ยาลดไข้เด็ก ยาลดไข้สําหรับทารกใช้ยังไงให้ถูกวิธี ให้ลูกหายป่วยอย่างรวดเร็ว วิธีแก้ไข้ตัวร้อน ยาแก้ไข้ยี่ห้อไหนดี โดยเฉพาะลูกที่ยังอยู่ในวัยเด็กเล็ก หรือยังอยู่ในวัยทารกหรือวัยเตาะแตะที่ไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดได้พ่อแม่ก็ยิ่งลำบากใจ ลูกเอาแต่ร้องไห้เพราะไม่สบายเนื้อสบายตัว ก่อนอื่นแนะนำวิธีลดไข้ก่อนนะคะ เด็ก ๆ เมื่อป่วยขึ้นมามักจะมีอาการ ตัวร้อน หน้าแดง ตัวแดง เนื่องจากเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังขยายตัวเพื่อระบายความร้อน แต่เด็กบางคนอาจมีอาการปลายมือปลายเท้าเย็นและซีดบางครั้งการเอามือแตะหน้าผากจึงไม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กกำลังมีไข้สูง ดังนั้น การวัดไข้คุณพ่อคุณแม่ควรใช้ปรอทวัดไข้เท่านั้น
ยาลดไข้เด็ก ยาแก้ไขเด็ก บรรเทาอาการไข้ด้วยการเช็ดตัว ยาแก้ไข้ยี่ห้อไหนดี วิธีแก้ไข้ตัวร้อน
ยาแก้ไขเด็ก วิธีลดไข้ วิธีแก้ไข้ตัวร้อน
ยาแก้ไขเด็ก จุดประสงค์สำคัญของการลดไข้ คือ เมื่อลูกเป็นไข้ลูกน้อยจะรู้สึกสบายตัวขึ้น อาการปวดศีรษะบรรเทาเบาบางลง ทำให้ลูกงอแงน้อยลง และสามารถนอนหลับพักผ่อนได้ หากมีไข้สูงการลดไข้จะช่วยป้องกันการชักได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น ควรเช็ดตัวให้ลูกเพื่อลดอาการไข้เป็นสามารถช่วยได้
การเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกวิธี
- เมื่อลูกเป็นไข้ลดไข้โดยการเช็ดผิวหนังโดยใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดา ห้ามใช้น้ำเย็นหรือแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เส้นเลือดที่ผิวหนังหดตัว ระบายความร้อนออกไม่ได้
- หากมีอาการหนาวสั่นและไข้สูงมาก เวลาเช็ดตัวให้ถอดเสื้อผ้าออกให้หมดแล้วคลุมส่วนที่ยังไม่ได้เช็ดด้วยผ้าห่มบาง ๆ
- เช็ดย้อนทิศทางการไหลเวียนของเลือด ไม่จำเป็นต้องเช็ดผิวหนังแรง ๆนะคะ เพราะการเช็ดตัวแรง ๆ ทำให้ลูกเจ็บและแสบผิวหนังอีกทั้งไม่ช่วยลดไข้แต่อย่างใด
- เน้นเช็ดตามซอกคอ ใบหน้า ท้อง ข้อพับแขน ขาหนีบ จะช่วยดึงความร้อนออกจากเส้นเลือดได้มาก
- การใช้ผ้าเย็นหรือ เจลลดไข้ไม่ได้ช่วยให้ไข้ลดลงแต่อย่างใดเพียงแต่ช่วยระบายความร้อนจากร่างกายเท่านั้น แต่มีประโยชน์ในเรื่อง การบรรเทาอาการปวดศีรษะให้ลูกได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด
ยาลดไข้สําหรับทารก ยาแก้ไข้ยี่ห้อไหนดี เมื่อลูกเป็นไข้ใช้ยาลดไข้ถูกวิธี ยาแก้ไข้เด็ก ใช้ยังไงให้ถูกวิธี ให้ลูกหายป่วยอย่างรวดเร็ว ยา ลด ไข้ สํา ห รับ ทารก ยา แก้ ไข้ เด็ก ยาแก้ไข้
ยาลดไข้เด็ก ใช้ยังไงให้ถูกวิธี ให้ลูกหายป่วยอย่างรวดเร็ว
การใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กป่วยเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจเพื่อจะใช้ได้อย่างถูกต้อง ปกติแล้วในท้องตลาด ยาลดไข้สำหรับเด็กมีหลากหลายยี่ห้อ แต่ตัวยาไม่แตกต่างกันมากนัก ยาลดไข้มี 2 ชนิด คือ
ยาแก้ไข้ยี่ห้อไหนดี
1. ยาลดไข้ธรรมดา ตัวยาคือ พาราเซตามอล
ยาไม่กัดกระเพาะ สามารถให้ตอนท้องว่างได้ ให้ห่างกันทุก 4 ชั่วโมงในช่วงแรกที่ป่วย เมื่ออาการดีขึ้น สามารถให้ห่างขึ้นและหยุดได้ ถ้าต้องให้ติดต่อกันเกิน 5 วัน ควรต้องพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้ แต่สามารถให้ยาได้นานกว่านั้น ถ้ารู้สาเหตุของไข้แล้วและไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ค่ะ ยาน้ำพาราเซตามอลมีหลายขนาดความเข้มข้น คุณพ่อคุณแม่ต้องดูฉลากยาให้ดีเพื่อป้องกันการให้ยาผิดหรือให้ยาเกินขนาด
ขนาดยาปกติที่ใช้ลดไข้ คือ 10 มก./กิโลกรัมของน้ำหนักลูก
- ยาน้ำชนิดหยด (drop) 100 มก/1 ซีซี มีความเข้มข้นมากที่สุด จึงใช้ยาปริมาณน้อยกว่าแบบอื่น ๆ มีหลายยี่ห้อ เช่น เทมปรา ซาร่า ไทลินอล
- ยาน้ำ 120 mg/5ซีซี มีหลายยี่ห้อ เช่น เทมปรา ซาร่า คาปอล ข้างกล่องจะระบุว่า เป็นยาลดไข้สำหรับเด็กเล็ก
- ยาน้ำ 160 มก/5 ซีซี มีเฉพาะยี่ห้อ ไทลินอล
- ยาน้ำ 250 มก/5 ซีซี มีหลายยี่ห้อ
ข้างกล่องจะระบุว่าเป็นยาลดไข้สำหรับเด็กโต ซึ่งความจริงเด็กเล็กก็ให้ได้ ขึ้นกับปริมาณที่ให้ค่ะ
- ยาเหน็บก้น มี 2 ขนาด คือ 125 มก. และ 250 มก. /เม็ดฃ
- ยาเม็ด มี 3 ขนาด คือ 325 มก. และ 500 มก. และ 650 มก. ซึ่งขนาด 650 มก. ต้องให้ห่างกันทุก 8 ชั่วโมง
ยาน้ำพาราเซตามอลยี่ห้อเดียวกัน และความเข้มข้นเดียวกันอาจมีหลายรส หลายสี เวลามาพบคุณหมอและปรึกษาเรื่องขนาดยา จึงควรสังเกตขนาดความเข้มข้น มากกว่าดูจากรสและสีของยาค่ะ ยาแก้ไข้แบบน้ำที่เป็นแบบแขวนตะกอนน้ำขุ่นๆ เช่น ซาร่า ไทลินอล ก่อนใช้ คุณพ่อคุณแม่ต้องเขย่าขวดให้ดีเพื่อให้ยาที่ตกตะกอนที่ก้นขวดกระจายทั่วกัน จะได้ได้รับยาในปริมาณที่ถูกต้อง
2. ยาแก้ไข้สูง ไอบูโพรเฟน
ใช้ได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป มักจะให้เมื่อลูกมีไข้สูงมาก เช่น เกิน 39 องศาเซลเซียส ตัวยาไอบูโพรเฟน มีฤทธิ์ลดไข้ได้แรงกว่าพาราเซตามอล แต่อาจมีผลข้างเคียงระคายกระเพาะอาหารทำให้ปวดท้องและอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้จึงไม่ควรให้ตอนท้องว่างและห้ามใช้ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก
คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบข้อมูลกันแล้วนะคะว่า ใช้ยาลดไข้ถูกวิธีต้องใช้อย่างไร
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
เมื่อลูกเป็นไข้ ซื้อยาลดไข้ให้กินได้มั้ยหรือมีอาการแค่ไหนถึงพาลูกไปหาหมอ?
ยาลดไข้เด็กแต่ละช่วงวัยต่างกันอย่างไร?
เรื่องต้องรู้เมื่อลูกป่วย เทอร์โมมิเตอร์กับการดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!