X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการทางภาษาของเด็กทารก

บทความ 3 นาที
พัฒนาการทางภาษาของเด็กทารก

เด็กทารกอาจจะยังพูดไม่ได้ แต่พัฒนาการด้านภาษาของเด็กทารกเริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว เรามีคำแนะนำในการที่จะช่วยให้ลูกคุณพัฒนาภาษาผ่านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต กุญแจสำคัญที่คุณควรเข้าใจ คือ การเติบโตและการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตของเด็กเอง ฉะนั้นไม่จำเป็นที่คุณจะต้องเร่งรัดให้ภาษาของลูกคุณพัฒนารวดเร็วเกินตัวเขา

พัฒนาการทางภาษา เด็ก ทารก

พัฒนาการทางภาษาของเด็กทารก

ภาษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน คือ ภาษาที่แสดงถึงการรับรู้และภาษาที่ใช้ในการแสดงออก ภาษาในด้านแรก คือ ความสามารถในการฟังและการทำความเข้าใจ ในขณะที่ภาษาที่ใช้ในการแสดงออก หมายถึง ความสามารถในการพูดและการถ่ายทอดข้อความ ลูกคุณควรมีพัฒนาการที่ดีในทั้งสองด้านเพื่อที่เขาจะได้เป็นผู้สื่อสารที่ดี

การพัฒนาการทางภาษาของเด็กทารกในแต่ละช่วงอายุ

เด็กทารกแรกเกิด

เด็กทารกจะรับรู้ถึงเสียงที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว เด็กจะร้องไห้หากได้ยินเสียงที่ดังเกินไป ในขณะที่เสียงส่วนใหญ่ที่เด็กได้ยินนั้นจะเป็นเสียงที่เขาไม่คุ้นชิน เด็กจะส่งเสียงร้องเพื่อแสดงความรู้สึก และมันเป็นวิธีการสื่อสารของเด็กแรกเกิด

เด็กทารกช่วง 0-3 เดือน

เด็กทารกจะเริ่มตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคยและจะตั้งใจฟังเสียงอะไรก็ตามที่ไม่คุ้นชิน เด็กทารกจะยิ้มหรือส่งเสียงอ้อแอ้ เพื่อแสดงออกถึงอาการดีใจเมื่อได้เห็นพ่อแม่หรือคนคุ้นหน้า ในช่วงอายุประมาณนี้เราจะสามารถแยกแยะเสียงร้องไห้ของเด็กทารกได้

เด็กทารกช่วง 4-6 เดือน

เด็กทารกจะเริ่มตอบสนองกับคำว่า “ไม่” และดูเหมือนว่าจะหลงเสน่ห์กับเสียงเพลง เสียง ”ฟิ้ว ๆ”จากเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมไปถึงเสียงของสัตว์ต่าง ๆ ในช่วงนี้ช่องคอของลูกคุณจะเปิดและเด็กจะสามารถทำเสียงกลั้วคอได้ ทารกวัยนี้ยังสามารถออกเสียงพยัญชนะ ที่คล้ายกับเสียง “ม” “ป” และ “พ” ได้ด้วย

เด็กทารกช่วง 7-12 เดือน

Advertisement

ในช่วงอายุขนาดนี้ เด็กทารกจะคุ้นเคยกับชื่อเรียกของตัวเองแล้ว และจะมองตามเวลาที่มีคนที่เรียกชื่อเขา เด็กทารกจะเริ่มตอบสนองกับคำถามและคำร้องขอ และทารกช่วงนี้ก็คุ้นเคยกับชื่อเรียกง่าย ๆ ของสิ่งของในบ้านและจะชี้สิ่งของเหล่านั้นได้เมื่อถูกถาม  ช่วงอายุนี้เป็นเวลาที่เด็กทารกจะสามารถพูดคำแรกได้เนื่องจากสามารถผสมเสียงสระกับวรรณยุกต์เข้าด้วยกันแล้ว

เด็กทุกคนจะมีความพิเศษและมีอัตราการพัฒนาการในแบบเฉพาะของตัวเอง อย่าพยายามเอาลูกของคุณไปเปรียบกับเด็กคนอื่น ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณเกิดความเครียดและสร้างแรงกดดันให้ลูกคุณแบบเกินจำเป็น  บางคนอาจจะรู้สึกวิตกกังวลไปเรียบร้อยแล้วหลังจากอ่านขั้นตอนการพัฒนาการทางภาษาของลูกน้อย ขั้นตอนที่กล่าวไปเป็นเพียงหลักการทั่วไปซึ่งไม่ควรนำมายึดถืออย่างเคร่งครัด จำไว้ว่าพัฒนาการของเด็กบางคนอาจติดอยู่ที่ขั้นใดขั้นหนึ่งเป็นเวลานาน ในขณะที่เด็กบางคนอาจผ่านพัฒนาการในแต่ละขั้นไปอย่างรวดเร็ว

เสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาของเด็กทารก หน้าถัดไป >>>

แทนที่จะกดดันให้ตัวเองเครียด มาลองดูคำแนะนำที่จะช่วยเสริมสร้างให้ลูกคุณมีพัฒนาการทางภาษาอย่างรวดเร็วกันดีกว่า

1. ผสมผสานการเรียนรู้ทางภาษาเข้ากับกิจวัตรประจำวันของลูกน้อย

ในฐานะผู้ปกครอง แน่นอนล่ะว่ามันน่าตื่นเต้นแต่ก็ท้าทายอยู่ ที่จะช่วยเรื่องการพัฒนาทางภาษาของลูก บทบาทของคุณนั้นสำคัญมากเนื่องจากคุณเป็นเพื่อนคู่เคียงลูกน้อยอย่างต่อเนื่อง คุณไม่จำเป็นต้องรอช่วงเวลาพิเศษเพื่อจะเริ่มช่วยลูกคุณในการพัฒนาภาษา ทุกช่วงเวลาที่คุณใช้ไปกับเด็กนั้น เป็นช่วงเวลาของการสอนเสมอ

เวลาที่ทารกส่งเสียงอ้อแอ้ คุณควรพูดตอบกลับไป มันจะช่วยให้ลูกคุณเข้าใจว่าการที่มีเสียงออกจากปากของเขานั้น จะสามารถดึงความสนใจจากพ่อแม่ได้ ผลศึกษาพบว่า เด็กที่ได้รับความสนใจเวลาที่ทำเสียงต่าง ๆ เมื่อเติบโตขึ้น เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการของทักษะกระบวนการคิดรวดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับความสนใจ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผู้ปกครองควรตอบสนองทุก ๆ เสียงอ้อแอ้ของลูกในขณะที่ลูกค่อย ๆ เติบโตขึ้น

2. เล่นและพูดคุยกับลูกให้บ่อยเท่าที่จะทำได้

คุณควรมีความเพลิดเพลินในการพูดคุยกับลูก จากผลศึกษาบางอันพบว่าทารกที่อยู่หน้าจอทีวีจะเรียนรู้คำศัพท์ได้น้อยกว่าทารกในวัยเดียวกันที่ไม่ดูทีวีถึงหกคำ ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรอนุญาตให้ลูกน้อยดูทีวี ในขณะที่คุณทำสิ่งต่างๆให้ลูก คุณควรอธิบายรายละเอียดถึงสิ่งที่คุณกำลังทำเหมือนว่าคุณกำลังพูดคุยกับผู้ใหญ่คนหนึ่ง คุณสามารถอ่านหนังสือหรือบทกลอนให้ลูกคุณฟังหรือพยายามที่จะสื่อสารสิ่งที่สนุกสนานกับลูกคุณ

3. พูดคุยกับลูกคุณในแบบทีเขาชอบ

คุณอาจคิดว่าการพูดคุยแบบเด็ก ๆ เป็นเรื่องงี่เง่า แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าวิธีการพูดเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่เด็กเล็ก การลากเสียงยาวในแต่ละพยางค์จะช่วยให้ทารกเป็นเด็กที่รับรู้เรื่องการออกเสียงตัวอักษรต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น สิ่งนี้ยังช่วยให้ลูกคุณมีการรับฟังที่ดี เพราะฉะนั้นควรเริ่มใช้เสียงสูงต่ำแบบการร้องเพลงเวลาที่พูดคุยกับลูกน้อย คุณต้องให้ลูกคุณมองเห็นปากคุณเวลาที่คุณพูดกับเขา ก่อนที่ทารกจะเข้าใจคำที่คุณพูด เด็กต้องได้เรียนรู้การแบ่งคำ หมายความว่า ลูกคุณจะต้องเห็นเวลาที่คำพูดหนึ่งจบและเริ่มต้นคำใหม่

4. ช่วยให้ลูกเรียนรู้ชื่อเรียกของสิ่งต่างๆ

ชื่อสิ่งของต่าง ๆ นั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพ่อแม่เสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาของลูกน้อย พ่อแม่สามารถชี้ไปที่สิ่งของนั้น ๆ และพูดประโยค เช่น “นี่คือ…” และรอให้ลูกตอบ แต่ต้องแน่ใจว่าคุณใช้จังหวะเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อให้ลูกคุณสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียกชื่อสิ่งของได้ถูกต้อง

5. ปล่อยให้ลูกคุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ บ้าง

เป็นธรรมดาที่คุณอยากให้ลูกอยู่กับคุณตลอดเวลา แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเด็กทารกเรียนรู้คำศัพท์ได้ง่ายขึ้นหากได้พูดคุยกับคนหลากหลาย นักวิจัยค้นพบว่าเด็กจะเรียนรู้คำใหม่ ๆ ได้ยากหากฟังคน ๆ เดียวพูด ถึงแม้ว่าคน ๆ นั้นจะพูดศัพท์นั้นซ้ำ ๆ หลายรอบ เด็กก็ยังคงไม่เข้าใจ แต่การเรียนรู้คำใหม่ ๆ จะง่ายขึ้นสำหรับเด็กน้อยหากเขาได้ยินคำเหล่านั้นจากคนหลาย ๆ คน

บทความใกล้เคียง: เด็กสองภาษา

บทความใกล้เคียง: สร้างความสัมพันธ์กับลูกที่เพิ่งเกิดใหม่

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พัฒนาการทางภาษาของเด็กทารก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว