X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องขับรถ อันตรายทั้งแม่ทั้งลูก ถ้าไม่จำเป็นอย่าได้ทำ

บทความ 5 นาที
คนท้องขับรถ อันตรายทั้งแม่ทั้งลูก ถ้าไม่จำเป็นอย่าได้ทำคนท้องขับรถ อันตรายทั้งแม่ทั้งลูก ถ้าไม่จำเป็นอย่าได้ทำ

ทำไมคนท้องจึงไม่ควรขับรถ ติดตามอ่านได้ที่นี่

คนท้องขับรถ อันตรายทั้งแม่ทั้งลูก ถ้าไม่จำเป็นอย่าได้ทำ เลี่ยงไม่ได้สำหรับการขับรถของคุณแม่ที่กำลังจะตั้งครรภ์ บางครั้งเราก็มักจะเห็นว่าคุณแม่บางคนต้องขับรถไปคลอดลูกเองที่โรงพยาบาล มาดูกันดีกว่าค่ะว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นจริง ๆ ควรต้องทำอย่างไรบ้าง

 

ข้อปฏิบัติติสำหรับ คนท้องขับรถ

หากอยู่ในสถานการณ์ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สามารถเลี่ยงได้ หรือมีความจำเป็นที่จะต้องขับรถเอง สิ่งแรกที่คุณควรทำคือนึกถึงความปลอดภัยของตนเองและลูกน้อยในครรภ์ให้มากที่สุด โดยจะต้องปฏิบัติตนเมื่ออยู่บนรถ ดังนี้

 

1. การขาดเข็มขัด

การขาดเข็มขัดถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของการขับรถเลยก็ว่าได้ เพราะเข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดแรงกระแทก และการพุ่งตัวของร่างกายเราออกไปยังนอกรถเมื่อเกิดการชนอย่างรุนแรง ซึ่งการคาดเข็มขัดสำหรับคนท้อง มีดังต่อไปนี้

  • อย่างแรกที่ควรทำก่อนการคาดเข็มขัดคือการถอดเสื้อตัวนอก หรือแจ็คเก็ตที่อาจทำให้ความสามารถในการขับรถ หรือการขยับของแขนนั้นเป็นอุปสรรคออกไปก่อน
  • ปรับที่นั่งให้เหมาะสม และเริ่มลองคาดเข็มขัดดู หากบริเวณพวงมาลัย หรือรถมีระบบถุงลม ควรปรับที่นั่งให้ห่างออกมาให้ระยะที่ปลอดภัย เนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ถุงลมนิรภัยอาจทำงานได้ ซึ่งถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์นั่งใกล้จนเกินไปอาจส่งผลทำให้ถุงลมนิรภัยกระแทกเข้ากับหน้าท้อง ทำให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
  • การคาดเข็มขัดคุณแม่ไม่ควรคาดที่บริเวณหน้าตัก หรือที่เอวเพียงอย่างเดียว ควรคาดแบบปกติ ปรับที่นั่งให้พอดีกับสายเข็มขัดพาดผ่านไหล่ ไปยังกระดูกไหลปลาร้า และพาดผ่านระหว่างกลางหน้าอก ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่โดนคอของคุณแม่
  • เข็มขัดนิรภัยไม่ควรพาดผ่าน หรือพาดทับหน้าท้องของคุณแม่โดยตรง และจะต้องไม่คาดแบบนำสายไว้ด้านหลัง หรือใต้แขนเป็นอันขาด

 

2. กฎของการขับรถบนถนน

การขับรถบนถนนปกติจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นที่สุดอยู่แล้ว แต่สำหรับคนท้องขับรถแล้วนั้นจำเป็นจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ทุกเมื่อ เมื่อเริ่มออกเดินทาง คุณแม่ควรขับอยู่ในเลนซ้าย ด้วยความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรักษาระยะห่างกับคนด้านหน้าประมาณ 2 เมตร นอกจากนี้ควรสังเกตป้ายทาง และเปิดสัญลักษณ์ไฟเลี้ยวทุกครั้งเมื่อต้องการจะเลี้ยว  เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเบรกกะทันหันของรถคันด้านหน้า หรือการถูกชนท้ายระหว่างการเปลี่ยนเลน

บทความที่น่าสนใจ : คาถาขับรถปลอดภัย คาถาเดินทางปลอดภัยสั้นๆ บทสวดมนต์ขับรถปลอดภัย

 

คนท้องขับรถ 4

ข้อปฏิบัติติสำหรับคนท้องขับรถ ที่ต้องทำตาม (ภาพโดย senivpetro จาก freepik.com)

 

ทำไมคนท้องไม่ควรขับรถ

คำถามที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจไม่เข้าใจ และคงสงสัย เพราะคิดว่าตนเองก็มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีก็สามารถขับรถ หรือสามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง ซึ่งในบางครั้งหากมีความจำเป็นก็สามารถเดินทางได้แบบปกติ และกรณีแบบไหนที่คนท้องไม่ควรขับรถ ไปดูกัน

 

1. มีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง

อาการคลื่นไส้ นั้นสามารถเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสุดท้าย คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอาการคลื่นไส้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือสถานที่ใด แต่หากเป็นด้านหลังของพวงมาลัยรถแล้วหละก็เป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่นอน เพราะนอกจากอาการดังกล่าวจะรบกวนสมาธิในการขับรถของคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดอาการเวียนศีรษะ และอ่อนเพลีย ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่ และคนใช้รถใช้ถนนด้วยเช่นกัน

 

2. ตำแหน่งการนั่งไม่ปลอดภัย

สำหรับในกรณีนี้เป็นกรณีของคุณแม่ที่เริ่มมีหน้าท้องขนาดใหญ่ หรือคุณแม่ที่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยการคาดเข็มขัด และการปรับเบาะที่นั่งให้เหมาะสมสำหรับคนท้องแล้วเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งการปรับตำแหน่งที่นั่งให้ปลอดภัยนั้นก็ไม่สามารถทำให้คุณสามารถขับรถได้ เพราะขาของคุณแม่อาจอยู่ห่างจากคันเร่ง หรือเบรกมากจนเกินไป

 

3. อาการปวดหลังอย่างรุนแรง

บนรถ หรือในตำแหน่งของคนขับ อาจส่งผลทำให้คุณแม่มีพื้นที่ขยับร่างกายอย่างจำกัด หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากนัก ซึ่งอาจส่งผลทำให้อาการปวดหลังที่เกิดจากการตั้งครรภ์นั้นมีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น และหากคุณแม่มีอาการปวดเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจะยิ่งทำให้ทรมานเพิ่มขึ้นไปอีกหลายเท่า

 

คนท้องขับรถ 2

 

4. การขับรถที่ต้องใช้ระยะเวลานาน

คนปกติทั่วไปขับรถยังต้องมีการพักรถ หรือพักเหนื่อยของคนขับบ้าง สำหรับคนท้องขับรถก็เช่นกัน แต่อาจต้องบ่อยว่าคนทั่วไป เพราะเนื่องจากการขับรถเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน หรือ Deep vein thrombosis (DVT) ระหว่างขับรถ โดยจะปรากฏเป็นก้อนเลือดที่ต้นขา และสามารถเคลื่อนย้ายไปที่ปอดได้ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอาการบวมของเท้า และข้อเท้าหากนั่งนิ่ง ๆ หรือเหยียบคันเร่งนานจนเกินไป

 

5. ไม่มีสมาธิ

ในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่มักรู้สึกอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้าได้ง่าย หรือการขับรถอาจทำให้คุณแม่รู้สึกวิตกกังวล ว้าวุ่น หรือไม่สบายตัวเป็นอย่างมาก ยังไม่รวมกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายที่อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของการทำให้เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นคนท้องไม่ควรจะขับรถเอง

 

6. ใกล้คลอด

การที่คุณแม่ใกล้คลอดนั้นขับรถไปคลอดเองที่โรงพยาบาลนั้นถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากที่สุด และหากคุณแม่น้ำเดิน หรือเกิดถุงน้ำคร่ำแตกแล้วหละก็ยิ่งไม่ควรขับรถเป็นอันขาด เพราะอาจเกิดการติดเชื้อระหว่างที่ขับรถไปก็เป็นไปได้ ทางที่ดีที่สุดขอแนะนำให้คุณแม่โทรเรียกรถพยาบาลเบอร์ 1669 สายด่วนเพื่อมารับตัวไปคลอดที่โรงพยาบาลนั่นเอง

 

บทความจากพันธมิตร
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
คนท้องขับรถ 7

สิ่งที่จำเป็นหากมีความจำเป็นต้องขับรถ (ภาพโดย freepik จาก freepik.com)

 

สิ่งที่จำเป็นหากมีความจำเป็นต้องขับรถ

สุดท้ายแล้วถ้าหากที่คนท้องต้องขับรถเองจริง ๆ ก่อนที่จะออกเดินทาง ควรมีการเตรียมตัวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยสิ่งที่ต้องนำขึ้นรถไปด้วย มีดังนี้

  • สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนนั่งเป็นเพื่อน หรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแน่นอนว่าในบางครั้งคนที่อยู่ข้างคนขับนั้นไม่สามารถขับรถได้ด้วยกรณีบางอย่าง แต่การที่มีคนไปเป็นเพื่อนก็ยังดีกว่าไม่มีใครเลย เพราะเขาอาจช่วยเตือนสติ หรือช่วยเหลือคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ หากเกิดอุบัติเหตุ หรือมีอันตรายเกิดขึ้น และถ้าหากไม่มีคนอยู่เป็นเพื่อนควรติดต่อ หรือสนทนากับใครสักคนทางโทรศัพท์ เพื่อให้เขาอยู่เป็นเพื่อนจนกว่าจะถึงปลายทาง ควรมีหูฟัง หรือที่วางโทรศัพท์ ไม่ควรที่จะถือมือถือและขับรถไปด้วยเด็ดขาด และจะต้องขับในเลยซ้ายในอัตราความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อความปลอดภัย

บทความที่น่าสนใจ : ประกันอุบัติเหตุ ประกันเบื้องต้นที่เราไม่ควรมองข้าม

  • ของยังชีพ หากจะต้องขับรถเป็นเวลานาน เกิน 90 นาทีขึ้นไป แบบไม่ได้หยุดพักสิ่งที่ต้องเตรียมคือหมอนที่มีรูปร่างเว้าเข้ากับหลัง และเอว เพื่อใช้ในการช่วยบรรเทาอาหารปวดหลังอย่างรุนแรงได้ และในคุณแม่ที่ยังมีอาการแพ้ท้อง หรือมักคลื่นไส้อยู่บ่อย ๆ ควรพกลูกอมรสเปรี้ยวหวาน หรือผลไม้เปรี้ยวขึ้นไปไปด้วยเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว และควรดื่มน้ำมาก ๆ ขณะที่ขับรถเพื่อป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดดำส่วนลึก (DTV)

 

คนท้องสามารถขับรถได้ แต่ก็มีข้อกำจัดอีกมากมาย ทางที่ดีที่สุดคือควรให้คนอื่นขับให้ หรือโทรเรียกรถพยาบาลหากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้น ไม่ควรที่จะขับรถเองเป็นอันขาด เพราะนอกจากอันตรายที่เกิดขึ้นบนถนนไม่ที่สามารถคาดเดาได้ หรือแม้แต่ร่างกาย และผลกระทบของการขับรถเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลกระทบต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้เหมือนกัน

 

บทความที่น่าสนใจ :

น้ำเดิน ภาวะเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

ขับรถเที่ยว (ทิพย์) ในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ไปกับ Drive and Listen

 

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คนท้องขับรถ อันตรายทั้งแม่ทั้งลูก ถ้าไม่จำเป็นอย่าได้ทำ
แชร์ :
  • แม่ท้อง คาดเข็มขัดนิรภัย แบบไหนถึงจะปลอดภัย เรามีคำตอบ

    แม่ท้อง คาดเข็มขัดนิรภัย แบบไหนถึงจะปลอดภัย เรามีคำตอบ

  • คาถาขับรถปลอดภัย คาถาเดินทางปลอดภัยสั้นๆ บทสวดมนต์ขับรถปลอดภัย

    คาถาขับรถปลอดภัย คาถาเดินทางปลอดภัยสั้นๆ บทสวดมนต์ขับรถปลอดภัย

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • แม่ท้อง คาดเข็มขัดนิรภัย แบบไหนถึงจะปลอดภัย เรามีคำตอบ

    แม่ท้อง คาดเข็มขัดนิรภัย แบบไหนถึงจะปลอดภัย เรามีคำตอบ

  • คาถาขับรถปลอดภัย คาถาเดินทางปลอดภัยสั้นๆ บทสวดมนต์ขับรถปลอดภัย

    คาถาขับรถปลอดภัย คาถาเดินทางปลอดภัยสั้นๆ บทสวดมนต์ขับรถปลอดภัย

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ