X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้ ยามลูกมีไข้ดูแลอย่างไรให้ถูกวิธี

บทความ 5 นาที
วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้ ยามลูกมีไข้ดูแลอย่างไรให้ถูกวิธีวิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้ ยามลูกมีไข้ดูแลอย่างไรให้ถูกวิธี

เมื่อลูกมีไข้ทารกน้อยมักจะงอแง โยเยมากกว่าปกติ เนื่องจากเจ้าหนูรู้สึกไม่สบายตัวนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ มาดูวิธีการดูแลเมื่อเจ้าหนูเป็นไข้อย่างถูกวิธีกันค่ะ ติดตามอ่าน

อาการไข้ในเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเด็กแรกเกิด หรือเด็กโตแล้วก็ตาม เป็นอาการที่พบบ่อยมาก และคอยเป็นความกังวลใจให้คุณพ่อ คุณแม่อยู่เสมอ วันนี้ theAsianparent มีบทความ วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้ มาฝากให้อ่านกัน

 

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้

ไข้ คืออะไร

ไข้ คือ  อุณหภูมิของร่างกายขึ้นสูงกว่าปกติในเบื้องต้นทราบได้โดยคลำหน้าผาก  ซอกคอ หรือบริเวณข้อพับของร่างกาย  อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว  หนาว ๆ ร้อน ๆ ปากแห้ง คอแห้ง  ปวดศีรษะ  หนาวสั่นหรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

สาเหตุของการมีไข้ ทารกมีไข้

1. เป็นโรคจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่  ไข้เลือดออก  ปอดบวม  เป็นต้น

2. มีปฏิกิริยาแพ้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะเด็ก ๆ ภายหลังได้รับวัคซีน มักจะเป็นไข้

3. จากการเป็นแผล หรือจากการผ่าตัด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการไข้

การมีไข้สูงหรือต่ำไม่ได้หมายความว่า   โรคไหนจะรุนแรงมากน้อยกว่ากัน  ไข้ต่ำ ๆ อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต  ในขณะที่ไข้สูงอาจเป็นโรคที่หายเองได้  ดังนั้น  เมื่อลูกมีไข้  ควรจะพาไปหาคุณหมอ หากปล่อยให้หายเองอาจจะเป็นมากกว่าเดิม

วิธีวัดปรอททางรักแร้

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ เด็ก ทารก เป็น ไข้

 

1. ซับรักแร้ให้แห้ง สลัดปรอทให้ต่ำลงถึง 35 องศาเซลเซียส

2. กางแขนลูกแล้ววางปรอทไว้ที่กึ่งกลางรักแร้ ต้องดูไม่ให้ปลายปรอทโผล่มาจากด้านหลัง

3. ทิ้งปรอทไว้นาน 3-5 นาที

วิธีอ่านผล

1. ถือปรอทระดับสายตา

2. อ่านค่าอุณหภูมิที่ได้ แล้วบวกเพิ่มอีก 0.5 องศาเซลเซียส

3. ถ้าค่าที่อุณหภูมิที่อ่านมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส แสดงว่าเจ้าหนูมีไข้แล้วค่ะ

บทความแนะนำ  5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปรอทวัดไข้เมื่อลูกไม่สบาย

เช็ดตัวลดไข้ ทารกมีไข้

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเช็ดตัว

1. อ่างน้ำหรือกะละมังใบเล็ก

2. น้ำธรรมดา (น้ำก๊อก)

3. ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก 3 ผืน

4. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 1 ผืน

5. เสื้อผ้าเนื้อบาง 1 ชุด

เรื่องน่ารู้   อุณหภูมิของน้ำสำหรับการเช็ดตัวลดไข้

อุณหภูมิของน้ำ ก็มีผลต่อการลดไข้ด้วยเช่นกัน โดยปกติเราจะใช้น้ำที่มีอุณหภูมิต่าง ๆ ดังนี้

1. น้ำอุ่น ( Warm Sponge )

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 40 C โดยเชื่อว่าน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว หลังการเช็ดตัวอุณหภูมิร่างกายจะค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการให้การเช็ดตัว ดังนั้นการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น จะไม่ได้หวังผลในการลดอุณภูมิ แต่เป็นการกระตุ้นให้กระบวนการขับพิษในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

2. น้ำธรรมดาที่อุณหภูมิปกติ ( Tepid Sponge )

การเช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาที่อุณหภูมิประมาณ 27-37 C จะกระทำเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงประมาณ 38.5 C ขึ้นไป ในขณะเช็ดตัวด้วยผ้าเปียกจะทำให้หลอดเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัว ความร้อนภายในร่างกายออกมาสู่ผิวหนังมากขึ้นโดยการถ่ายเทความร้อนจากผิวหนังมาสู่ผ้าเปียก

วิธีการเช็ดตัว

1. ห้องที่ใช้เช็ดตัวไม่มีควรมีลมโกรกและควรปิดพัดลมหรือแอร์ เพื่อไม่ให้ลูกหนาวสั่นระหว่างเช็ดตัว

2. การเตรียมเด็ก ถอดเสื้อผ้าให้ลูกออก หากเป็นเด็กโตให้ใช้ผ้าคลุมตัวขณะเช็ดตัวเพื่อความสะดวกในการเช็ด

บทความแนะนำ  น้ำมะนาวกับน้ำอุ่น เช็ดตัวลดไข้เด็กได้ผลดี

เทคนิคการเช็ดตัวเมื่อมีไข้

1. ใช้ผ้าชุบน้ำที่เตรียมไว้บิดหมาด ๆ เริ่มเช็ดที่หน้าและวางพักที่คอ นำผ้าอีกผืนเช็ดที่หน้าอกและลำตัวให้ทั่ว หลังจากนั้นเช็ดแขนด้านไกลตัวของคุณแม่ เช็ดตัวเริ่มจากปลายแขนเข้าสู่หัวใจวางพักที่ข้อพับ  รักแร้ แล้วเช็ดแขนด้านใกล้ตัวด้วยวิธีเดียวกัน  ต่อไปพลิกตะแคงตัวเพื่อที่จะเช็ดด้านหลัง  เช็ดขา 2 ข้าง โดยเช็ดเข้าหาหัวใจเช่นเดียวกัน

2. ผ้าที่ใช้เช็ดตัวแล้ว ควรเปลี่ยนชุบน้ำใหม่บิดหมาด ๆ ทุกครั้ง นอกจากนี้ผ้าบิดหมาดให้นำมาวางตามข้อพับต่าง ๆ ด้วย และเปลี่ยนทุก 3 – 5 นาที เช่นกัน

3. ระยะเวลาในการเช็ดตัวใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาที

4. หลังเช็ดตัว 30 นาที ควรวัดปรอทซ้ำ เพื่อประเมินว่าเด็กมีไข้ลงหรือไม่

5. หลังเช็ดตัวให้แห้งแล้ว ให้เด็กสวมเสื้อผ้าเนื้อบางแล้วนอนพัก

บทความแนะนำ  เมื่อลูกมีไข้สูง: สิ่งที่ห้ามทำและวิธีลดไข้ที่ถูกต้อง

คุณหมอฝากบอก

1. ให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยระบายความร้อนออกให้มากขึ้นทางเหงื่อและปัสสาวะ

2. เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ให้ลกสวมเสื้อผ้าที่เหมาะกับฤดูกาล ไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าหนา ๆ ให้จนกว่าตัวจะเย็นลง เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้ความร้อนระบายออกได้ยาก

3. การให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาสามัญประจำบ้าน เช่น  พาราเซตามอล  ถ้าสงสัยว่าเด็กจะเป็นไข้เลือดออก  ห้ามให้ยาแอสไพรินเด็ดขาดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต 

บทความแนะนำ  ไข้เลือดออก: โรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

4. ถ้ามีอาการชัก ให้จับนอนหงายศีรษะตะแคงไปด้านหนึ่ง ห้ามกรอกยาหรือน้ำเข้าปากจะทำให้สำลักลงหลอดลมได้

บทความแนะนำ  ดูแลอย่างไรเมื่อลูกเป็นโรคลมชัก

ข้อควรระวัง : ห้ามนำช้อนหรือไม้สอดเข้าในปากหรืองัดปากเด็กเด็ดขาด  อาจทำให้ฟันหักและหลุดลงไปในหลอดลมได้

เพียงเท่านี้อาการไข้ของลูกก็จะทุเลาหากปฏิบัติตามวิธีที่กล่าวมาค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

แผ่นพับ “การดูแลเด็กมีไข้” แผนกกุมารแพทย์  โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤต โควิด-19

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ ทารกเป็นไข้ ยามลูกมีไข้ดูแลอย่างไรให้ถูกวิธี
แชร์ :
  • เมื่อลูกเป็นไข้ ซื้อยาลดไข้ให้กินได้มั้ยหรือมีอาการแค่ไหนถึงพาลูกไปหาหมอ?

    เมื่อลูกเป็นไข้ ซื้อยาลดไข้ให้กินได้มั้ยหรือมีอาการแค่ไหนถึงพาลูกไปหาหมอ?

  • สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

    สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • เมื่อลูกเป็นไข้ ซื้อยาลดไข้ให้กินได้มั้ยหรือมีอาการแค่ไหนถึงพาลูกไปหาหมอ?

    เมื่อลูกเป็นไข้ ซื้อยาลดไข้ให้กินได้มั้ยหรือมีอาการแค่ไหนถึงพาลูกไปหาหมอ?

  • สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

    สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ