X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกนอนกรนเสียงดัง ควรปรึกษาคุณหมอเมื่อใด?

บทความ 3 นาที
ลูกนอนกรนเสียงดัง ควรปรึกษาคุณหมอเมื่อใด?ลูกนอนกรนเสียงดัง ควรปรึกษาคุณหมอเมื่อใด?

คุณแม่ของน้องเอ็ม อายุ 5 ปี ปรึกษาหมอว่าลูกนอนกรนเสียงดังกว่าผู้ใหญ่ บางครั้งหายใจขัดมาก ๆ จนหยุดหายใจและสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ มีปัญหาง่วงมากตอนกลางวัน ผิดปกติหรือไม่ และควรต้องมาพบคุณหมอหรือไม่?

ลูกนอนกรนเสียงดัง

หมอแนะนำว่าสิ่งที่ต้องควรระวังมากที่สุดคือ การนอนกรนของน้องเอ็มอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น” หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “obstructive sleep apnea” ซึ่งควรมาพบคุณหมอค่ะ เพราะอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ เรามาทำความรู้จักกับภาวะนี้กันดีกว่าค่ะ

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเกิดจากอะไรและมีอาการอะไรบ้าง?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ต้องหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อเอาชนะทางเดินหายใจที่ตีบแคบนั้น ทำให้เกิดอาการคือ นอนกรนบ่อย ๆ หายใจแรงมากกว่าปกติขณะหลับ หยุดหายใจแล้วหายใจเฮือกเป็นพัก ๆ ริมฝีปากเขียวคล้ำ ง่วงกลางวันเพราะนอนไม่พอ มีปัญหาพฤติกรรม เช่น สมาธิสั้น ซนผิดปกติ ผลการเรียนแย่ลง

 

หากลูกมีอาการดังกล่าวแล้วไปพบคุณหมอจะได้รับการตรวจเพิ่มเติมอะไรบ้าง?

คุณหมอจะสอบถามประวัติอาการ แล้วตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเช่น คางหรือเพดานปากมีรูปร่างผิดปกติ ต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โต เยื่อบุจมูกบวมอักเสบ น้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็กคือ จมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ และอ้วนนั่นเองค่ะ

นอกจากนี้คุณหมอจะประเมินการเจริญเติบโตและวัดความดันโลหิตเพื่อดูว่ามีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติและมีความดันโลหิตสูงหรือไม่ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย นอกจากนี้คุณหมออาจส่งตรวจเอกซเรย์ดูขนาดต่อมอะดีนอยด์ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และคุณหมออาจแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอนต่อไปค่ะ

 

การรักษาอาการนอนกรนจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นมีวิธีใดบ้าง?

การดูแลรักษาเบื้องต้นคุณหมอจะแนะนำให้ปรับสุขนิสัยการนอนค่ะ โดยเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักตัวในกรณีที่อ้วน และรักษาด้วยยาเสตียรอยด์พ่นจมูกและยากลุ่มรักษาอาการจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ หากมีการติดเชื้อในจมูกหรือไซนัสก็จะได้รับยาปฏิชีวนะด้วย แล้วคุณหมอจะนัดตรวจดูอาการอีกครั้ง หากไม่ดีขึ้นอาจปรึกษาคุณหมอหู คอ จมูก เพื่อพิจารณาผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ต่อไป ถ้าการรักษาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ผลคุณหมออาจแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยถ่างขยายทางเดินหายใจ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายต่อไปค่ะ

หากลูกนอนกรนและมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอนะคะ เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตและสติปัญญาของเด็กค่ะ แนะนำว่าก่อนไปพบคุณหมอคุณพ่อคุณแม่อาจถ่ายคลิปวีดีโอการนอนที่สงสัยว่าผิดปกติของลูก โดยถ่ายให้เห็นปาก จมูก และเห็นการเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้องในขณะกรน ไปให้คุณหมอดู จะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยมากค่ะ

ทารกนอนกรน น่ากังวลหรือไม่?

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกนอนกรนเสียงดัง ควรปรึกษาคุณหมอเมื่อใด?
แชร์ :
  • ก่อนรับพี่เลี้ยง ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อพิจารณาอะไรบ้าง?

    ก่อนรับพี่เลี้ยง ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อพิจารณาอะไรบ้าง?

  • ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

    ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

app info
get app banner
  • ก่อนรับพี่เลี้ยง ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อพิจารณาอะไรบ้าง?

    ก่อนรับพี่เลี้ยง ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อพิจารณาอะไรบ้าง?

  • ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

    ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ