อาการเจ็บแสบ เจ็บจี๊ด ๆ ลามไปทั่วส้นเท้า รู้สึกเหมือนมีอะไรทิ่มเท้า อาจเป็นอาการของ “โรครองช้ำ” โรคที่ใครหลายคน อาจไม่เคยเป็นมาก่อน บทความนี้ จะพาไปรู้จักกับโรครองช้ำ มาดูกันว่าโรคนี้ มีสาเหตุ ที่มา จากอะไร และเราจะสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคนี้ได้อย่างไร
โรครองช้ำคืออะไร?
โรครองช้ำ หรือ อาการพังผืดเท้าอักเสบ คือ โรคที่มีอาการปวดฝ่าเท้า ส้นเท้า ซึ่งเกิดจากเอ็นที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างส้นเท้า และกระดูกนิ้วเท้า เกิดการอักเสบ หรือเกิดการฉีกขาดของพังผืดที่ฝ่าเท้า (Plantar Fascia) ที่สัมพันธ์กับการเดิน การลงน้ำหนักบริเวณเท้า ซึ่งอาการที่พบบ่อยของโรคนี้ ได้แก่ ปวดส้นเท้า เจ็บคล้ายของมีคมทิ่ม เป็นต้น ซึ่งมักเกิดช่วงเช้า หลังจากตื่นนอน เมื่อก้าวลงพื้นก้าวแรก โดยอาจเกิดอาการทั้งวัน หากมีการเดิน หรือ การยืนเป็นเวลานาน
โรครองช้ำ สามารถพบได้บ่อยในผู้หญิง ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บที่ส้นเท้า และ มักเป็น ๆ หาย ๆ และอาการจะมากขึ้น หากมีการใช้งานเท้าเป็นเวลานาน ซึ่งการอักเสบอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และลามไปยังเอ็นร้อยหวายได้ หากไม่ได้รับการรักษา
ปัจจัยเสี่ยงของโรครองช้ำ
- น้ำหนักตัวมากกว่าปกติ ทำให้ส่วนเท้า ต้องรับน้ำหนักมาก และเกิดการอักเสบของพังผืดใต้เท้าได้
- การยืนเป็นเวลานาน ซึ่งการยืน เป็นท่าที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ดังนั้นหาจทำให้เกิดการอักเสบ บริเวณฝ่าเท้าได้ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานาน หรือ ต้องยืนทำงาน เป็นต้น
- การสวมใส่รองเท้าที่ไม่พอดี หรือ ไม่เหมาะสม อาจมีผลให้เกิดการอักเสบของเอ็นที่เท้า เช่น รองเท้าพื้นแข็ง รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า เป็นต้น
- ออกกำลังกายมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรครองช้ำได้ เช่น วิ่งออกกำลังกายมากกว่าปกติ เดินบนพื้นผิวแข็ง เป็นต้น
- เอ็นร้อยหวายยึด ทำให้ส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ
- ลักษณะโครงสร้างเท้าไม่ปกติ เช่น เท้าแบน อุ้งเท้าโก่ง หรือ เอ็นยืดน่อง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไวข้อเท้าได้
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ โรคข้อสันหลังอักเสบ ทำให้มีโอกาสที่เส้นเอ็นจะเกิดการอักเสบ ทำให้พังผืดได้เท้า เกิดการอักเสบได้เช่นกัน
กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรครองช้ำ
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นผู้หญิง เนื่องจากพังผืดที่เท้า มีความยืดหยุ่นน้อยลง
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกิดเกณฑ์ ทำให้พังผืดที่เท้า ต้องรับน้ำหนัก และ แรงกระแทก มากกว่าปกติ
- ผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานาน หรือ ต้องทำงานในท่ายืน ทำให้พังผืดที่เท้าเกิดอาการตึง
- ผู้ที่มีลักษณะอุ้งเท้าสูง ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
- ผู้ที่ใส่รองเท้า ที่มีลักษณะแข็ง หรือ พื้นบางเป็นประจำ
อาการของโรครองช้ำ
อาการของโรครองช้ำ หรือ พังผืดใต้เท้าอักเสบ มักมีอาการ เจ็บที่ส้นเท้า และลามไปทั่วเท้า ซึ่งในบางครั้งอาจมีการลุกลามไปถึงอุ้งเท้าด้วย ซึ่งลักษณะอาการ จะเป็นการเจ็บจี๊ดขึ้นมา และ ปวดแสบ ซึ่งอาการจะค่อย ๆ เกิดขึ้น และหายไป แต่อาจกลับมาปวดอีก โดยการปวดรุนแรงจะเกิดขึ้น เมื่อมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกมาเดินก้าวแรกในตอนเช้า หลังตื่นนอน นอกจากนี้ อาจมีอาการปวดได้ในช่วงระหว่างวัน หรือ หลังจากที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ๆ เช่น ยืนเป็นเวลานาน เดินเป็นเวลานาน เป็นต้น
การป้องกันโรครองช้ำ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้เท้าเป็นเวลานาน หากเล่นกีฬา ควรเลือกกีฬาที่ไม่ต้องใช้น้ำหนักเท้ามาก เช่น การว่ายน้ำ การขี่จักรยาน เป็นต้น
- สวมรองเม้าสิ้นนิ่ม หรือ รองเท้าที่มีส่วนช่วยซัพพอร์ทอุ้งเท้า หากไม่มี สามารถซื้อแผ่นรองเสริม เพื่อช่วยให้รองเท้านุ่มขึ้นได้
- การออกกลังกาย ด้วยการยืดกล้ามเนื้อน่อง และยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าบ่อย ๆ
- ไม่ควรเดินเท้าเปล่า หากต้องเดินเป็นเวลานาน ควรสวมใส่รองเท้าที่มีพื้นนุ่ม โดยให้ส้นสูงกว่าส่วนหน้าเล็กน้อย ไม่เกิน 1-2 นิ้ว และไม่ควรสมรองเท้าพื้นราบ
- ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ เพราะเอ็นฝ่าเท้าจะต้องรับน้ำหนัก เป็นจำนวนมาก ทำให้มีโอกาสการเกิดการอักเสบได้
- ประคบร้อน หรือ ประคบเย็น เพื่อรักษาอาการของเอ็น โดยสามารถใช้ยานวด ควบคู่กับการประคบได้
การรักษาโรครองช้ำ
- รับประทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ที่ไม่ใช่ยาเสตียรอยด์ (NSAIDs)
- การใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับกระดูก เช่น การเสริมอุ้งเท้าด้านใจ (Arch Support) หรือ อุปกรณ์รองส้นเท้า (Heel Cushion)
- การทำกายภาพบำบัด เช่น การฝึกยืดเอ็นร้อยหวาย เป็นวิธีที่ดี และได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
- การฉีดสเตียรอยด์ เป็นวิธีที่ได้ผล เมื่อฉีดแล้วจะรู้สึกดีขึ้น แต่ไม่ควรฉีดบ่อย ๆ เพราะการฉีดสเตียรอยด์ มีผลข้างเคียงอื่น ๆ ต่อร่างกาย
การรักษาโรคนี้ ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเสมอไป เพราะการผ่าตัด ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ การเจ็บปวด และการผ่าตัดยังทำให้ฝ่าเท้าแบนอีกด้วย
โรครองช้ำอาจไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ไม่ควรทิ้งไว้ หรือ ปล่อยไว้เป็นเวลานาน เพราะเมื่อเป็นแล้ว โรคนี้จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ทำให้เดินลำบาก หากใครมีอาการ ก็ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และป้องกันไม่ให้อาการหนักกว่าเดิม
ที่มาข้อมูลbumrungrad siphhospital bumrungrad
บทความที่น่าสนใจ :
โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบ พันธุกรรมในเด็กที่ควรระวัง
โรครูมาตอยด์ ไขข้ออักเสบ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
อาหารลดการเกิดโรคข้ออักเสบ อาหารและเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง 8 ชนิด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!