X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กติดอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ติดมือถือ ติดคอม แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร?

บทความ 5 นาที
เด็กติดอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ติดมือถือ ติดคอม แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร?

ปัญหาหนักใจของพ่อแม่เมื่อลูกเริ่มโต เด็กติดอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ติดมือถือ ติดคอม พ่อแม่จะมีวิธีแก้ไข และป้องกันได้อย่างไร

เด็กติดอินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์

ปัจจุบันมีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ (social media) และอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลากหลาย ทำให้เกิดปัญหาการติดสื่อออนไลน์และอินเทอร์เน็ตทั้งในผู้ใหญ่และเด็กมากขึ้นทุกวัน และเริ่มจะพบปัญหาในเด็กเล็กน้อยกว่า 5 ปีด้วย โดยการติดสื่อออนไลน์นั้น อาจจะเป็นลักษณะการใช้งานเกมออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ การชมภาพยนตร์ คลิปวีดีโอ การเล่นอินเทอร์เน็ตไปเรื่อย ๆ จนถึงการติดเว็บลามกออนไลน์ ซึ่งการที่ เด็กติดอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย เรามาดูแนวทางการแก้ไข และป้องกันปัญหานี้กันดีกว่าค่ะ

เด็กติดอินเทอร์เน็ต-01

เด็กติดอินเทอร์เน็ต-01

การติดสื่อออนไลน์ ส่งผลกระทบอะไรต่อเด็กบ้าง?

ปัญหาอันส่งผลกระทบต่อเด็กที่เกิดจากการติดสื่อออนไลน์ (social media) และอินเทอร์เน็ตมีหลายด้าน ดังนี้

  • ด้านร่างกาย เด็กอาจเกิดปัญหาพักผ่อนไม่เพียงพอ สายตาเสียจากการจ้องหน้าจอนาน ๆ ปวดเมื่อยตามตัว และเกิดปัญหาน้ำหนักเกิน เพราะนั่งไม่ขยับตัวเป็นเวลานาน
  • ด้านจิตใจ เด็กอาจมีปัญหาหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น เกิดภาวะซึมเศร้า และความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ
  • ด้านความสัมพันธ์ เด็กอาจแยกตัวออกจากสังคม และหมกมุ่นกับหน้าจอ จนเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างได้
  • ด้านการเรียน เด็กอาจเสียเวลาทั้งในและนอกเวลาเรียนไปกับสื่อออนไลน์ แทนที่จะใช้ศึกษาหาความรู้
  • ด้านการเงิน เด็กอาจใช้เงินไปกับเกมหรือการพนันออนไลน์ นำมาซึ่งปัญหาการเงิน และอาจเกิดปัญหาการลักขโมยเงินของผู้ปกครองได้
  • ด้านการถูกหลอกลวง และกลั่นแกล้งผ่านโลกไซเบอร์ หรือที่เรามักจะคุ้นหูกับคำว่า บูลลี่ เด็กอาจเป็นเหยื่อของการหลอกลวงหรือถูกกลั่นแกล้ง และอาจถูกข่มขู่ คุกคาม จากสื่อออนไลน์ได้
เด็กติดอินเทอร์เน็ต-02

เด็กติดอินเทอร์เน็ต-02

ทราบได้อย่างไรว่าเด็กติดสื่อออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต?

หากเด็กมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการติดอินเทอร์เน็ต (internet) ได้แก่

  • หมกมุ่นกับการใช้อินเทอร์เน็ต หรือใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน
  • มีอาการหงุดหงิด ซึมเศร้าผิดปกติ เมื่อถูกขัดขวางไม่ให้เล่นอินเทอร์เน็ต
  • ไม่สามารถควบคุมหรือหยุดการใช้อินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้เกินเวลาที่ได้ทำข้อตกลงกับผู้ปกครอง
  • ใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตนานมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมอื่น ๆ นอกจากการอยู่หน้าจอเล่นอินเทอร์เน็ต
  • การเล่นอินเทอร์เน็ตส่งผลให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านของพฤติกรรม อารมณ์ การทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์ในครอบครัว
เด็กติดอินเทอร์เน็ต-03

เด็กติดอินเทอร์เน็ต-03

สาเหตุที่ทำให้เด็กติดสื่อออนไลน์และอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง?

พบว่าเด็กที่ติดสื่อออนไลน์ และอินเทอร์เน็ต (internet) มีสาเหตุอยู่ 2 ปัจจัยหลักด้วยกัน ได้แก่

1. การเลี้ยงดูและผู้ปกครอง ได้แก่

  • การเลี้ยงดูที่ขาดการฝึกระเบียบวินัย และขาดกฎกติกาในบ้าน
  • การตามใจเด็กมากเกินไป
  • ความไม่ใส่ใจของผู้ปกครอง ในการควบคุมการใช้เวลาของเด็ก
  • การขาดเวลาคุณภาพในครอบครัว
  • ปัญหาความขัดแย้ง และความสัมพันธ์ในครอบครัว

2. ปัญหาของตัวเด็กเอง ได้แก่

  • ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
  • ความพอใจในชีวิต
  • ไม่ได้รับการตอบสนองด้านจิตใจอย่างเหมาะสม
  • เด็กมีปัญหาโรคทางกายหรือโรคทางจิตเวช

ผู้ปกครองจะแก้ไขปัญหาเด็กติดสื่อออนไลน์ได้อย่างไร?

ผู้ปกครองควรกำหนดกติกาการใช้อินเทอร์เน็ต (internet) กับเด็กให้ชัดเจน โดยไม่ให้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตเลย โดยจะอนุญาตให้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ เมื่ออายุมากกว่า 6 ปี และจะใช้ social media ได้เมื่ออายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป โดยอนุญาตให้ใช้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมงในวันธรรมดา และ 2 ชั่วโมงในวันหยุด

แนะนำว่าควรดูแลเด็ก ให้ใช้อินเทอร์เน็ต (internet) โดยอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ตลอด และอยู่ในพื้นที่ส่วนกลางของบ้าน ไม่ให้ใช้ในห้องส่วนตัวที่ปิดมิดชิด ติดตั้งโปรแกรม เพื่อขัดขวางการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็ก โดยไม่ตำหนิว่ากล่าวด้วยวาจาที่รุนแรง หากเด็กมีพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตที่เยอะจนเกินไป และควรใช้เวลาอยู่กับเด็กให้มากขึ้น โดยให้ได้ไปทำกิจกรรมที่สนใจ และมีประโยชน์ เช่น เล่นกีฬา

หากทำทุกอย่างแล้วยังไม่ได้ผล หรือปัญหามีผลกระทบที่รุนแรงในครอบครัว ก็ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์ เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การป้องกันไม่ให้ลูกติดสื่อออนไลน์และอินเทอร์เน็ต

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ลูกติดสื่อออนไลน์และอินเทอร์เน็ตได้ตั้งแต่เด็ก ดังนี้ค่ะ

  • กำหนดกติกาการใช้อินเทอร์เน็ตให้ชัดเจน ตั้งแต่ที่ลูกเริ่มเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (อายุ 2 ขวบขึ้นไป)
  • ฝึกให้ลูกมีระเบียบวินัยรู้จักแบ่งเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยผู้ดูแลทุกคนทำให้เหมือนกันทั้งบ้าน
  • พูดคุยให้ลูกเข้าใจ และตระหนักถึงโทษของการติดสื่อออนไลน์ และอินเทอร์เน็ต โดยยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
  • การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดของลูก ต้องอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง
  • ใช้เวลาคุณภาพกับลูกให้มากที่สุด หากมีเวลาที่ว่างควรจัดกิจกรรมที่ลูกสนใจทำ โดยไม่ใช้สื่อออนไลน์และอินเทอร์เน็ต

การแก้ปัญหาการติดสื่อออนไลน์ (social media) และอินเทอร์เน็ต (internet) ไม่ได้ยากเกินการแก้ไข หากได้รับการเอาใจใส่ และการสร้างระเบียบวินัยของครอบครัว โดยผู้ใหญ่มีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการแก้ไข และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กค่ะ

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child

เคล็ดลับ เลือก ขนมสำหรับเด็กเล็ก เลือกแบบไหน ไม่ให้ลูกกลายเป็น เด็กติดหวาน

6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

เด็กติดเกม ทำเด็กก้าวร้าว-ควบคุมตัวเองไม่ได้ จิตแพทย์แนะ! วิธีป้องกันและแก้ไข

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เด็กติดอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ ติดมือถือ ติดคอม แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร?
แชร์ :
  • 6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

    6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

  • วิธีแก้ปัญหาลูกติดอุ้ม หลับยาก ไม่ยอมนอน

    วิธีแก้ปัญหาลูกติดอุ้ม หลับยาก ไม่ยอมนอน

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

    6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

  • วิธีแก้ปัญหาลูกติดอุ้ม หลับยาก ไม่ยอมนอน

    วิธีแก้ปัญหาลูกติดอุ้ม หลับยาก ไม่ยอมนอน

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ