มขึ้น
- เตะขา การเตะขาสื่อได้หลากหลายความหมาย ถ้าเตะขาและยิ้ม แปลว่ามีความสุข ดีใจ ตื่นเต้น พอใจกับเหตุการณ์ตรงหน้า แต่ถ้าเตะด้วยอาการหงุดหงิดและร้องไห้ แปลว่าลูกไม่พอใจ หงุดหงิด วิธีรับมือคือให้คุณพ่อคุณแม่ ลองอุ้มลูกออกจากพื้นที่ตรงนั้น พยายามทำให้ลูกสบายตัวมากขึ้น
- แอ่นหลัง อาการนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่เด็กอายุ 4-5 เดือน เป็นการแสดงถึงความไม่สบายตัว อาจเกิดจากท่านอนที่ไม่สบายตัว
- กำมือ ถ้าเป็นการกำมือแบบปกติในเวลานอน เนื่องจากพัฒนาการทางระบบประสาทของทารกยังไม่มากพอ แต่หากการกำมือที่แน่น แสดงได้ว่าทารกมีอาการเครียด หรือ หิวจัด ทำให้เกิดอาการเกร็ง วิธีแก้คือให้คุณพ่อคุณแม่ควรปรับท่านั่ง ท่านอน หรืออุ้มลูกน้อยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น แล้วจึงให้กินนม
- ขยับปาก เลียนแบบท่าทางการดูดนม ส่งสัญญาณบ่งบอกว่า ‘หนูหิวแล้ว’ เป็นการแสดงออกตั้งแต่ลูกน้อยอายุได้ 3 สัปดาห์ขึ้นไป
- ขยี้หูขยี้ตา เป็นการแสดงอาการบอกว่าทารกเหนื่อย ง่วงนอน ต้องการพักผ่อน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตเวลาและให้ลูกได้พักนอนกลางวัน เป็นต้น หรือหากลูกมีอาการขยี้หูบ่อย ๆ ควรหมั่นตรวจสอบลูกว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ จะได้ทำการรักษาพบแพทย์ได้ทันเวลา เพราะเด็กเล็กอาจยังไม่สามารถสื่อสารออกมาทางคำพูดได้มากนัก
วิธีส่งเสริมพัฒนาการสื่อสารลูกน้อย
- พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ การพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ จะช่วยกระตุ้นให้ลูกมีการโต้ตอบ และเริ่มสื่อสารได้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยจอ ปัจจุบันงานวิจัยหลาย ๆ แห่งชี้ให้เห็นว่าการเลี้ยงลูกด้วยจอ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์เป็นที่นิยมของคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่เพราะความสะดวกสบาย แต่อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษา อาจมีปัญหาพูดช้า หรือมีการสื่อสารไม่เหมาะสม
- ไม่ตอบสนองความต้องการของลูกเร็วเกินไป เมื่อลูกมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เด็กเริ่มโตขึ้นจะต้องมีพัฒนาการที่มากขึ้นเพื่อให้สมกับวัยของพวกเขา หากลูกแสดงท่าทางบอกความต้องการ คุณพ่อคุณแม่ควรหยุดรอ เปิดโอกาสให้ลูกได้พยายามสื่อสารด้วยคำพูด ก่อนที่จะตอบสนองต่อความต้องการ ในกรณีกิจวัตรประจำวันทั่วไป ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง เพื่อเป็นการฝึกให้เป็นนิสัย และลูกจะได้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
- เช่น หากลูกทำท่าชี้ไปที่ขวดนม แทนที่จะหยิบขวดนมแล้วยื่นให้ลูกทันที คุณพ่อคุณแม่ควรจะหยิบขวดนมขึ้นมาแล้วรอให้เด็กได้พูดคำว่านม ก่อนที่จะยื่นขวดนมให้แก่เด็ก เป็นต้น
- เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกในเรื่องของการพูด วิธีที่คุณพ่อคุณแม่พูดกับลูกควรใช้คำที่สั้น กระชับ เสียงดังฟังชัด เข้าใจง่าย เป็นคำพูดที่สุภาพ
บทความที่น่าสนใจ :
พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่
เคล็ดไม่ลับ พัฒนาการเรียนรู้ทารก วัย 6 เดือนขึ้นไป มีอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ต้องรู้
ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี ด้านการเคลื่อนไหว มองเห็น และสื่อสารภาษา
ที่มาข้อมูล : nct.org.uk , th.wikipedia.org , โรงพยาบาลพญาไท
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!