ล้างจมูก
ล้างจมูก วิธีล้างจมูกครั้งแรก เมื่อลูกป่วย ล้างจมูกให้ลูกอย่างไรดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะนำการล้างจมูกในเด็กเล็ก โดยวิธีล้างจมูกในกลุ่มเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้
ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเเละลูกยาง
สำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้
วิธีล้างจมูก
- ล้างมือให้สะอาด
- เทน้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% ใส่ถ้วยหรือแก้วน้ำที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็มกระบอก
- ให้เด็กนอนท่าศีรษะสูงพอควร เพื่อป้องกันการสำลัก (ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กดิ้นมาก)
- จับหน้าเด็กให้นิ่งสอดปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของรูจมูก ค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกครั้งละประมาณ 0.5 – 1 ซีซี
- ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออกโดย
- บีบลูกยางจนสุดเพื่อไล่ลมออก ค่อย ๆ สอดเข้าไปในรูจมูกตื้น ๆ ประมาณ 1 – 1.5 ซม.
- ค่อย ๆ ปล่อยมือที่บีบออกช้า ๆ เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยาง
- ดึงลูกยางแดงออกจากรูจมูกแล้ว บีบน้ำมูกในลูกยางทิ้งในน้ำ โดยบีบเข้า – บีบออกในน้ำสะอาดหลายครั้ง แล้วสะบัดให้แห้ง
ทำขั้นตอนที่ 5 ซ้ำหลาย ๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก
ที่มา : https://dlibrary.childrenhospital.go.th
วิธีล้างจมูกให้ลูก ลูกป่วยภูมิแพ้ เป็นหวัด มีน้ำมูก ล้างจมูกให้ลูกโล่ง ช่วยให้ทารกหายป่วยไว กลับมาสบายดี
การล้างจมูกในทารก สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
นอกจากวิธีล้างจมูก ที่ทางสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะนำแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีก โดยรศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ อธิบายว่า
การล้างจมูก กำจัดน้ำมูกในทารก มีด้วยกัน หลากหลายวิธี ตามปริมาณน้ำมูก และอายุของทารก ได้แก่
- การหยอดน้ำเกลือ ทำได้โดยหยอดน้ำเกลือ (Normal saline) เข้าไปในรูจมูก ข้างละ 2-3 หยด เพื่อให้น้ำมูกที่เหนียวข้นและแห้งติดจมูกอ่อนตัวลง ไม่แห้งกรัง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกไม่มาก โดยหลังจากหยอดน้ำเกลือแล้ว หากมีปริมาณน้ำมูกน้อยควรเช็ดจมูก เอาน้ำมูกออกด้วยไม้พันสำลี แต่หากมีปริมาณน้ำมูกมาก ควรดูดน้ำมูกออก ด้วยลูกยางแดงหรือเครื่องดูดต่อกับอุปกรณ์ดูดน้ำมูก
- การพ่นจมูก เป็นการกำจัดน้ำมูก โดยใช้อุปกรณ์พ่นน้ำเกลือแบบสเปรย์ เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกน้อย ไม่เหนียวข้นมาก มีข้อดีคือสามารถพกพาไปในที่ต่างได้สะดวก
- การล้างจมูกด้วยกระบอกฉีดยา เป็นการล้างจมูกที่สามารถทำได้โดยใช้น้ำเกลือปริมาณมาก จึงเหมาะกับการกำจัดน้ำมูกปริมาณมากที่ติดอยู่ในโพรงจมูก
เด็กทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ที่เคยล้างจมูกมาก่อน สามารถให้ความร่วมมือได้ดี มีขั้นตอนดังนี้
- ให้เด็กอยู่ในท่านั่ง ก้มหน้าเล็กน้อย
- สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก
- ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละประมาณ 1-5 ซี ซี หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้ จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกมาทางจมูกอีกข้างหนึ่ง
- ล้างซ้ำได้หลาย ๆครั้ง จนไม่มีน้ำมูกออกมา
การล้างจมูกช่วยลดน้ำมูก บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก เมื่อลูกไม่สบาย มีน้ำมูก ควรล้างจมูกให้ลูก เพราะลูกอาจนอนหลับไม่สนิทเพราะหายใจไม่ออกได้
รู้กันไปแล้วว่า การล้างจมูกทำได้อย่างไร มาโหวตกันหน่อยว่า นอกจากนมแม่ คุณให้ลูกกินนมอะไร ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คู่มือดูแลลูก สำหรับทารกแรกเกิด-12 ปี แจกฟรี..ดาวน์โหลดกันเลย!
ลูกนอนหายใจทางปาก ทารกชอบนอนอ้าปาก หายใจทางปากอันตรายไหม ลูกป่วยหรือเปล่า
ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ
ควันบุหรี่ทำให้เด็กป่วย RSV อาการหนักขึ้น ทรุดตัวเร็ว พ่อแม่ต้องระวัง!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!