X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 ข้อต้องรู้ ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว เตรียมตัวฝังตัวอ่อนอย่างไรให้สำเร็จ

บทความ 5 นาที
10 ข้อต้องรู้ ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว เตรียมตัวฝังตัวอ่อนอย่างไรให้สำเร็จ

ครอบครัวที่มีบุตรยาก หลายครอบครัว ตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้ว ไม่ว่าจะเป็น IVF  หรือ อิ๊กซี่ (ICSI) และคาดหวังอย่างสูงว่าจะต้องทำภารกิจให้สำเร็จตั้งแต่ในครั้งแรก เพราะ ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว กว่าจะผ่านไปได้แต่ละสเตปนั้น ต้องใช้เวลาและลุ้นมากเลยค่ะ

เริ่มกันตั้งแต่ การกระตุ้นไข่ เก็บไข่ รอผลการปฏิสนธิในห้องแล็บ และเลี้ยงไปถึงระยะบลาสโตซิสต์ หากรายใดที่มีความเสี่ยงของ โรคทางพันธุกรรม และอายุเกิน 35 ปี ก็ต้องลุ้นผลตรวจโครโมโซมอีก จนผ่านมาถึงขั้นตอนสุดท้ายนั่นคือ ย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวกลายเป็นทารกน้อย ๆ ก็ยิ่งต้องลุ้นว่าจะฝังตัวอ่อนได้สำเร็จหรือไม่ วันนี้ เราเลยมีเคล็ดลับในการเตรียมตัวสำหรับขั้นตอนสุดท้ายนี้ ทำอย่างไรให้สำเร็จ มาดูกันเลย

 

ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว

 

ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว ฝังตัวอ่อนอย่างไรให้สำเร็จ

หลังจากที่ได้ตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ และคัดโครโมโซมผ่านแล้ว แพทย์จะแช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อน ยังไม่ต้องรีบใส่ตัวอ่อน ดังนั้น ว่าที่คุณแม่ควรพักร่างกายอย่างน้อย 1-3 รอบเดือน เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมความพร้อมร่างกาย และบำบัดมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคต โดยผนังมดลูกที่สมบูรณ์ พร้อมฝังตัวอ่อน ควรมีลักษณะดังนี้ค่ะ

  1. ผนังมดลูกมีความหนา  8-10 มิลลิเมตร เรียง 3 ชั้นสวย (Triple lines) ไม่ควรหนาเกิน 14 มิลลิเมตร
  2. ผนังมดลูกมีผิวเรียบ เห็นเส้นกลางชัดเจน ใสเป็นวุ้น มดลูกสะอาด ไม่หนาทึบทับถมด้วยประจำเดือนเก่าที่คั่งค้าง
  3. มดลูกอุ่น มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ไม่มีสารพิษตกค้าง ซึ่งต้องดูแลสุขภาพ และบำรุงเป็นอย่างดี

 

วิธีเตรียมร่างกายให้พร้อม สำหรับการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก

1. ทานโปรตีน เพื่อช่วยสร้างผนังมดลูกให้หนา และแข็งแรง 

ควรทานโปรตีนเพิ่มขึ้น เพื่อบำรุงเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ และช่วยสร้างผนังมดลูกให้หนา แข็งแรง โดยเน้นทานโปรตีนจากพืช เช่น งาดำ ลูกเดือย แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงสารเร่งเนื้อแดง หรือ ฮอร์โมนแฝงที่มากับเนื้อสัตว์ เพราะหากได้รับมากเกินไปจะรบกวนสมดุลฮอร์โมนเพศ

 

2. ทานอาหารที่มีวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยด์สูง เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

มีงานวิจัยจาก The University of Texas พบว่าผู้หญิง 53% ที่ทานอาหารวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยด์สูงจะมีช่วงลูเทียลเฟส (Luteal Phase) ยาว ระยะลูเทียล คือ ระยะเวลาหลังการตกไข่ที่ร่างกายจะสร้างระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ส่งผลให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น 

นอกจากนี้ยังพบว่า น้ำมะกรูดคั้นสด มีวิตามิน C และ ไบโอฟลาโวนอยด์สูง ช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนดี และทำเลือดไปเลี้ยงมดลูกได้เพียงพอ ทำให้มดลูกอุ่น ลดการอักเสบติดเชื้อที่มดลูก ไบโอฟลาโวนอยด์ยังไปเสริมการทำงานของวิตามินซี ที่ช่วยเรื่องการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เรื่องราวของแม่ที่ประสบความสำเร็จในการ ตั้งครรภ์ด้วยตัวอ่อน ที่เก็บไว้ถึง 6 ปี

 

ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว

 

3. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและคงที่ 

มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Panminerva Medica เมื่อปี 2019 ศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มี น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ค่า BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25 มีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ มีฮอร์โมนไม่สมดุล ไข่ไม่ตก ประจำเดือนมาไม่ปกติ เซลล์ไข่ด้อยคุณภาพ หากใช้กระบวนการทางการแพทย์รักษา จะมีอัตราความสำเร็จต่ำกว่ากลุ่มที่น้ำหนักปกติ ยิ่งถ้าค่า BMI อยู่ในระดับ 30 ส่งผลต่อการแท้งบุตรมากขึ้นด้วย

น้ำหนักน้อยไปก็ มีบุตรยาก เช่นเดียวกัน มักพบในกลุ่มนักกีฬาที่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำเกินไป เพราะมีกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน อย่างไรก็ตามไขมันยังมีประโยชน์กับร่างกาย โดยเฉพาะไขมันดี ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศ โดย นายแพทย์ Robert จาก Colorado Center for Reproductive Medicine เผยว่า ผู้หญิงที่สุขภาพดีนั้น มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่า หากมีค่า body fat ไม่ต่ำกว่า 17-19% หรือควรมี body fat อย่างน้อย 22% 

 

4. ดื่มชาดอกคำฝอย ช่วยล้างประจำเดือนเก่าที่คั่งค้าง

การดื่มชาดอกคำฝอยช่วยขับประจำเดือนเก่าที่คั่งค้างทับถมในมดลูก เสมือนเป็นการล้างมดลูกให้สะอาด ประจำเดือนจะไหลออกมาดีขึ้น สีแดงสะอาด โดยสามารถเริ่มดื่มเมื่อประจำเดือนมาวันแรก ต่อเนื่อง 7-10 วัน นอกจากนี้ ดอกคำฝอยยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนสตรี ทำให้เลือดไหลเวียนดี ประจำเดือนมาปกติ และยังช่วยลดน้ำตาล ลดไขมัน ลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย

 

5. ดื่มขิงดำ เพิ่มสภาวะมดลูกอุ่น เลือดไหลเวียนดี

การดื่มน้ำขิงดำเป็นประจำ ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี เพิ่มออกซิเจนในเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนนำสารอาหารไปเลี้ยงมดลูกได้อย่างเต็มที่ ขิงดำยังมีฤทธิ์อุ่น ช่วยปรับสภาพภาวะในร่างกายที่มีความเย็น ให้ร่างกายอบอุ่น เพิ่มระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี มดลูกอุ่น ติดลูกง่ายขึ้น โดยสามารถดื่มช่วงไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้มีประจำเดือน เพราะขิงทำให้เลือดไหลเวียนดี ทำให้ผ่อนคลายและนอนหลับลึก

ขิงดำยังช่วยให้ผ่อนคลาย ลดฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวร้ายที่มีผลต่อการขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน ขิงดำยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบและติดเชื้อในมดลูก ทำให้มดลูกแข็งแรง หากมดลูกอักเสบ ติดเชื้อ ก็ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัวหรือแท้งในระยะเริ่มต้น

 

6. แพคน้ำมันละหุ่งบำบัดมดลูก (Castor Oil Pack) ช่วยดีท็อกซ์มดลูก

วิธีการคือใช้น้ำมันละหุ่งทาบริเวณหน้าท้อง และประคบด้วยถุงน้ำร้อน จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับมดลูกและรังไข่ ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด รวมถึงระบบน้ำเหลือง ระบบฮอร์โมน และช่วยดีท๊อกซ์สารเคมีตกค้างในร่างกายจากการใช้ฮอร์โมนมากเกินไปด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ทำเด็กหลอดแก้ว ทางเลือกผู้มีบุตรยากให้มีบุตรได้สมใจ !

 

ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว

 

7. ทานวิตามินบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ 

ก่อนทานวิตามินบำรุง ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อน หรือเลือกวิตามินและอาหารเสริมที่ได้รับการรับรองจาก อย. มีแหล่งที่มาที่ตรวจสอบได้เท่านั้น เช่น วิตามิน OvaAll ที่มีครบ ทั้ง โฟลิก Fish oil Q10 วิตามินและแร่ธาตุรวม เหมาะสำหรับสตรีเตรียมตั้งครรภ์

 

8. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด

ความกังวล ส่งผลให้มีอาการ นอนไม่หลับ นอนน้อย จนเกิดความเครียดสะสม ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามากเกินไป และรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศผิดเพี้ยน แปรปรวน และทำให้โอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์น้อยลง

บทความจากพันธมิตร
2022 คุณแม่ต้องรู้ รีวิวเจาะลึกสารอาหารหลักนมกล่อง UHT ให้ลูกมีพัฒนาการดีที่สุดตามช่วงวัย
2022 คุณแม่ต้องรู้ รีวิวเจาะลึกสารอาหารหลักนมกล่อง UHT ให้ลูกมีพัฒนาการดีที่สุดตามช่วงวัย
อยากมีลูกต้องทำยังไง ทำอย่างไรให้มีลูกเร็วสมใจ วิธีให้ลูกติดไว ๆ
อยากมีลูกต้องทำยังไง ทำอย่างไรให้มีลูกเร็วสมใจ วิธีให้ลูกติดไว ๆ

 

9. การเตรียมพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูก ด้วยกระบวนการแพทย์

หลังจากเตรียมความพร้อมทั้งด้านโภชนาการ และบำบัดมดลูกเป็นอย่างดีแล้ว สามารถนัดปรึกษาแพทย์ในวันที่ 2-3 ของรอบเดือน เพื่อประเมินโพรงมดลูก และวางแผนการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกได้เลย ซึ่งจะมี 2 แบบ ได้แก่ 

  • แบบรอบธรรมชาติ หากมีฮอร์โมนที่สมดุลและรอบตกไข่ปกติ และบำรุงมาดี ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตามธรรมชาติ เพื่อเตรียมพร้อมรอรับการฝังตัว โดยแพทย์จะนัดอัลตราซาวด์เป็นระยะ
  • แบบใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว แต่หากเยื่อบุโพรงมดลูกยังไม่พร้อม แพทย์จะปรับขนาดยาฮอร์โมนแล้วนัดมาติดตามอาการ


เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกเหมาะสมแก่การย้ายตัวอ่อนแล้ว แพทย์จะให้ยาทานและยาสอดช่องคลอด เพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนถึงวันที่ย้ายตัวอ่อน  5 วัน หลังจากนั้นแพทย์จะนัดวันและเวลาในการย้ายตัวอ่อนอีกครั้ง

 

ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว

 

10. การเตรียมตัว ณ วันย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer)

ขั้นตอนนี้แพทย์จะให้ดื่มน้ำ และกลั้นปัสสาวะประมาณ 1 ช.ม. ก่อนถึงเวลาย้ายตัวอ่อน และทำการอัลตราซาวด์บริเวณหน้าท้อง เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการฝังตัวอ่อน และย้ายตัวอ่อนวางในตำแหน่งที่แพทย์กำหนดไว้ หลังใส่ตัวอ่อนแพทย์จะสอดยาเข้าทางช่องคลอด และให้นอนพักประมาณ  60 นาที พอครบเวลาแล้ว เวลาลุกแนะนำให้นอนตะแคง และใช้ศอกค้ำยัน ค่อย ๆ ลุกขึ้นนั่ง ห้ามเกร็งหน้าท้อง เดินอย่างระมัดระวัง และรับยาพยุงการตั้งครรภ์ ก่อนกลับมาพักผ่อนที่บ้าน หลังจากนั้นแพทย์จะนัดเจาะเลือดตรวจการตั้งครรภ์ ในวันที่ 10 หลังการย้ายตัวอ่อนค่ะ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนย้ายตัวอ่อน และขั้นตอนการทำที่จินตนาการเห็นภาพชัดกันเลย คราวนี้น่าจะรู้แล้วว่า การเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมนั้น เราสามารถทำเองได้เลย ไม่ต้องรอกระบวนทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว ยิ่งเตรียมร่างกาย และระบบเจริญพันธุ์เป็นอย่างดี โอกาสที่จะมีเจ้าตัวน้อยก็ยิ่งสูงตามไปด้วย theAsianparent ขอเป็นกำลังใจให้ว่าที่คุณแม่ทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กหลอดแก้ว กับไขข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนอยากรู้ก่อนตัดสินใจทำ

การทำ IVF หรือเด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลเอกชน มีราคาเท่าไหร่ ให้เราแนะนำ

ขอบคุณข้อมูล : ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ BabyAndMom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nattida Koedrith

  • หน้าแรก
  • /
  • อยากท้อง
  • /
  • 10 ข้อต้องรู้ ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว เตรียมตัวฝังตัวอ่อนอย่างไรให้สำเร็จ
แชร์ :
  • 7 อาหารบำรุงสามีสำหรับคนอยากมีลูก ให้ปึ๋งปั๋งตลอดเวลา

    7 อาหารบำรุงสามีสำหรับคนอยากมีลูก ให้ปึ๋งปั๋งตลอดเวลา

  • 6 ข้อเตือนสติ มีลูกเมื่อพร้อม ต้องพร้อมเรื่องอะไร ทำตัวแบบไหนอย่าเพิ่งมีลูก

    6 ข้อเตือนสติ มีลูกเมื่อพร้อม ต้องพร้อมเรื่องอะไร ทำตัวแบบไหนอย่าเพิ่งมีลูก

  • ท้อง 1 อาทิตย์ตรวจเจอไหม ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม มาดูกัน!

    ท้อง 1 อาทิตย์ตรวจเจอไหม ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม มาดูกัน!

  • 7 อาหารบำรุงสามีสำหรับคนอยากมีลูก ให้ปึ๋งปั๋งตลอดเวลา

    7 อาหารบำรุงสามีสำหรับคนอยากมีลูก ให้ปึ๋งปั๋งตลอดเวลา

  • 6 ข้อเตือนสติ มีลูกเมื่อพร้อม ต้องพร้อมเรื่องอะไร ทำตัวแบบไหนอย่าเพิ่งมีลูก

    6 ข้อเตือนสติ มีลูกเมื่อพร้อม ต้องพร้อมเรื่องอะไร ทำตัวแบบไหนอย่าเพิ่งมีลูก

  • ท้อง 1 อาทิตย์ตรวจเจอไหม ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม มาดูกัน!

    ท้อง 1 อาทิตย์ตรวจเจอไหม ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม มาดูกัน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ