เครื่องเคียงเกาหลี มีอะไรบ้าง และผักดองเกาหลีแสนอร่อย เมื่อพูดถึงอาหารเกาหลีแน่นอนว่า จะตามมาด้วยเมนูมากมายในหัวใช่ไหมคะ แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยและมาคู่กับอาหารจานหลัก นั่นก็คือ เครื่องเคียงเกาหลี หรือที่เรียกว่า “พันชาน (반찬)” นั่นเองค้า หลายคนอาจสงสัยว่า
เครื่องเคียงเกาหลี ที่ว่า ก็คือที่วางเรียงกันเยอะๆ ละลานตา และเติมได้ไม่อั้นในร้านอาหารเกาหลี ใช่ไหม ต้องตอบว่าใช่ค่ะ หลายๆครั้งที่ไปเกาหลี แทบจะทุกร้าน ที่สามารถเติมเครื่องเคียงไม่อั้น เรียกได้ว่าแค่กินเครื่องเคียงก็เล่นเอาอิ่มแล้ว มาทำความรู้จักเครื่องเคียงเกาหลี เพราะ วัฒนธรรมเครื่องเคียงของเกาหลี มีมาแต่ช้านาน หลายๆคนก็คงจะคุ้นเคยกันดี อย่าง กิมจิ หรือ “คิมชี (김치)”
โดยอาหารเกาหลีไม่ได้อยู่ในประเทศเกาหลีเพียงเท่านั้น เนื่องด้วยวัฒนธรรมและความแพร่หลายของสื่อเกาหลี ทำให้เกิดความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่ชาวต่างชาติและ แน่นอนว่าในประเทศไทย ยิ่งเห็นกระแส ซีรีส์ ที่ไม่เคยแผ่วเลย ไม่ว่าจะยุคสมัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และยังคงยอดนิยมมากขึ้น
- ในช่วง Work From Home ช่วงที่คนกักตัวในช่วงเวลานี้ อาหารเกาหลีจึงแพร่หลายและ ยอดนิยมตามๆกันมากับสื่อความบันเทิงที่เข้ามายังประเทศไทย ร้านอาหารเกาหลีที่เดินไปในใจกลางเมือง ก็อาจจะนึกว่าอยู่ที่เกาหลีเป็นได้ เรียกได้ว่าเราซึมซับวัฒนธรรมเกาหลีมามากจริงๆค่ะ
ดังนั้นเพื่อให้เราเข้ากับกระแส เกาหลีฟีเวอร์นี้ วันนี้หยิบหยก อาหารที่เป็นเครื่องเคียงมาฝากคุณแม่และสาวๆกันค่ะ เพราะ อาหารเกาหลีมีหลากหลาย แต่เครื่องเคียงนั้นเป็นอะไรที่เราสามารถทำกินได้ง่ายๆ ประโยชน์ครบ และเก็บไว้ทานได้ในระยะเวลานาน เนื่องจากส่วนมากเป็นผักดอง
แอบกระซิบว่า ผักดอง เครื่องเคียงเกาหลี นี้ฮิตถึงขั้นที่ว่า คุณแม่บ้านไหนทำอร่อย ก็สามารถสร้างเป็นธุรกิจเล็กๆได้เลยนะคะ เพราะช่องทางการขายออนไลน์ตอนนี้แพร่หลาย และถือ ว่าเป็น อาหารที่คนนิยมทานและให้ความสนใจดีเลยทีเดียว
แต่ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับ เครื่องเคียงเกาหลีแต่ละอย่าง วันนี้เราจะพาไปรู้จักประวัติความเป็นมา และลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมเครื่องเคียงของเกาหลีกันก่อนค่ะ ว่าเจ้า พันชัน’ (반찬) นี้มาจากไหน ทำไมคนเกาหลีต้องมีเครื่องเคียง และข้อมูลมากมายเพื่อเพิ่มอรรถรสในการกิน ให้เข้าถึงความอินเกาหลีมากกว่าเดิม
สุขใดไหนเล่าจะเท่าการนั่งดูซีรีส์พร้อมกับมือคว้าผักดองมาแกล้ม ถือเป็นการกักตัวอยู่บ้านที่มีอรรถรสมากค่ะ
ประวัติเครื่องเคียงเกาหลี
เครื่องเคียง หรือ “พันชาน (반찬)” เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในสำรับอาหารของชาวแดนโสมมาอย่างช้านาน เป็นว่ากันว่าวัฒนธรรมการรับประทานเครื่องเคียงที่เต็มโต๊ะเช่นนี้ ได้มีจุดเริ่มต้นในราชวงศ์โครยอ (ศตวรรษที่ 10-14) จากอิทธิพลของการกินเจ เพราะเครื่องเคียงนี้เป็นผักซะส่วนใหญ่ และเป็นการกินในรูปแบบของในพุทธศาสนานิกายมหายานนั่นเอง
เครื่องเคียงเกาหลี ผักดองแสนอร่อยประโยชน์ครบ เก็บไว้กินได้นาน
ถ้าเปรียบตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ระบุความหมายของคำว่า “เครื่องเคียง” ไว้ ซึ่งแปลว่า “ของเคียง, ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกิน ประกอบกับอาหารบางชนิด”
เครื่องเคียงในสมัยก่อนสามารถแสดงชั้นวรรณะได้
- ที่เรารู้จักกันดีคือกิมจิ แต่ไม่ใช่เพียงแค่กิมจิเท่านั้นแต่มีอีกหลากหลายเมนู ไม่น่าเชื่อว่าเครื่องเคียงที่วางบนโต๊ะอาหารคู่กับอาหารจานหลักนั้น จะบ่งบอกถึงสถานะชนชั้นของคนรับประทานอาหารในโต๊ะนั้นเช่นกัน กล่าวคือ
- ในสมัยก่อนนั้น ถ้าเปรียบจากสามัญชนทั่วไป บนโต๊ะอาหารมักจะมีเครื่องเคียง 3 อย่าง
- ในขณะที่ครอบครัวที่มีฐานะขึ้นมาอีกหน่อย มีเครื่องเคียงประมาน 5 อย่าง และอาจเพิ่มเป็นพิเศษ 7
- ในครอบครัวที่มี หัวหน้าครอบครัวและบุตรชายผู้ซึ่งเป็นทายาทของตระกูล ในสมัยก่อนชนชั้นสูงหรือขุนนางในวัง เมื่อรับประทานอาหารจะมีเครื่องเคียงในสำรับมากถึง 9 อย่าง
- ยิ่งโดยเฉพาะเจ้าขุนมูลนายหรือเครื่องเสวยในพระราชสำนักยิ่งมีเครื่องเคียงมากถึง 12 อย่าง
ฟังอย่างนี้เราต้องร้องว้าวกันเลย ทำให้นึกถึงซีรีส์เกาหลีเรื่อง แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวงกันเลย เพราะกว่าจะจัดแจงมื้ออาหารแต่ละมื้อให้กับเจ้าขุนเจ้าเมืองในวัง ต้องใช้แม่ครัวจำนวนมาก และต้องใช้เวลาเตรียมการทั้งวัน แค่ฟังจำนวนเครื่องเคียงที่มากถึง12 อย่างก็ถือว่าการเตรียมครัวแต่ละครั้งในวัง ถือเป็นงานหินเลยทีเดียว
ซึ่งถ้าพูดถึงในปัจจุบัน ก็จะเป็นว่า การเสิร์ฟเครื่องเคียงถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นความเหมาะสมในแต่ละครอบครัว และอาจจะสังเกตได้จากร้านอาหารถ้าร้านที่มีระดับก็อาจจะมีเครื่องเคียงมากสักหน่อย แต่ถ้าร้านที่ท้องถิ่งหน่อยก็อาจจะมีเครื่องเคียงยอดฮิตเท่านั้นค่ะ
แต่ส่วนมากที่เห็นเป็นประจำและต้องมีอย่างคาดไม่ได้ คือกิมจิ นั่นเอง วันนี้เราจะพูดถึงเครื่องเคียง 10 อย่างที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ช่วงนี้เราไม่สามารถออกไปต่างประเทศได้ ก็ทำได้แค่เกาหลีทิพย์ ไปก่อนนะคะ
ประเภทหลักของเครื่องเคียง
อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าเครื่องเคียงของเกาหลีนั้นมีความหลากหลายมาก ทั้งนี้เราอาจจะแบ่งประเภทได้คร่าวๆ ดังนี้
1.คิมชี (김치) กิมจิ ผักดอง หรือคนเกาหลีเรียกว่า แพชู กิมจิ | 배추김치
มาที่เครื่องเคียงอย่างแรกที่เชื่อว่าทุกคนที่เคยทานอาหารเกาหลีต้องคุ้นเคยกันดี ถือได้ว่าเป็นเครื่องเคียงหลักในทุกสำรับ คิมชี (김치) กิมจิ มันคือ คิมชี (김치) กิมจิ “แพชูคิมชี” หรือ “แพชูกิมจิ” แล้วแต่จะเรียก กิมจิผักกาดขาวสุดฮิต นำเอาผักกาดขาวมาดองกับพริกเกาหลีและเครื่องปรุงรสต่างๆเพื่อทำรสชาติกลมกล่อมขึ้น
- เรียกได้ว่ากิมจินั้นมี ประวัติศาสตร์มาพร้อมกับอารยธรรมการกินของประเทศเกาหลีมาอย่างช้านาน เชื่อกันว่าการทำกิมจิถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ในศตวรรษที่ 7 โดยมีการคิดทำกิมจิเพราะ เป็นการเก็บรักษาพืชผักไว้บริโภคในช่วงฤดูหนาว ซึ่งที่เกาหลีช่วงหน้าหนาวถือว่าหนาวเหน็บจริงๆ ทำให้ยากต่อการออกไปหาวัตถุดิบมาบริโภค และรวมถึง อากาศหนาวจัดจนไม่สามารถทำเพาะปลูกพืชพันธุ์ได้เลย
ด้วยความชาญฉลาด จึงได้คิดวิธีการถนอมผักสด ด้วยการทำผักดองเค็มด้วยเกลือ หมักในโถหรือไหและนำไปฝังดินไว้เพื่อรับประทานในช่วงหน้าหนาวนี้ นอกจากนี้กิมจิไม่ใช่แค่เครื่องเคียงเท่านั้น เพราะ กิมจิ ยังสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบปรุงร่วมกับอาหารจานหลักได้อีกหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น ต้มผักแกงทอด ต่างๆ หรือแม้แต่นำมาประยุกต์ในอาหารร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน อย่างพิซซ่าและ อาหารจากแถบฝั่งตะวันตกนั่นเอง
ที่เรารู้จักกันดีคือกิมจิ แต่ไม่ใช่เพียงแค่กิมจิเท่านั้นแต่มีอีกหลากหลายเมนู
กักดูกี | 깍두기กิมจิหัวไชเท้า
เครื่องเคียงชนิดนี้ เป็นประเภทหนึ่งของกิมจิ แต่ไม่ได้ทำจากผักกาดขาวแต่ มีส่วนผสมที่คล้ายกับกิมจิผักกาดขาว แค่เปลี่ยนจากผักกาดขาวเป็นหัวไชเท้าหั่นเป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หลักจากหมักดองไประยะหนึ่งจะมีรสเปรี้ยวแต่ไม่เปรี้ยวขนาดกิมจิผักกาดขาว
โออี โซบากิ | 오이소박이 กิมจิแตงกวา
เนื่องจากวิธีทำกิมจิใช้ส่วนผสมเหมือนกันปรับเปลี่ยนตัววัตถุดิบหลัก และการใช้แตงกว่าเกาหลีถือว่าทำรสชาติออกมาได้ดีทีเดียว ความนุ่มของแตงกว่าทำให้กิมจิเปรี้ยวอ่อนๆยิ่งมีความอร่อย แต่ร้านในไทยนำแตงกว่าไทยมาทำ อาจจะไม่ค่อยเป็นที่นิยม และรสชาติไม่อร่อยเท่าแตงกวาเกาหลีค่ะ
พากิมจิ | 파김치 กิมจิต้นหอม
กิมจิชนิดนี้ เป็นกิมจิที่ทำจากต้นหอม จุดเด่นคือความกรอบของต้นหอมและกลิ่นหอมอ่อนๆจากตัวต้นหอม เน้นว่าต้นหอมที่นำมาใช้จะมีลักษณะแข็ง กรอบ และใช้ทั้งส่วนสีเขียวและขาวเรียกได้ว่าใช้ประโยชน์คุ้มค่า กิมจิต้นหอมจะมีรสชาติเผ็ดกว่ากิมจิแบบอื่นๆ เพราะเนื้อเครื่องปรุงเข้าถึงตัวต้นหอมได้โดยตรง เหมาะกับคนที่ชอบทานเผ็ด
แกะชิพคิมชี (깻잎김치) หรือ กิมจิใบงา
กิมจิใบงา ใบงาเป็นอีกอย่างที่คนเกาหลีนิยมทาน ส่วนมากเราจะเห็นเป็นผักแกล้มกับเมนูหมูปิ้งย่างเกาหลี ก็จะมีใบลักษณะหยักๆตรงๆขอบให้มาด้วยเสมอ ซึ่งรสชาติใบงาพิเศษมากมีความเฉพาะแต่ถ้ากินกับหมูย่างเกาหลีจัดว่าเริ่ดมากลงตัว ดังนั้นใบงาเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่นำมาทำกิมจิ มีรสเผ็ดเปรี้ยวอร่อยไปอีกแบบค่ะ
ทงชิมี (동치미) หรือ กิมจิลูกแพร์
นิยมเรียกกันว่า “กิมจิขาว” เป็นกิมจิชนิดหนึ่งที่ ที่หน้าตาต่างจากกิมจิอื่นๆเพราะ ดูไม่จัดจ้าน วัตถุดิบหลักทำจากลูกแพร์สีขาวในน้ำสีขาวขุ่น รสชาติไม่เผ็ด เท่ากิมจิชนิดอื่น แต่ยังคงความเปรี้ยวอ่อนเนื่องจากใช้วิธีหมักดอง สามารถทานเพื่อตัดเลี่ยนได้ดี เหมาะกับคนที่ไม่ชอบทานเผ็ดจ้า
เราจบตระกูลกิมจิกันไปแล้ว เครื่องเคียงต่อมาจะเป็นเครื่องเคียงที่เราพบบ่อยๆค่ะ ในมื้ออาหารเกาหลี
สูตรทำกิมจิ :สูตรทำกิมจิหมักแสนง่าย อร่อยเหมือนออมม่าเกาหลีทำให้ทานเอง
2. jangajji (장아찌) ประเภทผักดองทั้งดองเปรี้ยวและดองซีอิ๊ว
Jangajji (장아찌)
ผักดอง สูตรผักดองซีอิ๊วสูตรเกาหลี เป็นชนิด banchan ( กับข้าว) ทำโดย ดอง ผัก แตกต่างจากกิมจิ jangajji คือผักที่ไม่ผ่านการหมักมักจะดองใน ซอสถั่วเหลืองหรือซีอิ๊ว , เต้าเจี้ยว หรือ น้ำพริกเผา อาหารจาจังจิมักจะเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานและเสิร์ฟพร้อมกับ น้ำมันงา อาหารที่เก็บรักษาไว้เช่น jangajji ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถบริโภคผักได้ในระดับหนึ่งในช่วงฤดูหนาวอันยาวนานและรุนแรงบน คาบสมุทรเกาหลี
หัวไชเท้าดองของเกาหลีมีความลงตัวระหว่างเปรี้ยวเค็มและหวาน
chicken mu (치킨 무)
หัวไชเท้าดองของเกาหลีมีความลงตัวระหว่างเปรี้ยวเค็มและหวาน เข้ากันได้ดีกับไก่ทอดเกาหลีหรืออาหารหนักอื่น ๆ ซึ้งที่ในประเทศไทยกำลังฮิต เป็นการทำผักดองสามสีนั่นเอง ซึ่งสามารถเพิ่มเติมโดยการใช้ แครอท หรือแตงกวามาดองในรูปแบบนี้เช่นกัน
3.เครื่องเคียงประเภท “นามูล (나물) หรือ ประเภทคลุกปรุงรส แบบไม่เผ็ด
คงนามุล | 콩나물 ถั่วงอกปรุงรส
เป็นเครื่องเคียงประเภทยำและคลุก วัตถุดิบคือ ถั่วเหลืองงอกนำไปลวกให้สุกแล้วคลุกกับน้ำมันงาและเครื่องปรุงรส ให้รสชาติมันๆ เค็มๆ หรือถ้าอยากให้มีรสชาติยำๆ ก็ใส่ น้ำมันงา, หอมซอย, กระเทียมสับและพริกแดงป่น เป็นหนึ่งในเครื่องเคียงที่พบได้บ่อยอีกหนึ่งอย่าง ตามร้านอาหารเกาหลีมีวิธีขั้นตอนในการทำที่ง่ายมาก
คาจีนามุล (가지나물) มะเขือม่วงปรุงรส
วัตถุดิบหลัก คือ มะเขือม่วงนำไปลวกปรุงรส ทำง่ายๆ คือนำมะเขือม่วงไปลวก ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำมาหั่นชิ้น และนำมาหมักในซอสถั่วเหลือง ใส่กระเทียมสับ เพิ่มหอมซอย และใส่พริกแดงป่น, น้ำมันงาและเมล็ดงาตามลงไปค่ะ เมนูนี้เป็นอีกหนึ่งเครื่องเคียงที่ชอบ ทานเพลิน
โคกูมาซุนนามุล (고구마순나물) ต้นอ่อนมันหวานปรุงรส
ต้นอ่อนมันหวาน รสชาติอร่อย นำต้นอ่อนมันหวานสับๆนำไปลวกปรุงรส เป็นหนึ่งในเครื่องเคียงผักพื้นฐานที่มักพบได้ในอาหารตามร้านอาหารเกาหลี โดยจะนำต้นอ่อนของมันหวานมาลวก และนำไปผัดไฟอ่อนๆกับน้ำมัน จะปรุงรสด้วยเกลือ, กระเทียมสับ, น้ำมันงาและเมล็ดงา โรยตาม
ชีกึมชีนามุล (시금치나물) ปวยเล้งปรุงรส
วัตถุดิบหลักคือ ปวยเล้ง เช่นเคยนำปวยเล้งมาลวกปรุงรสตามชอบ นำปวยเล้งมาลวกให้สุกและนำมาคลุกปรุงด้วยน้ำมันงา, กระเทียมสับ, ซอสถั่วเหลือง และโรยด้วยเมล็ดงา ถ้าต้องการเผ็ดก็ใส่ผงพริกแดงตามลงไป
พอซ็อดพกกึม | 버섯볶음 เห็ดผัดปรุงรส
ไหนใครชอบกินเห็ดบ้างค่ะ น่าจะถูกใจเครื่องเคียงจานนี้ไม่น้อยเลย “พอซ็อดพกกึม” เป็นเครื่องเคียงแบบผัด โดยนำเอาเห็ดไปผัดรวมกับ วัตถุดิบอื่นๆเช่น ต้นหอม แครอท ผัดด้วย ซีอิ๊ว ให้รสชาตินัวๆ กลมกล่อม กินกับอะไรก็อร่อย ทำง่ายๆค่ะ
มียอกนามุล (미역나물) สาหร่ายปรุงรสแบบจืด
วัตถุดิบหลัก คือสาหร่าย สาหร่ายทะเลปรุงรส จะนำสาหร่ายทะเลแห้งมาแช่น้ำ และนำไปปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูหวานและเกลือ
4.เครื่องเคียงประเภท “มูชิม (무침)” หรือ ประเภทยำ /คลุกปรุงรสเผ็ด แต่จะปรุงรสเพิ่มด้วยน้ำพริกเกาหลีที่เรียกว่า “โคชูจัง (고추장)”
มียอกมูชิม (미역무침) สาหร่ายปรุงรสแบบเผ็ด
เช่นเดิม วัตถุดิบหลักคือสาหร่าย สาหร่ายทะเลปรุงรสเผ็ด จะนำสาหร่ายทะเลแห้งมาแช่น้ำ และปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูหวาน, เกลือ และโคชูจัง (고추장)
โออีมูชิม (오이무침) ยำแตงกวา
เช่นเคยแตงกว่าเป็นวัตถุดิบที่หาง่าย เพียงนำแตงกวาสดมาคลุกปรุงรสด้วยกระเทียมสับ, หัวหอมสับ, น้ำมันงา, เมล็ดงา, พริกป่นโคชูการู (고추가루) และเพิ่มความเผ็ดร้อนด้วย โคชูจัง (고추장) พบเห็นได้บ่อยมากในร้านอาหารในเกาหลี นิยมกินอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อนค่ะ
ชีกึมชีมูชิม (시금치무침) หรือ ยำปวยเล้ง
นำปวยเล้งมาทำเครื่องเคียงแบบเผ็ด ปวยเล้งที่ลวกสุก นำมาคลุกปรุงด้วยน้ำมันงา, กระเทียมสับ, ซอสถั่วเหลือง, โคชูจัง (고추장) และโรยด้วยเมล็ดงาค่ะ
พามูชิม (파무침) ยำต้นหอม
วัตถุดิบหลักต้นหอม นำมาฉีกฝอยๆเส้นๆ หรือหั่นเป็นเส้นๆตามแนวยาว คลุกปรุงรสด้วยน้ำมันงา, พริกป่นโคชูการู (고추가루), โคชูจัง (고추장) และโรยด้วยเมล็ดงา เป็นอีกหนึ่งเครื่องเคียงที่ชอบมาก
คาจีมูชิม (가지무침) ยำมะเขือม่วง
เช่นเดียวกับการนำมะเขือม่วงมาเป็นเครื่องเคียงแบบเผ็ด วัตถุดิบหลักยังคงเป็น นำมะเขือม่วงมาลวกทิ้งไว้ให่เย็นและน้ำมาหั่น ปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลือง, กระเทียมสับ, หอมซอย, น้ำมันงา พริกป่นโคชูการู (고추가루), โคชูจัง (고추장) และโรยด้วยเมล็ดงา เป็นอีกหนึ่งเครื่องเคียงที่ทานเพลินมาก
ทูบูโจริม | 두부조림 เต้าหู้ปรุงรสเผ็ด
ทูบู คือเต้าหู้ ของเกาหลี เป็นเมนูเครื่องเคียงที่ใช้เต้าหู้แบบนิ่ม หรือเต้าหู้แกงมาหั่นเป็นแผ่นแล้วเคี่ยวกับซอสเผ็ดก็ได้นะคะ รสชาติออกแนวเผ็ดร้อน บางคนบอกว่ารสชาติคล้ายๆ กับแกงเต้าหู้ของเกาหลีแต่จะเผ็ดกว่า เพราะน้ำคลุกคลิกกว่ารูปแบบแกง
เครื่องเคียงแบบผัดๆ เรียกว่า“พกกึม (볶음)”
5.มาต่อกันที่เครื่องเคียงแบบผัดๆ เรียกว่า“พกกึม (볶음)” หรือ ประเภทผัดซอส
พอซ็อซบกกึม (버섯볶음) เห็ดผัดปรุงรส
วัตถุดิบหลัก เห็ดผัดปรุงรส ซึ่งมักจะผัดร่วมกับแครอท, หอมใหญ่, ต้นหอม, กระเทียบสับ, ซีอิ๊วจินกันจัง (진간장) และ อาจใช้น้ำมันงา หรือผงงาในการผัดค่ะ โรยงาหรือไม่ก็ได้
โอเดง บกกึม (오뎅볶음) โอเด้งผัด ลูกชิ้นเกาหลี
โอเด้ง (오뎅) หรืออาจเรียกว่า ออมุก (어묵) คือลูกชิ้นปลาแบบแผ่นที่เราเห็นบ่อยๆในซีรีส์เกาหลี นำมาผัดซอสถั่วเหลือง ใส่ต้นหอม, กระเทียมสับ, น้ำเชื่อม, พริกป่น,น้ำมันงา, พริกไทย และโรยด้วยเมล็ดงาค่ะ
มยอลชี บกกึม (멸치볶음) ปลาแอนโชวี่ผัดหวาน
เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ชอบมาก เพราะปลาตัวเล็กมีรสหวานนี้ชื่อว่า มยอลชี (멸치) หมายถึง ปลาแอนโชวี่ หรือปลากะตัก ซึ่งจะนำมาผัดกับถั่วบดหรือถั่วอัลมอนด์ ถั่วลิสง ปรุงรสด้วยน้ำเชื่อมโอรีโกดัง (올리고당) และโรยด้วยเมล็ดงา อร่อยมาก
6.มาต่อกันที่ประเภท นึ่ง ประเภทนึ่งหรือต้ม เรียกว่า ‘จิม’ (찜) เป็นเครื่องเคียงที่เน้นความร้อนแบบต้มนึ่งค่ะ
‘คเยรันจิม’ ไข่ตุ๋นถ้วยร้อนสไตล์เกาหลี
ไขตุ๋นรูปแบบนี้นิยมเสิร์ฟมากับหม้อร้อน เนื้อไข้ตุ๋นเนียนนุ่มเด้ง อร่อยมาก เสิร์ฟแบบร้อนๆ ยิ่งเพิ่มความหอมละมุน โดยเฉพาะเมื่อตักเข้าปากความนุ่มละลายในปาก ถือว่าเป็นเครื่องเคียงที่ขาดไม่ได้จริงๆทุกครั้งที่ทานอาหารเกาหลี
7.ประเภทสุดท้าย คือ ของทอดที่มีลักษณะคล้ายแพนเค้ก หรือที่เรียกว่า ‘จอน’ (전)ง
พาจอน | 파전 แพนเค้กต้นหอมทอดสไตล์เกาหลี
“พาจอน” หรือพิซซ่า หรือแพนเค้กเกาหลี น่าจะเป็นเครื่องเคียงโปรดของหลายคนคุ้นเคยกันดี น้าตาคล้ายๆ กับพิซซ่าหรือแพนเค้ก นิยมทานกับเหล้ามักกอลลี วัตถุดิบหลักคือต้นหอม แป้งทอดและไข่ โดยคนเกาหลีจะนำเอาต้นหอมมาชุบแป้งและชุบไข่ จากนั้นนำไปทอดเป็นแผ่นซึ่งแผ่นจะไม่หนามาก เพือ่ให้สุกทั่วถึง ที่นิยมเห็นจะใส่ปลาหมึก หรืออาหารทะเลร่วมด้วย อีกหนึ่งเมนูที่ชอบมาก
คัมจาจอน | 감자전 มันฝรั่งแพนเค้ก
วัตถุดิบหลักคือมันฝรั่ง นำมันฝรั่งมาหั่นเป็นแผ่นๆ แล้วนำชุบแป้ง ชุบไข่ และทอด รสชาติมันๆ กินเป็นจานหลักหรือเป็นเครื่องเคียงก็ได้ทั้งนั้นเลย แต่ถ้ากินมาก จานนี้ระวังจะจุกก่อนอาหารจานหลักมานะคะ
จบไปแล้วสำหรับเครื่องเคียงหลากหลายที่เรานำมาเป็นความรู้กันแบบจัดเต้มค่ะ สิ่งที่เป็นความพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ พันชัน นอกจากจะเป็นเครื่องเคียงไว้ทานกับอาหารหลักแล้ว ถือเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของร้านอาหารแต่ละร้าน ซึ่งแต่ละร้านก็เสิร์ฟพันชันก็จะมีเอกลักษณ์และรสมือแม่ครัว เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและติดใจในรสชาติอาหาร ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคเรียกลูกค้าที่ดีค่ะ
พันชัน นอกจากจะเป็นเครื่องเคียงไว้ทานกับอาหารหลักแล้ว ถือเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของร้านอาหารแต่ละร้าน
โดยส่วนตัวชอบทานอาหารเกาหลี และคิดว่าเครื่องเคียงเกาหลี สามารถนำมาทำรับประทานเองได้ง่ายมากๆ และมีส่วนประกอบเครื่องปรุงที่ตอนนี้ในไทยหาซื้อง่าย จึงอยากนำเมนูเครื่องเคียงเกาหลีมาฝากคุณแม่และสาวๆได้ลองนำไปทำรับประทานกันค่ะ
ที่มา : mangozero thestandard trifood
บทความประกอบ : กิมจิประโยชน์ครบดีต่อสุขภาพ สาวกเกาหลีห้ามพลาด 10 ประโยชน์ของกิมจิ
ต๊อกบกกี รวมวิธีทำอาหารเกาหลี ต๊อกบกกี อร่อยแถมทำง่าย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!