X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สาเหตุอาการท้องผูก เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่เรียกว่าท้องผูก?

บทความ 5 นาที
สาเหตุอาการท้องผูก เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่เรียกว่าท้องผูก?

สาเหตุอาการท้องผูก นั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง? วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ บอกเลยว่าใครที่มีปัญหาอาการท้องผูกเกิดขึ้นบ่อย ๆ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และต้องใช้เวลานานเป็นพิเศษกว่าจะขับถ่ายออกได้ นั่นถือเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังมีอาการท้องผูกแน่นอน ซึ่งปัญหาท้องผูกนั้นถือเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากใครที่มีปัญหานี้อยู่ ไม่อยากให้มองข้ามเด็ดขาด ควรรีบทำการรักษาโดยด่วน อย่าปล่อยให้เกิดเป็นอาการท้องผูกเรื้อรังเพราะอาจจะมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา ดังนั้น วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการท้องผูกให้มากยิ่งขึ้น มาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ทำความรู้จักอาการท้องผูก มีอาการเป็นอย่างไร?

 

สาเหตุอาการท้องผูก

 

สำหรับอาการท้องผูก (Constipation) นั้น เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่หลายคนได้เคยประสบเจอกับปัญหานี้ และโอกาสที่มักจะเกิดขึ้นมักจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอาการท้องผูกนั้น ซึ่งลักษณะอาการของคนที่เป็น จะไม่ค่อยได้ขับถ่ายบ่อย แล้วก็มีอุจจาระที่แข็งทำให้ยากต่อการขับถ่าย จึงต้องใช้เวลานานในการเบ่งถ่ายเป็นพิเศษ แถมบางครั้งก็จะมีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่าย แล้วก็อาจมีเลือดปนออกมากับอุจจาระอีกด้วย

 

สาเหตุอาการท้องผูก นั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง?

  • อาจจะเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น อาจจะเกิดจากโรคทางระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ หรือโรคทางระบบประสาท เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง พาร์กินสัน การตั้งครรภ์ เป็นต้น เมื่อฮอร์โมนของร่างกายเกิดการเสียสมดุลในการทำงาน ก็อาจจะสาเหตุที่นำไปสู่อาการท้องผูกได้เช่นเดียวกัน
  • การรับประทานยา เพราะยาบางประเภท อาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีมอร์ฟีน ยารักษาความดันโลหิตบางกลุ่ม ยารักษาอาการทางจิตเวช อาหารเสริมกลุ่มแคลเซียมและธาตุเหล็ก ยารักษามะเร็งบางชนิด เป็นต้น ดังนั้น การใช้ยาบางชนิดโดยการรับประทานเข้าไปก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียง จนเกิดการเป็นอาการท้องผูกขึ้นมาได้
  • มีการอุดตันภายในลำไส้ สาเหตุนี้ก็อาจทำให้อุจจาระเคลื่อนตัว ออกมาจากระบบทางเดินอาหารได้ลำบาก ทำให้สะสมติดค้างอยู่ภายในลำไส้ จนเกิดเป็นอาการท้องผูก

 

การรักษาอาการท้องผูก สามารถรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

ปัจจุบันก็ได้มีวิธีรักษาอาการท้องผูกได้หลายวิธี แต่ก่อนจะทำการรักษาก็จะต้องที่มาของสาเหตุก่อน อะไรที่ทำให้เกิดอาการท้อง ซึ่งวิธีรักษาของอาการท้องผูกนั้น จะแบ่งออกเป็นดังนี้

 

สาเหตุอาการท้องผูก

 

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหาร

  • บอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยรักษาอาการท้องผูกอย่างได้ผลแน่นอน แต่จะต้องมีอาการท้องผูกที่มีอาการไม่รุนแรงเท่านั้นนะคะ ซึ่งวิธีนี้เริ่มด้วยง่าย ๆ โดยการปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน และนั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม แล้วก็ควรดื่มน้ำเป็นประจำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อไม่ร่างกายเกิดการขาดน้ำ ส่งผลให้อุจจาระแข็งเกินไป นอกจากนี้ ในส่วนของเรื่องการรับประทานอาหารแนะนำให้รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูงจะทำให้ขับถ่ายง่ายมากยิ่งขึ้น

 

การใช้ยาระบาย

  • การรับประทานยาระบายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งตัวยานั้นก็ได้ถูกแบ่งออกได้หลากหลายชนิด ได้แก่ ยาระบายกลุ่มไฟเบอร์ (Fiber Supplements) ยาระบายในกลุ่มกระตุ้นให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัว (Stimulant Laxatives) ยาระบายกลุ่มออสโมซิส(Osmotic Laxatives) จะออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เพื่อให้อุจจาระมีปริมาณน้ำมากทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น แล้วก็ทางที่ดีไม่ควรใช้ยาระบายติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้งจะดีที่สุดนะคะ เพื่อความปลอดภัย หรือถ้าหากใครที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์ทันที

 

ดีท็อกซ์ล้างลำไส้

  • ปัจจุบันการทำการดีท็อกซ์นั้นถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่คนนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ปัจจุบันได้มีการผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ช่วยในการดีท็อกซ์อยู่หลากหลายยี่ห้อมาก ๆ ซึ่งมีทั้งในรูปแบบ ผงละลายน้ำ และแคปซูล จึงทำให้ง่าย และสะดวก ในการดีท็อกซ์ยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งการดีท็อกซ์ก็เป็นวิธีการล้างสารพิษที่อยู่ภายในร่างกาย หรือสะสมติดค้างอยู่ในลำไส้ให้ออกไป จากนั้นก็จะช่วยปรับสมดุลการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ดีขึ้น รวมถึงระบบการขับถ่าย ใครที่ปัญหาท้องผูกบ่อย ๆ ก็หมดกังวลปัญหานี้ไปเลย เพราะถ้าหากคุณทำการดีท็อกซ์ ร่างกายของคุณก็จะสามารถขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ และยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย

 

การผ่าตัด

  • สำหรับวิธีการรักษานี้จะมักใช้ในกรณีที่มีอาการท้องผูกรุนแรง เช่น ลำไส้เกิดการอุดตัน หรือภาวะที่ลำไส้เคลื่อนไหว เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้แพทย์จะทำการวินิจฉัยสาเหตุก่อน จากนั้นก็จะทำการผ่าตัดรักษาในขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารแก้ท้องผูกสำหรับคนท้อง แม่ตั้งครรภ์ท้องผูก มีวิธีแก้ยังไงบ้าง

การนั่งขับถ่ายที่ถูกต้องจะต้องทำอย่างไร?

 

สาเหตุอาการท้องผูก

 

การนั่งขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งท่านั่งขับถ่ายที่ถูกต้อง ควรเป็นท่านั่งที่ทำมุม 35 องศา หรือเป็นการนั่งในลักษณะนั่งยอง ๆ นั่นเอง ให้หัวเข่าอยู่เหนือสะโพก ซึ่งการนั่งลักษณะนี้จะช่วยให้ลำไส้ตรงเปิดมากขึ้น ทำให้คุณสามารถขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ถ้าหากนั่งชักโครก และต้องการนั่งท่าที่ถูกต้องจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยอย่างเก้าอี้ขนาดเล็ก นำมาวางหน้าชักโครกเพื่อที่จะได้วางขาในขณะนั่งขับถ่าย ก็จะทำให้ขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น

แต่สำหรับการนั่งชักโครกในแบบปกติทั่วไป จะเป็นท่านั่งมุมฉากที่ร่างกายจะทำมุมที่ 90 องศา ซึ่งท่านั่งลักษณะนี้ ทำให้ลำไส้ถูกกดทับ ทำให้ขับถ่ายได้ยาก ดังนั้น ในเรื่องของท่านั่งก็ถือว่ามีผลต่อการขับถ่ายเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นใครที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายลองปรับเปลี่ยนท่านั่งให้ถูกลักษณะดูนะคะ เผื่อจะทำให้ขับถ่ายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากลองเปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้องแล้ว ก็ยังขับถ่ายได้ยาก ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจจะมีอาการท้องผูกขั้นที่รุนแรงได้ ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทำการวินิจฉัย และรักษาโดยเร็วที่สุดค่ะ อย่างปล่อยทิ้งไว้

 

หากใครที่มีอาการท้องผูก หรือถ่ายอุจจาระไม่ออกเป็นเวลานาน หรืออุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง อาการเหล่านี้อาจจะเป็นอาการท้องผูกธรรมดา แต่ถ้ามีอาการท้องผูกเป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายเดือนขึ้นไปอาจจะมีความเสี่ยงสูงถ้าเกิดเป็นอาการท้องผูกเรื้อรัง ดังนั้น ถ้าหากช่วงนี้ใครมีปัญหาอาการท้องผูกธรรมดาลองนำวิธีการรักษาอาการท้องผูกที่เรานำมาฝากไปปรับใช้กันดูนะคะ แต่ถ้าหากอาการไม่ขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุจะดีที่สุดค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการท้องผูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ หากแก้ไขไม่ทันอาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

ลูกท้องผูก ทำไงดี ? พบวิธีดูแลปัญหาท้องผูกในเด็ก ง่ายๆ ด้วย Fibermate Kiddy

นมสำหรับเด็กท้องผูก ควรเลือกแบบไหน ปลอดภัยกับลำไส้ของลูกน้อย

ที่มา : 1, 2, 3

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Suttida Butdeewong

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • สาเหตุอาการท้องผูก เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่เรียกว่าท้องผูก?
แชร์ :
  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ