X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 วิธีรับมือกับ ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน ปีการศึกษาใหม่ 2564

บทความ 5 นาที
7 วิธีรับมือกับ ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน ปีการศึกษาใหม่ 2564

หากเปิดเทอมนี้ลูกของคุณ ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน จะมีวิธีรับมืออย่างไรดี

ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน เป็นปัญหาที่กำลังจะเวียนกลับมาอีกครั้ง เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ที่ทวีคูณความรุนแรงขึ้นทุกวัน และเด็ก ๆ ไม่สามารถเลื่อนกำหนดการเปิดเทอมได้อีกต่อไป มาดูกันดีกว่า หากเปิดเทอมนี้ลูกของคุณ ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน จะมีวิธีรับมืออย่างไรดี

 

จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน ?

อีกไม่กี่วันจะเป็นการเริ่มต้นการศึกษาใหม่ของเด็ก ๆ ทั่วประเทศ บางคนอาจเคยมีประสบการณ์จากปีที่แล้วมาบ้าง แต่สำหรับเด็กที่เพิ่งเข้าเรียนปีนี้ นี่จะเป็นครั้งแรกที่เขาได้เรียนแบบออนไลน์เช่นกัน โดยการเรียนระบบออนไลน์นั้นจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ แต่จะทำให้เด็ก ๆ เกิดความเครียดสะสมตามมาได้ โดยส่วนหนึ่งมาจากความห่างไกล หรือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและคุณครู รวมถึงการที่ลูกของคุณเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อนในห้องอีกด้วย โดยผู้ปกครองสามารถสังเกตท่าทางของลูกขณะเรียนได้ ดังต่อไปนี้

  • ลูกมีการโต้ตอบกับเพื่อนในห้องเรียน หรือคุณครูหรือไม่
  • ลูกนั่งเหม่อออกไปยังนอกหน้าต่าง หรือไม่ได้มองที่จอ
  • กุมขมับ และส่ายหัวไปมา
  • ทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่เรื่องเรียน เช่น เล่นโทรศัพท์มือถือ หรือขีดเขียนกระดาษเล่น
  • งอแงไม่อยากเรียนออนไลน์ ไม่ทำการบ้าน

บทความที่น่าสนใจ : ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ผลดีกว่าการไปบังคับกดดัน หรือไม่?

 

วิธีรับมือกับ ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน

การที่ลูกเราเรียนไม่ทันเพื่อนนั้นอาจมีสาเหตุและปัจจัยจากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคุณครู เพื่อนในห้องเรียน ตัวของลูกคุณเอง หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมในการเรียนที่อาจไม่เอื้ออำนวยแก่การเรียนสักเท่าไหร่ก็อาจส่งผลทำให้พวกเขาเรียนไม่ทันเพื่อนได้ วันนี้เราลองมาอ่านวิธีรับมือกับลูกที่เหมือนจะเรียนไม่ทันเพื่อนในยุคโควิดนี้กันค่ะ

 

1. สร้างพื้นที่ไว้สำหรับเรียนออนไลน์โดยเฉพาะ

บางครั้งสภาพแวดล้อมก็อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เด็ก ๆ เรียนไม่ทันเพื่อน อาจมีเสียงรบกวนจนพวกเขาฟัง และจดไม่ทัน หรือแม้แต่สิ่งรอบข้างดึงความสนใจของพวกเขาไป ดังนั้นคุณควรที่จะจัดสถานที่การเรียนออนไลน์ของลูกคุณให้เหมาะสม โดยบริเวณนั้นจะต้องเป็นที่ที่ไม่มีบุคคลใดเดินผ่านไปผ่านมา หรือมีเสียงดังรบกวนอยู่ตลอดเวลา ก็อาจช่วยดึงสมาธิของพวกเขาให้กลับมาจดจ่อกับการเรียนออนไลน์ได้อีกครั้งหนึ่ง บริเวณห้องนั่งเล่น และที่ทำงานในบ้านของคุณขณะที่คุณก็ work from home หรือกิจการส่วนตัวที่บ้าน ไม่เหมาะที่จะเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนออนไลน์ของเด็ก ๆ มากที่สุด เพราะจะทำให้เด็ก ๆ เสียสมาธิได้ง่าย

 

ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน 5

 

2. ทำทุกอย่างให้เหมือนกับการไปโรงเรียนจริง

การที่เด็ก ๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน และได้เรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านนั้นอาจทำให้เขารู้สึกง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา คุณควรให้พวกเขาทำทุกอย่างแบบปกติ ตื่นเช้ามาอาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัวที่ไม่ใช่ชุดนักเรียน ทานอาหารเช้า และเริ่มเรียนออนไลน์ โดยวิธีการนี้จะเป็นการลดความเสี่ยงเรื่องเรียนไม่ได้ทันเพื่อนได้ เนื่องจากการทำกิจวัตรประจำวันจะช่วยทำให้พวกเขารู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า และพร้อมรับความรู้เข้าสู่สมองได้เป็นอย่างดี

บทความที่น่าสนใจ : อาหารเช้าน่ารัก ๆ พิชิตใจลูกน้อยกินข้าวยาก รับรองลูกติดใจ

 

3. กำหนดระยะเวลาเรียนไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป

เด็กที่เรียนออนไลน์ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเรียน และเลิกเรียนตามเวลาเรียนจริงของ โรงเรียน ซึ่งหากการที่คุณให้เขาเรียนมากเกินไป ด้วยการเรียนพิเศษต่อหลังจากเรียนออนไลน์ของโรงเรียนเสร็จ อาจทำให้สมองของพวกเขาเกิดความเหนื่อยล้า และส่งผลระยะยาวทำให้พวกเขาเรียนไม่ทันเพื่อนได้ ถึงแม้ว่าเขาจะเรียนเพิ่มเติมไปมากกว่าคนอื่นก็ตาม เพราะภาวะสมองล้านั้นเกิดจากความเครียดสะสมที่แม้แต่พวกเขาเองก็ไม่รู้ตัว และเกิดจากการที่สมองถูกใช้งานอย่างหนักเป็นระยะนาน และรวมถึงการพักผ่อนน้อยด้วยที่ทำให้สมองไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอนั่นเอง และการที่พวกเรียนน้อยเกินไปนั่นหมายความว่าลูกของคุณอาจขาดเรียนในบางรายวิชา ซึ่งการที่เขาขาดเรียนนั้นก็จะส่งผลทำให้เขาพลาดบทเรียนไป จนตามเพื่อนไม่ทันนั่นเอง

 

4. หยุดพักบ้าง

การเรียนออนไลน์นั้นคือการนั่งเรียนอยู่บริเวณหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมือถือเป็นระยะเวลานาน คุณควรให้เขาได้พักสายตา หรือขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง หาคุณมองเห็นแล้วว่าพวกเขามีอาการเหนื่อยล้า ควรให้เขาหยุดพักการเรียนสัก 5-10 นาที เพื่อเป็นการรีเฟรชสมองให้กลับมาสดชื่นอีกครั้ง เพื่อที่จะในการเรียนวิชาถัด ๆ ไป อย่าลืมที่จะบอกพวกเขาว่า และไม่ควรหมกมุ่นกับการเรียนมากเกินไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : การบ้านจำเป็นต่อเด็กไหม ทำไมเด็กต้องมีการบ้าน ลูกทำการบ้านให้อะไรบ้าง

 

ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน 2

 

5. หมั่นทบทวน

ด้วยข้อจำกัดของการเรียนออนไลน์ทำให้เด็ก ๆ ไม่ได้แสดงความคิดเห็นหรือสอบถามคุณครูอย่างเต็มที่เหมือนเวลาเรียนจริงที่โรงเรียน และอาจทำให้เด็กบางคนถูกละเลย หรือไม่ได้รับความสนใจจากคุณครู สิ่งที่ผู้ปกครองจะทำได้คือการให้พวกเขาทบทวนบทเรียนอีกครั้งหลังเรียนเสร็จ 5-10 นาที หรือเป็นการชวนพวกเขาคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนไปในวันนี้ เพื่อเช็กให้แน่ใจว่าเขาเข้าใจเนื้อหาถูกต้อง และเรียนทันเพื่อนในห้อง หากเช็กแล้วลูกคุณเรียนตามไม่ทันบทเรียน คุณควรค่อย ๆ สอนเขาอีกครั้ง เพื่อให้เขาเข้าใจ และสามารถเรียนตามทันได้ในวันถัดไป

 

6. เป็นที่พึ่งให้พวกเขาเวลาเขาลำบาก

การบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นผลวัดความเข้าใจของเด็ก ๆ และการสอนของคุณครู หากเด็ก ๆ สามารถทำการบ้านได้ด้วยตัวเองแสดงว่าพวกเขาสามารถเรียนได้ทันปกติตามเพื่อน แต่หากเขาไม่สามารถทำได้คุณควรเป็นที่พึ่งให้กับพวกเขา อย่าพูดออกไปว่า “เพราะไม่ตั้งใจเรียนถึงทำการบ้านไม่ได้” หรือ “เรียนยังไงถึงทำการบ้านไม่ได้” กับพวกเขาเป็นอันขาด สิ่งที่คุณควรจะทำก็คือการสอนเขาทำการบ้านทีละข้ออย่างใจเย็น ทำให้เขาเห็นว่าสิ่งที่พวกเขาเรียนมาสามารถใช้ได้จริงกับการบ้านนี้ เพราะเด็กบางคน หากทำการบ้านไม่ได้นั้นอาจมีผลจากการเรียนไม่ทันเพื่อนนั่นเอง

 

ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน 1

 

7. สื่อสารกับคุณครูโดยตรง

หากสุดท้ายแล้วคุณแก้ปัญหาเรื่องของสถานที่เรียน และความยืดหยุ่นของเวลาเรียนของลูกของคุณแล้ว ลูกคุณยังเรียนไม่ทันเพื่อนอยู่ คุณควรไปปรึกษาคุณครูที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าลูกของคุณในขณะที่เรียนออนไลน์นั้นเขาเป็นอย่างไร และคุณครูสามารถจัดการกับเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง เพราะบางครั้งที่เด็กเรียนทันเพื่อนอาจมีสาเหตุมาจากการไม่ได้รับความสนใจในห้องเรียน หรือไม่สามารถซักถามเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่เข้าใจได้ หรือแม้แต่จะเป็นเรื่องของการเรียนเตรียมไม่พร้อมสอนของคุณครูเอง เพราะบ่อยครั้งที่เนื้อหาที่คุณครูสอนกับการบ้านที่สั่งให้เด็ก ๆ ทำไม่มีความสัมพันธ์กัน จึงทำให้เด็ก ๆ คิดไปเองว่าเขาไม่เข้าใจบทเรียน และเรียนไม่ทันเพื่อนเอง

 

การที่ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยนะคะ คุณควรรีบหาสาเหตุและแก้ไขเป็นอย่างด่วนที่สุด เพราะไม่เพียงแต่การเรียนของพวกเขาจะแย่ลงแล้ว สภาพจิตใจ รวมถึงการสะสมความเครียดก็อาจเกิดขึ้นกับลูกของคุณได้ ทางที่ดีที่สุดคุณควรสอบถามเกี่ยวกับเรื่องการเรียนของเขาบ้างว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ หรือการเรียนของเขาในแต่ละวันเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อที่พวกเขาจะได้ระบายความเครียด หรือหาหนทางในการช่วยเหลือต่อ ๆ ไป ได้

 

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
สุดอลังการ! โชรส์เบอรี กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์ โรงเรียนนานาชาติชั้นนำ ของประเทศไทย กับการสร้างอาคารนวัตกรรมและกีฬามาตรฐานระดับโลกแห่งใหม่
สุดอลังการ! โชรส์เบอรี กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์ โรงเรียนนานาชาติชั้นนำ ของประเทศไทย กับการสร้างอาคารนวัตกรรมและกีฬามาตรฐานระดับโลกแห่งใหม่

บทความที่น่าสนใจ :

เรียนออนไลน์ข้อเสีย ข้อดี แตกต่างกับเรียนในห้องอย่างไร มาดูกันเลย

เปิดเทอมนี้ เตรียมใช้ เว็บครูพร้อม ต้อนรับการเปิดเทอม

วางแผนการศึกษาลูก ตั้งแต่เกิดจนจบ ปริญญาโท ต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • การศึกษา
  • /
  • 7 วิธีรับมือกับ ลูกเรียนออนไลน์ไม่ทันเพื่อน ปีการศึกษาใหม่ 2564
แชร์ :
  • เรียนออนไลน์ข้อเสีย ข้อดี แตกต่างกับเรียนในห้องอย่างไร มาดูกันเลย

    เรียนออนไลน์ข้อเสีย ข้อดี แตกต่างกับเรียนในห้องอย่างไร มาดูกันเลย

  • แม่ ๆ เตรียมเหนื่อยต่อ กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เลื่อนเปิดเทอม หนีโควิด-19

    แม่ ๆ เตรียมเหนื่อยต่อ กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เลื่อนเปิดเทอม หนีโควิด-19

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • เรียนออนไลน์ข้อเสีย ข้อดี แตกต่างกับเรียนในห้องอย่างไร มาดูกันเลย

    เรียนออนไลน์ข้อเสีย ข้อดี แตกต่างกับเรียนในห้องอย่างไร มาดูกันเลย

  • แม่ ๆ เตรียมเหนื่อยต่อ กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เลื่อนเปิดเทอม หนีโควิด-19

    แม่ ๆ เตรียมเหนื่อยต่อ กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เลื่อนเปิดเทอม หนีโควิด-19

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ