X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคพยาธิในช่องคลอด หรือ พยาธิในอวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอยู่จริง ๆ หากไม่ระวัง!

23 Jan, 2023
โรคพยาธิในช่องคลอด หรือ พยาธิในอวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอยู่จริง ๆ หากไม่ระวัง!

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ เพราะนอกจากการมีแฟนแล้ว การมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงการติดต่อทางโรคก็ด้วยเช่นกัน รวมไปถึง โรคพยาธิในช่องคลอด ที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้จัก หรืออาจจะไม่เคยรู้ว่ามีอยู่จริง และอยู่ใกล้ตัวมาก

 

เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า ที่ได้ออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า " พยาธิในจิ๋มมีจริง ๆ ครับ!! แต่ไม่ใช่เป็นตัวใหญ่ ๆ เหมือนไส้เดือนนะ พยาธิในจิ๋มตัวมันจะเล็กมากกกกก เล็กจนผู้ชายหลาย ๆ คนเคยกินมันเข้าไปแล้ว 555555

 

พยาธิตัวนี้ชื่อ “ทริโคโมแนส วาจินาลิส” (Trichomonas Vaginalis) ต้องเอาไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ถึงจะเห็นตัวมันได้ เชื้อนี้ติดต่อโดยเพศสัมพันธ์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องมาถามว่า เบิร์นจะติดเชื้อมั้ย จูบกัน กินข้าวร่วมกันติดมั้ย ตอบเลยว่าไม่ติด!! ต้องร่วมเพศกันเชื้อมันถึงจะเข้ามาในจิ๋มได้ เพราะฉะนั้นถ้าใส่ถุงยางก็ป้องกันเชื้อได้แน่นอนครับ

 

สาว ๆ ที่ติดเชื้อก็อาจจะเกิดอาการคัน ตกขาวผิดปกติ คือ มีสีเทา สีเหลือง หรือสีเขียว เป็นฟองและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ บางคนก็ปวดแสบเวลาปัสสาวะ ปวดท้องน้อย และมีเลือดออกตอนที่มีเพศสัมพันธ์ แต่บางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ เพราะจะมีผู้ป่วยที่แสดงอาการแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทำให้หลายคนไม่รู้ตัว และแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอนได้ ถ้าสงสัยว่าตัวเองจะเป็น ก็ให้ไปหาแพทย์ แพทย์ก็จะเอาไปให้นักเทคนิคการแพทย์อย่างผมเนี่ย!! ส่องกล้องจุลทรรศน์ดู ใครมีอาการแบบนี้ลองไปตรวจดู นะ ถ้าเจอก็จะได้รีบรักษายังไงล่ะ

 

 

โรคพยาธิในช่องคลอด ภัยเงียบที่มองไม่เห็น

โรคพยาธิในช่องคลอด ชื่ออังกฤษ Trichomoniasis หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Trich เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่มีชื่อว่า Trichomonas vaginalis ที่ตรวจพบได้จากน้ำในช่องคลอดหรือน้ำอสุจิของผู้ป่วย ซึ่งติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และผู้หญิงสามารถติดเชื้อนี้ได้ทั้งในช่องคลอดและท่อปัสสาวะ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ มีเพียง 30% ของผู้ป่วยเท่านั้น ที่แสดงอาการของโรค แต่หากพบว่าติดเชื้อ ควรรีบรักษาเพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานหลายเดือนหรือหลายปี และสามารถติดต่อไปสู่คู่นอนได้

 

อาการของโรค

อาการของโรคพยาธิในช่องคลอด มีได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปอาการอักเสบขั้นรุนแรง ผู้ป่วยบางรายแสดงอาการภายในเวลา 5-28 วัน หลังจากติดเชื้อ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายแสดงอาการหลังจากนั้น อาการอาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้

  • มีตกขาวเป็นสีเหลือง สีเขียวหรือสีเทา
  • ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น
  • รู้สึกคัน แดงและแสบภายในช่องคลอด หรือบริเวณช่องคลอด
  • รู้สึกเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • รู้สึกระคายเคืองขณะปัสสาวะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

 

ปัจจัยเสี่ยงของพยาธิในช่องคลอด

โรคพยาธิในช่องคลอดติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศ และสามารถติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับหญิงก็ได้ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการติดโรคนี้ ได้แก่

  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
  • มีประวัติในการเป็นโรคพยาธิในช่องคลอดมาก่อน
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ

 

โรคพยาธิในช่องคลอด

 

เนื่องจากพยาธิในช่องคลอดติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ดังนั้น กิจกรรมอื่น ๆ จึงอาจไม่ทำให้เกิดการติดต่อได้

 

การวินิจฉัยโรค

โรคพยาธิในช่องคลอดแสดงอาการคล้ายกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ดังนั้นการวินิจฉัยโรคจึงดูจากอาการเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ผู้ที่สงสัยว่าตนเองมีอาการผิดปกติ จึงควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านสูตินรีเวช แพทย์จะซักประวัติ ตรวจภายในและนำตกขาวไปส่งตรวจ เพื่อดูเชื้อพยาธิในช่องคลอด ด้วยวิธีดังนี้

  1. ส่องกล้องจุลทรรศน์
  2. เพาะเชื้อจากตัวอย่างสารในช่องคลอด
  3. ใช้ชุดทดสอบแอนติเจนหรือสารพันธุกรรม

นอกจากนี้ หากสงสัยว่าผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด แพทย์อาจรักษาผู้ป่วยโดยไม่รอผลการตรวจวินิจฉัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไป ส่วนผู้ป่วยที่พบว่าตนเองติดเชื้อพยาธิในช่องคลอดแน่ชัดแล้ว ควรตรวจเลือดหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี และซิฟิลิส เป็นต้น รวมทั้งผู้ป่วยต้องแจ้งให้คู่นอนไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาเช่นเดียวกัน

 

การรักษาพยาธิในช่องคลอด

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิในช่องคลอดต้องรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ซึ่งวิธีการใช้ยา มีดังนี้

  • รับประทานยาเมโทรนิดาโซลหรือทินิดาโซลครั้งเดียวในปริมาณ 2 กรัม หรือรับประทานยาเมโทรนิดาโซลวันละ 500 มิลลิกรัม ติดต่อกันนาน 5-7 วัน
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติใด ๆ หลังใช้ยา
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างที่ใช้ยาอย่างน้อย 3 วัน หลังหยุดใช้ยา เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หรือผิวแดง
  • งดมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษา และหลังจากหายเป็นปกติอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น หรือการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพิ่ม
  • ปรึกษาแพทย์ถึงการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ หากแพ้ยาเมโทรนิดาโซลหรือทินิดาโซล
  • หญิงมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือทารกได้ โดยเฉพาะหากรับประทานยาปริมาณมากในครั้งเดียว
  • ยาเมโทรนิดาโซลอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือรู้สึกถึงรสโลหะในปาก เป็นต้น
  • ไปพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ยังคงมีอาการผิดปกติหลังใช้ยา

 

การป้องกัน

โรคพยาธิในช่องคลอดสามารถติดต่อกันได้ โดยที่ผู้แพร่เชื้อไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้นโรคนี้จึงติดต่อกันได้ง่าย วิธีการป้องกันการติดเชื้อทำได้ดังนี้

  1. ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายว่า ปลอดโรคติดต่อทางเพศสมัพันธ์
  2. สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเชื้อโรคอาจติดต่อผ่านบริเวณอวัยวะเพศ ที่ไม่ปกคลุมด้วยถุงยางอนามัยได้

 

บทความจากพันธมิตร
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ

โรคพยาธิในช่องคลอด

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

หากไม่รักษาให้หายขาด โรคพยาธิในช่องคลอดอาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรงตามมา ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนการกำหนด ทารกอาจมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ ทำให้มีปัญหาทางสุขภาพและพัฒนาการตามมา นอกจากนี้ทารกอาจติดเชื้อจากมารดาได้หากคลอดตามธรรมชาติ

 

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรหากติดโรคพยาธิในช่องคลอด

โรคพยาธิในช่องคลอดเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ไม่ยาก แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายและทำการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นหากสงสัยว่าตัวเองติดเชื้อ ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • รีบไปพบแพทย์
  • รับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันให้ครบตามที่แพทย์แนะนำ ถึงแม้จะไม่มีอาการแล้วก็ตาม
  • สวมถุงยางอนามัย
  • รีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการตกขาวผิดปกติ รวมทั้งรู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาโรคให้หายดี ถึงแม้จะทานยาครบแต่ก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากมีคู่นอนที่มีเชื้ออยู่

 

การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย การรีบรู้ตัวและรักษาตัวเอง เพื่อไม่ให้กลายเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ก็เป็นเรื่องที่ปลอดภัยกับตัวเองและคู่นอนค่ะ หมั่นสังเกตอาการตัวเอง และเมื่อรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติอย่าลืมรีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาให้ไวที่สุดค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีช่วยเหลือแบบเห็นภาพ จากหมอแล็บแพนด้า "สำลักอาหารต้องทำยังไง"

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมวิธีการป้องกัน ทำอย่างไรให้ไม่ติดโรค?

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • โรคพยาธิในช่องคลอด หรือ พยาธิในอวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอยู่จริง ๆ หากไม่ระวัง!
แชร์ :
  • หนุ่ม 15 พาสาววัย 11 หอบเสื้อผ้าหนี โชคดีแม่ตามทัน!

    หนุ่ม 15 พาสาววัย 11 หอบเสื้อผ้าหนี โชคดีแม่ตามทัน!

  • หมอหดหู่ใจ! แม่ติดยาเสพติดมาคลอดลูก น้ำหนักตัวออกมาแค่ 1.5 กิโล

    หมอหดหู่ใจ! แม่ติดยาเสพติดมาคลอดลูก น้ำหนักตัวออกมาแค่ 1.5 กิโล

  • ครูสั่งนักเรียนถอดรองเท้ายืนตากแดด จนเท้าพอง ! เหตุไม่เชื่อนักเรียนเจ็บเล็บขบ

    ครูสั่งนักเรียนถอดรองเท้ายืนตากแดด จนเท้าพอง ! เหตุไม่เชื่อนักเรียนเจ็บเล็บขบ

  • หนุ่ม 15 พาสาววัย 11 หอบเสื้อผ้าหนี โชคดีแม่ตามทัน!

    หนุ่ม 15 พาสาววัย 11 หอบเสื้อผ้าหนี โชคดีแม่ตามทัน!

  • หมอหดหู่ใจ! แม่ติดยาเสพติดมาคลอดลูก น้ำหนักตัวออกมาแค่ 1.5 กิโล

    หมอหดหู่ใจ! แม่ติดยาเสพติดมาคลอดลูก น้ำหนักตัวออกมาแค่ 1.5 กิโล

  • ครูสั่งนักเรียนถอดรองเท้ายืนตากแดด จนเท้าพอง ! เหตุไม่เชื่อนักเรียนเจ็บเล็บขบ

    ครูสั่งนักเรียนถอดรองเท้ายืนตากแดด จนเท้าพอง ! เหตุไม่เชื่อนักเรียนเจ็บเล็บขบ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ