X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีทำโทษลูก พ่อแม่ยุคใหม่ควรลงโทษลูกอย่างไร ไม่ให้ลูกเจ็บปวด ?

บทความ 5 นาที
วิธีทำโทษลูก พ่อแม่ยุคใหม่ควรลงโทษลูกอย่างไร ไม่ให้ลูกเจ็บปวด ?

วิธีทำโทษลูก พ่อแม่ควรใช้วิธีไหนดี ? เป็นคำถามที่พ่อแม่เฝ้าถามตัวเอง เวลาที่ต้องการทำโทษลูก ถ้านึกย้อนไปถึงตัวเองสมัยเด็ก ๆ พ่อแม่หลายคนคงผ่านการดุด่าและถูกตีมาไม่น้อย ซึ่งนั้นอาจกลายเป็นบาดแผลฝังลึกในใจของพ่อแม่จนโต จนพอมาถึงลูกตัวเองก็ไม่กล้าที่ทำโทษ ยอมลูกตลอด เพราะกลัวว่าลูกจะเป็นเหมือนตัวเอง บทความนี้จะพาไปดูวิธีทำโทษลูกโดยไม่ทำให้ลูกเจ็บปวดค่ะ

 

การทำโทษลูก ส่งผลเสียอย่างไร ?

การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UM) ของสหรัฐอเมริกาได้เผยว่า การลงโทษอย่างการตีหรือการใช้ความรุนแรง ส่งผลให้เด็กมีประสบการณ์ที่เลวร้ายในวัยเด็ก ทำให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ขาดการควบคุม ซึ่งเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี และมีประสบการณ์เลวร้ายจากการลงโทษอย่างรุนแรงนั้น จะส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ เมื่อเด็กโตไปก็จะมีพฤติกรรมที่รุนแรง ยิ่งหากไม่ได้รับการใส่ใจจากพ่อแม่ หรือพ่อแม่เสียชีวิต ก็ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่รุนแรงมากกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม การลงโทษด้วย “การตีลูก” หรือ “การใช้ความรุนแรง” กับเด็กนั้น ยังส่งผลเสียต่อตัวเด็ก ดังต่อไปนี้

  1. สภาพจิตใจย่ำแย่
  2. เลียนแบบพฤติกรรมที่รุนแรง
  3. มีพฤติกรรมก้าวร้าว เจ้าอารมณ์
  4. ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคุณครู
  5. ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว
  6. ทำให้ลูกเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีในวัยเด็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลงโทษลูกน้อย อย่างไรให้ลูกหายดื้อ ทำไม ยิ่งทำโทษลูกยิ่งดื้อ!

 

วิธีทำโทษลูก

 

ถ้าลูกยังเล็กอยู่ควรลงโทษลูกอย่างไร ?

สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3 ขวบ อาจสงสัยว่าควรลงโทษลูกอย่างไรดี อย่างไรก็ตาม การลงโทษลูกในวัยนี้อาจไม่ใช่เรื่องเหมาะสมที่พ่อแม่ควรทำ เพราะลูกในวัยเตาะแตะมีโอกาสทำผิดน้อย และเด็กยังไม่ได้เรียนรู้ว่าสิ่งไหนผิดสิ่งไหนถูก เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าการลงโทษลูกเล็กนั้น อาจทำในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งวิธีการลงโทษลูกวัยเด็กนั้น อาจใช้วิธีการดังต่อไปนี้

  • บอกลูกว่าอะไรเป็นพฤติกรรมที่ดีและไม่ดี ควรบอกลูกเมื่อเขาทำผิดทันที อย่ารอเวลา ไม่เช่นนั้นลูกจะไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองทำผิดและทำไมตัวเองจึงถูกทำโทษ
  • อย่าขู่ลูกเด็ดขาดและอย่าเดินทิ้งลูกไป เพราะนอกจากจะทำให้ลูกร้องไห้ อึดอัด หรือไม่เข้าใจแล้ว ยังส่งผลต่อจิตใจของเด็กอีกด้วย
  • อย่าลงโทษลูกอย่างรุนแรงมากเกินไป เพราะเด็กวัยนี้ต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษ หากพ่อแม่เผลอลงโทษลูกอย่างรุนแรง ก็จะทำให้เขากลัวพ่อแม่และเกิดปมในใจ

 

วิธีทำโทษลูก ไม่ให้ลูกเจ็บปวด

สำหรับพ่อแม่ที่ต้องการจะทำโทษลูก อยากจะให้ลูกรู้จักว่าอะไรผิด อะไรถูก แต่ไม่อยากใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรง วันนี้เรามีข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่ ดังต่อไปนี้

 

1. ฟังก่อนคิด

ก่อนที่พ่อแม่จะตัดสินใจว่าลูกผิดหรือถูก ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อน ในระหว่างนั้นควรดูสีหน้า อาการ ท่าทาง น้ำเสียงของลูกด้วย ดูว่า ลูกมีความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้น ๆ อย่างไร โดยที่พ่อแม่ต้องแสดงให้ลูกรู้สึกว่าคุณสนใจและเข้าใจในสิ่งที่ลูกพูดอยู่ เพื่อที่ลูกน้อยจะได้รับรู้ว่าเรื่องที่ได้พูดหรือเหตุการณ์ที่เขาได้กระทำไป มีคนคอยรับฟังและเข้าใจตัวเขาอยู่

 

2. ตัดสินด้วยเหตุผล

หลังจากที่ลูกน้อย ได้อธิบายความรู้สึกของตัวเองให้พ่อแม่ฟังแล้ว และตัวน้องเริ่มมีการอาการที่สงบลง ซึ่งตอนนี้เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการกระทำที่ลูกได้ทำไปนั้น มันผิดอย่างไร ทำไมพ่อแม่ถึงต้องลงโทษ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดื้ออย่าเพิ่งดุ อย่าเพิ่งด่า วิจัยบอกว่า เด็กดื้อจะประสบความสำเร็จ

 

วิธีทำโทษลูก

 

3. ส่งสัญญาณก่อนลงโทษ

ถ้าพ่อแม่เห็นว่าลูกยังทำผิด แม้ว่าจะพูดคุยกันด้วยเหตุผลแล้วก็ตาม สิ่งที่พ่อแม่ควรทำควรส่งสัญญาณให้เขารู้ก่อนลงโทษ ไม่ใช่ลงมือทำโทษลูกทันที โดยพ่อแม่อาจใช้น้ำเสียงที่เข้มขึ้น โดยในที่นี้อาจไม่ใช่การดุด่าว่าลูก แต่เป็นการบอกลูกให้หยุดและให้รีบแก้ตัว ก่อนจะถูกลงโทษ

 

4. ลงโทษอย่างเข้าใจ

เมื่อพ่อแม่บอกถึงสาเหตุที่ต้องลงโทษลูกไปแล้ว และได้บอกว่าทำไมถึงต้องทำโทษลูก ขั้นตอนต่อมา คือการเลือกวิธีลงโทษให้กับลูก ซึ่งวิธีนั้นจะต้องไม่สร้างบาดแผลในวัยเด็กให้กับตัวลูกน้อยในอนาคต โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

  1. เริ่มจากการตัดสิทธิ์ที่จะให้ลูกทำสิ่งที่ชอบ เช่น ดูทีวี เล่นเกม กินขนม หรืออดไปเล่นกับเพื่อน
  2. หากลูกไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนเกิดกระทำผิดขึ้นมา ก็ควรให้หยุดทำกิจกรรมนั้น แล้วปล่อยให้เขาสงบอารมณ์ตัวเอง โดยอาจปล่อยให้ลูกได้อยู่ในมุมสงบที่ปลอดภัย ไม่มีสิ่งรบกวน
  3. ให้ลูกได้ลองทำงานบ้าน เพื่อเป็นการชดเชยความผิด เช่น ให้ลูกล้างจานหรือให้รดน้ำต้นไม้ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เป็นต้น
  4. ขอเวลานอก โดยลองเพิกเฉยลูกเมื่อเข้ามีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ แต่หากลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นก็ลองให้คำชมเขา สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตีลูกดีไหม ลงโทษลูกอย่างไร ให้ลูกได้บทเรียน แต่แม่ไม่ปวดใจ

 

วิธีทำโทษลูก

 

5. ชวนคิดแก้ปัญหา

หลังจากที่พ่อแม่ลงโทษลูกน้อยเสร็จแล้ว ก็ควรพาลูกมาทำความเข้าใจอีกครั้ง โดยเริ่มที่ประโยคว่า “ครั้งหน้าเราจะทำอย่างไรดี ?” ชวนลูกคิดและหาวิธีแก้ปัญหาว่า ถ้าครั้งหน้าเกิดเหตุการณ์ที่อาจทำให้ลูกทำความผิดอีก เราจะใช้วิธีไหนดี โดยพ่อแม่ต้องฟังและคอยชี้แนะเหมือนเป็น “เพื่อนช่วยคิด”

 

การทำโทษลูกอาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง พ่อแม่ควรอธิบายให้ลูกฟังก่อนว่าการกระทำที่ลูกได้ทำไปนั้น มันผิดอย่างไร ทำไม่พ่อแม่ถึงต้องลงโทษ แต่หากลูกยังดื้อรั้นและยังทำผิดอยู่ซ้ำ ๆ พ่อแม่อาจลงโทษเขาโดยเริ่มจากวิธีเบาก่อน ๆ ไม่ลงโทษลูกด้วยความรุนแรง เพราะนั่นอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็กค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทสวดแก้ลูกดื้อ ลูกซน ลูกไม่ยอมฟัง พ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร ลองใช้วิธีนี้ !

สยบ ! ลูกดื้อ เอาแต่ใจ ด้วย Positive Parenting เทรนด์ใหม่ของการเลี้ยงลูก

5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร ?

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • วิธีทำโทษลูก พ่อแม่ยุคใหม่ควรลงโทษลูกอย่างไร ไม่ให้ลูกเจ็บปวด ?
แชร์ :
  • จดทะเบียนสมรส ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? มีขั้นตอนยังไง?

    จดทะเบียนสมรส ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? มีขั้นตอนยังไง?

  • 10 สิ่งควรทำก่อน "ทำโทษลูก" อย่างมีเหตุผล สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

    10 สิ่งควรทำก่อน "ทำโทษลูก" อย่างมีเหตุผล สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • จดทะเบียนสมรส ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? มีขั้นตอนยังไง?

    จดทะเบียนสมรส ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? มีขั้นตอนยังไง?

  • 10 สิ่งควรทำก่อน "ทำโทษลูก" อย่างมีเหตุผล สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

    10 สิ่งควรทำก่อน "ทำโทษลูก" อย่างมีเหตุผล สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ