X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำเดินเป็นแบบไหน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง อาการน้ำเดินเป็นอย่างไร

บทความ 3 นาที
น้ำเดินเป็นแบบไหน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง อาการน้ำเดินเป็นอย่างไร

น้ำเดิน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง เป็นแบบไหน น้ําเดินเป็นยังไง – น้ำเดิน คือภาวะที่มักจะเกิดขึ้นกับแม่ท้องในช่วงใกล้คลอด อาการน้ําเดินหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่ว ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมาคล้ายปัสสาวะ น้ํา เดิน เป็น ยัง ไง แต่ไม่สามารถกลั้นให้หยุดได้เหมือนปัสสาวะ หากคุณแม่รู้สึกเจ็บท้องแสดงว่ามดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลง เพื่อให้ศีรษะของทารกเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกรานเมื่อถึงเวลาใกล้คลอด

 

อาการ น้ำเดินเป็นยังไง

แต่ในบางกรณีภาวะน้ำเดินก็อาจจะเกิดขึ้นก่อนกำหนดคลอด เนื่องจากการบีบตัวของมดลูกอย่างรุนแรง ที่จากการกระแทกจากอุบัติเหตุ หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์ และหากเกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และภาวะอื่นๆที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

 

อาการน้ำเดินหญิงตั้งครรภ์

น้ำเดินเป็นอาการเวลาที่ถุงน้ำคร่ำที่หุ้มลูกอยู่นั้นแตก มักจะเกิดขึ้นตอนช่วงก่อนเวลาคลอดไม่นาน เป็นหนึ่งในสัญญาณว่า คุณใกล้จะคลอดแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน อาการน้ำเดิน ก็สามารถเกิดขึ้นก่อนคลอดได้เช่นกัน อาการนี้ถูกเรียกว่า prelabor rupture of membranes (PROM)

เวลาที่เกิดอาการน้ำเดิน คุณจะรู้สึกเปียกแฉะบริเวณน้องสาว และจะมีน้ำไหลออกมาให้เห็น สีของน้ำที่ออกมา อาจเป็นสีใส หรือ สีเหลืองอ่อน ๆ

 

Advertisement

น้ำเดิน กี่ชั่วโมงถึงคลอด

โดยทั่วไปแล้ว หลังจากเกิดอาการน้ำเดิน นั่นแสดงว่าคุณใกล้คลอดแล้ว และ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง แต่ก็มีกรณีที่ไม่คลอดเร็ว ๆ เช่นกัน ซึ่งอาการแบบนี้ค่อนข้างอันตราย ต่อชีวิตของลูกในครรภ์พอสมควร ยิ่งเวลาผ่านไม่นานเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะสูงมากขึ้นไปด้วย

 

น้ำเดินกับตกขาว

อาการของน้ำเดิน และ ตกขาว อาจจะใกล้เคียงกัน เวลาที่น้ำเดิน คุณแม่อาจจะคิดว่า มันเป็น ตกขาว หรือ ถ่ายเบาก็เป็นได้ วิธีที่จะทำให้ทราบได้ว่า น้ำเดินหรือไม่ก็คือ ให้ลองยืนขึ้น ถ้ามีน้ำออกมามาก ก็แสดงว่าคุณกำลังมีอาการน้ำเดินแล้ว

 

น้ำเดิน ตอนกี่สัปดาห์

โดยทั่วไปแล้วอาการน้ำเดินจะเกิดขึ้นตอนที่คุณใกล้คลอด ประมาณ 37 สัปดาห์ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่ พร้อมสำหรับการคลอดแล้ว แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มีบางกรณีเหมือนกัน ที่อาการน้ำเดินเกิดก่อน 37 สัปดาห์ ในกรณีนี้ ถือเป็นความเสี่ยง ควรที่จะรีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอเช็คดูอาการ จะดีที่สุด

 

น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง น้ำเดินแต่ปากมดลูกไม่เปิด

อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่กำลังจะใกล้คลอด วิธีที่จะช่วยได้คือ อาจจะต้องได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ ที่จะมีวิธีทำให้ปากมดลูกเปิดได้ หากคุณรู้สึกว่าอาการไม่ดี ให้ไปไปหาหมอโดยด่วน

 

น้ำคร่ำไหลแต่ไม่เจ็บท้อง

น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง

เป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อน้ำคร่ำไหล หรือ น้ำเดินนั้นคุณจะรู้สึกปกติ ไม่ได้มีความเจ็บอะไรเกิดขึ้นก่อนที่น้ำคร่ำจะไหล ตัวถุงที่ห่อน้ำคร่ำอยู่นั้นไม่ได้มีปุ่มประสาทรับความเจ็บอยู่

 

 

น้ำเดินต่าง จากปัสสาวะเล็ดอย่างไร

ภาวะน้ำเดินจะแตกต่างกับปัสสาวะเล็ดโดยสังเกตได้จากลักษณะและกลิ่นของน้ำที่ไหลออกมาจากช่องคลอดดังนี้ครับ

  • หากน้ำเดินเพราะถุงน้ำคร่ำแตก จะมีน้ำไหลออกมาไม่หยุดไม่ว่าจะปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
  • หากปัสสาวะเล็ดจะมีน้ำเล็ดออกมาครั้งเดียวแล้วหยุด
  • หากเป็นน้ำคร่ำจากภาวะน้ำเดินจะไม่มีสี และไม่มีกลิ่น
  • หากเป็นปัสสาวะ จะมีกลิ่นของปัสสาวะ

 

น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง ต้องทำอย่างไรเมื่อน้ำเดิน

สิ่งที่แม่ท้องควรทำเป็นอย่างแรกเลยเมื่อพบว่าน้ำเดิน คือรีบไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด และควรนอนราบเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำคร่ำไหลออกมามากเกินไป เพราะเมื่อน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกแล้วนั้น จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดและโพรงมดลูกได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูกซึ่งจะเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดต้องทำอย่างไร?

 

น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง

 

อันตรายจากน้ำเดิน นอกจากน้ำคร่ำจะออกมาแล้ว ในบางเคสก็มีสายสะดือโผล่ออกมาพ้นปากช่องคลอดด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที

โดยปกติแล้วคุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บท้องคลอดภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากน้ำเดิน แต่หากยังไม่เจ็บท้องก็ไม่ควรปล่อยเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย จึงควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอจะดีที่สุดครับ

ทราบกันแล้วนะครับว่า น้ำเดินเป็นแบบไหน ต่างจากปัสสาวะเล็ดยังไง สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงใกล้คลอดก็อย่าลืมดูแลสุขภาพและหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอนะครับ

ที่มา : mayoclinic

บทความที่เกี่ยวข้อง :
อีกหนึ่งอันตราย ที่แม่ท้องควรรู้! น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำรั่ว ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์
“น้ำเดิน” เป็นอย่างไร เรื่องควรรู้ของแม่ใกล้คลอด
น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • น้ำเดินเป็นแบบไหน น้ำเดินแต่ไม่ปวดท้อง อาการน้ำเดินเป็นอย่างไร
แชร์ :
  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว