คุณอาจจะเคยมีอารมณ์ที่อยากไปเที่ยวอย่างสนุก ไม่ต้องกังวลอะไร แต่แน่นอนว่า เราไม่สามารถควบคุม อารมณ์ของเด็กได้ วิธีปราบลูกงอแงตอนไปเที่ยว มีวิธีไหนบ้าง ลองมาอ่านกัน
วิธีปราบลูกงอแงตอนไปเที่ยว
อย่างที่เราบอกว่าเด็กบางคน อาจจะนิสัยสนุกสนานเต็มที่ เวลาไปเที่ยว แต่เด็กบางคนก็อาจจะงอแง และโวยวาย ทำให้การเดินทางของคุณ อาจจะไม่เหมือนสวรรค์อย่างที่คิด
1. เตรียมตัวตั้งแต่ก่อนออกจากบ้าน
ลูกงอแงตอนไปเที่ยว
ก่อนที่คุณจะออกไปเที่ยวไหนกับเด็ก คุณควรจะตระเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นสอบถามคุณหมอ หรือ มีเบอร์คุณหมอเอาไว้ ถ้าลูกคุณโตพอที่จะเข้าใจ ให้บอกถึงสถานที่ ที่คุณจะไปเลย เด็กมีจิตนาการที่ดีอยู่แล้ว และพวกเขาชอบภาพ ลองเอาภาพของสถานที่ ที่คุณจะไป ว่าเขาจะได้เจออะไรบ้าง เด็กจะมีความรู้สึกตื่นเต้นที่เหมือนได้ออกผจญภัย
ถ้าคุณต้องขับรถ ให้เตรียมอาหาร และ เข้าห้องน้ำบ้าง เพื่อยืดเส้น
วิธีจัดเตรียมกระเป๋าพาลูกไปเที่ยว
บทความ : พาลูกไปเที่ยวต้องเตรียมอะไรไปบ้าง
หลายคนคงอยากทราบกันว่าควรจะพกยาและอุปกรณ์ต่าง ๆ อะไรไปบ้าง ที่จำเป็นต่อการเดินทางไกลกับลูกน้อย วันนี้เรามาแบ่งปันไอเดียเพื่อการเตรียมตัวกันนะคะ
อันดับแรก เรามาเตรียมกระเป๋ายาเพื่อการดูแลเบื้องต้นหากลูกมีการเจ็บป่วยระหว่างการเดินทางกันค่ะ
เนื่องจากโรคที่อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยได้บ่อยระหว่างการเดินทางในเด็ก ได้แก่ อุบัติเหตุมีแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ไข้ โรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคหืดกำเริบ ท้องเสีย โรคผิวหนังอักเสบ ผื่นคันจากการแพ้ แมลงสัตว์กัดต่อย ผิวไหม้แดด เป็นต้น ดังนั้นยาที่ควรนำไป ได้แก่
- พลาสเตอร์ยา
- ยาปฏิชีวนะแบบที่ใช้ทา
- ยาแก้ปวดลดไข้ paracetamol
- ยาบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก
- ยาแก้แพ้ antihistamine
- ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เช่น domperidone
- น้ำเกลือแร่ซอง ORS
- ยา steroid ทาแก้ผื่นแพ้
- ยาทากันยุง
- ครีมกันแดดสำหรับเด็ก
รวมถึงยาที่ต้องใช้เป็นประจำหากลูกมีโรคประจำตัวด้วยค่ะ
*** ทั้งนี้ หากลูกมีโรคประจำตัวที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเตรียมยาที่จำเป็นและเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการเดินทาง เช่น หากเป็นโรคหืดจะต้องนำยาที่ใช้ประจำและยาขยายหลอดลมเพื่อใช้สูดในกรณีฉุกเฉิน ติดตัวไปด้วยเสมอนะคะ
-
เตรียมนม และอาหารสำหรับเด็ก
สำหรับคุณแม่ที่มีลูกน้อยวัยทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน หากทานนมแม่ล้วนก็ว่าโชคดีมากค่ะเพราะจะไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ใดเพื่อเป็นอาหารของลูก นอกจากน้ำนมแม่ ทั้งนี้คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เยอะ ๆ เพื่อจะได้ไม่ขาดน้ำ และผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของลูกนะคะ
หากลูกทานนมผสม ระหว่างเดินทางคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ เพิ่มเติมค่ะ
- ภาชนะบรรจุนมผงที่สะอาดเพื่อแบ่งนมผงใส่ โดยอาจแบ่งไว้ให้พอดีกับปริมาณที่เด็กทานต่อมื้อ
- กระติกเก็บความร้อนไว้ใส่น้ำอุ่นผสมนม
- น้ำสะอาดไว้ชงนม
- ขวดนมและจุกนม
ทั้งนี้ หลังใช้ขวดนมควรล้างทำความสะอาดให้ดี หากไม่สามารถนึ่งขวดนมและจุกนมได้ หลังจากล้างทำความสะอาดปกติแล้วก็ควรได้ล้างผ่านน้ำร้อนสะอาดอีกครั้งหนึ่งเพื่อกำจัดเชื้อโรค
หากลูกน้อยอายุมากกว่า 6 เดือน ก็ต้องเตรียมอาหารตามวัยให้ด้วย โดยหากไม่สะดวกจะเตรียมอาหารระหว่างการเดินทางก็ควรเตรียมแบบสำเร็จรูปไปให้พอดีกับมื้อและวันที่ต้องเดินทางไป โดยเฉพาะเมื่อเดินทางไปในบริเวณที่หาอาหารสำหรับเด็กได้ยากค่ะ
อุปกรณ์อื่นๆระหว่างเดินทาง ที่ควรเตรียมไป ได้แก่
- ของเล่นที่ลูกชอบหรือคุ้นเคย ที่ดึงดูดความสนใจได้ดี อย่างน้อย 2-3 ชิ้น
- รถเข็นเด็กแบบที่เบา พับง่าย เพื่อความสะดวกในการเดินทาง
- เป้อุ้มเด็ก
- ผ้ายางรองเปลี่ยนผ้าอ้อม
- ถุงซิปล็อค ใช้ใส่ผ้าอ้อมใช้แล้วหรือผ้าเปียกเปื้อนของเด็ก
- ทิชชู่เปียก เพื่อใช้ทำความสะอาด
- ร่ม หรือ เสื้อกันฝนเด็ก หากเดินทางไปในบริเวณที่มีแดดร้อนจัด หรือน่าจะมีฝนตก
2. วางแผนแบบหลวมๆ อย่ายัดมากจนเกินไป
ลูกงอแงตอนไปเที่ยว
ก่อนที่คุณจะไป คุณต้องมองด้วยความจริงอย่า ตั้งความคาดหวังสูงจนเกินไป เพราะว่าเมื่อคุณมีลูก แผนของคุณอาจจะไมได้เป๊ะตามที่คุณวางไว้ คุณอาจจะพาลูกไปนู้นไปนี่ได้ แต่เมื่อเขาร้องมันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ และ คุณจะกลายเป็นเป้าสนใจทันที
กิจกรรมที่คุณไปทำความสัมพันธ์ และ ทำให้เด็กสนใจด้วย มันต้องไม่แน่นเกินไป และ มีอะไรที่ทำให้เด็กรู้สึกตื่นตา ตื่นใจที่จะได้พบ คุณต้องคำนึงถึงเรื่องเวลาด้วย เพราะ ขนาดคนโตยังปรับเวลาแทบไม่ได้เลย เด็กจะลำบากยิ่งกว่านั้นอีก
3. ระวังเวลาที่ต้องอยู่ที่ไหนนาน ๆ
ลูกงอแงตอนไปเที่ยว
ไม่ว่าคุณจะนั่งเครื่องบิน รถไฟ หรือ รถบัสนานๆ สิ่งที่คุณต้องกังวลมากเลยก็คือ คุณเตรียมตัวพร้อมแล้วรึยัง เช่น ยาที่จำเป็น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาแก้โดนน้ำร้อนลวก สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กไม่งอแงได้ ในเวลาทางไกลคือ คุณต้องมีของมาล่อตา ล่อใจลูกเพื่อ เบนความสนใจ ให้เขาไม่แหกปาก
อย่าเอาของทุกอย่างออกมาในทีเดียว เพราะลูกจะได้รู้สึก เซอร์ไพร์ส ตลอดเวลา ที่ได้เห็นของใหม่
4. เมื่อเดินทางถึงแล้ว ให้ทำห้องให้ปลอดภัย
ลูกงอแงตอนไปเที่ยว
เมื่อเวลาที่คุณเดินทางถึงที่พักแล้ว คุณต้องทำให้ห้องปลอดภัย เช่นการจัดห้อง และ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ให้ปลอดภัยกับลูกของคุณ นับอุปกรณ์ความปลอดภัย ไปปิดปลั๊กไฟ หรือ เอาอะไรไปพันสายไฟ ที่ไม่อยากให้ลูกสัมผัส เอาที่กันโต๊ะไปปิดไม่ให้เด็กมาวิ่งชนและเจ็บตัว
คุณอาจจะทำให้ที่พักเหมือนบ้านมากที่สุด เพื่อที่จะทำให้เด็กคุ้นชิน บางอย่างคุณสามารถเตรียมการก่อนเองได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกงอแง
Source : insider
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พาลูกขึ้นเครื่องบิน แบบหมดห่วง ด้วยการวางแผนเที่ยวกับลูกน้อย เพื่อการเดินทางอย่างสบายใจ
ทำไมลูกถึงชอบถามว่า ใกล้ถึงหรือยัง? ทุกครั้งที่เดินทาง
ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยจำเป็นต้อง เดินทางคนเดียวด้วยเครื่องบิน เป็นครั้งแรก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!