พัฒนาการทางภาษาของเด็กทารก
ภาษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน คือ ภาษาที่แสดงถึงการรับรู้และภาษาที่ใช้ในการแสดงออก ภาษาในด้านแรก คือ ความสามารถในการฟังและการทำความเข้าใจ ในขณะที่ภาษาที่ใช้ในการแสดงออก หมายถึง ความสามารถในการพูดและการถ่ายทอดข้อความ ลูกคุณควรมีพัฒนาการที่ดีในทั้งสองด้านเพื่อที่เขาจะได้เป็นผู้สื่อสารที่ดี
การพัฒนาการทางภาษาของเด็กทารกในแต่ละช่วงอายุ
เด็กทารกแรกเกิด
เด็กทารกจะรับรู้ถึงเสียงที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว เด็กจะร้องไห้หากได้ยินเสียงที่ดังเกินไป ในขณะที่เสียงส่วนใหญ่ที่เด็กได้ยินนั้นจะเป็นเสียงที่เขาไม่คุ้นชิน เด็กจะส่งเสียงร้องเพื่อแสดงความรู้สึก และมันเป็นวิธีการสื่อสารของเด็กแรกเกิด
เด็กทารกช่วง 0-3 เดือน
เด็กทารกจะเริ่มตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคยและจะตั้งใจฟังเสียงอะไรก็ตามที่ไม่คุ้นชิน เด็กทารกจะยิ้มหรือส่งเสียงอ้อแอ้ เพื่อแสดงออกถึงอาการดีใจเมื่อได้เห็นพ่อแม่หรือคนคุ้นหน้า ในช่วงอายุประมาณนี้เราจะสามารถแยกแยะเสียงร้องไห้ของเด็กทารกได้
เด็กทารกช่วง 4-6 เดือน
เด็กทารกจะเริ่มตอบสนองกับคำว่า “ไม่” และดูเหมือนว่าจะหลงเสน่ห์กับเสียงเพลง เสียง ”ฟิ้ว ๆ”จากเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมไปถึงเสียงของสัตว์ต่าง ๆ ในช่วงนี้ช่องคอของลูกคุณจะเปิดและเด็กจะสามารถทำเสียงกลั้วคอได้ ทารกวัยนี้ยังสามารถออกเสียงพยัญชนะ ที่คล้ายกับเสียง “ม” “ป” และ “พ” ได้ด้วย
เด็กทารกช่วง 7-12 เดือน
ในช่วงอายุขนาดนี้ เด็กทารกจะคุ้นเคยกับชื่อเรียกของตัวเองแล้ว และจะมองตามเวลาที่มีคนที่เรียกชื่อเขา เด็กทารกจะเริ่มตอบสนองกับคำถามและคำร้องขอ และทารกช่วงนี้ก็คุ้นเคยกับชื่อเรียกง่าย ๆ ของสิ่งของในบ้านและจะชี้สิ่งของเหล่านั้นได้เมื่อถูกถาม ช่วงอายุนี้เป็นเวลาที่เด็กทารกจะสามารถพูดคำแรกได้เนื่องจากสามารถผสมเสียงสระกับวรรณยุกต์เข้าด้วยกันแล้ว
เด็กทุกคนจะมีความพิเศษและมีอัตราการพัฒนาการในแบบเฉพาะของตัวเอง อย่าพยายามเอาลูกของคุณไปเปรียบกับเด็กคนอื่น ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณเกิดความเครียดและสร้างแรงกดดันให้ลูกคุณแบบเกินจำเป็น บางคนอาจจะรู้สึกวิตกกังวลไปเรียบร้อยแล้วหลังจากอ่านขั้นตอนการพัฒนาการทางภาษาของลูกน้อย ขั้นตอนที่กล่าวไปเป็นเพียงหลักการทั่วไปซึ่งไม่ควรนำมายึดถืออย่างเคร่งครัด จำไว้ว่าพัฒนาการของเด็กบางคนอาจติดอยู่ที่ขั้นใดขั้นหนึ่งเป็นเวลานาน ในขณะที่เด็กบางคนอาจผ่านพัฒนาการในแต่ละขั้นไปอย่างรวดเร็ว
เสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาของเด็กทารก หน้าถัดไป >>>
แทนที่จะกดดันให้ตัวเองเครียด มาลองดูคำแนะนำที่จะช่วยเสริมสร้างให้ลูกคุณมีพัฒนาการทางภาษาอย่างรวดเร็วกันดีกว่า
1. ผสมผสานการเรียนรู้ทางภาษาเข้ากับกิจวัตรประจำวันของลูกน้อย
ในฐานะผู้ปกครอง แน่นอนล่ะว่ามันน่าตื่นเต้นแต่ก็ท้าทายอยู่ ที่จะช่วยเรื่องการพัฒนาทางภาษาของลูก บทบาทของคุณนั้นสำคัญมากเนื่องจากคุณเป็นเพื่อนคู่เคียงลูกน้อยอย่างต่อเนื่อง คุณไม่จำเป็นต้องรอช่วงเวลาพิเศษเพื่อจะเริ่มช่วยลูกคุณในการพัฒนาภาษา ทุกช่วงเวลาที่คุณใช้ไปกับเด็กนั้น เป็นช่วงเวลาของการสอนเสมอ
เวลาที่ทารกส่งเสียงอ้อแอ้ คุณควรพูดตอบกลับไป มันจะช่วยให้ลูกคุณเข้าใจว่าการที่มีเสียงออกจากปากของเขานั้น จะสามารถดึงความสนใจจากพ่อแม่ได้ ผลศึกษาพบว่า เด็กที่ได้รับความสนใจเวลาที่ทำเสียงต่าง ๆ เมื่อเติบโตขึ้น เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการของทักษะกระบวนการคิดรวดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับความสนใจ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผู้ปกครองควรตอบสนองทุก ๆ เสียงอ้อแอ้ของลูกในขณะที่ลูกค่อย ๆ เติบโตขึ้น
2. เล่นและพูดคุยกับลูกให้บ่อยเท่าที่จะทำได้
คุณควรมีความเพลิดเพลินในการพูดคุยกับลูก จากผลศึกษาบางอันพบว่าทารกที่อยู่หน้าจอทีวีจะเรียนรู้คำศัพท์ได้น้อยกว่าทารกในวัยเดียวกันที่ไม่ดูทีวีถึงหกคำ ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรอนุญาตให้ลูกน้อยดูทีวี ในขณะที่คุณทำสิ่งต่างๆให้ลูก คุณควรอธิบายรายละเอียดถึงสิ่งที่คุณกำลังทำเหมือนว่าคุณกำลังพูดคุยกับผู้ใหญ่คนหนึ่ง คุณสามารถอ่านหนังสือหรือบทกลอนให้ลูกคุณฟังหรือพยายามที่จะสื่อสารสิ่งที่สนุกสนานกับลูกคุณ
3. พูดคุยกับลูกคุณในแบบทีเขาชอบ
คุณอาจคิดว่าการพูดคุยแบบเด็ก ๆ เป็นเรื่องงี่เง่า แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าวิธีการพูดเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่เด็กเล็ก การลากเสียงยาวในแต่ละพยางค์จะช่วยให้ทารกเป็นเด็กที่รับรู้เรื่องการออกเสียงตัวอักษรต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น สิ่งนี้ยังช่วยให้ลูกคุณมีการรับฟังที่ดี เพราะฉะนั้นควรเริ่มใช้เสียงสูงต่ำแบบการร้องเพลงเวลาที่พูดคุยกับลูกน้อย คุณต้องให้ลูกคุณมองเห็นปากคุณเวลาที่คุณพูดกับเขา ก่อนที่ทารกจะเข้าใจคำที่คุณพูด เด็กต้องได้เรียนรู้การแบ่งคำ หมายความว่า ลูกคุณจะต้องเห็นเวลาที่คำพูดหนึ่งจบและเริ่มต้นคำใหม่
4. ช่วยให้ลูกเรียนรู้ชื่อเรียกของสิ่งต่างๆ
ชื่อสิ่งของต่าง ๆ นั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพ่อแม่เสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาของลูกน้อย พ่อแม่สามารถชี้ไปที่สิ่งของนั้น ๆ และพูดประโยค เช่น “นี่คือ…” และรอให้ลูกตอบ แต่ต้องแน่ใจว่าคุณใช้จังหวะเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อให้ลูกคุณสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียกชื่อสิ่งของได้ถูกต้อง
5. ปล่อยให้ลูกคุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ บ้าง
เป็นธรรมดาที่คุณอยากให้ลูกอยู่กับคุณตลอดเวลา แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเด็กทารกเรียนรู้คำศัพท์ได้ง่ายขึ้นหากได้พูดคุยกับคนหลากหลาย นักวิจัยค้นพบว่าเด็กจะเรียนรู้คำใหม่ ๆ ได้ยากหากฟังคน ๆ เดียวพูด ถึงแม้ว่าคน ๆ นั้นจะพูดศัพท์นั้นซ้ำ ๆ หลายรอบ เด็กก็ยังคงไม่เข้าใจ แต่การเรียนรู้คำใหม่ ๆ จะง่ายขึ้นสำหรับเด็กน้อยหากเขาได้ยินคำเหล่านั้นจากคนหลาย ๆ คน
บทความใกล้เคียง: เด็กสองภาษา
บทความใกล้เคียง: สร้างความสัมพันธ์กับลูกที่เพิ่งเกิดใหม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!