ช่วงปลายปี น่าจะมีคุณแม่หลาย ๆ คนกำลังเตรียมคลอดน้อง ๆ กันอยู่ วันนี้ theAsianparent Thailand ได้รวบรวมค่าทำคลอดจากโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพฯ มาฝาก เพื่อช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจเลือกโรงพยาบาลที่เหมาะสมกับตนเองและลูก จะมีโรงพยาบาลไหนบ้าง มาดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
โรงพยาบาลเอกชนแต่ละที่ มีค่าทำคลอดและเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ดังนี้
|
ชื่อโรงพยาบาล |
ค่าคลอดปกติ |
ค่าผ่าคลอด |
โรงพยาบาลพระรามเก้า |
ราคา 65,000 บาท (2 คืน) |
– Gold Package ราคา 85,000 บาท (3 คืน)
– Gold Plus Package ราคา 99,000 บาท (3 คืน)
– Premium Package ราคา 149,000 บาท (5 คืน) |
|
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ |
50,000 บาท (3 วัน 2 คืน) |
– เลือกผ่าตัดคลอดเอง 77,000 บาท
(4 วัน 3 คืน)
– ผ่าตัดคลอดเพราะคลอดเองไม่ได้ 78,000 บาท (4 วัน 3 คืน) |
|
โรงพยาบาลบีเอ็นเอช |
– 80,000 บาท (ทั่วไป)
– 100,000 บาท (กรณีใช้ยาระงับปวดทางไขสันหลัง ) |
88,000 บาท |
|
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ |
– 98,000 บาท (ทั่วไป)
– 119,800 บาท (กรณีฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ) |
129,000 บาท |
|
โรงพยาบาลกรุงเทพ |
82,500 บาท |
– 115,500 บาท (ทั่วไป)
– 181,500 บาท (ผ่าตัดครรภ์แฝด) |
|
โรงพยาบาลพญาไท |
60,000 บาท (3 วัน 2 คืน) |
– 82,000 บาท (4 วัน 3 คืน)
– 104,000 บาท (ผ่าตัดครรภ์แฝด นอน 4 วัน 3 คืน) |
|
โรงพยาบาลสมิติเวช |
89,900 บาท (3 วัน) |
– 119,000 บาท (4 วัน) |
|
โรงพยาบาลลาดพร้าว |
– 29,900 บาท (ไม่รวมค่าฝากครรภ์ )
– 34,900 บาท (รวมค่าฝากครรภ์) |
– 42,900 บาท (ไม่รวมค่าฝากครรภ์)
– 47,900 บาท (รวมค่าฝากครรภ์ ) |
|
โรงพยาบาลวิภาวดี |
46,900 บาท |
62,900 บาท |
|
โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ |
35,000 บาท |
51,000 บาท |
|
โรงพยาบาลนครธน |
42,900 – 69,900 บาท |
62,900 – 89,900 บาท |
|
โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน |
58,000 บาท |
82,000 บาท |
|
โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท |
23,000 บาท |
35,500 บาท |
|
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์บางแค |
32,500 บาท |
48,000 บาท |
|
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น |
32,500 บาท |
47,500 บาท |
|
โรงพยาบาลเทพธารินทร์ |
49,000 บาท |
69,000 บาท |
|
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ |
44,900 บาท |
68,900 บาท |
|
โรงพยาบาลนนทเวช |
42,000 บาท |
59,000 บาท |
|
โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 |
25,900 บาท |
35,900 บาท |
|
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 |
39,000 บาท |
55,000 บาท |
|
โรงพยาบาลบีแคร์ |
37,900 บาท |
49,900 บาท |
|
โรงพยาบาลปิยะเวท |
35,900 บาท |
49,900 บาท |
|
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน |
45,000 บาท |
61,000 บาท |
|
โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี |
50,000 บาท |
62,000 บาท |
|
โรงพยาบาลสินแพทย์ |
35,000 บาท |
47,000 บาท |
|
โรงพยาบาลเสรีรักษ์ |
32,000 บาท |
44,000 บาท |
|
โรงพยาบาลมิชชั่น |
34,000 บาท |
45,000 บาท |
|
โรงพยาบาลยันฮี |
33,000 บาท |
45,000 บาท |
|
โรงพยาบาลรามคำแหง |
36,000 บาท |
48,000 บาท |
|
|
|
หมายเหตุ :
1. ราคาคลอดของแต่ละโรคพยาบาล อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่แจ้งให้ทางครอบครัวทราบล่วงหน้า
2. ราคาข้างต้น เป็นราคาเริ่มต้นของเคสปกติ ที่คุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างครรภ์แฝด ความดันโลหิตสูง หรือคลอดก่อนกำหนด หากต้องพักโรงพยาบาลนานกว่าปกติ อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม
รวมแพคเกจคลอด ปี 2564 ก่อนเดินทางมาโรงพยาบาล คุณแม่จะต้องงดน้ำ งดอาหาร (ภาพโดย valeria_aksakova จาก freepik.com)
ก่อนคลอด คุณแม่ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง
หลังจากที่ดูค่าทำคลอดของแต่ละโรงพยาบาลเสร็จแล้ว เรามาดูกันว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวในการคลอดยังไงบ้าง เพราะช่วงเวลาแห่งการคลอดลูก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญของคุณแม่หลาย ๆ คน เป็นทั้งช่วงเวลาที่ได้ให้กำเนิดลูกน้อย แถมยังเป็นช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย หากเตรียมตัวคลอดดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ และช่วยให้การคลอดได้ง่ายยิ่งขึ้น
โดยปกติแล้ว คุณหมอและพยาบาล จะแนะนำให้คุณแม่อาบน้ำ สระผมให้สะอาด รวมทั้งให้งดน้ำและอาหาร ก่อนที่จะเดินทางมาคลอดที่โรงพยาบาล และเมื่อมาถึงห้องคลอด แพทย์ก็จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจภายใน เพื่อดูว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้วจริงหรือไม่ นอกจากนี้ อาจจะต้องมีการสวนทวาร โกนขนทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดและฝีเย็บ หรือให้น้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อเตรียมคลอด
ซึ่งในช่วงที่คุณแม่นอนรอในห้องรอคลอด คุณหมอหรือพยาบาลจะแวะเวียนมาตรวจภายในทุก ๆ 2-4 ชั่วโมง และจะตรวจเสียงหัวใจของเด็กเป็นช่วง ๆ ซึ่งระยะเวลารอคลอด จะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ท่านอนของเด็กทารก การหดตัวของมดลูก และขนาดตัวทารก เป็นต้น ซึ่งหากปากมดลูกคุณแม่เปิดได้ที่ คุณหมอก็จะย้ายคุณแม่ไปยังห้องคลอด เพื่อเตรียมคลอดบุตรเป็นลำดับถัดไป
รวมแพคเกจคลอด ปี 2564 เมื่อใกล้คลอด คุณแม่อาจมีน้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอด
สังเกตอาการใกล้คลอด
คุณแม่สามารถสังเกตอาการใกล้คลอดของตนเองได้ไม่ยาก อาการหลัก ๆ จะมีอยู่ 3 อาการ ดังนี้
- อาการปวดครรภ์ คุณแม่สามารถสังเกตอาการมดลูกหดตัวของตัวเองได้ โดยการนอนหงายหรือนั่งในท่าที่สบาย ๆ และค่อย ๆ เอามือมาจับบริเวณมดลูกเบาๆ สังเกตดูการบีบรัด ซึ่งจะเกิดเป็นจังหวะสม่ำเสมอทุก ๆ 5- 8 นาที มดลูกจะทั้งบีบรัดและคลายตัวสลับกันไป โดยในระยะแรก คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกปวดครรภ์ แต่จะรู้สึกอึดอัดหรือจุกแน่นที่ลิ้นปี่
- มีมูกเลือด เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะขยายตัวมากข้ึน ซึ่งจะทำให้มูกจากปากมดลูก ไหลออกมาปนกับเลือดทางช่องคลอดเล็กน้อย จนอาจเห็นเป็นรอยเปื้อนบนผ้าอนามัย ซึ่งเมื่อแพทย์ตรวจภายใน ก็จะสามารถคาดคะเนได้ว่าปากมดลูกเปิดมากน้อยแค่ไหน และคุณแม่พร้อมคลอดแล้วหรือยัง
- น้ำคร่ำเดิน ในบางกรณี คุณแม่อาจจะมีน้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอด ก่อนที่จะรู้สึกเจ็บท้อง หรือมีมูกปนเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งน้ำคร่ำนั้น จะมีลักษณะเป็นน้ำใส ไม่มีกลิ่นและสี และจะไหลออกมาจากช่องคลอดเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะเวลาคุณแม่ไอ จาม หรือเบ่งอุจจาระ
ในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหมั่นดูแลตัวเองให้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้เด็กที่เกิดมามีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และลืมตาดูโลกได้อย่างมีความสุข
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เตรียมพร้อมสำหรับคลอดลูกที่โรงพยาบาล จัดของเตรียมคลอด ให้ครบจบในกระเป๋าใบเดียว
ท่ายืดกล้ามเนื้อเตรียมคลอด คนท้องเตรียมฝึกเอาไว้ จะได้คลอดลูกง่ายขึ้น
จัดกระเป๋าเตรียมคลอด ในงบ 5000++ บาท ของใช้สำหรับเด็กแรกเกิด มีอะไรบ้าง
ที่มา : 1
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!