X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ คืออะไร จำเป็นต่อแม่ท้องมากน้อยแค่ไหน ?

บทความ 5 นาที
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ คืออะไร จำเป็นต่อแม่ท้องมากน้อยแค่ไหน ?

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับแม่ท้องก็คือ การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ เพื่อยืนยันว่าทารกในครรภ์นั้นปลอดภัย ไม่ได้มีภาวะคับขันอะไร เพราะบางครั้งอาจจะมีปัญหาหรือความผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะเบาหวาน มีการตกเลือดก่อนคลอด รวมไปจนถึงความรู้ที่สัมผัสได้ว่าลูกน้อยดิ้นน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังอยู่ตลอดเพื่อติดตามสุขภาพของทารก เพื่อลดการเกิดปัญหาเฉียบพลันที่สามารถส่งผลกระทบให้กับทารกได้ทุกเมื่อค่ะ

 

การเคลื่อนไหวของ ทารกในครรภ์

การเคลื่อนไหวของทารกจะเปลี่ยนไปตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ ซึ่งจะเริ่มเคลื่อนไหวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7 สัปดาห์ และเมื่อถึงช่วง 8-10 สัปดาห์ ทารกก็จะเริ่มมีความเคลื่อนไหวแบบบิดตัวไปมา สามารถงอและเหยียดตัวได้ ส่วนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์จะเริ่มมีการเคลื่อนไหวของ แขน ขา และลำตัวที่ชัดเจนมากขึ้น และในช่วง 18-20 สัปดาห์ขึ้นไป การเคลื่อนไหวของทารกจะเป็นช่วงที่เคลื่อนไหวมากหรือน้อยไปเลย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการ การสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมของทารกในครรภ์ด้วยค่ะ

 

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์

 

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ ระยะก่อนคลอดแบบเบื้องต้น

1. การนับลูกดิ้น

การที่คุณแม่รู้สึกได้ว่าลูกกำลังดิ้นนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ค่อนข้างเก่าแก่อยู่เหมือนกัน แต่ก็บอกได้ถึงสุขภาพของทารกได้ครรภ์ได้ เพราะคุณแม่จะรับรู้ได้ก็ต่อเมื่อลูกดิ้นหรือลูกน้อยมีการเคลื่อนไหว ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 และจะเริ่มรู้สึกชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในไตรมาสที่ 3 ดังนั้น ถ้าจะมีปัญหาแบบเฉียบพลันคนที่จะได้รับรู้ก่อนก็คือคุณแม่นั่นเองค่ะ โดยอาศัยวิธีการนับลูกดิ้น จึงทำให้คุณแม่เล็งเห็นถึงความใส่ใจต่อการนับลูกดิ้นอย่างถูกวิธี และเมื่อไรก็ตามที่ลูกในท้องไม่ดิ้น ส่วนใหญ่ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์แล้ว ดังนั้น การนับลูกดิ้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับแม่ท้องทุก ๆ คน

สำหรับการรับรู้ลูกดิ้นจะเริ่มรู้สึกตอนอายุครรภ์ได้ประมาณ 18 -20 สัปดาห์ ในขณะเดียวกันครรภ์หลังจะรู้สึกเร็วขึ้น ประมาณ 16-20 สัปดาห์ เพราะว่าทารกจะเคลื่อนไหวเยอะขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 28-34 สัปดาห์ และหลังจากนี้จะค่อย ๆ ลดลง แต่ก็ยังเคลื่อนไหวอยู่โดยที่มารดาอาจไม่รู้สึกเลยก็ได้ พอครบกำหนดพบได้ถึงร้อยละ 40  ในทารกปกติอาจมีการเคลื่อนไหวได้ตั้งแต่ 4-100 ครั้งต่อชั่วโมง และทารกจะดิ้นมากในช่วงเย็นค่ะ

 

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์

 

2. การประเมินน้ำคร่ำ

การตรวจเช็กสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วยปริมาณน้ำคร่ำ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมนำมาใช้กันมากอยู่เหมือนกัน เพราะทำได้ง่ายมากจากการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ ซึ่งปริมาณน้ำคร่ำสัมพันธ์กับการเกิด uteroplacental insufficiency ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังไตลดน้อยลง การทำงานของไตลดลง ทำให้ปัสสาวะสร้างได้น้อยตามไปด้วย การประเมินปริมาณน้ำคร่ำจึงช่วยทำนายสุขภาพทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะภาวะทารกโตช้าในครรภ์ ซึ่งการวินิจฉัยน้ำคร่ำที่นิยมใช้จะมีด้วยกันอยู่  2 แบบ

  • วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ เป็นการตรวจหาตำแหน่งของแอ่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ไม่มีสายสะดือหรือตัวเด็กอยู่ โดยจะวัดในแนวดิ่ง และต้องมีที่ว่างในแนวนอนอย่างน้อย 1 ซม. และถ้ามีขนาด 2 ซม. หรือน้อยกว่า จะถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อยค่ะ ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่ายแต่ก็มีขีดจำกัดในการวัดเช่นกัน
  • วัดดัชนีปริมาณน้ำคร่ำ ค่านี้ได้จากค่าที่ได้จากการวัดแอ่งน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดจากการแบ่งหน้าท้องมารดาเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยอาศัยแนวของสะดือและ linear nigra ถ้าน้อยกว่า 5 ซม. ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย

 

3. Nonstress test (NST)

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยวิธีนี้จะอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ ด้วยการดู fetal heart rate variability เป็นการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติต่อสิ่งกระตุ้น ซึ่งมีการใช้มาก่อนในการตรวจสุขภาพทารกในระยะช่วงคลอด และต่อมาได้นำมาใช้ในระยะก่อนคลอด เพื่อตรวจด้วย electronic fetal monitoring ดู FHR pattern

 

การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์

 

การตรวจ สุขภาพของทารกในครรภ์ ในระยะก่อนคลอด

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยวิธี nonstress test, contraction stress test, biophysical profile หรือ modified biophysical profile.
  • คุณแม่สามารถเริ่มตรวจครรภ์ได้ตั้งแต่ 32 -34 สัปดาห์ ส่วนรายที่มีความเสี่ยงสูงบางกรณี สามารถเริ่มได้เร็วตั้งแต่ 26-28 สัปดาห์
  • คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายควรได้รับการตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและดุลยพินิจของแพทย์
  • หากผลตรวจออกมาผิดปกติ ควรได้รับการตรวจยืนยันสุขภาพทารกด้วย contraction stress test หรือ full biophysical profile
  • ถ้ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย ควรพิจารณาให้คลอดก่อนกำหนด หรือติดตามต่ออย่างใกล้ชิด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ด้วย
  • ในรายที่พบว่าทารกมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตในครรภ์ ควรพิจารณาให้คลอด
  • แม้ผลการตรวจติดตามสุขภาพทารกในระยะก่อนคลอดจะปกติ แต่ก็ยังจำเป็นต้องตรวจการเต้นของหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง

 

การตรวจ สุขภาพของทารกในครรภ์ ระยะคลอด

การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะคลอดที่มีความเสี่ยงสูง ยิ่งจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามสุขภาพของทารกอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังระยะคับขันที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเจ็บคลอด โดยให้มีการใช้ intrapartum electronic fetal monitoring (EFM) ซึ่งจะแปลผลตามคำแนะนำของ  American College of Obstetrics and Gynecology ที่มีแนวทางในการดูแลรักษาตามระบบการแปลผลของคุณแม่ตั้งครรภ์ค่ะ

 

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แน่นอนอยู่แล้วว่าการตรวจสุขภาพถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก และไม่ใช่แค่การตรวจร่างกายของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังเป็นการตรวจสุขภาพของทารกในท้องด้วยว่าเขายังอยู่ดีไหม การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นอย่างไร ดิ้นเร็วหรือช้าหรือเปล่า ซึ่งสามารถเริ่มเช็กได้ตั้งแต่ครรภ์อายุได้ 7 สัปดาห์จนถึงตอนคลอดเลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง? นัดตรวจครรภ์ทุกไตรมาส

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในครรภ์สมบูรณ์ ลูกในครรภ์ของคุณครบ 32 หรือเปล่า

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 53 การอัลตราซาวด์ ตรวจความผิดปกติได้หรือไม่

ที่มา : 1

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

supasini hangnak

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ คืออะไร จำเป็นต่อแม่ท้องมากน้อยแค่ไหน ?
แชร์ :
  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว