1. การหลั่งเลือด
การหลั่งเลือดเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจแท้งได้ หากคุณมีอาการเลือดไหลต่อเนื่อง ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ การหลั่งเลือดไม่ได้บอกว่าคุณจะแท้งเสมอไป การหลั่งเลือดอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ รกติดอยู่ที่ปากมดลูก เป็นต้น
2. ปวดอุ้งเชิงกราน
หากคุณปวดอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง พร้อมมีอาการท้องร่วง อาเจียน หรือ มีอาการปวดเหมือนปวดประจำเดือน และมีอาการหลั่งเลือดด้วย นี่อาจเป็นสัญญาณถึงการแท้งบุตร ทั้งนี้ อาการเจ็บปวดอาจไม่ได้บ่งบอกว่าคุณต้องแท้งเสมอไป แต่หากคุณมีอาการหลั่งเลือดมากและหลั่งเลือดไม่หยุด รีบพบแพทย์ อย่างน้อยหากมีอาการอื่นที่ไม่ใช่การแท้ง ก็จะได้รักษาได้ทันท่วงที
3. อาการต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์หายไป
หากจู่ ๆ คุณหายจากอาการต่าง ๆ ของผู้หญิงตั้งครรภ์ (เช่น หน้าอกบวมใหญ่ขึ้น หรืออื่น ๆ) นี่อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะแท้งบุตร วิธีที่จะตรวจสอบได้ว่าการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงหรือยัง ก็คือการอัลตร้าซาวน์
ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตร
ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตรมีหลายอย่าง ปัจจัยส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยบางอย่างก็ไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ เช่น อายุของคุณแม่ที่มากขึ้น หรือในบางครั้งอาจไม่พบปัจจัยเสี่ยงในคุณแม่ที่แท้งบุตรเลย (โดยเฉลี่ยอาจพบการแท้งบุตรตามธรรมชาติได้ถึงร้อยละ 10-15)
การเตรียมตัวคุณแม่เพื่อป้องกันการแท้งบุตร
- ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
- ควรรักษาโรคประจำตัวให้เป็นปกติหรือควบคุมโรคได้ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันเลือดสูง, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันผิดปกติ (SLE และ antiphospholipid syndrome) เป็นต้น
- ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
- ควรลดน้ำหนักตัวให้เป็นปกติก่อนการตั้งครรภ์
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
สิ่งที่ต้องเลี่ยงเมื่อตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก
- หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่ไม่สุก, ชีสหรือเนยแข็ง, ไส้กรอกและแฮม, ชาและกาแฟ, น้ำอัดลม
- หลีกเลี่ยงการติดเชื้อบางโรคระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน โดยการหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีคนแออัด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค
สิ่งที่คุณแม่ต้องเลี่ยงเมื่อตั้งครรภ์
งดการสูบบุหรี่ / การดื่มแอลกอฮอล์ / การใช้สารเสพติด
กิจกรรมของคุณแม่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
- การออกกำลังกาย สามารถทำได้ตามปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์
โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกีฬาที่อาจมีการกระแทก, การกระโดด และการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก ดังนั้น คุณแม่สามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, เต้นแอโรบิค, โยคะ และอื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย
ในการตั้งครรภ์ที่ปกติการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ดังนั้น ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย
อาจทำให้คุณแม่มีอาการปวดเสียดมดลูกได้ เช่นเดียวกันกับการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน การทำงานไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร
- การทำงานในที่ทำงานหรือการทำงานบ้าน
ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีหรือสิ่งที่อันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง, สารระเหย, โลหะหนักที่ผสมในสารเคมี, รังสีจากที่ทำงาน เป็นต้น
- ถ้าคุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ปวดท้องตลอดเวลา, เลือดออก หรือมีภาวะแท้งคุกคาม
ให้หยุดกิจกรรมทุกอย่าง นอนพักผ่อนให้มาก และพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษา
ที่มา https://www.sofeminine.co.uk
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!