X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กินคีโตตอนท้อง กินคีโต มีผลดีหรือผลเสียต่อคุณแม่และลูกอย่างไร

บทความ 5 นาที
กินคีโตตอนท้อง กินคีโต มีผลดีหรือผลเสียต่อคุณแม่และลูกอย่างไร

กินคีโต ตอนท้อง กินได้ไหม

การกินคีโตเจนิค (Ketogenic Diet) คือ เทรนด์โภชนาการสำหรับคนลดน้ำหนักสุดฮิตของผู้หญิงหลายๆ คน ที่เชื่อว่ากินคีโตสามารถลดน้ำหนักได้ ทั้งนี้คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องมักตั้งคำถามว่า สามารถกินคีโตตอนท้องได้หรือไม่ หากคุณแม่อยากลดไขมันส่วนเกินไปด้วย การกินคีโตตอนท้อง กินคีโต แล้วจะส่งผลอันตรายต่อร่างกายคุณแม่และลูกอย่างไรบ้าง เพราะก่อนหน้านี้มีคุณแม่ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์เปิดเผยว่า เธอกินคีโตจึงสามารถตั้งครรภ์ได้จนเป็นที่เชื่อถือกันในต่างประเทศ อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น มาดูเรื่องการกินคีโตก่อนท้องและข้อควรระวังการกินคีโตตอนท้องกันดีกว่าค่ะ

กินคีโตตอนท้องมีผลดีหรือเสียอย่างไร 

การกินคีโตเจนิค ไดเอต คือ การกินอาหารที่เน้นไขมันสูง รองมาคือโปรตีน เพราะการกินคีโตคือการลดคาร์โบไฮเดรตให้เหลือในปริมาณที่น้อยมาก รวมถึงลดน้ำตาลน้อยลง กินคีโตคือการแทนที่อาหารที่เราลดด้วยไขมันทั้งจากพืชและสัตว์แทน กระบวนการกินคีโตแบบนี้อาจส่งผลดีต่อคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์และข้อควรระวังระหว่างตั้งครรภ์คือ … (ในการกินคีโต 2,000 แคลอรี่ต่อวันแต่ละมื้ออาจมี ไขมัน 165 กรัม คาร์โบไฮเดรต 40 กรัม โปรตีน 75 กรัม)

คนท้อง กินคีโต

กินคีโต

กินคีโตเพื่อเตรียมตัวตั้งครรภ์

มีการอ้างว่ากินคีโต สามารถช่วยให้ผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร เตรียมตัวตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้อาจไม่ใช่วิธีที่ควรทดลองในตคุณแม่ทุกคน แต่อาจเพราะการกินคีโตสามารถช่วยให้บางคนมีความสมดุลของน้ำหนักตัวได้ หากแพทย์เตือนว่าคุณต้องลดน้ำหนัก ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น การทำเช่นนั้นอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นว่ากินคีโตสามารถเพิ่มภาวะเจริญพันธุ์ได้ซึ่งมีข้อดีคือ ก่อนตั้งครรภ์เมื่อร่างกายจะเข้าสู่ Keto adapted (ใช้ไขมันเป็นพลังงานได้อย่างสมบูรณ์)

  1. ลดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Gestational hypertension)
  2. ลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus)
  3. ลดภาวะทารกตัวโต (Macrosomia)
  4. ลดภาวะทารกน้ำตาลในเลือดต่ำภายหลังการคลอด (Neonatal hypoglycemia)
  5. ลดสาเหตุการแท้งของทารกจากสภาวะทารกขาดออกซิเจน (Fetal hypoxia)

บทความที่เกี่ยวข้อง: อยากมีลูก – ควรและไม่ควรกินอาหารอะไรบ้าง?

ข้อควรระวังกินคีโตระหว่างตั้งครรภ์

และหากคุณกำลังพยายามตั้งครรภ์ การกินคีโตอาจทำให้วิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดหยุดชะงัก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นหนึ่งพบว่า การกินคีโตอาจทำให้ระดับสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญพันธุ์ลดลง ได้แก่ วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี โฟเลต ไอโอดีน ซีลีเนียม เหล็ก DHA และ

  1. กินคีโตระวังไขมันอิ่มตัวในโปรตีน เพราะอาหารคีโตส่วนใหญ่ไม่ได้แยกว่าโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพและโปรตีนที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อวัวและ เนื้อหมู ดังนั้นคนกินคีโตจึงกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้มากขึ้น เช่นเดียวกับเนยและไขมันสัตว์
  2. กินคีโตแล้วอาจลืมใส่ใจต่อไขมันดีที่ดีสำหรับทารกในครรภ์ เช่นไขมันจากพืชที่ดี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ อะโวคาโด้ หรือพวกธัญพืชต่างๆ รวมถึง คาร์โบไฮเดรตจากพืชอย่าง มันฝรั่ง มันญี่ปุ่น หัวเผือก ฟักทองเป็นต้น
  3. คุณแม่อาจติดกินคีโตอร่อยๆ อย่างอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน เป็นต้น

หากผู้ชายอยากกินคีโตเพื่อเตรียมตัวเป็นคุณพ่อ

เมื่อมีความเชื่อว่าการกินคีโตของผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ส่งผลอย่างไรไปแล้ว มาดูฝั่งผู้ชายกันบ้างว่าผู้ชายกินคีโตมีผลดีคือ ทำให้สเปิร์มเคลื่อนไหวได้ดี รูปร่างของสเปิร์มเป็นแบบว่ายน้ำได้ดี จำนวนสเปิร์มเพิ่มขึ้น จึงทำให้การคีโตได้รับความนิยมมากในการช่วยผู้มีบุตรยาก ถึงขนาดที่มีคลินิกที่เน้นกินคีโตเพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรร่วมกับกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์เในต่างประเทศ ถือเป็นอีกปัจจัยที่อาจช่วยให้มีบุตรง่ายขึ้น

  1. ลดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Gestational hypertension)
  2. ลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus)
  3. ลดภาวะทารกตัวโต (Macrosomia)
  4. ลดภาวะทารกน้ำตาลในเลือดต่ำภายหลังการคลอด (Neonatal hypoglycemia)
  5. ลดสาเหตุการแท้งของทารกจากสภาวะทารกขาดออกซิเจน (Fetal hypoxia)
อาหารคีโต

กินคีโต

 

แล้วการกินคีโตตอนท้องปลอดภัยหรือไม่

แน่นอนว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่ยังติดการกินคีโตหรือสนใจที่จะลดไขมันไปด้วย อาจมีความกังวลมากมายเกี่ยวกับอาหารคีโตเจนิกกับการตั้งครรภ์ อย่าลืมว่าการรับประทานอาหารแบบคีโต คือการเข้าสู่ภาวะคีโตซิส (Ketosis) ซึ่งก็คือเมื่อร่างกายไม่มีน้ำตาลกลูโคส (คาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง) เพียงพอสำหรับพลังงาน ดังนั้นจึงเผาผลาญไขมันแทน แต่ในช่วง3 เดือนแรกร่างกายของคนเราพยายามกักเก็บไขมันไว้เพื่อเป็นพลังงานที่จะใช้ในการตั้งครรภ์ในภายหลัง

การกินคีโตยังส่งผลให้เกิดการสะสมของคีโตน  ซึ่งสามารถข้ามผ่านไปยังรกได้อย่างอิสระ เป็นเรื่องปกติที่ร่างกายจะสร้างคีโตนในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าคีโตนจำนวนมากจะมีผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนาการเจริญเติบโต ซึ่ง “นายโฮวาร์ด เบอร์เกอร์” (Howard Berger) หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์และรองหัวหน้าสูติศาสตร์ของโรงพยาบาลเซนต์ไมเคิลในโตรอนโต สหรัฐอเมริกากล่าว  “สมองของทารกในครรภ์ต้องการน้ำตาลกลูโคสเพื่อการทำงานและการบังคับให้สมองที่กำลังพัฒนาเปลี่ยนเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งคีโตนอาจส่งผลเสียได้”

แม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการกินคีโตในสตรีมีครรภ์ ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม จึงมีการทดลองการกินคีโตในหนูทดลอง ซึ่งผลลัพธ์ก็ออกมาไม่ดีนัก “การศึกษาในหนูที่ท้อง พบว่าการกินคีโตมีผลต่อการทำงานของตัวอ่อนและการพัฒนาอวัยวะโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจและสมองซึ่งอาจส่งผลเสียเมื่อเติบโตขึ้น นอกจากนี้อวัยวะภายในไม่มีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย”

กินคีโตตอนท้องเสี่ยงอะไรบ้าง

1. กินคีโตเสี่ยงขาดสารอาหาร

การกินคีโต คือ การเข้าถึงสภาวะการเผาผลาญไขมัน (คีโตซีส) ซึ่งต้องอาศัยการคำนวณที่ค่อนข้างแม่นยำ แม้แต่คนสุขภาพดี ไม่ต้องกินเผื่อลูกยังเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติตามหลักของการกินอาหารแบบคีโตอย่างถูกต้อง เช่น

  •  คาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำสำหรับการกินแบบคีโต รวมถึงผลไม้และผักส่วนใหญ่ซึ่งมีน้ำตาลตามธรรมชาติ
  • การกินคีโตอาจทำให้คุณได้รับคาร์โบไฮเดรตมากกว่าที่คีโตคำนวณไว้ เช่น บรอกโคลีเพียง 1 ถ้วยก็มีคาร์โบไฮเดรตประมาณถึง 6 กรัม
  • คนท้องต้องหารผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใสซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินธาตุเหล็กและโฟเลตเพื่อบำรุงทารกที่กำลังเติบโต
  • การกินคีโตมักถูกจำกัดสำหรับการกินผักที่อุดมไปด้วยเส้นใยช่วยแก้อาการท้องผูกระหว่างการตั้งครรภ์ได้

2. กินคีโตเสี่ยงได้รับไขมันอิ่มตัวมากเกินไป

โปรตีนเป็นส่วนหนึ่งของการกินคีโต แต่อาหารคีโตส่วนใหญ่มีไขมันอิ่มตัวจำนวนมาก เช่น เนื้อวัว และเนื้อหมู ในความเป็นจริงเนื่องจากการเน้นการกินไขมันปริมาณมาก จึงสามารถทำให้คนกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้มากขึ้น ซึ่งอย่างที่กล่าวข้างต้น ไขมันที่ดีต่อสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับลูกน้อยที่กำลังเติบโตอยู่ในครรภ์  และไขมันอิ่มตัวที่มากเกินไปอาจทำให้คนท้องเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น คอเลสเตอรอลที่สูงขึ้นซึ่งทำให้หัวใจของคุณเครียดและอาจส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อย

3. กินคีโตเสี่ยงต่อการบำรุงที่ไม่ถูกต้อง

คนส่วนใหญ่กินคีโตเพื่อลดน้ำหนัก  ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ กล่าวว่าโดยทั่วไปไม่แนะนำให้มีการลดน้ำหนักในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ควรเน้นไปที่การบำรุงร่างกายเพื่อความสมบูรณ์ของลูกน้อยให้มีพัฒนาการในครรภ์มารดา ทั้งนี้การจำกัดการบริโภคเมล็ดธัญพืช ถั่ว ผลไม้ และผักบางชนิดที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตจะทำให้คุณขาดไฟเบอร์ วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระได้อย่างง่ายดาย

 

กินคีโตช่วยรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้หรือไม่

หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นเบาหวานชนิดหนึ่งที่ผู้หญิงสามารถเป็นได้ ซึ่งโดยปกติมักจะหายไปหลังจากการคลอดลูก แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ในภายหลัง เนื่องจากมีการศึกษาบางกรณีเช่นในปี 2014 เปิดเผยให้เห็นว่าการกินคีโตสามารถช่วยจัดการระบบในร่างกายหรือป้องกันโรคเบาหวานบางชนิดได้ อย่างไรก็ตามคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกินคีโตเต็มรูปแบบเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตต่ำ และเพิ่มอาหารที่มีไขมัน โปรตีน ไฟเบอร์ ผลไม้สด และผักจำนวนมากเป็นทางออกที่ปลอดภัยกว่าในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์

ทั้งนี้การกินคีโตบวกกับเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ลูกน้อยของคุณจะเป็นโรคเบาหวานเมื่อโตขึ้นได้อีกด้วย แพทย์ประจำตัวที่คุณแม่ฝากครรภ์จะทำการตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นประจำเพื่อเช็คสุขภาพว่าคุณแม่จะไม่มีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เด็ดขาด

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม ?

คนท้อง กินคีโต

กินคีโต

 

มาดูแลสุขภาพง่ายๆ แบบไม่ต้องกินคีโต

วิธีที่ดีที่สุดคือ ไม่จำเป็นต้องกินคีโตแต่การรับประทานอาหารที่สมดุลด้วยผลไม้ ผัก เมล็ดธัญพืช ไขมัน และโปรตีนที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้น การกินคีโตจึงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากจะทำให้คุณแม่ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารมากพอ จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมและการศึกษาใหม่อาจเปลี่ยนความคิดเห็นของชุมชนแพทย์เกี่ยวกับการกินคีโตขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าเราจะแนะนำให้ตรวจสอบกับแพทย์หรือนักโภชนาการของคุณก่อนที่จะเริ่มรับประทานอาหารประเภทใดก็ตามว่าคุณกำลังวางแผนหรือคาดหวังว่าจะมีลูกหรือไม่ แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณกำลังตั้งครรภ์

การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์ย่อมส่งผลดีต่อความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ และตัวคุณแม่เองมากกว่าการไปกินคีโต ทั้งนี้หากคุณให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เมื่อลูกคุณเติบโตขึ้น คุณสามารถปลูกฝังให้ลูกได้ซึมซับแนวคิดสำคัญนี้ของครอบครัวได้ตั้งแต่ลูกๆ ยังแบเบาะ เพื่อให้พวกเขาเกิดทักษะ ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีความฉลาดในการดูแลรักษาสุขภาพ เช่น รู้จักเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และงดเว้นอาหารที่ให้โทษต่อร่างกาย สามารถดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ถ้าคุณพ่อคุณแม่เริ่มปลูกฝังให้ลูกรู้จักดูแลตัวเองเป็นตั้งแต่เล็ก ๆ เด็กก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ดีเยี่ยม ที่สำคัญคือช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยลงไปได้ เห็นไหมว่าคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกินคีโตเลย

ข้อแนะนำสำหรับผู้หญิงที่กำลังอยากกินคีโตเจนิค แต่ยังไม่ตั้งครรภ์

การกินคีโตไปสักระยะร่างกายปรับตัวแบบนี้เราจะเรียกกันว่า คีโตสิส (Ketosis) หรือก็คือการที่ร่างกายใช้พลังงานจากไขมันแทนการใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ซึ่งการกินคีโตแล้วเข้าสู่กระบวนการคีโตสิสได้แล้วนั้นจะมีสัญญาณดังนี้

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

1. กินคีโตแล้วมีกลิ่นปาก กินคีโตไปสักระยะจะการมีกลิ่นปากจากนั่นคือการเข้าสู่กระบวนการคีโตสิสนี้จะเป็นกลิ่นปากที่มีกลิ่นเฉพาะ บางคนที่กินอาหารคีโตไปได้สักระยะก็จะบอกว่ามีกลิ่นเหมือนโลหะ หรือมีกลิ่นหวานๆ รวมถึงรู้สึกน้ำลายหวานก็มี ซึ่งอาการนี้มาจากการที่ร่างกายขับอซิโตนออกมาทางลมหายใจและปัสสาวะ

2. น้ำหนักลดไม่ใช่เรื่องแปลก สาวๆ กินคีโตก็เพื่อลดน้ำหนัก จึงไม่ต้องแปลกใจหากน้ำหนักลดลงจนน่าแปลกใจ แต่ก่อนที่จะน้ำหนักลดได้นั้น เราก็ต้องเคร่งครัดในการเลือกกินอาหาร ซึ่งในช่วงสัปดาห์แรกของการกินคีโตนั้น น้ำหนักจะลงเร็วมาก แต่เมื่อผ่านช่วงแรกไปน้ำหนักของเราก็จะนิ่งต้องกินคีโตต่อไปอีกหน่อยเดี๋ยวน้ำหนักก็จะลดลงต่อไปได้อีก

3. เหนื่อยง่ายเกินไป กินคีโตและเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียไม่มีแรง มาจากการที่ร่างกายเริ่มปรับตัวไปใช้พลังงานจากไขมัน ซึ่งอาการอ่อนเพลียแบบนี้อาจจะใช้ระยะเวลา 7 – 30 วันเลยทีเดียวกว่าจะหาย และทำให้หลายๆ คนล้มเลิกกลางทางไปบางคนก็เกิดปฏิกิริยาทางร่างกายคือ ผมร่วง

4. กินคีโตแล้วไข้ขึ้น ว่ากันว่าบางคนกินคีโตแล้วมีอาการเป็นไข้ ไม่สบาย เวียนหัว คลื่นไส้ นอนไม่หลับ หากเราเกิดอาการแบบนี้แสดงว่าร่างกายเข้าสู่อาการไข้คีโต  ซึ่งหากผู้หญิงหลายคนทนอาการไข้คีโตนี้ได้ ไข้จะค่อยๆ หายและเราจะกลับมารู้สึกปกติในไม่ช้า

5. ท้องอืดหลังกินคีโตไปสักพัก ท้องเสีย ในช่วงแรกของการกินคีโตนั้นมักจะกระทบกับระบบการย่อยอาหารในร่างกาย และอาจจะทำให้บางคนเกิดอาการท้องอืด หรือบางคนก็เกิดอาการท้องเสียได้ ถ้าทนไม่ไหวก็ควรหยุดกินคีโตทันที

 

บทความที่น่าสนใจ:

ลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารคีโตเจนิก ดีหรือไม่ วิธีลดน้ำหนักแบบนี้เหมาะกับใคร?

เคล็ดลับลดน้ำหนักแม่หลังคลอด ระหว่างให้นมลูก

ที่มา 1 , 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • กินคีโตตอนท้อง กินคีโต มีผลดีหรือผลเสียต่อคุณแม่และลูกอย่างไร
แชร์ :
  • โซดาเครื่องดื่มสุดฮิตช่วงลดน้ำหนัก Diet Soda คืออะไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร?

    โซดาเครื่องดื่มสุดฮิตช่วงลดน้ำหนัก Diet Soda คืออะไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร?

  • ลดน้ำหนักแบบBalanced Diet ได้ผลและทำให้สุขภาพดีระยะยาวจริงหรือไม่?

    ลดน้ำหนักแบบBalanced Diet ได้ผลและทำให้สุขภาพดีระยะยาวจริงหรือไม่?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โซดาเครื่องดื่มสุดฮิตช่วงลดน้ำหนัก Diet Soda คืออะไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร?

    โซดาเครื่องดื่มสุดฮิตช่วงลดน้ำหนัก Diet Soda คืออะไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร?

  • ลดน้ำหนักแบบBalanced Diet ได้ผลและทำให้สุขภาพดีระยะยาวจริงหรือไม่?

    ลดน้ำหนักแบบBalanced Diet ได้ผลและทำให้สุขภาพดีระยะยาวจริงหรือไม่?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ