อาการ ลิ้นเป็นฝ้าขาว ในทารก ส่วนใหญ่พ่อแม่จะเข้าใจว่า เกิดจากการที่ลูกดื่มนมมากเกินไปแล้วทำความสะอาดลิ้นไม่หมด จริงๆ แล้ว ทารกลิ้นขาวอาจเกิดเชื้อราในช่องปากของเด็ก หากทำความสะอาดแล้วยังมีฝ้าขาวเกาะติดบนลิ้นนั่นหมายความว่า ลูกน้อยของคุณอาจมีเชื้อราในช่องปากได้
ลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือ ทารกลิ้นขาว มีสาเหตุมาจากอะไร?
ก่อนอื่น การที่ลิ้นของทารกมีคราบขาวเกาะติดหนาแน่น หรือที่พ่อแม่เรียกว่า ลิ้นเป็นฝ้าขาว ทำความสะอาดอย่างไรก็ไม่หาย ให้สันนิษฐานก่อนว่า ลูกอาจเป็นเชื้อราในช่องปาก ซึ่งเรียกเชื้อราประเภทนี้ว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) มักจะเกิดกับทารกที่มีอายุ 1 เดือน ซึ่งเชื้อราประเภทนี้ อาจไม่ใช่จากคราบนมเสมอไป แต่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ผลจากการใช้ยาบางชนิด หรือติดเชื้อจากคุณแม่ทางช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งถ้าหากมีคราบขาวเหล่านี้ในปริมาณน้อยก็ไม่มีผลอะไรค่ะเพราะนั่นคือเรื่องปกติตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็จะกลายเป็นปื้นหนา เป็นฝ้าขาวที่ลิ้นและทำให้ลูกไม่สบายตัว นี่อาจเป็นปัญหากับพัฒนาการของลูกได้ เพราะอาจจะทำให้ลูกน้อยมีอาการเจ็บในช่องปาก ดูดนมน้อยลง หรือทานอาหารน้อยลงได้
บทความที่เกี่ยวข้อง: Over Feeding กินนมเยอะเกินไป น้ำนมเยอะเกินไป น้ำนมน้อยเกินไป แบบไหนอันตราย?
ลิ้นเป็นฝ้าที่เกิดจากเชื้อรานั้น อันตรายหรือไม่
เชื้อรา สามารถซุกซ่อนอยู่ในร่างกายของคนเราได้ตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึงวัยชรา ขึ้นอยู่กับว่า เชื้อรานั้นจะเกิดปฏิกิริยากับร่างกายเมื่อใด ซึ่งการที่ลูกน้อยมีเชื้อราเกิดขึ้นในร่างกาย ไม่ใช่การเจ็บป่วย แต่เป็นการเสียสมดุลในร่างกายทางธรรมชาติ ไม่ส่งผลกระทบก่อเกิดโรคอันตรายร้ายแรงใดๆ สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือ หาก ลิ้นเป็นฝ้าขาว หนา จะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยคือ ลูกจะดูดนมน้อยลง เนื่องจากฝ้าขาวๆ ไปขัดขวางรสชาติและสร้างความรำคาญให้ลูกน้อยนั่นเอง นอกจากนี้ ลิ้นเป็นฝ้าขาวในเด็กโตยังเกิดได้จาก
- ลูกหยิบของสกปรกเข้าปาก
- ติดเชื้อจากเพื่อนที่เล่นด้วยกัน จากเพื่อนบ้านหรือที่โรงเรียนอนุบาล
- การใช้ของร่วมกับเด็กคนอื่นในที่โรงเรียน เช่น แก้วน้ำ ผ้าขนหนู หมอน ที่นอน เป็นต้น
- ลูกได้รับยาปฏิชีวนะจากการรักษาโรคบางอย่าง
บทความที่เกี่ยวข้อง: คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ
อาการเบื้องต้นของ ลิ้นเป็นฝ้าขาว ในทารกที่สังเกตได้
- ทารกจะมีฝ้าขาวบริเวณลิ้นและช่องปาก
- หากเป็นมากจะเป็นแผ่นหนา จนลูกรู้สึกรำคาญ งอแง ไม่ยอมดูดนม
- ถ้าส่งผลกระทบร้ายแรง เป็นแล้วไม่หาย จะทำให้ลูกไม่ยอมดูดนมจนน้ำหนักลดและเจ็บลิ้น
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอาการลิ้นเป็นฝ้าขาว
- คุณแม่สังเกตดูแล้วยังเป็นไม่มาก ให้ใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ หรือผ้าอ้อมนุ่มๆ ชุบน้ำอุ่น พันปลายนิ้วแล้วเช็ดลิ้นลูกอย่างเบามือ ฝ้าเหล่านั้นะหายไป ซึ่งฝ้านี้อาจเกิดจากน้ำนมทั่วไป ไม่เป็นอันตรายมาก
- การทำความลิ้นลูกในเบื้องต้นนั้น ควรทำวันละ 2 ครั้งหลังดูดนม ไม่ควรทำน้อยหรือมากกว่านั้น เพราะอาจส่งผลกระทบต่อช่องปากอันบอบบางของลูกน้อยได้
- ถ้าหากคุณแม่เริ่มเห็นว่าลิ้นลูกเริ่มเป็นฝ้าขาว ควรรีบทำความสะอาดทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้จนหนา เพราะอาจจะทำให้ทำความสะอาดได้ยากค่ะ
การดูแลช่องปากของลูกเพื่อไม่ให้ลุกลาม
จากการดูแลเบื้องต้นที่อาจทำบางครั้ง เนื่องจากลิ้นเป็นฝ้าขาวยังมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากพบว่า ทารกลิ้นขาว สม่ำเสมอแต่ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ดังนั้นคุณแม่ควรหันมาใส่ใจในชีวิตประจำวันเล็กน้อยๆ ดังนี้
1. ผ้าอ้อมต้องสะอาด
คุณแม่ต้องเตรียมผ้าอ้อมที่สะอาดไว้เสมอ อย่าใช้ซ้ำและแยกประเภท เช่น ใช้เช็ดอึ เช็ดฉี่ ก็แยกกับผ้าอ้อมที่ใช้เช็ดตามใบหน้าของทารก
2. เรื่องของ นม
หากคุณแม่ให้ลูกดื่มนมชง (หลัง 6 เดือนไปแล้ว) คุณแม่ต้องเตรียมน้ำต้มสุกไว้เสมอ เพื่อให้ลูกดื่มหลังดื่มนมชง แต่อย่าให้ลูกดื่มมาก ประมาณ 120 มิลลิลิตรต่อวันก็เพียงพอ หลังจากนั้น ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่น เช็ดลิ้นเบาๆ
3. เรื่องของ หัวนมและเต้านม
เพื่อป้องกันการเกิดลิ้นเป็นฝ้าขาวในทารกแรกเกิด คุณแม่ควรทำความสะอาดหัวนมตนเองสม่ำเสมอ ก่อนให้ลูกดูด และหลังลูกเข้าเต้า หากลูกอายุ 6 เดือนไปแล้ว ดื่มนมชง ก็ให้ทำความสะอาดหัวนมยางสม่ำเสมอ เก็บไว้ในที่สะอาดมีฝาครอบเรียบร้อย
4. เรื่องของ ขวดนม
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ขวดนมและเครื่องใช้ต่างๆ ของทารกนั้นต้องสะอาดที่สุด คุณแม่จึงมักมีเครื่องนึงขวดนมไว้ติดบ้าน แต่หากคุณแม่ท่านไหนไม่มี ก็ให้ล้างขวดนมให้สะอาด และนำไปต้มในน้ำร้อนประมาณ 20 นาที ก่อนน้ำมาใส่น้ำนมให้ลูก
5. ของเล่นลูก
นอกจากข้าวของเครื่องใช้ใส่อาหารและนมที่ต้องดูแลเป็นพิเศษแล้ว อย่าลืมว่า ของเล่นต่างๆ เด็กมักจะหยิบเข้าปากโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น คุณแม่ควรหมั่นเช็ดของเล่นของลูกเสมอ และเก็บให้เรียบร้อย ถึงไม่ค่อยได้เล่น ก็ควรนำมาเช็ดบ่อยๆ เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่า ของเล่นบางอย่างมีเชื้อราหรือแบคทีเรียซ่อนอยู่หรือไม่
เมื่อดูแลอย่างดีแล้ว หากพบว่า ทารกน้อยยังมีลิ้นขาว ลิ้นเป็นฝ้าหนา เบื่ออาหาร งอแง ทำความสะอาดอย่างไรก็ไม่หาย ต้องรีบไปลูกไปพบแพทย์เพื่อป้องกันผลกระทบอื่นๆ ตามมาค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง: ลูกผิวแห้งมาก ลอกมาก มีวิธีดูแลอย่างไร
ภาวะแทรกซ้อนลิ้นเป็นฝ้าในเด็กโต
แม้ว่าอาการลิ้นเป็นฝ้าจะไม่น่ากลัว เพราะเป็นภาวะติดเชื้อในช่องปากที่สามารถหายเองได้ หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันและเกิดความสมดุล แต่หากเป็นไม่หาย เช่น ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ อาจเกิดจากโรคบางชนิด เช่น ลิ้นลายแผนที่คืออาการที่ปุ่มรับรสหายไปเหลือเพียงลิ้นราบเรียบ และโรคไลเคนพลานัส (Oral Lichen Planus) เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้ม เกิดความแสบร้อนในช่องปาก ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้
- เกิดเชื้อราซ้ำซาก หมายถึง เป็นแล้วเป็นอีก ลิ้นเป็นฝ้าอยู่เสมอๆ นั่นหมายความว่า ภูมิคุ้มกันในร่างกายค่อนข้างต่ำ และเชื้อรามีการกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หลอดอาหาร จึงทำให้รับประทานอาหารไม่ร่อย รู้สึกไม่สบายตัว เจ็บลิ้น หากเชื้อรากระจายไปที่ปอดหรือกระแสเลือด อาจทำให้ลำไส้ติดเชื้อและได้รับสารอาหารจากการบริโภคไม่เพียงพอ
- เกิดโรคฝ้าขาว (Leukoplakia) สืบเนื่องจาก ลิ้นเป้นฝ้าขาวเรื้อรัง อาจทำให้ผู้ป่วยอาหารหนักถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งในช่องปากหรือโรคมะเร็งที่ลิ้น ยากต่อการรักษา
- อาจนำไปสู่การเกิดโรคซิฟิลิส (Syphilis) ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ป่วยเรื้อรังเช่นกัน หากไม่รับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกวิธีเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ และเกิดอันตรายต่อระบบประสาท
- หนักไปกว่านั้น หากเป็นมะเร็งที่ลิ้น มะเร็งช่องปาก สามารถลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ ของร่างกายเช่น ปอด หัวใจ กระเพาะอาหาร และลุกลามไปสู่ระบบประสาทและสมองได้
แม้ทารกแรกเกิดมีอาการลิ้นเป็นฝ้าขาว จากการติดเชื้อจากมารดา แต่สามารถหายได้เองเมื่อมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ควรดูแลความสะอาดของลูกน้อยทุกขั้นตอนอย่างที่ได้กล่าวไป เพื่อสุขอนามัยที่ดี ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ด้วยค่ะ
บทความที่น่าสนใจ:
ปานทารก แบบไหนอันตราย หรือขยายตามตัวลูก
ลูกน้อย คางสั่น อาการนี้ถือว่าผิดปกติหรือไม่ เป็นอันตรายหรือเปล่า
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ในทารกแรกเกิด อันตรายหรือไม่? เกิดขึ้นได้อย่างไร?
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับลูกลิ้นเป็นฝ้าขาว ได้ที่นี่!
ลิ้นเป็นฝ้าขาว ลูกลิ้นเป็นฝ้า เกิดจากอะไรคะ อันตรายไหมคะ
ที่มา: Pobpad, TrueID
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!