กลากและเกลื้อน คืออะไร โรคกลากโรคเกลื้อนมีอาการอย่างไรบ้าง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกลากโรเกลื้อนคืออะไร หลาย ๆ คนสงสัยอยู่ใช่ไหม มาดูคำตอบกันเลยดีกว่า ว่าจริง ๆ แล้ว เป็นเพราะอะไรกันบ้าง
กลากและเกลื้อน ยาทากลากเกลื้อน โรคกลากโรคเกลื้อนคืออะไร อาการกลากเกลื้อนเป็นแบบไหน พร้อมวิธีรักษา
เกลื้อน คืออะไร
โรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) คือ เป็นโรคติดเชื้อราผิวหนังทั่วไปชนิดหนึ่ง เป็นการเกิดจาลาที่อาศัยอยู่ตามผิวหนัง ปราฏในลักษณะเป็นดวงเล็ก ๆ ที่อาจจะมีสีที่เข้ม หรือสีอ่อนกว่าสีปกติบริเวณรอบ ๆ โดยมักจะเกิดขึ้นที่ลำตัว หรือต้นแขน และถ้าหากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาก็จะสามารถที่จะรวมตัวกัน และขยายเป็นดวงใหญ่ขึ้นได้
กลาก คืออะไร
โรคกลาก ( Ringworm) เป็นโรคติดเชื้อราบนผิวหนังที่ปรากฏเป็นวงแดง หรือเป็นขุยสีขาว และอาจจะมีอาการอักเสบคล้าย ๆ ผื่นแดงร่วมอยู่ด้วยได้ กลากสามารถที่จะขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่หนังศีรษะ ใบหน้า ลำตัว หลัง หน้าอก มือ เท้า เล็บ และขาหนีบ โดยสามารถที่จะพบโรคกลากได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบบ่อย ๆ ในเด็ก
โรคเกลื้อน อาการเป็นอย่างไร?
ลักษณะของการติดเชื้อราเกลื้อน สังเกตได้ดังต่อไปนี้
- มีดวงขึ้นเป็นสีขาว แดง น้ำตาล หรือชมพู โดยจะมีสีเข้ม หรือสีอ่อนกว่าผิวหนังปกติบริเวณรอบ ๆ
- อาจจะขึ้นเป็นดวงเดียว หรือหลายดวงก็ได้เช่นกัน
- โรคเกลื้อนสามารถเกิดขึ้นบนร่างกายได้ทุกส่วน แต่ส่วนมากมักจะพบแถวบริเวณลำตัว คอ ต้นแขน และหลัง
- ดวงเกลื้อนอาจจะจางลง หรือหายไปเมื่อสภาพอากาศเย็น หรืออาการของโรคเกลื้อนจะแย่ลงเมื่อหากอากาศนั้นี้อน หรือชื้นขึ้นมา
- อาจจะทำให้ผิวแห้ง คัน หรือทำการตกสะเก็ดได้
- บางคนที่เป็นเกลื้อน ผิวหนังอาจจะไม่ได้แสดงการเปลี่ยนแปลงลักษณะ หรือสีให้เห็นำด้ชักมากนัก
สาเหตุการเกิดโรคเกลื้อน
โรคเกลื้อนนั้นเกอดจากการติดเชื้อรา ที่มีชื่อว่า มาลาสซีเซีย (Malassezia) ที่อยู่บนผิวหนัง โดยปกติแล้วผิวของคนเราส่วนใหญ่ยั้ย จะมีเชื้อราชนิดนี้อยู่แล้ว แต่จะส่งผลไม่ให้เกิดการติดเชื้อก็ต่อเมื่อมีมากกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เชื้อรานั้นเติบโตก็ยังไม่มีการแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่ามีปัจจัยที่เป็นตัวเร่งอยู่ ได้แก่
- อากาศร้อน และมีความชื้น
- มีเหงื่อออกมาจนเกินไป หรือทำกิจกรรมที่เหงื่อออกเยอะ
- ผิวมัน
- ระบบภูคุ้มกันนั้นอ่อนแอ
- อยู่ในช่วงวัยรุ่น หรืออยู่ในช่วง 20 ปีต้นๆ
ทั้งนี้แล้ว การเกิดของเกลื้อนไม่เกี่ยวกับชการไม่รักษาสุขภาพอนามัยแต่อย่างใด โรคเกลื้อนสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และจะไม่แพร่ไปสู่ผู้อื่น เพราะคนส่วนใหญ่นั้นมักจะมียีสต์มาลาสซีเซียอยู่บนผิวหนังอยู่แล้วนั้นเอง
การป้องกันการเป็นโรคเกลื้อน
โรคเกลื้อน นั้นมีโอกาสสามารถที่จะกลับมาเป็นอีกครั้ง และกลับมาเป็นได้ง่าย ๆ แม้ว่าจะรักษาหายไปแล้วโดยเฉาะช่วงหน้าร้อน หรือเมื่ออากาศมีการร้อนขึ้น การป้องกันการติดเชื้อราอีกครั้งก็สามารถที่จะทำได้ด้วยการใช้แชมพูขจัดเชื้อราเป็นประจำ นอกจากการใช้แชมพูกำจัดเชื้อราทำความสะอาดเป็นประจำแล้ว ยังมีข้อปฏิบัติที่ทำได้ ดังนี้
- ควรเลือกสวมเสื้อผ้สที่มีการระบายความร้อน และความชื้นได้ดี เพื่อที่จะลดการเหงื่อออก เช่น ผ้าฝ้าย
- หลีกเลี่ยงการทำให้เหงื่อออกมาก
- หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป
- เลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากการออกไปเจอแสงแดดจะทำให้อาการเกลื้อนนั้นแย่ลง
- เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทาผิวที่เป็นน้ำมันหรือมีส่วนผสมของน้ำมัน
กลาก และเกลื้อนโรคกลากโรคเกลื้อนคืออะไร อาการกลากเกลื้อนเป็นแบบไหน พร้อมวิธีรักษา
วิธีการรักษาโรคเกลื้อน
โรคเกลื้อนสามารถที่จะรักษาให้หายด้วยยาต้านเชื้อรา หรือยารักษาเชื้อราที่อาจจะอยู่ในรูปแบบแชมพู หรือยารัประทานก็ได้ เช่นกัน
แชมพูขจัดเชื้อรา
แชมพูขจัดเชื้อรา เป็นขั้นตอนแรกของการรักษา ที่ทางแพทย์มักแนะนำให้ใช้แชมพูขจัดเชื้อราที่ประกอบไปด้วยตัวยาต้านเชื้อรา เช่น คีโตโคนาโซล หรือซีลีเนียนซัลไฟด์ ซึ่งทางแพทย์อาจจะสั่งงจ่ายแชมพูนี้ให้กับผู้ป่วย หรือให้หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปก็ได้
เจล หรือครีมขจัดเชื้อรา
กรณีที่ผิวหน้าติดเชื้อราเพียงจุดเล็ก ๆ อาจจะรักษาด้วยครีมขจัดเชื้อรา โดยทำการทาเพียงวันละ 1 – 2 ครั้ง ลงบนผิวหนังเช่นเดียวกับการใช้แชมพู แต่ไม่ต้องล้างออก ครีมต้านเชื้อราบางครั้งอาจจะก่อให้เกิดอาการแสบร้อทชนที่ผิวหนัง แต่พบได้ไม่ค่อยบ่อยครั้ง ยาทาเชื้อราประเภทครีม ได้แก่ ไมโครนาโซล โคลไตรมาโซล และเทอร์บินาฟีน เป็นต้น
ยาต้านเชื้อรา
ผิวหนังที่ได้ติดเชื้อราเป็นบริเวณกว้าง หรือการใช้แชมพูและครีมแล้วไม่ได้ผล ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาชนิดรับประทานจากทางแพทย์ เช่น ฟลูโคนาโซล และไอทราโคนาโซล เป็นระยะเวลา 1 – 4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ยานี้มักไม่ค่อยพบผลข้างเคียงใด ๆ ในการใช้ แต่ถ้าหากมีก็อาจจะทำให้มีผื่นคัน รู้สึกป่วย และปวดท้องในระหว่างที่รับประทานยานี้
ทั้งนี้ ยา ครีม และแชมพูขจัดเชื้อราเหล่านี้ อาจจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือนกว่าผิวหนังจะทำการรกลับมาเป็นสีปกติแบบเดิม หรืออาจจะต้องรักษาซ้ำำหากเป็นนานหรือกลับมาเป็นอีกครั้ง ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเกลื้อนบ่อยครั้ง และมีอาการที่รุนแรง ทางแพทย์อาจจะพิจารณาสั่งจ่ายยาต้านเชื้อราให้รับประทาน 2 – 3 ครั้งต่อเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้ออีก
กลาก และเกลื้อน โรคกลากโรคเกลื้อนคืออะไร อาการกลากเกลื้อนเป็นแบบไหน พร้อมวิธีรักษา
อาการของโรคกลาก เป็นอย่างไร
กลากที่ขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั้น จะมีอาการแตกต่างกันออกไป ดังนี้
- กลากที่หหนังศีรษะ
- กลากที่ร่างกาย และผิวหนังทั่วไป
- กลากที่เท้า
- กลากบริเวณขาหนีบ หรือโรคสังคัง
- กลากที่ใบหน้า และลำคอ
- กลากที่มือ
- กลากที่เล็บ
สาเหตุการเกิดโรคกลาก
สาเหตุการเกิดโลกกลากคือ โรคกลากเกิดจากเชื้อราที่ผิวหนังในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ เชื้อราเหล่านี้จะอาศัยอยู่บนชั้นเนื้อเยื่อโปรตีนเคราติน บนผิวหนังที่ตายแล้วเท่านั้น แต่มักจะไม่เข้าสู่ร่างกาย หรือเยื้อยุผิวอย่างปาก หรือจมูก
การป้องกันการเป็นโรคกลาก
การป้องกันตัวเองจากกลากนั้นค่อนข้างที่จะทำได้ยาก เนื่องจากมีโอกาสบ่อยครั้งในการสัมผัสกับเชื้อตามอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้าน และยังสามารถที่จะแพร่กระจายไปส่วนต่างได้ง่ายเพียงการสัมผัส แม้แต่ในระยะที่ผู้ป่วยยังไม่เริ่มแสดงอาการก็ตาม การปฏิบัติตามข้อต่อไปนี้ สามารุที่จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้ มีดังต่อไปนี้
- ล้างมือเป็นประจำ เพื่อที่จะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
- รักษาความสะอาดของร่างกาย เช็ดตัวและหัวศีรษะให้แห้ง และอย่าสวมใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น
- ป้องกันตนเองจากผู้ป่วย หรือสัตว์ที่มีการติดเชื้อโรคกลาก กลากในสัตว์มักปรากฏเป็นรอยขนร่วงเป็นหย่อม ๆ หรืออาจจะไม่สามารถสังเกตได้เลย ผู้ที่ทำการเลี้ยงสัตว์ควรนำสัตว์เสี้ยงไปตรวจเพื่อที่จะป้องกันการเกิดโรคกลาก และคชติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า แปรงฟัน สบู่ ผ้าเช็ดตัว และของใช้อื่น ๆ
- ไม่ควรที่จะสวมใส่เสื้อผ้าหนา ๆ เป็นเวลานาน ๆ ในที่ที่มีอากาศร้อน หรือชื้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
โรคกรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร รักษายังไงไม่ให้เป็นอีก?
กลากน้ำนม บนหน้าลูกคืออะไร ป้องกันยังไง รักษายังไงให้หาย!!
โรคซึมเศร้า คืออะไร เป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ หรือไม่? แล้วมีอาการเป็นอย่างไร!!
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Pobpad , Pobpad , lcclinics
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!