เชื้อราที่เล็บ เป็นเพราะอะไร ทำไมเล็บเท้าหรือเล็บมือของเรานั้นดูแปลกไป วันนี้ทางเราเลยหาคำตอบมาให้ สำหรับใครที่กำลังสงสัยอยู่ว่าเล็บเท้า เล็บมือของเรานั้นทำไมเป็นสีเหลือง หรือเป็นสีดำ แถมยังมีรูปร่างผิดปกติจากเล็บทั่วไปอีกด้วย มาดูกันเลยว่าเป็นเพราะอะไร
เชื้อราที่เล็บคืออะไร?
เชื้อราที่เล็บ คือ เป็นโรคที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป และยังสามารถติดต่อได้ผ่านทางการสัมผัส การเจริญเติบโตของเชื้อราที่เล็บนั้นสามารถที่จะเกิดได้ทั้งในเล็บมือ และเล็บเท้า แต่ส่วนใหญ่แล้วนั้นมักจะเกิดขึ้นที่เล็บเท้ามากกว่าเล็บมือ เนื่องจากมีความอบอุ่นและความชื้นจากการที่เราได้ใส่รองเท้า และนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้ อีกทั้งถ้าบริเวณนิ้วเท้ามีการหมุนเวียนของเลือดน้อยกว่าบริเวณนิ้วมือแล้วละก็ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เดินทางมากับเลือดตรวจจับและกำจัดเชื้อโรคได้ยาก
อาการช่วงแรก คือ พบจุดสีขาว หรือสีเหลืองบริเวณปลายเล็บ และหากเชื้อรานั้นเริ่มที่จะขยายตัวอาจจะทำให้เล็บนั้นมีความหนาขึ้น เล็บมีการเปลี่ยนสี เล็บแยกตัวออกจากฐานของตัวเล็บ ซึ่งอาจสังเกตเห็นเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : เชื้อราหน้าฝน มหันตภัยร้ายอันตรายต่อลูก
เชื้อราที่เล็บเท้าพบได้บ่อยแค่ไหน?
การเป็นเชื้อราที่เล็บเท้าเป็นเรื่องที่ปกติมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากขึ้น ทางด้านผู้เชี่ยวชาญได้มีการประเมินมาว่า โรคเชื้อราที่เล็บนั้นมีผลต่อ 1 ใน 10 คนโดยรวม ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 2 (50%) สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี
เชื้อราที่เล็บเท้าเกิดจากอะไร?
เชื้อรา เป็นสิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็กที่มีชีวิตอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาแสงแดดใด ๆ เลย มักจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความอุ่น และมีความชื้น การมองเชื้อราด้วยตาเปล่าอาจจะมองเห็นได้ยาก เพราะขนาดของเชื้อรานั้นเล็กมาก และสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกายของคนได้ผ่านทางแผลขนาดเล็ก หรือร่องระหว่างเล็บและเนื้อเยื่อร่องเล็บ โดยมีปัจจัยหรือพฤติกรรมบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเชื้อราที่เล็บได้ ดังนี้
- มีแผลบริเวณเล็บนิ้วมือ เล็บนิ้วเท้า
- สวมรองเท้าที่มีความคับ หรือมีความอับชื้น
- ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะซึ่งชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ บริเวณน้ำขัง เดินลุยน้ำที่ไม่สะอาด
- เชื้อราในเล็บเท้าอาจติดต่อไปยังเล็บมือได้ หากผู้ป่วยใช้มือเกาหรือสัมผัสกับเท้าบริเวณที่เป็นโรค
- เป็นโรคเฉพาะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
เชื้อราที่เล็บเท้าสามารถแพร่เชื้อราให้กับผู้อื่นได้หรือไม่?
เชื้อราที่เล็บเท้านั้นมีหลากหลายชนิดที่สามารถเป็นโรคติดต่อได้ ผู้ที่เป็นเชื้อราที่เล็บสามารถแพร่เชื้อราให้กับผู้อื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง
บทความที่เกี่ยวข้อง : เชื้อราในช่องคลอด อันตรายกับลูกในท้องไหม มีวิธีรักษาอย่างไร
อาการของเชื้อราที่เล็บเป็นอย่างไร?
- เล็บเปลี่ยนสี เล็บของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนเป็นสีดำ สีขาว สีเหลือง หรือสีเขียว
- เล็บหนาขึ้นหรือผิดรูป เล็บของผู้ป่วยอาจมีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งทำให้ยากต่อการตัดแต่ง
- มีอาการเจ็บที่เล็บ โดยเฉพาะเมื่อกดลงไปแรง ๆ บริเวณเล็บที่ติดเชื้อรา
- เล็บเปราะ เล็บที่ติดเชื้อราจะเปราะและแตกหักง่าย
- คันผิวหนังบริเวณเล็บ ในบางครั้ง ผิวหนังบริเวณเล็บที่ติดเชื้อราอาจเกิดอาการคัน บวม หรือแดง
การรักษาเชื้อราที่เล็บ
เชื้อราที่เล็บนั้นค่อนข้างที่จะรักษายาก อาจจะต้องใช้เวลารักษาเชื้อราที่เล็บนั้นเป็นเวลานานหลายเดือนเพื่อที่จะกำจัดเชื้อรา และการรักษาบางครั้งก็ไม่สามารถที่ช่วยให้เชื้อรานั้นหายไปได้ทั้งหมด หรือทำให้เล็บที่เป็นเชื้อรากลับมามีลักษณะแบบเดิมได้ อีกทั้งเชื้อรานั้นยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นได้อีกครั้ง
การรักษาเชื้อราที่เล็บ ได้แก่
- การรับประทานยาต้านเชื้อรา โดยส่วนใหญ่แล้วอาจต้องรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งยาต้านเชื้อราเหล่านี้อาจส่งผลข้างเคียง อย่างเช่น ทำให้มีอาการปวดหัว รู้สึกคัน ความสามารถในการรับรสลดลง ท้องร่วง ดังนั้นยาต้านเชื้อราที่ใช้ในการรับประทาน จึงไม่เหมาะสำหรับทุกคน ก่อนที่จะรับประทานควรปรึกษาทางแพทย์ก่อน
- การใช้ทายาเฉพาะที่ ผู้ที่เป็นเชื้อราที่เล็บนั้นจะได้รับยา ที่ใช้ทาสำหรับทาภายนอก ซึ่งยาแบบทานั้นจะมีอยู่หลายชนิดทั้งแบบที่เป็น ยาทาเคลือบเล็บ และสารละลาย ควรที่จะใช้ตามที่ทางแพทย์บอก
- การรักษาด้วยเลเซอร์ ผู้ที่เป็นเชื้อราที่เล็บจะถูกรักษาด้วยลำแสงเลเซอร์ และไฟพิเศษที่เล็บเท้าเพื่อที่จะรักษาเชื้อรา แต่อัตราการรักษาสำหรับการรักษาด้วยเลเซอร์ต่ำกว่าการไกล่เกลี่ยแบบรับประทานและแบบเฉพาะที่ ดังนั้นจึงมักไม่ใช้วิธีการรักษาขั้นแรกสำหรับเชื้อราที่เล็บ
จะป้องกันเชื้อราที่เล็บเท้าได้อย่างไร?
โดยทั่วไปสามารถป้องกันการติดเชื้อราที่เล็บได้ จากการลดปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดเชื้อราที่เล็บ ได้แก่
- หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ห้องพักในโรงแรม ห้องอาบน้ำสาธารณะ ห้องล็อกเกอร์ และสระว่ายน้ำ ควรที่จะสวมรองเท้าแตะในที่สาธารณะเหล่านี้
- ทำให้เท้าของคุณแห้ง อย่าลืมเช็ดเท้าให้แห้งหลังอาบน้ำ
- แช่เล็บเท้าในน้ำอุ่นก่อนตัด หรือจะตัดเล็บหลังอาบน้ำหรืออาบน้ำก็ได้
- สวมรองเท้าที่พอดีตัว ไม่ควรหลวมหรือแน่นเกินไปบริเวณนิ้วเท้า
- ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
- รักษามือและเท้าให้สะอาด และหลีกเลี่ยงการทำให้อับชื้น
- หากคุณมีสมาชิกในครอบครัวที่มีเชื้อราที่เท้าหรือเชื้อราที่เล็บ ไม่ควรใช้รองเท้าร่วมกัน หรือของต่าง ๆ ร่วมกัน
- ควรทำความสะอาดกรรไกรตัดเล็บ ก่อนที่จะใช้งาน
- หากเป็นโรคน้ำกัดเท้า ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา และป้องกันเชื้อราลุกลาม
- อย่าฉีกเล็บ หรือตัดเล็บในที่เสี่ยงเป็นเชื้อราที่เล็บ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตกขาว เชื้อราในช่องคลอด สีไหนอันตราย ลักษณะตกขาวแบบไหนที่ต้องไปหาหมอ
เมื่อเป็นเชื้อราที่เล็บสามารถเป็นภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง
ผู้ป่วยที่เป็นเชื้อราที่เล็บที่มีอาการรุนแรง แม้ว่าจะได้รับการรักษาจนเชื้อรานั้นหายไปหมดแล้วก็ตาม แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่เล็บอาจจะไม่สามารถกลับมาอยู่ในสภาพที่ปกติได้แล้ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยเชื้อราที่เล็บที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานซึ่งปกติการไหลเวียนเลือดและการรับรู้เส้นประสาทที่เท้ามักลดลง เชื้อราในเล็บเท้าอาจจะแพร่กระจาย และทำการก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงบริเวณเท้า และอวัยวะอื่น ๆ ได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ตั้งครรภ์เป็นเชื้อรา มีตกขาว คนท้องใช้ยาเหน็บได้ไหม? อันตรายหรือเปล่า?
ลิ้นเป็นฝ้าขาว ทารกลิ้นขาว ติดเชื้อราหรือไม่? ควรดูแล ลูกอย่างไร
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ระหว่างตั้งครรภ์ อะไรบ้าง ที่คนท้องไม่ควรกิน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Cleveland Clinic , pobpad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!