X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องเป็นไข้เลือดออก ได้ไหม? อันตรายมากหรือเปล่า ต่อคุณแม่และลูกในครรภ์

บทความ 5 นาที
คนท้องเป็นไข้เลือดออก ได้ไหม? อันตรายมากหรือเปล่า ต่อคุณแม่และลูกในครรภ์

ประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นแหล่งระบาดอย่างมากของไข้เลือดออก ในปัจจุบัน นอกจากเด็ก ๆ แล้ว ก็มีผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากขึ้น และมีความอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ในวันนี้ เราจะให้คุณแม่ได้ทำความรู้จักและป้องกันโรคไข้เลือดออกในขณะตั้งครรภ์ เราจะมาตอบคำถามที่ว่า คนท้องเป็นไข้เลือดออก ได้ไหม? อันตรายมากหรือเปล่าต่อคุณแม่และลูกในครรภ์ ไปดูกันเลยค่ะ!

 

ไข้เลือดออก คืออะไร

ไข้เลือดออก คือโรคที่เกิดจากไวรัสเดงกี (Dengue) ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้บ่อยมากในประเทศไทยที่มีจำนวนยุงลายเยอะมาก ทำให้ประเทศไทยสามารถพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ตลอดปี แต่มักมีการระบายหนักในช่วงฤดูฝน ที่มีจำนวนยุงลายมากเป็นพิเศษ อาการของโรคไข้เลือดออกนั้นจะแสดงอาการได้ในเฉลี่ยหลังจากถูกยุงกัด 3-15 วัน (โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 5-6 วัน) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ติดเชื้อแต่อาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย ในอาการกับคนที่ตั้งครรภ์ จะมีอาการทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่

  • อาการไข้เลือดออก ทั้งหมด 3 รูปแบบ

    • อาการที่มีเหมือนกันนั้นก็คือ จะมีไข้สูง และอาจมีผื่นเป็นปื้น และเกิดจุดแดง ๆ คล้ายหัดตามผิวหนัง อาการนี้โดยปกติมักเกิดในเด็กเล็กมากกว่า
    • อาการนี้จะมีไข้สูงเช่นกัน และจะมีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดรอบศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ และอาการปวดกระดูก โดยอาการของกระดูกจะมีความรุนแรงกว่าส่วนอื่น ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนกับกระดูกจะแตก และจะมีอาการที่มีผื่นขึ้นตามตัว และมีขุดเลือดออกตามผิวหนัง เมื่อทำการตรวจโดยแพทย์แล้ว จะพบได้ว่ามีเม็ดเลือดขาวต่ำ และมีเกล็ดเลือดต่ำ
    • นอกจากจะมีไข้สูง จะยังมีอาการปวดท้อง และมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน รวมไปถึงปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อร่วมด้วย รวมไปถึงมีอาการเลือดออกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรือในอาการรุนแรง ยังอาจมีอาการเลือดออกในตับ ไต สมอง ฯลฯ ได้ด้วย โดยอาการเหล่านี้เป็นอาการรุนแรง และมีอันตรายถึงชีวิต ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไข้เลือดออก คืออะไร มีอาการอะไรบ้าง เป็นภัยร้ายหน้าฝนที่ควรระวัง!!

 

คนท้องเป็นไข้เลือดออก

 

อาการของโรคไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออกนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปตามระยะ ในวันนี้ เราจะมาศึกษาอาการ และระยะของไข้เลือดออกกัน เพื่อให้คุณแม่สามารถสังเกตตัวเองได้ง่ายขึ้นนะคะ

  • ระยะที่ 1

    • มีไข้สูงมากกว่า 38 องศา โดยเมื่อเวลาผ่านไป 3-4 วัน ไข้ก็ยังไม่ลดลง
    • มีอาการปวดกระดูก เหมือนกระดูกจะแตก และปวดเบ้าตามาก
    • เริ่มมีอาการผื่นขึ้นตามผิวหนัง เป็นปื้น ๆ

ในการรักษาอาการไข้เลือดออกในระยะแรกนี้ หากตรวจแล้วมีเกล็ดเลือดต่ำ ก็จะมีการให้เกล็ดเลือด และจะให้น้ำเกลือหรือผงเกลือแร่ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด และเพิ่มสารอาหาร เพื่อให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น

 

  • ระยะที่ 2

    • มีจุดเลือดตามผิวหนัง โดยจะเป็นเหมือนรอยยุงกัด แต่จะมีสีเข้มและชัดเจนกว่า
    • อาจมีเลือดกำเดาไหล หรือมีเลือดออกตามเหงือก
    • หากมีความรุนแรง จะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด

 

  • ระยะที่ 3

    • ไข้จะลดลง ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงภาวะช็อก ที่กำลังใกล้เข้ามา
    • ความดันจำต่ำลง แต่หัวใจจะมีอัตราเต้นเร็วขึ้นมาก
    • คนไข้จะมีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออกมากกว่าปกติ

 

  • ระยะที่ 4

    • เป็นอาการระยะสุดท้าย มีภาวะช็อกขั้นรุนแรง
    • ความดันต่ำมาก จนแทบจะไม่สามารถวัดได้
    • เลือดจะไม่ไปเลี้ยงตับ ไต และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนนำไปสู่การเสียชีวิต

 

คนท้องเป็นไข้เลือดออก

 

โรคไข้เลือดออก ส่งผลอย่างไรต่อลูกในครรภ์บ้าง

  • ไตรมาสแรก (12 สัปดาห์แรก)

เป็นขั้นที่อันตรายมาก ถ้าหากคุณแม่เป็นไข้เลือดออกในช่วงนี้ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ลูกในครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้

 

  • ไตรมาสสอง (12-28 สัปดาห์)

หากคุณแม่ตรวจพบโรคไข้เลือดออกในช่วงนี้ อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยที่คลอดออกมามีน้ำหนักน้อย แต่ลูกจะปลอดภัย เพราะว่าเชื้อไวรัสยังไม่สามารถเข้าถึงลูกน้อยได้

 

  • ไตรมาสสาม (29-40 สัปดาห์)

เป็นช่วงที่มีความอันตรายมาก เพราะถ้าคุณแม่ท้องเป็นไข้เลือดออกในช่วงเวลานี้ โดยหากเป็นไข้เลือดออกในระยะที่ 2 เมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว อาจจะติดโรคไข้เลือดออกผ่านทางสายสะดือได้ และอันตรายยิ่งกว่า ถ้าหากเป็นไข้เลือดออกในระยะที่ 3-4 จะส่งผลให้ลูกน้อยเสียชีวิตในครรภ์ได้ หากคลอดเองคุณแม่ก็จะมีอาการตกเลือด และถ้าหากผ่าคลอด ก็จะเกิดอาการเสียเลือดมาก จนส่งผลให้อาจเสียชีวิตได้

 

การรักษาโรคไข้เลือดออก

ต้องเกริ่นไว้ก่อนว่า ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัส ที่มีฤทธิ์สำหรับเชื้อไวรัสเดงกีโดยเฉพาะ ดังนั้น การรักษาไข้เลือดออกในปัจจุบัน จึงเป็นการรักษาตามอาการ และให้ยาตามอาการที่เกิดขึ้น และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ป้องกันอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละระยะของโรค และป้องกันภาวะช็อกได้ แต่ทั้งนี้ ถ้าหากอาการมีความรุนแรง และการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล ควรรีบส่งตัวผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

คนท้องเป็นไข้เลือดออก

 

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

เราสามารถป้องกันตัวเองเบื้องต้นได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกกับตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง และป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อมภายนอก หรือการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรา โดยมีวิธีดังนี้เลยค่ะ

  • นอนในมุ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้งแม้จะเป็นในเวลากลางวัน
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทั้งในบ้าน หรือบริเวณรอบบ้าน รวมไปถึง กำจัดภาชนะแตกหักที่มีการขังน้ำ เช่น แจกัน ยางรถเก่า กระถางต้นไม้
  • เลี้ยงปลากินลูกน้ำ เพราะจะสามารถป้องกันการเพิ่มจำนวนของยุงที่มาวางไข่ในน้ำได้
  • ปิดฝาโอ่ง หรือภาชนะต่าง ๆ ให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมี เพื่อกำจัดลูกน้ำในภาชนะที่เก็บน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
  • ทาครีมกันยุง ครีมกันยุง สามารถป้องกันยุงกัดได้ดี

 

โดยสรุปแล้ว โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยในประเทศไทยตลอดปี และมีอาการที่แตกต่างกันไปตามในระยะของโรค ซึ่งมีความอันตรายอย่างมากต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่คุณแม่ควรจะรู้จักอาการของไข้เลือดออก รวมถึงหาวิธีรับมือ และป้องกันไม่ให้เป็นโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง

 

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

คนท้องเป็นโรคบิด อันตรายมากแค่ไหน เสี่ยงต่อการแท้งลูกจริงหรือไม่?

โรคพยาธิในช่องคลอด หรือ พยาธิในอวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอยู่จริง ๆ หากไม่ระวัง!

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Woraya Srisoontorn

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คนท้องเป็นไข้เลือดออก ได้ไหม? อันตรายมากหรือเปล่า ต่อคุณแม่และลูกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ