X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ผลดีกว่าการไปบังคับกดดัน หรือไม่?

บทความ 5 นาที
ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ผลดีกว่าการไปบังคับกดดัน หรือไม่?

การปล่อยให้ ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง นั้นอาจไม่ใช่หนทางที่ดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกได้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน หรือครอบครัวที่ได้เลือกทางเดิน หรือวิถีปฏิบัติให้พวกเขาเดินตามไว้เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการทำแบบนั้นอาจส่งผลทำให้พวกเขาเกิดความเครียด และกดดัน ดังนั้นเราควรปล่อยให้ได้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าการที่เราไปบังคับกดดันเขาส่งผลเสียอย่างไร และเราสามารถทำให้เขาสนใจการเรียนโดยไม่ต้องบังคับได้อย่างไรบ้าง

 

อันตรายของการกดดันเด็กเรื่องเรียนมากเกินไป

เคยมีรายงานหนึ่งพบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ของเด็กบอกว่าการที่พวกเขาได้รับแรงกดดันจากครอบครัวนั้นทำให้เขาสามารถทำคะแนน หรือเรียนได้ดีในโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตามการที่เด็กคนหนึ่งถูกกดดันให้พวกทำในสิ่งที่ไม่ชอบ หรือให้พวกเขาพยายามที่จะประสบความสำเร็จตามความคาดหวังของผู้ปกครองอาจส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย และจิตใจของเด็ก ๆ โดยอันตรายของการกดดันเด็กมากเกินไป มีดังต่อไปนี้

 

  • เด็กอาจมีอัตราการป่วยทางสุขภาพจิตสูง เพราะการที่พวกเขารู้สึกว่าการอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่อง และเป็นเวลานานนั้น อาจทำให้เกิดความวิตกกังวล และการสะสมของความเครียด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า หรือภาวะสุขภาพทางจิตอื่น ๆ
    บทความที่น่าสนใจ : 7 กิจกรรมต้านซึมเศร้า ในเด็ก เติมสุข พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว

 

  • มีความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บทางจิตใจ สำหรับเด็กที่เกิดความผิดหวังจากการกดดันของผู้ปกครอง อาจทำให้จิตใจของเขาบาดเจ็บได้ ถึงแม้ว่าคุณจะบอกพวกเขาว่าไม่เป็นไรก็ตาม แต่พวกเขาจะไม่คิดแบบนั้น ความผิดพลาดในครั้งนั้นอาจส่งผลทำให้พวกเขารู้สึกกดดันมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลทำให้การเรียนของเขาแย่ลงได้

 

ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง3

Advertisement

 

  • เพิ่มโอกาสในการโกง เมื่อเด็ก ๆ รู้ว่าการอ่านหนังสือ หรือการทำฝึกหัดซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้นไม่ได้ส่งผลทำให้ผลการเรียนของพวกเขาดีขึ้น เขาอาจเลือกวิธีในการโกง เพื่อทำให้เขาได้ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพึงพอใจ โดยความปรารถนาของพวกเขานั้นเป็นการที่เขาได้รับผลกระทบมาจากความคาดหวัง และการกดดันของผู้ปกครอง ดังนั้นเขาจึงต้องหาวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งความพึงพอใจของผู้ปกครองนั่นเอง

 

  • การปฏิเสธสิ่งที่เขาต้องการ ความกดดันของผู้ปกครองที่มอบให้กับพวกเขาอาจส่งผลทำให้เขานั้นไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ หรือไม่ได้ฝึกฝนในสิ่งที่เขาทำได้ดี ดังนั้นเขาจึงจะปฏิเสธสิ่งที่เขาต้องการตลอดเวลา เพราะว่ากลัวพ่อแม่ผิดหวัง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกผู้ปกครองวางแผนชีวิตไว้ให้เรียบร้อยแล้ว โดยการกระทำแบบนี้จะส่งผลทำให้พวกเขารู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักพวกเขาได้

 

  • ปัญหาการเห็นคุณค่าในตัวเอง การผลักดันให้เด็ก ๆ มีความสามารถหลายด้าน ส่งผลทำให้เขาเกิดความเครียดสะสม และอาจทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองนั้นดีไม่พอ

 

  • การอดนอน เด็กที่ถูกกดดันให้เรียนได้ดีในโรงเรียน หรือถูกกดดันจากผู้ปกครองให้ประสบความสำเร็จทางการศึกษานั้น มักจะทำให้พวกเขาต้องอ่านหนังสือ หรือฝึกฝนตนเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลทำให้พวกเขาได้รับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพวกเขาได้

บทความที่น่าสนใจ : พ่อแม่กดดันลูก คาดหวังลูกมากเกินไป ระวังลูกป่วยเป็นจิตเวช

 

ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ผลดีกว่าการไปบังคับกดดัน

 

วิธีทำให้ ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องกดดัน

ความห่วงใย และความหวังดีของผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกของคุณเรียนได้คะแนนดี หรือสามารถประสบความสำเร็จได้นั้นคุณจึงจำเป็นที่จะต้องกดดันพวกเขา เพื่อให้เขาทำในสิ่งที่คุณคาดว่าเป็นเส้นทางสู่ความประสบความสำเร็จ แต่การกระทำเช่นนั้นทำให้เด็ก ๆ รู้สึกอึดอัดกับการเรียนรู้ ดังนั้นคุณควรหาจุดกึ่งกลางระหว่างคุณและลูก ด้วยการจุดประกายความอยากที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองของเขา และทำให้เขาประสบความสำเร็จด้วยตนเอง โดยมีวิธีดังต่อไปนี้

 

1. ถามคำถาม ไม่ใช่ทำการสอบสวน

หลายครั้งที่คำพูดของคุณอาจนำไปสู่การกดดันเด็ก ๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัว วิธีพื้นฐานที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งของการให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองคือทำให้พวกเขารู้สึกว่าคุณกำลังสนับสนุนพวกเขาอยู่ ไม่ได้กดดันพวกเขา โดยคุณต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาสนใจ หรือต้องการที่จะทำมัน แต่จะเป็นเรื่องยากสำหรับลูก ๆ ที่ไม่ค่อยพูด หรือขี้อายที่จะพูด แต่ถึงอย่างนั้นคุณสามารถเริ่มต้นทุกอย่างได้ด้วยตัวของคุณเอง ด้วยการถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาปรารถนา หรือเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้เขาพูดในสิ่งที่พวกเขาคิด และต้องการ อาทิ “วันนี้เรียนอะไรบ้าง” “ชอบเรียนวิชานั้นไหม หรือชอบเรียนวิชาไหน” “ได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนบ้างวันนี้” เป็นต้น การถามคำถามจะทำให้คุณได้รู้ว่าสิ่งที่พวกเขาสนใจ หรืออยากทำคืออะไร ซึ่งคุณสามารถนำคำตอบของเขาไปวางแผนในอนาคตให้กับพวกเขาได้

บทความที่น่าสนใจ : เลี้ยงลูกเชิงบวก วิธีพูดกับลูกเชิงบวก เลี้ยงลูก สอนลูกยังไงให้ลูกคิดบวก

 

2. ให้พวกเขาได้มีพื้นที่ส่วนตัว

ในบางครั้งสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวอาจเป็นเหมือนอุปสรรคที่คอยขัดขวางการประสบความสำเร็จของพวกเขา การที่เขาต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย อย่างเช่น มีเสียงดังรบกวนขณะทำการบ้าน หรือการถูกรบกวนขณะที่เขากำลังศึกษาค้นคว้าอะไรบางอย่าง สิ่งนั้นจะทำให้พวกเขาเกิดความกดดัน เนื่องจากสิ่งที่พวกเขาทำอยู่อาจมีผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นที่น่าพึงพอใจมากนัก เขาเพียงต้องการพื้นที่ส่วนตัว เพื่อที่จะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาต้องการยิ่งขึ้น

 

ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง2

 

3. ปล่อยให้เขาอธิบาย โดยที่คุณต้องทำเป็นไม่รู้

การที่พวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ มา และต้องการที่จะเล่าเรื่องเหล่านั้นให้คุณฟังนั้นแสดงว่าเขาต้องการที่จะบอกคุณ และเขาสามารถศึกษาเพิ่มเติมเพื่อคุณได้ หากพวกคุณอยากรู้ ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ทำให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองที่ดีที่สุด และนอกจากนี้คุณต้องทำเป็นไม่เคยรู้เรื่องราว หรือเหตุการณ์นี้มาก่อน เพื่อให้เขาได้เล่า และอธิบายให้คุณฟัง อย่าพูดว่า “รู้แล้ว” ออกไปเด็ดขาด หรือในบางครั้งคุณอาจต้องลืมไปเลยว่าสิ่งนั้นคืออะไร และเพิ่งเคยได้ยินเรื่องนั้นจากลูกของคุณครั้งแรก

 

4. การเรียนรู้นอกห้องเรียนก็สำคัญ

การเรียนในโรงเรียนที่แสนเครียดกับความกดดันที่จะต้องทำคะแนนให้ได้ดีนั้นอาจส่งผลทำให้เด็ก ๆ เกิดความเครียด ในวันหยุดคุณควรหากิจกรรมนอกบ้าน หรือจูงมือลูก ๆ ออกไปเรียนรู้ข้างนอกบ้านบ้าง อาจเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หรือในยุคของการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่านี้ คุณก็สามารถพาพวกเขาเที่ยวได้ตามหน้าจอ หรือที่เรียนกว่าเที่ยวทิพย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้พวกเขาไม่โฟกัสกับการเรียนในห้องเรียนมากเกินไป และยังกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของเขาผ่านประสบการณ์ท่องเที่ยวได้อีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ : พาลูกเที่ยวทิพย์ พร้อมกิจกรรมช่วงอยู่บ้าน กักตัวอยู่บ้านยังไงไม่ให้เบื่อ

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

5. ไม่เปรียบเทียบ แต่ให้กำลังใจแทน

ถือว่าเป็นสิ่งสุดท้าย หรือสิ่งที่คุณควรลืมการกระทำแบบนี้ไปเลยได้ เพราะเด็กส่วนใหญ่มักได้รับการกดดันจากผู้ปกครองด้วยการเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกันในครอบครัว หรือคนนอกครอบครัวก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะทำให้พวกเขารู้สึกกดดัน และเกิดความเครียดสะสม คุณควรที่จะเปรียบคำเปรียบเทียบเป็นคำให้กำลังใจแทน อาทิ “ไม่ต้องไปเครียดลูก ตอบแม่อายุเท่าหนูแม่ก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน” หรือ “ไม่มีใครเก่งภายในวันเดียวหรอกลูก ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปเนอะ”

 

สำหรับผู้ปกครองคนไหนที่มีความกังวลเรื่องของลูกหลายของท่านที่มีผลการเรียนไม่ดี หรือว่าไม่ประสบความสำเร็จในการศึกษาอย่าเพิ่งเครียดไปนะคะ เพราะการที่พวกเขาทำไมได้อาจเพราะเขาได้รับผลกระทบมาจากความกดดันของคุณอยู่ก็เป็นได้ ลองลดความกดดันพวกเขาลง ทำความเข้าใจเขาให้มากขึ้น บางทีลูกของคุณอาจจะเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง และประสบความสำเร็จอย่างที่คุณต้องการก็ได้นะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?

4 ทักษะสำคัญที่ เด็กเล็ก ควรเรียนรู้ ไม่แพ้วิชาในห้องเรียน จากคำแนะนำของผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติชั้นนำ

10 โรงเรียนหญิงล้วน ในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจปี 2021 จะมีโรงเรียนอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมกัน

ที่มา : oxford-royale, verywellfamily

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ลูกเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ผลดีกว่าการไปบังคับกดดัน หรือไม่?
แชร์ :
  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว