เปิดเทอมนี้ เตรียมใช้ เว็บครูพร้อม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ นางสาว ตรีนุช เทียนทอง ได้กล่าวไว้ตอนเป็นประธานแถลงข่าว กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมความพร้อมรับมือการเปิดภาคเรียนที่ 1 ในปี 2564 อยู่ในภายใต้การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ทำการเลื่อนวันเปิดภาคเรียนที่ 1 ปี 2564 เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในรอบที่ 3 ยังมีความรุนแรงมาก เพื่อไม่ให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ ทางกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ทำการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการจัดการศึกษา โดยได้วางแผนการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ
นางสาว ตรีนุช ได้กล่าวต่อมาว่า ในระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 17-31 พฤษภาคม ก่อนที่จะเปิดภาคเรียนจะเป็นการเตรียมความพร้อมของทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยที่แบ่งกิจกรรมเป็น 2 ระบบคือ
1. การเรียนออนไลน์ ขณะนี้ที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจัดทำระบบ เว็บไซต์ ครูพร้อม เพื่อที่จะเสนิม ครู นักเรียน และประชาชนทั่วไป ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่มีอยู่ ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
2. เป็นกิจกรรมรูปแบบ Off-Line การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขอให้ทางสถานศึกษา และทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติตามมาตรการของ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนอยู่เสมอ
นางสาว ตรีนุช ได้กล่าวไว้อีกว่า สำหรับระยะที่ 2 คือการเรียนในช่วงที่เปิดภาคเรียนแล้ว ให้ทางสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนใน 5 รูปแบบ คือ On-site การเรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 On-air เรียนผ่าน DLTV On-demand เรียนผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ On-hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร On-line เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต
รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวไว้ว่า ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบผสมผสาน หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ ตามบทบาทของตัวเองได้ ส่วนของการอบรมพัฒนาสมรรถนะของคุณครูนั้น แต่ละหน่วยงานได้เตรียมจัดหลักสูตรอบรมให้อย่างเหมาะสมแล้ว เช่น สพฐ. จัดโครงการ OBEC 2021 WEBINAR การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุคใหม่ มุมมองของผู้บริหาร นักวิชาการ และครู ระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2564 ทาง OBEC CHANNEL และ สอศ.จะดำเนินการอบรมพัฒนาของคุณครู โดยเน้นในเรื่องการพัฒนาสมรรถนะของคุณครู ด้วยเนื้อหาที่ทันสมัยมากขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากภาคเรียนเอกชน ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ มาช่วยสนับสนุนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ใด ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้นำไปประกอบอาชีพ และปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : เรียนออนไลน์ของเด็กประถม ดูได้ที่ไหน เหมาะกับใครบ้าง
“ศธ.ได้ถอดบทเรียนการจัดการศึกษาในการรับมือสถานการณ์ การแพร่ระบาดระลอกที่ผ่านมา มีการทบทวน และต่อยอดรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 รูปแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการรับมือกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ ทั้งนี้ ดิฉันได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ วางระบบติดตามแผนประเมินผล และรายงานผลการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ โดยจะต้องไม่เป็นภาระกับสถานศึกษา และการที่โรงเรียนจะใช้รูปแบบใดในการจัดการเรียนการสอน ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ศบค.จังหวัดก่อน” นางสาว ตรีนุช เทียนทอง กล่าวไว้
นางสาว ตรีนุช กล่าวเอาไว้อีกว่า ไม่อยากให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เข้ามาและผ่านไป แต่อยากให้มองว่าภายใต้สถานการณ์นี้ให้อะไรกับสังคมบ้าง ผู้เรียน คุณครู และร่วมกันคิดว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร? ควรจะนำสิ่งรอบตัวมาเรียนรู้ และปรับใช้ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 4 ทักษะสำคัญที่ เด็กเล็ก ควรเรียนรู้ ไม่แพ้วิชาในห้องเรียน จากคำแนะนำของผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติชั้นนำ
ผู้สื่อข่าวได้ถามว่า อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการวิจารณ์เรื่องการนำ ติวเตอร์ เข้ามาช่วยอบรมครู นางสาว ตรีนุช ได้กล่าวว่า อาจจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปมากกว่า มองว่าการศึกษาเป็นเรื่องของทุก ๆ คน และเป็นเรื่องที่ทุกคนย่อมห่วงใยเสมอ ซึ่งตนเองเข้าใจถึงความห่วงใยของทุก ๆ คน ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ภาคเอกชนอาสาเข้ามาช่วยอบรมครู ศธ. จึงอยากจะให้เวลา 11 วันที่มีอยู่ ให้หน่วยงานต่าง ๆ มาช่วยเตรียมความพร้อมให้ครู นักเรียน และกิจกรรมที่จัดนี้ ศธ.เป็นทางเลือกให้ครู นักเรียน เข้ามาเรียนเพิ่มเติม ไม่ได้บังคับ ไม่มีผลในการประเมินหรือเลื่อนวิทยาฐานะครู และไม่นับเป็นวิชาหน่วยกิตอีกด้วย
แหล่งที่มา : (showbizzinfoo)
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
แบบฝึกหัดคัดคำโรงเรียนประถม แบบฝึกหัดมาตราตัวสะกด แม่กก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!