X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

20 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับประจำเดือน เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!

บทความ 5 นาที
20 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับประจำเดือน เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!

-

รู้หรือไม่ว่า “ประจำเดือน” ไม่ใช่เลือดเสีย เพราะมีหลายคนที่เข้าใจว่าการมีประจำเดือนคือการขับเลือดเสียทิ้ง หลายครั้งที่คุณผู้หญิงบางคนมีความกังวลใจ เพราะการขับประจำเดือนออกมาน้อยหรือนาน ๆ ทีมีประจำเดือน จะทำให้ร่างกายเกิดเลือดคั่งภายในหรือเปล่า วันนี้ theAsianparent จะพาหาคำตอบไปพร้อมกันว่า ข้อควรรู้ เกี่ยวกับประจำเดือน ทั้ง 20 ข้อมีอะไรบ้าง เช็กได้เลยที่นี่!

ว่าด้วยเรื่องวันนั้นของเดือนของคุณผู้หญิง ต้องเข้าใจก่อนว่ารอบเดือนและประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะรู้สึกว่าเดือนนี้เมนมาเยอะเหลือเกิน แต่อีกเดือน ประจำเดือนมาน้อย ก็เป็นไปได้ ซึ่งความแปรปรวนเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุก 21 – 35 วัน ในแต่ละเดือนก็อาจจะมีปริมาณที่ไม่เท่าปกติที่เคยเป็นมาก็ได้

บทความที่น่าสนใจ : ประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน

 

ข้อควรรู้ประจำเดือน

 

ทำความรู้จัก ประจำเดือน คืออะไร

Advertisement

ประจำเดือน คือ เลือดและเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทุก 21 – 35 วัน แต่ละรอบจะอยู่นาน 3 – 7 วัน การที่เราต้องมีการสร้างเนื้อเยื่อโพรงมดลูกใหม่เสมอก็เพื่อให้พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน จึงทำให้เกิดวงโคจรของประจำเดือนแบบนี้ขึ้นมา ซึ่งก็จะขึ้นลงตามระดับของฮอร์โมนเพศด้วย อีกทั้งประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย จึงไม่ต้องกังวลว่าการที่ประจำเดือนมาน้อย หรือนาน ๆ มาที จะทำให้เกิดเลือดคั่งในร่างกายได้ เพราะข้อมูลนี้แพทย์ยืนยันเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าไม่เป็นความจริง

 

สีของประจำเดือนเปลี่ยนแปลงไปเรื่องจริงหรือไม่?

โดยปกติแล้ว “ประจำเดือน” จะมีสีที่เปลี่ยนไปไม่ซ้ำกันในทุกรอบเดือนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับความเก่าใหม่ของเลือดมากกว่า ถ้าหากเลือดที่ออกมาในช่วงต้น ๆ วันที่รอบเดือนมาก็จะเป็นสีแดงสด หากเข้าสู่ช่วงท้ายของรอบเดือนสีจะเข้มขึ้น เพราะว่าการไหลของเลือดจะลดลง รวมถึงมีเลือดค้างอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อถึงช่วงหนึ่งเลือดอาจสัมผัสกับอากาศก็เปลี่ยนให้มีสีคล้ำขึ้นได้

อีกทั้งการเปลี่ยนของสีรอบเดือนในช่วงท้ายนั้นเป็นเรื่องปกติ ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดและเยื่อบุที่หลุดออกมามากกว่าการเกี่ยวข้องกับโรคความเจ็บป่วยที่เป็นข้อมูลอยู่บนโลกออนไลน์

 

3 สิ่งที่ควรสังเกตเกี่ยวกับประจำเดือน

  • ปริมาณเลือดที่ออกมา หากผู้หญิงคนไหนที่ต้องเปลี่ยนในทุก 2 ชั่วโมงและปริมาณที่เยอะเกินไปหรือเต็มแผ่น ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีความผิดปกติที่ภายในก็เป็นได้
  • เลือดที่ออกมาเป็นลักษณะก้อนเลือด หากมีลิ่มเลือดสีแดงสด, แดงเข้ม หรือแดงคล้ำ อาจมีความผิดปกติภายในได้เช่นกัน ควรตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ความสม่ำเสมอของรอบเดือน โดยปกติแล้วรอบเดือนของผู้หญิงจะมาทุก 21 – 35 วัน จะไม่มาเร็วกว่า 21 วัน และไม่มาช้ากว่า 35 วัน

 

20 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับประจำเดือน

  1. ช่วงอายุที่เริ่มมีประจำเดือน โดยปกติจะอยู่ที่ 12 – 13 ปี แต่ปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มที่เด็กผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่ออายุยังน้อยมากขึ้นด้วย
  2. โรคอ้วน คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีประจำเดือนเร็วขึ้น
  3. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ในช่วง 2 ปีแรก การมีประจำเดือนจะยังมาไม่สม่ำเสมอ เพราะฮอร์โมนในร่างกายยังไม่สมดุล
  4. ช่วงเวลามีประจำเดือน ปกติแล้วประจำเดือนจะมาทุก ๆ 28 วัน แต่ถ้าผู้หญิงที่อายุยังไม่ถึง 21 ปี มักจะมาเฉลี่ยที่ 33 วัน พออายุเพิ่มขึ้นจะมีการปรับเฉลี่ยที่ 28 วัน และเมื่ออายุเข้า 40 ปี ระยะห่างจะลดลงเหลือ 26 วัน
  5. โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงมีประจำเดือนราว 6 วัน กว่าร้อยละ 5 เป็นผู้หญิงที่มีประจำเดือนน้อยกว่า 4 วัน
  6. ประจำเดือนมามาก การมีประจำเดือนมากกว่า 7 วัน เรียกว่าประจำเดือนมามาก
  7. มีผู้หญิงกว่าร้อยละ 9 – 14 ที่มีอาการประจำเดือนมามาก
  8. การมีประจำเดือนนานเกิน 9 วัน ถือว่าเป็นการมีรอบเดือนมากผิดปกติ และเกิดในผู้หญิงราว 4%
  9. ฮอร์โมนไม่สมดุล เป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก เยื่อบุโพรงมดลูกหนาหรือมากเกินไปเลยทำให้มีเลือดออกมาเยอะ
  10. การใช้ยาฮอร์โมนอาจมีผลข้างเคียง ที่ทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ รวมถึงการใช้เคมีบำบัด, การใช้ห่วงคุมกำเนิด, ยาต้านหรือละลายลิ่มเลือด และการกินยาคุม ก็ทำให้ประจำเดือนมามากได้เช่นกัน
  11. โรคโลหิตจาง ถ้าประจำเดือนมามากอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ ต้องสังเกตอาการเพลีย, เหนื่อยง่าย, ใจสั่น, มีเสียงในหู
  12. ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือน มักจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำที่อาจเป็นสาเหตุเกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต การรับฮอร์โมนจะช่วยได้
  13. เมื่อเข้าสู่อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือใกล้เข้าสู่ช่วงวัยทอง อาจมีอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  14. อาการปวดประจำเดือน เกิดจากมดลูกมีการบีบ และคลายตัวอย่างแรง เพื่อไล่เลือดออกมา
  15. การปวดท้อง อาจปวดก่อนมีรอบเดือนหลายวัน และเมื่อมาแล้วอาการปวดอาจจะดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง
  16. ผู้หญิงที่ปวดท้องหนักมาก หรือมีอาการประจำเดือนมาผิดปกติบ่อย ๆ อาจจะมีเนื้องอกในมดลูก และเป็นหมัน
  17. มีผู้หญิงราว 10 – 15% ที่มีอาการปวดประจำเดือนหนักมากถึงขั้นต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
  18. ยาที่นิยมใช้บรรเทาปวดประจำเดือนได้แก่ Aspirin, Ibuprofen
  19. ความผิดปกติที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับประจำเดือน ได้แก่ ประจำเดือนขาด หรือ มามากเกินไป
  20. หากประจำเดือนมามาก อาจเกิดขึ้นเพราะความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ หรือมีการอักเสบหรือไม่

เพราะมดลูกมีความเกี่ยวโยงกับอาการของประจำเดือน หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่มดลูก ประจำเดือนของเราก็จะผิดปกติไปด้วย ดังนั้นเมื่อเกิดอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ, ประจำเดือนไม่มา หรือเดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกตินั้น

 

บทความที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน

อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เดี๋ยวหงุดหงิด เดี๋ยวเศร้า รับมืออย่างไรดี ?

พฤติกรรมและอาหารที่สาว ๆ ควรเลี่ยงขณะเป็นประจำเดือน

ที่มา : (Polo Hospital) , (Rama Channel)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 20 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับประจำเดือน เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!
แชร์ :
  • แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

    แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

    แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว