X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตีลูก เป็นทางออกปัญหาจริงหรือไม่? ทำไมพ่อแม่ถึงไม่ควรตีลูก

บทความ 5 นาที
ตีลูก เป็นทางออกปัญหาจริงหรือไม่? ทำไมพ่อแม่ถึงไม่ควรตีลูก

ตีลูก อาจเป็นการสร้างบาดแผลในใจให้กับเด็ก ๆ หรือส่งผลถึงปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย เรามาดูกันดีกว่าการลงโทษลูก หรือการฝึกวินัยของลูกด้วยการตีนั้นมีประโยชน์จริงหรือไม่ และทำไมคุณพ่อคุณแม่ หรือแม้แต่ผู้ดูแลถึงไม่ควรที่จะตีเด็ก ๆ เพื่อลงโทษ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ทำไมพ่อแม่บางคนถึงตีลูก?

สำหรับบางครอบครัวที่พ่อแม่มีพฤติกรรมที่ชอบตบตีลูก ส่วนใหญ่มักจะมองว่าการตบตีลูกนั้นเป็นเครื่องมือที่แสดงออกถึงการมีอำนาจที่จะสามารถบังคับ หรือการกระทำนั้นสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกได้ และในบางคนมักจะคิดว่า การลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายนั้นถือเป็นการตัดสินใจที่มีคุณธรรม ไม่ได้เป็นการทำผิดแต่อย่างใด ทั้งนี้การตีลูกไม่ได้เป็นการสอนลูก ๆ ว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นผิด หรือเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่ควรทำในครั้งต่อไป แต่มันเป็นการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการถูกตีแทนที่จะช่วยให้พวกเขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกแบบไม่ดุ ได้ผลดีกว่า ทำไมการเลี้ยงลูกแบบเข้าใจถึงเป็นทางที่ดีกว่า

 

8 เหตุผลที่ทำไมพ่อแม่ไม่ควรตีลูก

สังคมเราในปัจจุบันยังมีการถกเถียงกันอยู่เสมอว่าในความจริงแล้วผู้ปกครองควรที่จะลงโทษลูกด้วยการตีหรือไม่ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเหตุผลใดบ้างที่ผู้ปกครองไม่ควรตีลูกของตัวเองเพื่อเป็นการฝึกวินัย หรือการทำโทษ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

วิดีโอจาก : Felix Day

 

1. การใช้ความรุนแรงกับลูกผิดกฎหมาย

ในทางกฎหมายแล้ว การลงโทษหรือการฝึกวินัยของลูกด้วยการตีนั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่จะต้องอยู่ในกฎข้อบังคับ เพราะว่าทางกฎหมายได้กำหนดสิทธิให้ผู้ปกครองมีอำนาจในการทำโทษบุตรตามสมควร แต่ถ้าหากผู้ปกครองทำโทษลูกโดยไม่สมควรแก่เหตุ หรือมีการลงโทษด้วยการใช้ความรุนแรงมากเกินไปก็อาจมีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา

 

2. การตีทำให้ลูกหมดความมั่นใจในตนเอง

การตีก้นลูกนั้นสามารถทำให้เด็กรู้สึกเหมือนถูกทำลายความภาคภูมิใจของตนเอง และหมดความมั่นใจในตัวเองในที่สุด บางครั้งการที่คุณตีพวกเขาเพื่อเป็นการลงโทษนั้น อาจเป็นสิ่งที่พวกเขามั่นใจว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้อง และเขาภาคภูมิใจกับสิ่งนั้นมาก ๆ แต่คุณกลับไม่เห็นคุณค่า และเลือกที่จะลงโทษในสิ่งที่พวกเขามากกว่าชื่นชมยินดี

 

3. ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว

คุณอาจจะยังไม่ทราบว่าการตีลูกนั้นทำให้ลูกของคุณมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น ซึ่งพฤติกรรมก้าวร้าวนี้จะไม่ได้ถูกปฏิบัติกับคุณ เพราะว่าเขากลัวที่จะถูกตีอีก แต่เขาจะเลือกใช้วิธีเดียวกับคุณในการรังแกเด็กคนอื่น หรือผู้ที่อ่อนแอกว่า เพราะว่าเขาได้ถูกสอนให้เรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหาด้วยการตี หรือการขู่ว่าจะตีนั่นเอง

 

4. การตีลูกนำไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสมมากขึ้น

ในบางครั้งคุณเลือกที่จะตีลูก หรือทำโทษลูกด้วยวิธีการตีเพราะว่าพวกเขามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และเมื่อพวกเขาถูกตีพวกเขาจะหยุดมันในทันที ถ้าพวกเขารู้สึกว่าพฤติกรรมของพวกเขามันไม่เหมาะสมจริง ๆ แต่ถ้าพวกเขารู้สึกว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้นถูกต้องแล้ว การตีของคุณอาจส่งผลทำให้พวกเขามีพฤติกรรมที่เหมาะสมเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้คุณเห็นว่าสิ่งที่เขาทำมันถูกต้องและเหมาะสม ไม่ควรที่จะถูกตี

 

ตีลูก 2

 

5. ทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัว

ผู้ปกครอง หรือพ่อแม่เปรียบเสมือนผู้คุมอำนาจ หรือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาที่ เมื่อพวกเขามีปัญหา หรือต้องการการปกป้องพวกเขาจะคิดถึงคุณเสมอ แต่การที่คุณเริ่มตีพวกเขานั้นจะทำให้พวกเขาเริ่มรู้สึกว่าพวกคุณนั้นไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเขาอีกต่อไป และอาจทำให้เขาไม่เชื่อฟังคุณอีกด้วย

 

6. คุณจะรู้สึกผิด

หลายครั้งที่คุณเริ่มที่จะลงโทษลูกด้วยการตี มักจะจบลงด้วยการที่รู้สึกผิดเสมอ การที่คุณใช้อารมณ์นำทุกสิ่งทุกอย่างและพลั้งมือตีลูกไป หลังจากนั้นเป็นคุณเองที่จะต้องมานั่งเสียใจ และรู้สึกผิดกับสิ่งที่เพิ่งทำ ทั้งที่คุณอาจมีวิธีทางแก้ไขปัญหา หรือวิธีลงโทษอื่นที่ดีกว่านี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ร้องไห้ แต่ไม่อยากให้ลูกเห็นและเครียดตามไปด้วย ควรจัดการอย่างไร?

 

7. ส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกาย

แรงตีปานกลาง หรือแรงตีที่คุณตีลูกอย่างรุนแรงอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายของพวกเขาได้ เพราะการตีเข้าไปที่ก้นของเด็กนั้นจะได้รับการกระแทกที่ปลายกระดูกสันหลังส่วนล่าง และแรงกระแทกไปตามความยาวของกระดูกสันหลัง ซึ่งนั่นส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเด็ก เด็กบางคนอาจเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลายจากการตี และบางคนเสียชีวิตการภาวะแทรกซ้อน

 

8. ตีลูก อาจนำไปสู่อาการทางจิต

การที่คุณตีลูกเพื่อเป็นการลงโทษอาจสร้างบาดแผลทางใจให้กับเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งพวกเขาอาจไม่มีพฤติกรรมต่อต้าน หรือต่อต้านคุณมากยิ่งขึ้น แต่กลับกลายเป็นการฝังใจ และทำให้พวกเขานั้นประสบปัญหาทางสุขภาพจิตได้ โดยในเด็กบางคน การถูกตีนั้นอาจเป็นผลกระทบระยะยาวต่อพวกเขาเลยก็เป็นได้

 

ตีลูก 3

 

บทความจากพันธมิตร
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง

วิธีฝึกวินัยลูก โดยไม่ต้องตี ทำอย่างไรได้บ้าง

ไม่ว่าลูกน้อยของคุณจะอายุเท่าไหร่ การฝึกให้พวกเขาอยู่ในวินัยเป็นเรื่องที่สำคัญ หากผู้ปกครองไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์อะไรมากจนเกินไป ลูกของคุณก็จะไม่เป็นเหมือนคุณเช่นกัน มาดูกันดีกว่าค่ะว่า การฝึกเด็กในแต่ละช่วงวัยให้อยู่ในกฎระเบียบ โดยที่ไม่ต้องตีลูก ทำอย่างไรได้บ้าง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีสร้างวินัยให้กับลูก ง่าย ๆ ด้วยงานบ้าน สร้างวินัยแถมเสริมความมั่นใจอีกด้วย

 

  • ทารกแรกเกิด ถึงอายุ 2 ขวบ

ทารกและเด็กเล็กมีความอยากรู้อยากเห็นโดยธรรมชาติ ดังนั้นจึงควรกำจัดสิ่งล่อใจ และสิ่งที่ไม่ควรทำตั้งแต่แรก อาทิ โทรทัศน์ เกม มือถือ เครื่องประดับ และโดยเฉพาะอุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟและยาควรเก็บให้ห่างมือ นอกจากนี้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่าง เช่น ขว้างปาสิ่งของ ปาอาหาร ตี กัด และปีนป่าย เป็นต้น คุณจะต้องสอนให้พวกเรารู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยใช้ว่าคำว่า ไม่ แทนการตี

 

  • เด็กวัยหัดเดิน อายุ 3-5 ปี

วัยแห่งการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ บางครั้งพวกเขาอาจมีจินตนาการที่มากจนเกินไป หรือใช้พลังงานทั้งหมดที่มีไปกับการเสริมสร้างทักษะทางร่างกายในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเล่น การวาดภาพระบายสี เป็นต้น เหตุการณ์ที่อาจพบได้กับทุกบ้านคือการเริ่มขีดเขียนกำแพง หรือวิ่งเล่นจนลืมกินข้าว หรือไม่อยากเลิกเล่น การลงโทษเขาด้วยการตีไม่ใช่ทางออกที่ดี คุณควรที่จะตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องของการเล่น หรือบอกเหตุผลกับสิ่งที่เขาได้ทำผิดไป และแก้ไขด้วยวิธีอื่นแทน เพราะในวัยนี้พวกเขาจะเริ่มพูดรู้เรื่อง และสามารถทำตามได้โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง

 

  • เด็กอายุ 6-8 ปี

ช่วงวัยที่คุณไม่สามารถใช้กลยุทธ์หรือการให้พวกเขาทำตามสิ่งที่พวกเขาต้องการเมื่อเขาทำผิด หรือไม่เหมาะสมได้อีกต่อไป เพราะว่าพวกเขาจะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง โดยการพูดคุยเป็นเรื่องที่สำคัญ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่รับฟังคุณก็ตาม แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วเขาจะทราบเป็นอย่างดีว่าสิ่งนั้นไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ระวังอย่าขู่พวกเขามากจนเกินไป อาทิ ถ้าหากไม่เลิกดูทีวี จะไม่ได้ดูอีก ซึ่งการกระทำและคำพูดเช่นนี้อาจทำให้พวกเขาเกิดการต่อต้านได้

 

เด็กวัยหัดเดิน

 

  • เด็กโตอายุ 9-12 ปี

เด็กในช่วงวัยนี้เป็นเหมือนกับเด็กทุกช่วงที่ผ่านมา คุณสามารถลงโทษพวกเขา หรือตักเตือนพวกเขาได้ตามธรรมชาติ แต่เมื่อพวกเขาเริ่มเติบโตเต็มที่แล้ว พวกเขาจะเรียกร้องขอความเป็นอิสระและความรับผิดชอบมากขึ้น การสอนให้พวกเขาจัดการกับผลที่ตามมาจากพฤติกรรมของพวกเขาเป็นวิธีการฝึกฝนวินัยที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดสำหรับเด็กวัยนี้

 

  • เด็กที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นอายุ 13 ปีขึ้น

ลูกของคุณกำลังเข้าสู่วัยรุ่น การได้เป็นอิสระทางความคิดและพฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นการที่คุณบังคับเขามากจนเกินก็อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกนั้นแย่ลงได้ ดังนั้นคุณอาจจะต้องคอยดูแลอยู่ห่าง และดึงเขากลับมาในลู่ทางที่เหมาะสมเมื่อเห็นว่าเขาเริ่มมีพฤติกรรมที่เหมาะสม หรือกำลังจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเรียน และสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อพวกเขา

 

ถึงแม้ว่าหลายคนยังคิดว่าการตีลูกนั้นเป็นเรื่องที่ถูกและดี เพราะลูกของคุณจะได้อยู่ในกฎระเบียบ หรืออยู่ในขอบเขตที่คุณกำหนดไว้ แต่ในบางครั้งก็อาจกลายเป็นว่าคุณกำลังทำร้ายลูกของตัวเองโดยที่คุณยังไม่รู้ตัว สุดท้ายแล้วทุกอย่างล้วนมีทางออกอื่นเสมอ และความรุนแรงก็ไม่ได้เป็นทางออกสำหรับปัญหาเสมอไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พฤติกรรมเลียนแบบของลูก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่

เด็กดื้อต้องถูกทำโทษ ลงโทษอย่างไรให้ลูกหายดื้อ แต่ทำไมยิ่งทำโทษลูกยิ่งดื้อ!?!

สอนลูกอย่างไรให้เป็นเด็กที่เคารพตนเอง และยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น

ที่มาข้อมูล : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ตีลูก เป็นทางออกปัญหาจริงหรือไม่? ทำไมพ่อแม่ถึงไม่ควรตีลูก
แชร์ :
  • วิธีสร้างวินัยให้กับลูก ง่าย ๆ ด้วยงานบ้าน สร้างวินัยแถมเสริมความมั่นใจอีกด้วย

    วิธีสร้างวินัยให้กับลูก ง่าย ๆ ด้วยงานบ้าน สร้างวินัยแถมเสริมความมั่นใจอีกด้วย

  • “สอนลูก” โดยการสร้างวินัยหรือการทำโทษ ต่างกันอย่างไร

    “สอนลูก” โดยการสร้างวินัยหรือการทำโทษ ต่างกันอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • วิธีสร้างวินัยให้กับลูก ง่าย ๆ ด้วยงานบ้าน สร้างวินัยแถมเสริมความมั่นใจอีกด้วย

    วิธีสร้างวินัยให้กับลูก ง่าย ๆ ด้วยงานบ้าน สร้างวินัยแถมเสริมความมั่นใจอีกด้วย

  • “สอนลูก” โดยการสร้างวินัยหรือการทำโทษ ต่างกันอย่างไร

    “สอนลูก” โดยการสร้างวินัยหรือการทำโทษ ต่างกันอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว