ผื่นกุหลาบ คืออะไร โรคผื่นกุหลาบมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง มีสาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีรักษา หรือป้องกันอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย
ผื่นกุหลาบ เป็นผื่นที่มักจะเริ่มจากเป็นจุดวงกลม หรือวงรีที่มีขนาดที่ใหญ่บนหน้าอก หน้าท้อง หรือที่หลัง จะมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร
ขอขอบคุณวิดีโอจาก : Spring , https://www.youtube.com
โรคผื่นกุหลาบ คืออะไร
โรคผื่นกุหลาบ หรือผื่นขุยกุหลาบ เป็นอาการทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไป ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อของไวรัส ส่งจะส่งผลให้เกิดผื่นขึ้นในลักษณะที่เป็นวงกว้างสีชมพู หรือเป็นจุดรูปไข่ขึ้นตามหน้าอก หน้าท้อง หรือที่แผ่นหลัง โรคผื่นกุหลาบมักจะมีอาการคันร่วมอยู่ด้วย ส่วนใหญ่แล้วโรคผื่นกุหลาบจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 10 – 35 ปี ทั้งนี้ อาการของโรคผื่นกุหลาบจะอาการคันอยู่ราว ๆ 6 – 9 สัปดาห์ และจะหายไปเองโดยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โรคผื่นกุหลาบจึงได้มีชื่อเรียกว่า โรคผื่น 100 วัน หากว่าเคยเป็นโรคผื่นกุหลาบนี้แล้ว ก็มักที่จะไม่กลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำอีก
อาการของผื่นกุหลาบ
อาการของโรคผื่นกุหลาบโดยทั่วไปแล้ว จะมีอาการอื่น ๆ นำมาก่อน ได้แก่ มีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอ และปวดเมื่อยตามข้อ จากนั้นจะมีผื่นขึ้น โดยแบ่งอาการออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ผื่นปฐมภูมิ
ในช่วงแรก ๆ จะมีอาการเป็นผื่นสีชมพู หรือสีแดง อาจจะมีรูปร่างกลม หรือเป็นรูปวงรี และจะมีขุยล้อมรอบปรากฏเป็นปื้นใหญ่ขาด 2 – 10 เซนติเมตร บริเวณหน้าอก ใบหน้า หลัง และลำคอ บางรายอาจจะมีผื่นขึ้นบนใบหน้า หนังศีรษะ หรือแถว ๆ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ โดยอาจจะเรียกผื่นปฐมภูมินี้ว่า ผื่นแจ้งโรค หรือผื่นแจ้งข่าว
ผื่นแพร่กระจาย
ผื่นแพร่กระจาย จะเกิดขึ้นหลังจากเกิดผื่นปฐมภูมิ ภายในไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดผื่นขุยเล็ก ๆ สีชมพูขนาด 0.5 – 1.5 เซนติเมตร และจะแพร่กระจายไปยังบริเวณหน้าอก คอ หลัง หน้าท้อง ต้นขา และต้นแขน ซึ่งอาจจะมีอาการคันร่วมอยู่ด้วย โดย ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นมักที่จะมีลักษณะตามแนวรอยพับของผิวหนังคล้ายต้นคริสต์มาส จึงเรียกว่า Christmas Tree Distribution แต่มักจะไม่พบผื่นนี้ที่ใบหน้า ฝ่ามือ หรือฝ่าเท้า
ทั้งนี้ อาการของโรคผื่นกุหลาบทั้ง 2 ระยะจะไม่ปรากฏอยู่นาน 2 – 12 สัปดาห์ แต่บางรายอาจจะมีอาการคงอยู่นานถึง 5 เดือน และหายไปเอง
สาเหตุของผื่นกุหลาบ
สาเหตุของการเกิดโรคผื่นกุหลาบยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดที่แน่ชัด ได้มีการสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตระกูลเฮอร์ปีส์ แต่ไม่ใช่ไวรัสสายพันธุ์ที่เป็นต้นเหตุของโรคเริม และโรคอีสุกอีใส และโรคผื่นกุหลาบไม่สามารถที่จะติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสทางผิวหนังที่เป็นโรคได้ นอกจากนี้แล้ว การใช้ยาบางประเภทอาจจะกระตุ้นให้เกิดผื่นขุยกุหลาบได้เช่นกัน ได้แก่ ยาลดความดันโลหิตกลุ่มยาต้านเอนไซม์เอซีดี ยาไอโซเตรติโนอินที่ใช้รักษาสิว ยาฆ่าเชื้อเมโทรนิดาโซล ยาโอเมพราโซลสำหรับรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น
การรักษาผื่นกุหลาบ
การรักษาอาการผื่นกุหลาบ โดยปกติแล้วอาการผื่นกุหลาบมักที่จะหายไปเองภายใน 6 – 8 สัปดาห์ การรักษาจึงต้องเป็นแบบการประคับประคองตามอาการเป็นหลัก แต่หากว่าอาการคงอยู่เป็นเวลานานมากกว่า 3 เดือน ควรจะรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน วิธีบรรเทาอาการผื่นกุหลาบด้วยตนเองในเบื้องต้น มีดังนี้
- ควรเลือกใช้สบู่ที่มีความอ่อนโยนต่อผิว และไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมใด ๆ
- อาบน้ำด้วยน้ำเย็น และควรที่จะหลีกเลี่ยงการอาบน้ำด้วยน้ำร้อน
- ควรที่จะหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน เพราะสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และการมีเหงื่อไหลออกมามาก ๆ อาจจะทำให้อาการมีความรุนแรงมากขึ้น
- ขัดผิวขณะอาบน้ำด้วยข้าวโอ๊ต หรือผลิตภัณฑ์จากข้าวโอ๊ต
นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่มีอาการผื่นกุหลาบอาจจะใช้ยาตามร้านขายยาทั่วไป เพื่อที่จะช่วยบรรเทาอาการคันได้ ได้แก่
- ยาต้านฮิสตามีนหรือยาแก้แพ้ เช่น ยาคลอเฟนิรามีน ยาไดเฟนไฮดรามีน เป็นต้น
- ครีมแก้คัน ทาครีมที่มีส่วนผสมของยาไฮโดรคอร์ติโซน 1 เปอร์เซ็นต์ บริเวณที่เป็นผื่น
- โลชั่นบำรุงผิว เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวบริเวณที่เกิดผื่น
- ยารักษาการติดเชื้อรา เช่น อะไซโคลเวียร์ เป็นต้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ยารักษาโรคเก๊าท์ 10 วิธีบรรเทาอาการโรคเก๊าท์ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
อหิวาตกโรค แบคทีเรียตัวร้ายที่ไม่ใช่ แค่อาการท้องเสีย เช็คอาการ และวิธีรักษา
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทุกเรื่องควรรู้เกี่ยว กับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : mayoclinic , pobpad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!