ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ทำอย่างไรดี แม่ ๆ หลายคนกำลังประสบปัญหา ลูกตื่นกลางดึกบ่อย กันอยู่ใช่มั๊ยคะ วันนี้ TheAsianparent มีวิธีแก้ไขปัญหา พร้อมเทคนิคให้ลูกนอนยาวมาฝากค่ะ
ลูกตื่นกลางดึกบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร
ลูกตื่นกลางดึกบ่อย
คุณพ่อคุณแม่หลายคน คงเจอปัญหาลูกตื่นกลางดึกอยู่บ่อย ๆ หรือสะดุ้งตื่นมาร้องไห้กลางดึก ส่วนใหญ่มักพบตั้งแต่เด็กแรกเกิด – 2 ขวบ ซึ่งปกติแล้วทารกช่วงแรกช่วง 6 เดือนแรก มักตื่นบ่อยในตอนกลางคืน โดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 รอบต่อคืน สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกตื่น อาจมาจากยังไม่คุ้นชินบรรยากาศรอบตัว แต่เมื่อลูกโตขึ้นจนอายุประมาณ 7-8 เดือน อาการตื่นกลางดึกก็จะทุเลาลง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกตื่นแล้วร้องไห้ เกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง
แก้ไขปัญหา ลูกตื่นกลางดึกอย่างไรได้บ้าง
ลูกตื่นกลางดึกบ่อย
การที่คุณพ่อคุณแม่จะฝึกเจ้าตัวน้อยให้หลับสนิทได้ ควรเริ่มฝึกเมื่อตัวน้อยอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป เพราะในช่วงแรกเกิด-2 เดือนแรก ลูกยังไม่รู้จักเวลา หากแม่ ๆ คนไหนรู้สึกถึงความผิดปกติ อย่างเช่น ลูกไม่ยอมนอน ไม่ยอมกินนม ร้องไห้งอแงมากจนผิดปกติ คุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นอาการของโรคโคลิคได้
แก้ปัญหาลูกตื่นกลางดึกได้ ดังนี้
- สอนให้ลูกรู้จักกลางวัน – กลางคืน
คุณพ่อคุณแม่สามารถทำบรรยากาศในห้องให้แตกต่างกัน เช่น ในช่วงกลางวันอาจจะเปิดม่านให้แดดส่องเข้าถึง หรือเปิดไฟให้สว่าง ส่วนในช่วงกลางคืน ก็ทำบรรยากาศให้แตกต่างกัน ลดไฟให้สลัว ๆ บรรยากาศเงียบสงบ เมื่อทำเป็นประจำจะทำให้ลูกเริ่มแยกแยะเวลาได้
ในช่วงกลางคืน ควรปรับอุณหภูมิให้ไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไป 25-26 องศา เปิดไฟสลัว ๆ มีดนตรีกล่อมเบา ๆ เป็นเพลงช้าที่ฟังแล้วเพลินทำให้ง่วงนอนได้ง่ายขึ้น และคนในบ้านต้องเงียบด้วย
การที่เล่นกับลูกก่อนเข้านอน จะทำให้ลูกยิ่งตื่นเต้น ไม่ง่วง อยากเล่นต่อ และอาจจะทำให้ลูกละเมอร้องไห้ หรือตื่นตอนดึกได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพูดคุยหรือเล่นกับลูกก่อนเข้านอน แต่ถ้าจำเป็นต้องพูดคุยกับลูกก่อนนอน ควรใช้น้ำเสียงที่เบา และนุ่มนวล
- นอนเป็นเวลา และระยะเวลาที่เหมาะสม
การที่นอนตื่นสาย หรือนอนกลางวันเยอะ ทำให้ลูกไม่ง่วงนอนและส่งผลทำให้ลูกนอนดึก ควรให้ลูกตื่นเวลา 6-7 โมง และสิ่งสำคัญเวลาปลุกลูก ควรใช้เสียงที่นุ่มนวล ค่อย ๆ ปลุก หากปลุกกะทันหัน อาจส่งผลให้ลูกเครียดและหงุดหงิดได้ และเวลาลูกนอนกลางวันให้ลูกนอน วันละ 1 ครั้งก็เพียงพอ
คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกวินัย นอนและตื่น เวลาไหนเวลานั้น และคนในครอบครัวต้องทำเป็นแบบอย่างด้วยเช่นกัน หากคุณพ่อคุณแม่ทำเป็นประจำ ลูกก็จะค่อย ๆ ปรับตัวและเรียนรู้ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกตารางการนอน ของทารก ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ
หากลูกโตพอ ที่จะรู้เรื่องแล้ว อย่าขู่ให้ลูกกลัว เพราะนอกจากจะทำให้ลูกผวาระหว่างหลับแล้ว การนอนของลูกจะไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะจะรู้สึกไม่ผ่อนคลายเวลาที่หลับ หรือทำให้หลับไม่สนิท
- หากลูกหลับแล้วตื่นมาร้องไห้กลางดึก
ให้คุณพ่อคุณแม่แวะมาดูเป็นระยะ แต่ไม่แนะนำให้เปิดไฟในห้อง หรืออุ้มลูกออกจากเตียง ควรใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที เพื่อมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วปล่อยให้ลูกนอนหลับต่อ หากลูกมีอาการแบบนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่ทำแบบเดิมซ้ำ และรอดู 3-5 วัน ว่าการนอนของลูกเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่
- ก่อนนอนอย่าให้ลูกกิน หรือดื่มนมมากเกินไป
การที่ลูกกิน หรือดื่มนมมากเกินไป ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกตื่นนอน และถ้าลูกกินอิ่มมากเกินไปก็จะทำให้ลูกท้องอืด นอนหลับไม่สบายตัว สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป แนะนำให้กินไม่เกิน 8 ออนซ์ต่อคืน และสังเกตผ้าอ้อมของลูกว่าแฉะเกินไปหรือไม่ เพราะถ้าแฉะเกินไป จะทำให้ลูกตื่นนอนได้ง่าย ๆ
- สอนให้ลูกสวดมนต์ เมื่อลูกโตขึ้น
เมื่อลูกโตมากพอที่จะรู้เรื่องแล้ว อาจจะสอนลูกให้สวดมนต์ก่อนนอน เพื่อช่วยให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย วิธีนี้เป็นการฝึกให้ลูกมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น และทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น
ไม่รัดหรือแน่นจนเกินไป ระมัดระวังในการเลือกชุดที่ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ เพราะอาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว เกิดการระคายเคือง และส่งผลต่อการนอน ควรเลือกเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย จะสามารถช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวทารก
- เล่านิทานหรือร้องเพลงกล่อมก่อนนอน
เลือกใช้เพลงกล่อม ที่มีจังหวะซ้ำ ๆ ช้า ๆ ฟังสบายหู จะช่วยทำให้ลูกนอนหลับได้ง่ายขึ้น รวมถึงการใช้เสียง White Noise เช่น เสียงไดร์เป่าผม เสียงพัดลม เสียงฝนตก หรือเสียงการเต้นของหัวใจ เพราะเป็นเสียงที่ความสม่ำเสมอ จะช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ และช่วยสร้างบรรยากาศการนอนที่ดีให้กับทารก
- เลี่ยงการมองหรือจ้องตากัน
เมื่อส่งลูกเข้านอน ไม่ควรจ้องตากับลูก เพราะการจ้องตา เป็นการกระตุ้น ทำให้ลูกน้อยตื่นเต้นแทนการง่วงนอน
ที่ลูกตื่นกลางดึก เพราะเป็นโรคโคลิคหรือไม่
ลูกตื่นกลางดึกบ่อย
อาการโคลิค เป็นอาการที่ลูกร้องไห้หนักโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องไห้ ร้องในช่วงเวลาเดิม ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาเย็นหรือหัวค่ำ และร้องเสียงดัง แหลม นานกว่าปกติ โดยรวมจะร้องวันละ 3 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วัน หรือบางรายอาจจะนานกว่านั้น หากลูกมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้คุณแม่พาลูกไปปรึกษาแพทย์ทันที
แต่ถ้าลูกตื่นกลางดึกร้องไห้ แต่ร้องไม่นาน และสามารถใช้เวลาแป๊ปเดียวในการกล่อมลูก โอกาสที่จะเป็นโรคโคลิคนั้นน้อยมาก คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเมื่อลูกโตขึ้นอาการก็จะหายไปเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกร้องไห้ไม่หยุดรับมืออย่างไร ? ร้องไห้แบบไหนเข้าข่าย โคลิค
ที่มา : Pobpa,Synphaet,Paolohospital
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!