ปรากฏการณ์ คลอดลูกแฝด 9 คน ชาย 5 หญิง 4 ของคุณแม่ชาวมาลี ในประเทศแอฟริกาตะวันตก ที่มีการรายงานข่าวดังไปทั่วโลก โดย สำนักข่าว BCC ได้รายงานข่าว เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 เกี่ยวกับคุณแม่ชาวมาลี ชื่อ Halima Cissé ที่ได้คลอดลูกแฝด 9 คน ในวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น โดยเธอได้คลอดทารกเพศชายจำนวน 5 คน และเพศหญิงจำนวน 4 คน ซึ่งในตอนแรกที่เธอได้พบกับแพทย์ และทำการอัลตร้าซาวด์ พวกเขาได้รับแจ้งว่ามีทารกอยู่ในครรภ์เพียง 7 คนเท่านั้น
คุณแม่ชาวมาลี ชื่อ Halima Cissé ที่ได้คลอดลูกแฝด 9 คน (ภาพโดย BBC.com)
โดยในช่วง 25 สัปดาห์แรก เธอได้เข้ารับการรักษา และปรึกษาสูตินรีแพทย์ เพื่อหาทางออกของการตั้งครรภ์ที่มีทารกจำนวนมากของเธอ แพทย์แนะนำให้เธอรอจนกว่าเธอจะมีอายุครรภ์ถึง 30 สัปดาห์ ซึ่งทำให้เธอจะต้องอยู่โรงพยาบาลท้องที่ไปจนกว่าจะย้ายไปที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ เธอพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลในบามาโก (Mamako) เมืองหลวงของมาลี เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และในอีก 2 สัปดาห์เธอได้ถูกส่งตัวมาไปโมร็อกโก ข่าวของเธอถูกแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนต่างแสดงความยินดีให้กับเธอที่ได้ตั้งครรภ์ทารกจำนวนมาก โดยเชื่อว่านี่เป็นของขวัญจากพระเจ้าที่ประทานให้กับพวกเขา ขณะที่เธอถูกส่งตัวไปยังโมร็อกโก สามีของเธอ Adjudant Kader Arby ไม่ได้เดินทางไปด้วย แต่เขาอยู่กับลูกสาวคนโตอยู่ที่บ้านเพื่อรอฟังผลแทน ซึ่งแน่นอนว่าเขาได้ติดต่อกับ Halima Cissé ตลอดเวลา เพราะความเป็นห่วง
การผ่าคลอดทารกที่โมร็อกโก แม่ชาวมาลี คลอดลูกแฝด 9 (ภาพโดย BBC.com)
และความน่ายินดีก็มาถึง เธอได้เข้าทำการผ่าคลอดทารกที่โมร็อกโก โดยการผ่าตัดนั้นใช้แพทย์มากถึง 10 คน และผู้ช่วยแพทย์อีก 25 คน และเป็นที่น่าตกใจอีกครั้งเมื่อการผ่าคลอดพบว่าเธอมีทารกในครรภ์ถึง 9 คน ซึ่งเพิ่มจากจำนวนที่สูตินรีแพทย์คาดการณ์ไว้ในตอนแรก ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของคลินิก Ain Borja ในคาซาบลังกล่าวว่าการผ่าคลอดครั้งนี้หายาก และพิเศษมาก โดยทารกได้ถูกผ่าคลอดออกมาก่อนกำหนดทำให้พวกเขามีน้ำหนักประมาณ 1-2 ปอนด์ หรือประมาณ 0.45-0.91 กิโลกรัมต่อคน และจะถูกใส่ไว้ในตู้อบต่ออีกเป็นเวลา 2-3 เดือนเพราะว่าในช่วงนี้ปอดของพวกเขายังไม่ได้มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ผ่าคลอดท้องแรก แต่คลอดธรรมชาติท้องสอง ทำได้หรือ?
สาเหตุที่ทำให้เกิดการ คลอดลูกแฝด
นักข่าวด้านสุขภาพของ BBC ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ของ Halima Cissé ว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติเป็นอย่างมาก และเป็นไปได้ยากที่จะมีการตั้งครรภ์เองโดยธรรมชาติ ซึ่งมักมีผลมาจากการรักษาภาวะเจริญครรภ์ หรือการควบคุมการกำเนิด แต่สูตินรีแพทย์ Bill Kalumi จาก Kenya’s Kenyatta National Hospital ได้กล่าวว่าสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปแล้วการคุมกำเนิดในผู้หญิงชาวแอฟริกานั้นจะต้องมักใช้ยาคุมในการคุมกำเนิด และเมื่ออยากมีบุตรพวกเขาจะหยุดใช้ยา ซึ่งผลสำรวจโดยส่วนใหญ่พบว่าพวกเขาต้องใช้ระยะเวลานานกว่าผู้หญิงทั่วไปกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติที่พร้อมจะตั้งครรภ์อีกครั้ง ซึ่งส่งผลทำให้การตกไข่ของเขานั้นมีปริมาณที่มากกว่าปกติด้วยเช่นกัน ดังนั้นในกรณีดังกล่าวหากเกิดขึ้นประเทศที่มีการทำแท้งถูกกฎหมาย แพทย์ก็จะแนะนำให้เธอยุติการตั้งครรภ์ในที่สุด เพราะการตั้งครรภ์ทารกที่มีจำนวนมากเป็นอันตรายทั้งแม่ และลูก
บทความที่น่าสนใจ : 10 ข้อดีของการมีลูกแฝด ลูกแฝดเจ๋งยังไง มาดูเหตุผลกันเถอะ
ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คน
การตั้งครรภ์ที่มีทารกมากกว่า 1 คนนั้นเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับคู่รักหลายคู่ที่ต้องการมีบุตรมากกว่า 1 คน แต่อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ในรูปแบบนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะแทรกซ้อน โดยอาการที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
- การคลอดกำหนด โดยเฉลี่ยแล้ว การคลอดลูกแฝด มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คน จะมีการคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37) ยิ่งจำนวนทารกในครรภ์มีมากเท่าไหร่ความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดนั้นยิ่งสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกาย และระบบภายในของทารกมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และมีน้ำหนักที่น้อยกว่าเกณฑ์มาก (น้อยกว่า 5 ปอนด์ หรือ 2.2 กิโลกรัม) โดยทารกที่คลอดออกมานั้นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ มีการทำให้ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลา และอยู่ในการดูแลของแพทย์ตลอดเวลาที่ศูนย์อภิบาลทารกแรกเกิด (NICU)
- Twin-to-twin transfusion syndrome (TTTS) เป็นภาวะของรกที่สามารถพัฒนาทำให้ทารกอยู่ในรกเดียวกันได้ ซึ่งจะมีเส้นเลือดเชื่อมต่อกันภายในรก ในกรณีที่มีทารกอยู่ร่วมรกเดียวกันเกิดขึ้นประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มากกว่า 1 คน ซึ่งในกรณีนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้สูงกว่าทารกที่ไม่ได้ใช้รกร่วมกัน เนื่องจากเส้นเลือดของทารกนั้นเชื่อมโยงกัน อาจทำให้คนใดคนหนึ่งได้รับปริมาณเลือดมากกว่าอีกหนึ่งคน ซึ่งส่งผลต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด
- ความดันโลหิตสูง คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คนนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าปกติ 2-5 เท่า ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะรกลอกตัวได้ หรือที่เรียกกันว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือภาวะโลหิตเป็นพิษ และอาจถึงขั้นรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วยอาการแทรกซ้อนอื่น จะต้องมีการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ และเร็วมากพอ
- โรคโลหิตจาง พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 อยู่แล้ว ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
- ทารกได้มีความผิดปกติ ทารกที่อยู่ในครรภ์ร่วมกับทารกอีกหลายคนในครรภ์ของคุณแม่ มีโอกาสสูงที่จะเกิดความผิดปกติทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของท่อสมอง (Spina Bifida) ระบบทางเดินหายใจ และหัวใจ
- การแท้ง จากการทดสอบสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คน จะมีการแท้งบุตร หรือยุติการตั้งครรภ์ในช่วงของไตรมาสแรก และถ้าหากไม่มีเลือดออกที่ช่องคลอด หรือไม่มีอาการในช่วงไตรมาสแรก ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสต่อ ๆ ไป โดยจะต้องระวังมากเป็นพิเศษ และอยู่ในการควบคุมของแพทย์ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดการยุติการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้
- ปริมาณน้ำคร่ำผิดปกติ ภาวะมีปริมาณของเหลวมากเกินไป (Polyhydramnios) หรือ มีปริมาณของเหลวน้อยเกินไป (Oligohydramnios) พบมากในครรภ์ที่มีทารกใช้รกร่วมกันมากกว่า 1 คน
- การคลอดลูกแฝดจำเป็นต้องผ่าคลอดเท่านั้น ด้วยตำแหน่งและทิศทางของทารกในครรภ์จึงไม่สามารถให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คนคลอดลูกได้เองโดยธรรมชาติ
- การตกเลือดหลังขณะคลอด หรือระหว่างคลอด มีสาเหตุมาจากรก และมดลูกขยายตัวมากเกินไป อาจทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดมากกว่าคุณแม่ที่คลอดลูก 1 คนมากกว่าหลายเท่า
น่าทึ่งมากเลยใช่ไหมคะสำหรับคุณแม่ชาวมาลีคนนี้ที่คลอดลูกแฝดได้ถึง 9 คนในครั้งเดียว แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้เธอก็ต้องผ่านอุปสรรคมาอย่างมากมาย เพราะนอกจากตัวเธอที่จะอ่อนแอลงแล้ว ลูกน้อยในครรภ์นั้นก็อาจได้รับผลกระทบ หรือภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลาด้วย อย่างไรก็ตามคุณแม่คนไหนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นแฝด หรือไม่แฝดเราก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่นะคะ หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้พร้อม ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อลูกน้อยของเรากัน
บทความที่น่าสนใจ :
เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร
ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อ การแท้งลูก แม่ท้องต้องรู้ก่อนสายเกินไป !
ที่มา : 1, 2, 3, 4
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!