X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีใช้ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำอย่างถูกต้อง วิธีการคำนวณยา

บทความ 8 นาที
วิธีใช้ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำอย่างถูกต้อง วิธีการคำนวณยา

มีคุณพ่อคุณแม่หลายท่านสอบถามหมอ เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาพาราเซตามอลโดยเฉพาะยาน้ำ เพราะมีหลายขนาด รูปแบบ และ หลายยี่ห้อมากๆ วันนี้เราลองมาทำความรู้จักกับยาพาราเซตามอลรูปแบบต่างๆ กัน เพื่อการใช้ที่ถูกต้อง และปลอดภัยกันดีกว่าค่ะ

ยา พาราเซตามอล ชนิดน้ำมีกี่แบบ? ยา พาราเซตามอล ชนิดน้ำ ในท้องตลาด มีขนาดต่างๆ จากความเข้มข้นมากไปน้อย วิธีการคำนวณยา  ยาพาราเซตามอลวิธีใช้ ดังนี้ค่ะ

ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ

paracetamol สรรพคุณ

1. ชนิดบรรจุให้ดูดด้วยหลอดหยด (ดรอป) จะมีความเข้มข้น 60 มิลลิกรัม ต่อยา 0.6 ซีซี
2. ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี
3. ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี
(ปริมาณยา 5 ซีซี เท่ากับ 1 ช้อนชาค่ะ)

 

ขนาดของยาพาราเซตามอลที่เหมาะสมสำหรับเด็กเป็นเท่าไร? ยาพาราเซตามอลวิธีใช้

 

พาราเซตามอล

Advertisement

 

ขนาดของยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กจะคิดตามน้ำหนักตัวค่ะ คือตั้งแต่ 10-15 มิลลิกรัมของยา ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ทานได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่แนะนำว่าไม่ควรทานเกินวันละ 5 ครั้งค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น น้องเอ หนัก 10 กิโลกรัม ก็ควรทานยาครั้งละ 100-150 มิลลิกรัม ค่ะ เราคำนวณปริมาณยาที่ควรทานแต่ละครั้งโดยเทียบบัญญัติไตรยางค์ได้ดังนี้นะคะ

– ถ้าเลือกใช้ยาชนิดดรอป ก็ควรทานครั้งละ 1-1.5 ซีซี
– ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละ 2-3 ซีซี
– ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละ 4.2-6.25 ซีซี

 

วิธีใช้ยาพาราเซตามอลในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็กอย่างง่ายๆคิดอย่างไร? วิธีการคำนวณยา

 

พาราเซตามอล

paracetamol สรรพคุณ

 

ไม่ต้องกังวลนะคะว่าเราจะต้องคำนวณยุ่งยากกันทุกครั้งที่จะให้ลูกกินพาราเซตามอลน้ำ หมอขอแนะนำสูตรง่ายๆในการคิด ดังนี้ค่ะ

– ถ้าเลือกใช้ยาชนิดดรอป ก็ทานครั้งละเท่ากับ น้ำหนักของเด็ก หารด้วย 10 เป็น ซีซี
– ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละเท่ากับ น้ำหนักเด็กหารด้วย 4 เป็น ซีซี
– ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ทานครั้งละ เท่ากับ น้ำหนักเด็ก หารด้วย 2 เป็น ซีซี
เช่น ตามตัวอย่าง น้องเอ หนัก 10 กิโลกรัม ก็ควรทานยาดังนี้ ได้เลยค่ะ
– ชนิดดรอป ก็ทานครั้งละเท่ากับ 10 หารด้วย 10 ได้ 1 ซีซี
– ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละเท่ากับ 10 หารด้วย 4 ได้ 2.5 ซีซี หรือครึ่งช้อนชา
– ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละเท่ากับ 10 หารด้วย 2 ได้ 5 ซีซี หรือหนึ่งช้อนชา
ในเด็กเล็กมากๆเช่นวัยทารก เราจะนิยมใช้แบบดรอป เพราะมีความเข้มข้นของยามากที่สุด จึงใช้ยาปริมาณไม่มากในการป้อนหนึ่งครั้ง

นอกจากนี้ สลากยาข้างขวด มักมีปริมาณยาที่ควรทานตามอายุเด็ก ซึ่งเค้ามักจะคำนวณตามน้ำหนักตัวมาตรฐานของเด็กแต่ละวัยมาเรียบร้อยแล้ว จึงอาจสามารถทานตามนั้นได้ ถ้าลูกมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ

 

ข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอล

เราไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอลติดต่อกันหลายวัน และไม่จำเป็นต้องทานทุกครั้งที่มีไข้ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงต่อตับได้ หากเด็กมีไข้ต่ำๆ ไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส หมอขอแนะนำให้เช็ดตัวลดไข้ก่อนเพราะไข้อาจลดได้โดยไม่ต้องใช้ยาค่ะ และหากมีไข้ติดต่อกันเกิน 3 วัน ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาตามสาเหตุนะคะ

บทความที่น่าสนใจ : ลูกนอนหายใจทางปาก ทารกชอบนอนอ้าปาก หายใจทางปากอันตรายไหม ลูกป่วยหรือเปล่า

 

การเก็บรักษายา

 

พาราเซตามอล 1

(รูปโดย Lisa จาก Pexels)

 

การที่เราทุกคนป่วยหรือไม่สบาย หนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เราหายและกลับมามีร่างกายที่แข็งแรงเป็นปกติ นั่นคือการทานยา เพราะยาถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาโรคให้เราได้ดีมาก มากด้วยสรรพคุณต่าง ๆ ที่เราไม่อาจมองข้ามมันไปได้ แน่นอนว่าการที่เรานำยาชนิดต่าง ๆ มารักษานั้น ถ้าเราไม่รู้จักวิธีการเก็บรักษา หรือทำความเข้าใจก่อนนำมาใช้ สิ่งเหล่านี้ก็สามารถส่งผลอันตรายหรือเป็นโทษต่อร่างกายเราได้เช่นกัน

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

บทความที่น่าสนใจ : ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด

 

วิธีการเก็บรักษายา

 

พาราเซตามอล 2

paracetamol สรรพคุณ (รูปโดย Anna Shvets จาก Pexels)

 

สิ่งของจำเป็นภายในบ้านที่หลายบ้านควรมี นั่นคือ “ยาสามัญประจำบ้าน” เพราะเป็นสิ่งสำคัญและช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ให้กับคนในครอบครัวเราได้เป็นอย่างดี ส่วนวิธีการเก็บรักษาจะเป็นยังไงกันบ้างนั้น มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลยดีกว่า

 

1. จัดยาประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน

การที่เราจัดยาประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันสิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้เราหาได้ง่าย ที่สำคัญยังช่วยป้องกันการนำยามารักษาผิดประเภทอีกด้วย เพราะคนในครอบครัวเราบางคนอาจจะมองเห็นฉลากยาไม่ชัดเจน หรือตรงฉลากอาจตัวเล็ก ทำให้อ่านได้ยาก ดังนั้นการที่เรานำยาประเภทเดียวกันมาไว้ด้วยกันก็อาจจะทำให้คนในบ้านหายาได้ง่ายขึ้น

 

2. ปิดฝาให้สนิททุกครั้ง และเก็บให้พ้นจากมือเด็ก

อีกหนึ่งข้อที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะการใช้ยาในแต่ละครั้งเราควรปิดฝาให้สนิท แน่นอนว่าถ้าเราเปิดฝาทิ้งไว้ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว อากาศหรือสิ่งต่าง ๆ ก็จะเข้าไปทำให้ยาที่เราใช้อยู่บ่อย ๆ เกิดการเสื่อมภาพและอาจส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอีกด้วย ที่สำคัญเราควรเก็บให้พ้นมือเด็ก โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีเด็กเล็กวัยกำลังอยากเรียนรู้ เราก็อาจจะต้องเก็บไว้ในที่ที่สูงขึ้นมาหน่อย เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อลูกของเรานั่นเอง

 

3. ตรวจสอบวันหมดอายุของยา

ก่อนที่เราจะใช้ยาทุกครั้งจะต้องมีการตรวจและเช็ควันหมดอายุให้ดีก่อน เพราะเมื่อไหร่ที่เรากินยาหมดอายุเข้าไปสิ่งนี้ก็อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายให้กับคนในบ้านของเราตามไปด้วย ดังนั้นเราก็อาจจต้องหมั่นตรวจหรือเช็คยาสามัญประจำบ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อที่คนในบ้านเราจะได้ปลอดภัย และถ้ายาตัวไหนหมดอายุหรือไม่สามารถกินต่อได้ เราก็สามารถนำไปทิ้งได้เลย

 

4. อุณหภูมิในการเก็บรักษา

การที่เราจะเก็บรักษายาชนิดต่าง ๆ ให้อยู่ได้นานนั้น เรื่องของอุณภูมิก็มีส่วน เพราะยาบางตัวถ้าเราเก็บในอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ยาของเราเสื่อมสภาพและมีประสิทธิภาพที่ลดลงได้ ดังนั้นเราควรเก็บในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ควรที่จะเก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียสนั่นเอง เพื่อเราจะได้ใช้นานตามวันและเวลากำหนด หรือยาจะได้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคให้กับเราและคนในครอบครัวได้

 

5. ควรแยกยาที่ใช้ภายนอกกับภายในออกจากกัน

เป็นอีกหนึ่งข้อที่สำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะใครที่ชอบวางยาชนิดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน ควรต้องรีบแยกประเภทกันโดยด่วน สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นยาเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นยาคนละประเภทเราก็ควรแยกออกจากกันอยู่ดี เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของคนในบ้าน เราก็อาจจะแบ่งเป็นโซนสำหรับยาสามัญประจำบ้าน โดยแบ่งแต่ละชั้นว่ายาตัวไหนสำหรับใช้อะไร หรือช่วยรักษาในเรื่องใดนั่นเอง

 

6. เก็บให้พ้นแสงแดด

การเก็บรักษาที่ดีไม่ควรเก็บในที่ที่มีแสงแดด หรือแดดส่องถึงเพราะสิ่งนี้อาจทำให้ยาของเราเสื่อมสภาพเอาได้ง่าย ๆ ที่สำคัญไม่ควรที่จะเก็บไว้บริเวณห้องครัว หรือห้องน้ำ ควรเก็บไว้ในที่ที่เหมาะสมและมีอุณหภูมิพอเหมาะแก่การรักษา และถ้าใครที่ทำเช่นนี้อยู่เป็นประจำ เราก็จะเก็บยาไว้ได้นานอีกด้วย

 

7. เมื่อเก็บยาไว้ในอุณหภูมิที่เย็น

ยาประเภทที่เราต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิเย็น ๆ เราก็อาจจะต้องมีการแบ่งประเภทให้ชัดเจน ไม่ควรที่จะเก็บไว้ด้วยกันกับช่องอาหาร หรือช่องแช่ผัก  เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายและไม่ทำให้อาหารหรือของในตู้เย็นเกิดความเสียหายด้วยนั่นเอง

 

การเก็บรักษายาชนิดน้ำ

 

พาราเซตามอล 3

(รูปโดย cottonbro จาก Pexels)

 

ยาประเภทน้ำก็ถือเป็นยาอีกหนึ่งประเภทที่เราควรใส่ใจ ในการดูแลและเก็บรักษา โดยมีขั้นตอนวิธีการเก็บรักษาดังนี้

 

1. ควรเก็บในอุณหภูมิที่มากกว่า 25 องศาเซลเซียส

ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวจึงอาจจะเป็นเรื่องยากที่เราจะเก็บยาไว้มุมใดมุมหนึ่งของบ้าน ดังนั้นเราก็อาจจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อปกป้องกันการเสื่อมสภาพของยา

 

2. เก็บให้พ้นมือเด็ก

มาต่อกันอีกข้อการเก็บรักษาในแต่ละครั้งเราจะต้องเก็บรักษาให้พ้นมือลูก เพื่อที่จะได้ไม่เป็นอันตราย โดยเฉพาะใครที่กำลังมีลูกอยู่ในช่วงวัยกำลังอยากเรียนรู้ เรายิ่งต้องระวังเพราะด้วยความที่เป็นเด็กเขาก็อาจจะอยากลองอะไรที่แปลกใหม่ หรืออยากลองในสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะฉะนั้นเราควรต้องเก็บให้ดีและเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

3. สังเกตลักษณะของยา

ก่อนนำยามาใช้ทุกครั้งเราควรจะต้องสังเกตลักษณะต่างๆ รวมถึงกลิ่นและรสชาติของยาชนิดนั้น ๆ ด้วยว่ามีกลิ่น สี หรือรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า และถ้าเมื่อไหร่ที่ยามีรสชาติที่เปลี่ยนไปหรือเวลาเขย่ายาตัวนั้นเกิดการขุ่นและมีตะกอน ให้นำทิ้งโดยทันที

 

ใครที่ลูกกำลังป่วย หรือไม่สบายก่อนที่คุณแม่จะนำยามาให้ลูกกินนั้นเราก็ควรจะต้องดูดี ๆ อ่านฉลากและดูวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง เพื่อที่ลูกของเราจะได้ไม่เป็นอันตราย และนอกจากการรักษาแล้วเรื่องของการเก็บรักษาก็เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่หลายคนควรใส่ใจเช่นกัน เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่รู้จักวิธีการเก็บรักษา หรือนำยาที่หมดอายุแล้วมาให้ลูกกินสิ่งนี้ก็อาจส่งผลอันตรายต่อลูกของเราได้ไม่น้อยเลยล่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ : ลูกน้ำหนักน้อยและตัวผอม ควรให้ ลูกทานยาถ่ายพยาธิ หรือไม่?

ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร

ท้องผูก ขับถ่ายยาก ปรับสุขภาพด้วย ซินไบโอติก

 

ที่มา : siphhospital, mamaexpert, posttoday

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วิธีใช้ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำอย่างถูกต้อง วิธีการคำนวณยา
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว