สำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหาริดสีดวง บอกเลยไม่ควรพลาดบทความนี้ เพราะวันนี้เราจะมาบอกต่อ วิธีรักษาริดสีดวง เรียกได้ว่าเป็นเคล็ดลับดี ๆ เหมาะสำหรับคนที่กำลังเป็นริดสีดวง สามารถนำไปปรับใช้กันได้ง่าย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ริดสีดวงลุกลามจนมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ถ้าพร้อมแล้ว มาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
ริดสีดวงทวารมีกี่ชนิด?
โดยปกติทั่วไปแล้ว ริดสีดวงทวารจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
ริดสีดวงทวารชนิดเป็นภายใน
สำหรับริดสีดวงทวารที่เกิดขึ้นภายใน จะเกิดขึ้นเหนือทวารหนักขึ้นไป และจะไม่โผล่ออกมาให้เห็น เพราะจะถูกคลุมด้วยเยื่อลำไส้ใหญ่ตอนปลายสุด ดังนั้น ริดสีดวงทวารชนิดเป็นภายในจะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ เกิดขึ้น ถ้าหากยังไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ตามมา
ริดสีดวงทวารชนิดเป็นภายนอก
ในส่วนของริดสีดวงทวารชนิดภายนอก จะเกิดขึ้นบริเวณปากของทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงชนิดนี้นั้นสามารถมองเห็น และสัมผัสได้ ซึ่งหลอดเลือดที่โป่งพองนั้นจะถูกคลุมด้วยผิวหนัง และอาจจะทำให้มีอาการเจ็บปวด หรือมีเลือดออกขณะที่ขับถ่ายค่ะ
ริดสีดวงแบ่งออกเป็นกี่ระยะ?
ริดสีดวงระยะที่ 1 สำหรับริดสีดวงในระยะนี้จะมีเส้นเลือดดำโป่งพองภายในทวารหนัก ซึ่งระยะเริ่มแรกเวลาที่เป็นริดสีดวง เวลาที่ขับถ่ายออกมาจะมีเลือดไหลปนออกมากับอุจจาระด้วย ซึ่งระยะนี้อาจจะยังไม่มีอาการเจ็บระคายเคืองใด ๆ
ระยะที่ 2 สำหรับริดสีดวงในระยะที่ 2 หัวริดสีดวงทวารจะเริ่มโตขึ้น และเริ่มที่จะโผล่ออกมาจากทวารหนัก ยิ่งเวลาที่เบ่งอุจจาระออกมาก็จะทำให้เห็นมากขึ้น แต่ก็จะมีการหดกลับเข้าไปภายในทวารหนักได้เอง ซึ่งอาการริดสีดวงในระยะนี้ก็จะเริ่มมีอาการระคายเคือง และรู้สึกเจ็บเล็กน้อยค่ะ
ริดสีดวงระยะที่ 3 สำหรับริดสีดวงในระยะนี้ก็จะเริ่มมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น เวลาขับถ่ายหัวริดสีดวง เวลาไอจาม หรือยกของที่มันหนัก หัวริดสีดวงก็จะโผล่ออกมามากกว่าเดิม แต่จะไม่สามารถหดกลับเข้าในทวารหนักได้ ดังนั้น จึงจะต้องใช้นิ้วมือดันเข้าไปเข้าที่อยู่ภายในทวารหนักแบบเดิม
ระยะที่ 4 ต่อมาจะเป็นระยะที่รุนแรงที่สุด เพราะริดสีดวงจะโตมากขึ้น และยื่นออกมาบริเวณรอบปากทวารหนักอย่างชัดเจน และริดสีดวงระยะนี้ก็จะมีอาการอักเสบ ปวด บวมที่รุนแรงมาก และอาจมีเลือดออก และมีน้ำเหลืองตามออกมาอีกด้วย ทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันลำบาก ดังนั้น จึงจะต้องได้รับการรักษาโดยด่วน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์ เป็นริดสีดวงตอนท้อง ควรดูแลอย่างไร
วิธีรักษาริดสีดวง ให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
- ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการท้องผูก แนะนำให้รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูงให้มาก ๆ เช่น แอปเปิล, ฝรั่ง, มะละกอสุก, แครอท, ข้าวโพด, ผักโขม, ธัญพืชไม่ขัดสีทุกชนิด เป็นต้น และควรดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อป้องกันการเกิดท้องผูก และทำให้ขับถ่ายออกได้ง่าย แล้วก็อีกหนึ่งวิธีถ้าหากยังมีอาการท้องผูกอีก
- ไม่ควรรับประทานอาหารแสลง เช่น อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ, อาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน, อาหารแปรรูป, เครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ และมีคาเฟอีน, เนื้อแดง และของทอดต่าง ๆ เนื่องจากอาหารเหล่านี้ล้วนส่งผลทำให้เกิดริดสีดวงขึ้น และถ้าหากใครที่เป็นริดสีดวงอยู่แล้ว หากรับประทานเข้าไปก็อาจจะทำให้ริดสีดวงเกิดการอักเสบขึ้นได้ค่ะ
- ใช้ยาเหน็บในการรักษาริดสีดวง เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม ซึ่งยาก็จะมีลักษณะเป็นแท่งสีขาวขนาดเล็ก โดยวิธีใช้ก็คือจะต้องสอดเข้าไปในทวารหนัก แล้วตัวยาก็จะละลายอยู่ภายในทวารหนัก ซึ่งวิธีการรักษานี้จะช่วยลดการอักเสบ อาการบวม และคันภายในทวารหนัก ส่วนยาทานั้นใช้สำหรับลดอาการบริเวณปากช่องทางทวารหนัก
- ใช้ยารักษาริดสีดวงชนิดทายา ซึ่งปัจจุบันนั้นจะมีทั้งรูปแบบเนื้อครีม เนื้อเจล ขี้ผึ้ง ซึ่งตัวยานั้นจะช่วยสมานแผล และลดอาการอักเสบ ปวด บวม บริเวณริดสีดวง แต่ก่อนที่จะใช้แนะนำให้ล้างมือให้สะอาดก่อนนะคะ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เพราะจะต้องใช้มือไปสัมผัสบริเวณริดสีดวง
- กินยาริดสีดวง ปัจจุบันหลากหลายยี่ห้อได้มีการผลิตจำหน่ายยารักษาริดสีดวงสำหรับรับประทาน ทั้งในรูปแบบเม็ด และแบบแคปซูล ซึ่งตัวยานั้นจะออกฤทธิ์ช่วยเพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือดดำให้ดีขึ้น อีกทั้ง ยังช่วยลดการอักเสบ อาการบวม และบางยี่ห้อยังมีคุณสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เพื่อที่จะปรับสมดุลของลำไส้ ป้องกันการเกิดท้องผูก แต่เพื่อความปลอดภัยในการรับประทานควรเลือกซื้อยี่ห้อที่ได้รับรองมาตรฐาน อย. นะคะ เวลารับประทานเข้าไปจะได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา
- ไม่ควรนั่งขับถ่ายเป็นเวลานาน ๆ เพราะการที่นั่งขับถ่ายนาน ๆ จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องผูก และริดสีดวงตามมาได้ ควรขับถ่ายให้เป็นเวลา ไม่ควรนั่งขับถ่ายเป็นเวลานาน ควรเข้าห้องน้ำใช้เวลาในการขับถ่าย 15 นาที ต่อครั้ง และไม่ควรเบ่งอุจจาระแรง ๆ ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : สาเหตุอาการท้องผูก เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่เรียกว่าท้องผูก?
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับ วิธีรักษาริดสีดวง ที่เรานำมาฝากกัน ทุกคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาริดสีดวงอยู่สามารถนำเอาวิธีที่เรานำมาฝากไปปรับใช้กันได้นะคะ เพราะถ้าหากเป็นริดสีดวงแล้ว ไม่ควรปล่อยอาการทิ้งไว้โดยที่ไม่รีบทำการรักษา ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้มีอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้นจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และอาจจะต้องทำการรักษาถึงขั้นจะต้องผ่าตัด และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้น ดังนั้น เมื่อเป็นควรรีบทำการรักษาทันทีนะคะ ไม่ควรปล่อยริดสีดวงเอาไว้โดยไม่รักษา หวังว่าบทความวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับทุกคนนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องเป็นริดสีดวง รักษาอย่างไร มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง ?
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 32 คุณแม่หลังคลอดเป็น ริดสีดวงทวาร ต้องผ่าออกหรือไม่ ?
แม่ท้องเป็นริดสีดวง ถ่ายเสร็จเช็ดก้นมีเลือดอกมา ริดสีดวงสินะ แม่ ๆ เป็นกันมั๊ย
ที่มา : hdmall, andoridzy, bangkokhospital
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!